หน้า: 1 2 [3] 4
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมศิลปะไทยถึงตายแต่ทางด้านยุโรป  (อ่าน 19730 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ไล่อ่านหมดละ ช่างน่าสนใจ แต่ยังไม่มีเวลามาโพสแจม เดี๋ยวขอเคลียร์งานก่อน  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า
ศิลปะไทย ดนตรีไทย อาหารไทย วัฒนธรรมไทย ป่าไม้ไทย มวยไทย ผู้หญิงไทย ...

สิ่งเหล่านี้มันจะมีช่วงบูม และช่วงเสื่อมถอย โปรโมทกันที ก็จะ ดังกันเปรี้ยงปร้างกันที

ไม่มีอะไรจะติดตลาด หรือให้คงอยู่เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตประจำวันไปตลอดกาลไม่ได้

เพราะต้องยอมรับว่า ตอนนี้โลกเราใบเล็ก เหลือ เพียง 1024 x 768  (หวาย เล็กจัง)

ยังคงจำกันได้ สมัยภาพยนต์เรื่องโหมโรง  ตอนนั้น ดนตรีไทยบูมมาก ขนาดที่ลูกเด็กเล็กแดง แห่กันไปเรียนดนตรีไทยอย่างล้นหลาม

ดนตรีไทยร่วมสมัยเกิดขึ้นมา(การผสมผสานดนตรีไทยกับดนตรีตะวันตก) โ่ด่งดังไปไกลถึงต่างแดน

ซึ่งตอนนี้ทำให้คนดนตรีไทย มีงานที่หลากหลายกว่าเดิม นอกจาก วงปี่พาทย์ที่เล่นตามโรงละคร หรือ จบดนตรีไทยมา ก็ได้เพียงเป็นครูสอนดนตรีไทย

จากเพลงไทยที่มีตัวโน้ตเดิมๆ ลาวดวงเดือน ค้างคาวกินกล้วย ที่สมัยก๊อนนนน  เหมือนเป็นดนตรีไทยที่ตายแล้ว ไม่มีการแต่งเพิ่ม
แต่ตอนนี้เพลงไทยเดิม  ไม่ใช่เป็นเพียงเพลงไทยเดิมอีกต่อไป เป็นเพลงไทยร่วมสมัย ที่มีการแต่งขึ้นใหม่มากมาย

      กลับมาที่ คำว่า ศิลปะในเรื่องของภาพวาด ที่อิคคิวคิดว่า ของไทยตาย ผมว่ามันยังไม่ถึงกับตาย สูญสลายหายไปหรอครับ
แต่เพียงแปรรูปแบบผสานกับวัฒนธรรม ตะวันตก ซึ่งเป็นศิลปะร่วมสมัยครับ ยังไม่ถึงคราวดังเปรี้ยงปร้างเท่านั้นเองครับ
อย่าง โมนามาเฟีย เอ้ย  โมนาลิซ่า  คิดว่าภาพนี้ดัง โดยไม่ต้องมีการโปรโมท เหรอครับ

      ส่วนเรื่องลายไทยชนิดใหม่
ลายไทยเป็นเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรม เหมือนตัวอักษรครับ
เราผสม ตัวอักษรแล้วก่อเกิดเป็นคำ  ลายไทยก็เหมือนกันครับ
ลายไทยมีลายไทยพื้นฐาน ประจำยาม หางไหล พุ่มข้าวบิณฑ์ กนก สรยุทธ์  ง่ะ
เราผสม ลายไทยหลายๆ เข้าด้วยกัน เกิดเป็นรูปแบบของ ลายไทยที่หลากหลาย
หางไหล + ลายกนก  จะเกิดเป็นลายกนกเปลว ขึ้นมา
ครั้นจะคิดลายพื้นฐานชนิดใหม่มา เป็นเรื่องยาก(แต่ไม่ใช่ทำไม่ได้)
เหมืนจะ คิด ให้ J เป็น ง งู  a เป็น ล ลิง   aoJดูสิ   ง่ะ   


ลายไทย ศิลปะไทยล้วนยังคงอยู่ในวิถีประจำวันเพียงแต่โดนกระแสวัฒนธรรมตะวันตกกลืนอยู่ แบบที่เต่าบอกนั่นเองครับ(อิทธิพลทางชาติตะวันตก มีผลมากกว่าพวกเกาหลี ญี่ปุ่น
 อะไรแบบนี้เราเรียกว่า เป็นแฟชั่นมากกว่า)


บันทึกการเข้า

กินรอบวง
ผมคิดว่าศิลปะคือการถ่ายทอดความงามนะคราบ ดังนั้นเราอาจจะไม่ต้องยึดติดกับรูปแบบลายกนก ลายสสรยุทธ์ก็ได้คราบส์
ในยุโรปเขาก็มียุคสมัยความนิยมใหม่ๆ เรื่อยๆ เป็น แคลสสิค อิมแปร๊ดชั่นนิสม์ เอ็กแปร๊ดชั่นนิสม์ คิวบิสซรึมส์ ทั้งหมดนี้
มันก็ไม่ใช่ศิลปะแบบธรรมเนียมนิยม ทะเรดดิชั่นนัล อย่างที่เราพยายามจะยัดเยียดส์ลายกนก ลายสรยุทธ์เข้าไปในงานทุกชิ้นที่พยายามจะเป็นไทย

ถ้าศิลปะบ้านเราจะก้าวหน้าก็ต้องเริ่มจากสังคมคราบ ในสังคมที่คนยังไม่มีจะแด๊กซ์ ก็คงไม่มีใครคิดถึงศิลปะคราบ
หรือแม้แต่คนที่มีจะแด็กซ์ก็มัวแต่สนใจอย่างอื่น ไม่ได้มีสัมผัสของศิลปะกันซักเท่าไหร่ ส่วนพวกที่อาร์ตก็อ๊าทท มาก
นี่เป็นปัญหาช่องว่างระหว่างชนชั้นเลยทีเดียวนะคราบ

สำหรับช่วงต่อไปของรายการขอเชิญคุณน้ำเพชรมาบรรยายเรื่องประวัติศาสตร์ศิลปะของไทยคราบ
บันทึกการเข้า
จริงๆ แล้ว ลายไทย มันมีอยู่จริงไหม?

ลายลาว เหมือนไทย ไหม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มี.ค. 2009, 12:49 น. โดย เรียก..พี่ได้.. ไหม? » บันทึกการเข้า

ใกล้เคียงกันครับ พี่โอ๋ เพียงแต่ว่า องค์ประกอบ การเล่นลาย การผูกลาย หรือลักษณะต่างๆจะไม่เหมือนกัน
เพราะแท้จริงแล้ว ลายไทย ลายพม่า ลายมอญ ลายลาว ได้รับอิทธิพลมาจากอินเดีย ทั้งนั้นครับ เรียกได้ว่า ต้นกำเนิดเดียวกัน
แต่ก็ใส่ความเป็นพื้นถิ่นแต่ละที่เข้าไป

ดูง่ายๆ วัดไทย วัดพม่า วัดมอญ วัดทางใต้ วัดทางเหนือ กลิ่นอายยังไม่เหมือนกันเลยครับ
ทั้งๆที่องค์ประกอบต่างๆทั้งหมด มีเหมือนกัน

จริงๆ ถ้ามาดูองค์ประกอบศิลปะไทย เราก็อาจแยกศิลปะไทยได้เป็น 2 ประเภทคือ

1. ศิลปะที่ตอบสนองต่องานชั้นสูง ศาสนา ราชสำนัก เช่นพวกงาน ช่างสิบหมู่ ช่างสล่า ทั้งหลายแหล่ เป็นต้น
2. ศิลปะที่ตอบสนองต่อความสุขในระดับรากหญ้า เช่น พวกเพลงเรือ เพลงฉ่อย การจักสาน ลายขัดแตะต่างๆที่ใช้ในของใช้ประจำวัน

งานในข้อที่ 1 แน่นอน อันนี้อย่างที่เต่าว่าไว้ มันเป็นของสูง(ของคนไทย)มานานแล้ว
สำหรับการต่อยอดในข้อนี้ ก็คงทำอะไรไม่ได้มาก หากคนไทย ยังคิดว่า มันเป็นของที่ไม่ควรแตะต้อง มีครู
ดัดแปลงแล้วนอกคอก ไม่ยอมรับ สุดท้ายก็หายสาบสูญไป ไม่ก็รับถ่ายทอดแบบงุูๆปลาๆ ไปอย่างนั้น

จากความคิดส่วนตัว งานแบบนี้ควรอนุรักษ์ไว้ส่วนหนึ่ง คนที่เรียนรู้ก็เรียนรู้ให้จริงจัง ถ่ายแบบอนุรักษ์โดยตรงไปยังรุ่นต่อไปให้ได้
หากเราเ้รียนรู้อย่างจริงๆจังๆได้แล้ว การนำไปต่อยอด ก็สามารถทำได้อย่างถูกหลักและพัฒนาได้จริงๆจังๆนะครับ
ถ้าถามคนทั่วๆไป ที่เอาลายไทยมาใส่เพื่อให้งานเป็นไทย รู้หลักการผูกลายจริงๆมากน้อยแค่ไหน ผมว่าเกิน 70-80% ไม่รู้ขนาดนั้นหรอกครับ
งานถึงออกมาค่อนข้าง ขัดหูขัดตา พิกล

จริงๆการประยุกต์ลายไทย มีเกิดขึ้นเรื่อยๆนะครับ เพียงแต่บางทีเราเห้น แต่เราไม่รู็ว่ามันเป็นลายใหม่ ไม่ใช่ลายที่ใช้กันมาตั้งแต่เดิม
หรืออย่างงานสถาปัตยกรรมไทยของพระพรหมพิจิตร(ผู้ก่อตั้งคณะสถาปัตย์ศิลปากร) ก็เป็นไทยผสมตะวันตก ลายกระจังเป็นทรงเหลี่ยมตามแบบงานตะวันตก ซึ่งปัจจุบันก็เป็นซุ้มประตูอยู๋วัดพระแก้ว น้อยคนที่จะสังเกตออกว่ามันไม่เหมือนกับด้านอื่นๆ เป็นต้น

ส่วนข้อ 2 งานศิลปะในระดับรากหญ้า อันนี้ก็เหมือนกันกับที่ผมบอกไปแล้ว ว่าศิลปะของเรา มันอยู่บนรากฐานของการอยู่อาศัย
คนเราถ้ามีเวลาว่างจะทำงานพวกนี้ มันก็พัฒนาได้ แต่จิตสำนึกเรามุ่งไปทางอื่นหมดแล้ว
เรามุ่งไปเรื่องของการหากิน การดำรงชีวิต การใชชีวิตให้ทันกับคนในเมือง เราลืมความสุขกับผืนหญ้า สายลม และ สิ่งรอบตัวไปมากแล้ว

แต่จริงๆ มันก็มีแนวทางพัฒนาของมันไปนะครับ อย่างเพลงลูกทุ่ง มันก็พัฒนาของมันไปตามสภาพของสังคมในช่วงนั้นๆ
ซึ่งนี่แหละ มัีนก็คือ ศิลปะที่สะท้อนความเป็นคนไทย ในเวลานั้นๆ ออกมาได้ดีทีเดียวเลยแหละครับ

ถึงตอนนี้มันถึงวนไปในคำถามแรกๆนั่นแหละครับ ว่าจริงๆแล้ว การพัฒนาของงศิลปะไทย เส้นไหน ถึงจะเรียกว่า พัฒนา
เส้่นไหน ถึง จะเรียกว่า ไม่พัฒนา ระดับไหนถึงจะเรียกได้ว่า เจริญแล้ว อันไหนถึงเรียกได้ว่า ยังไม่เจริญ
เราต้องมีลายใหม่ที่ไม่ใช่ลายกนกก่อนใช่มั๊ย ถึงจะเีรียกว่า ต่อยอดได้แล้ว และถ้าไม่ใช่ลายกนก
แล้วอย่างไหนถึงจะยอมรับได้ว่า นี่แหละ ไท๊ยไทย

จริงๆ งานอิลลัสท์ถักเส้นไปมา ที่ใช้กันมากในศิลปินไทยในตอนนัี้ อีกหน่อย เวลาผ่านไปสัก 100-200 ปี
มันอาจเป้นลายไทยที่บ่งบอกถึงงานศิลปะแบบไทยๆในระดับสากลเลยก็ได้นะครับ ใครเห็นก็ร้องอ๋อเลยว่า นี่แหละ งานไทย

อย่าลืมนะครับ กว่าจะมีลายกนกใช้กันมา เราใช้เวลา 3-400 ร้อยปี ในการพัฒนาใช้ต่อเนื่องกันมาเลยนะครับ
แค่ 10-20 ปีที่ผ่านมา ผลมันอาจยังไม่เกิดจนเห็นชัดนักก็ได้นี่ครับ  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

- R u Happy with ur Rock&Roll ? -
ลายไทยดั้งเดิม ผมมองว่าเป็นลายแม่บท
เป็นมาตรฐาน เป็นพื้นฐานนะครับ
จะปรับใช้อย่างไรนี่ คงต้องแม่นยำ รู้จริง จับจังหวะได้จริงๆก่อน
เหมือนที่วัดร่องขุนของอ.เฉลิมชัย ผมว่าท่านก็ใช้ลายที่พัฒนาไปจากลายดั้งเดิมนะ
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
ผมกำลังจะบอกว่า
ไม่มีหรอก ลายไทย  คริคริ

ไม่มีหรอกมวยไทย

เหมือนกัน

มันเป็น พื้นถิ่น
ความชาติพันธุ์ มันเพิ่งมี
คนมันอยู่และ วิวัติ มาตั้ง นานแล้ว

แล้วไงต่อ

ลาย ออสเตรีย มีไหม
ลายอังกฤษ
ลายอะไรอีก
(ผมถามเพราะไม่รู้ความจริง)


แล้วอะไรคือพัฒนา อะไรคือ ตาย
บันทึกการเข้า

นั่นแหละพี่อ๋า  ฮิ้ววว
คือบางที มันดูเป็นลายไทย แต่มันไม่ใช่ลายแม่บทที่ใช้กันมา เป็นลายใหม่ ที่ช่างผูกขึ้นเพื่อใช้ในงานนั้นๆ
แต่คนส่วนใหญ่ ก็ยังคิดว่า มันมีมานานแล้ว ไม่ได้พัฒนา อันนี้เลยต้องอยู่ที่ความรู้เรื่องพวกนี้ควรเข้าถึงคนในทุกระดับให้มากขึ้นด้วย

อย่างงานพระศพพระพี่นางที่ผ่านมา ในพระเมรุก็ใช้ ลายดอกแก้วกัลยา ซึ่งผูกมาใช้ในงานนี้อย่างเดียว
เป็นตัวหลักลายประดับผสมกับลายอื่นๆของดั้งเดิม อันนี้ผมว่ามันก็ต่อยอดขึ้นมาในระดับนึงแล้วนะครับ

สำหรับของพี่โอ๋

พัฒนาของผม คือ การเอามาใช้ได้ต่อเนื่อง โดยรู้ว่าเอามาใช้ทำไม และมันจะไปยังไงต่อ
ถึงจะไม่เหมือนเดิม แต่ถ้าเอามาใช้ได้ ผมว่ามันก็พัฒนาในรูปแบบและวิถีของมันแล้วล่ะครับ

ส่วนการตาย คือ การไม่ได้เอามาใช้ หรือใช้แบบไปงั้นๆ รอวันมันดับสูญหรือกลายพันธุ์ไปอย่างเดียว
สุดท้ายก็อาจเป้นแค่ Symbol ที่บ่งบอกว่ามันเคยเป็นของคนไทย แค่นั้นแหละครับ
บันทึกการเข้า

- R u Happy with ur Rock&Roll ? -
งั้น เท่าที่เป็น ที่อยู่ทุกวันก็ พัฒนา
และไม่รู้สึกเลยว่า ศิลปะไทย ตาย

ฉะนั้น เช่นนั้น ใครว่าตาย หรือเหมาเอาว่าตาย
ก็เป็น ปัจจเจก คือ คิดเอาและสรุปเอา
เหมือน การ์ตูนไทย เขียนหยั่งไงให้รู้สึกว่าไทย
ตอบอะไรไม่ได้ ก็เอาลายไทย ใส่สิ

หรือ การ์ตูนญี่ปุ่นเขียนโดยคนไทย
แล้วมาบอกว่าเป็นการ์ตูนไทย ผมก็ไม่เชื่อว่านี่คือการ์ตูนไทย

การนำมาต่อเนื่อง ก็มีตลอด

ผมเคยไปบ้านผู้ทรงอิทธิพล
ของอยุทธยา ท่านล่อเอา เสาวิหาร
มาทำบ้าน ดูไปก็เหมือนวัง ของกรีก โรมัน
ถ้าเราเอาเสาแบบวัดมาทำบ้านบ้าง
ก็เป็นเรือนเจ้าที่ คนจะได้มาบวงสรวง
คนอยู่จะพลอยบ้าเอาได้

นอกจากสิลปะ แล้วมันยังมีจิตวินญาณพื้นถิ่นอีก


บันทึกการเข้า

ผมก็คิดเหมือนพี่โอ๋นะ ว่ามันก็กำลังโต ในแบบของมันอยู่
เพียงแต่ว่า ตอนนี้ การลองผิดลองถูก การนำไปใช้ มันก็เป็นอยู่ในความเร็วระดับหนึ่ง
รุ่นเราตายไปก็อายยังไม่เห็นผล อาจรุ่นลูกรุ่นหลาน ที่แสดงตัวตนออกมาก็ได้น่ะครับ

แต่บางครั้งก็แปลกนะครับ..

ลายฝรั่ง มาใส่บ้านไทย กลับดูตลกและขาดสุนทรีย์
ลายไทย มาใส่ในวัดไทย กลับเหมือนดูลิเก ที่แต่งหน้า ขาดๆเกินๆ
ลายไทย ไปใส่บ้านฝรั่ง กลับดูนิ่ง สงบและมีมนขลังเข้ากับบ้าน ดั่งที่ลายไทยควรจะเป็น

บางครั้ง จิตวิญญาณบางอย่าง มันก็ไปอยู่กับคนที่สนใจจริงๆ มากกว่าคนที่แค่หยิบจับอยู่ทุกวันก็ได้นะครับ
บันทึกการเข้า

- R u Happy with ur Rock&Roll ? -
ครับ ศิิลปะไทยผมว่ายังไงๆก็ไม่ตายนะครับ
อยู่ที่ว่าเราเข้าใจ ไทย แค่ไหน

หรือจะเข้าใจเอาแค่ว่า ลายไทยดั้งเดิมเท่านั้นที่เป็นไทย

ส่วนที่เวลาเราฝึกเขียนลายไทย แล้วโดนอาจารย์ท่านว่าผิด
อันนั้นผมว่าเป็นที่เราดันไปปรับลายโดยยังไม่รู้จริงมั้งครับ
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
จากมุมมองของคนที่ไม่ได้เรียนศิลปะมานะครับ
แต่เผอิญว่าชอบเดินทางท่องเที่ยว
เลยได้เห็นงานศิลปะมาพอสมควร

ผมว่างานศิลปะของไทยแต่เดิม
มีเอกลักษณ์ตรงความปราณีต วิจิตรบรรจง
ใส่ใจในรายละเอียดแทบทุกขั้นตอน

แต่งานศิลปะของฝรั่งแถวนี้
ดูแวบแรก อลังการงานสร้างก็จริงอยู่
แต่พอดูลึกลงไปในรายละเอียดแล้ว
ก็จะพบเห็นความหยาบในเนื้องานอยู่บ้าง

งานเพ้นท์จานหรืองานโมเสกในมัสยิด
ที่ร่ำลือกันว่า ปราณีตแล้ว ก็ยังมีบางจุดที่ขาดๆ เกินๆ

หากมาสังเกตลายไทยตามวัด
เห็นได้ชัดเลยว่า สมมาตร เท่ากันเป๊ะๆ
ทั้งๆ ที่ใช้มือวาด  อย่างกับว่าศิลปินผู้วาด
มีไม้บรรทัดในใจ ทั้งที่เป็นเส้นโค้งและเส้นตรง
ที่ขีดเส้นได้ระยะเป๊ะๆ เหมือนกับใช้ไม้บรรทัดในคอมพิวเตอร์
นี่ยังไม่นับรวมอารมณ์ขัน ที่แอบใส่เข้าไปในงานนะครับ
ผมว่านั่นบ่งบอกได้ถึงความเป็นไทยได้เป็นอย่างดี

ทีนี้คำถามที่ว่าศิลปะไทยถึงตายแต่ยุโรปถึงยังพัฒนา
ผมว่าศิลปะไทยไม่ได้ตายนะครับ
เพียงแต่ว่า ประเทศเราไม่ค่อยมีที่ทาง
ให้คนทำงานศิลปะได้แสดงงานของตัวเอง
ดังนั้น งานศิลปะส่วนใหญ่ ต้องลงไปดูตามท้องถิ่น
อย่างบ้านไม้แถวแพร่หรือน่าน รวมไปถึงวัด
ก็มีเอกลักษณ์ของตัวเองอย่างยิ่ง
หรือ ลายของเรือกอและในภาคใต้
นั่นก็บ่งบอกถึงเอกลักษณ์ในงานศิลปะได้ชัดเจน

แต่อย่างที่เต่าบอกก็คือคนส่วนใหญ่
ต้องคิดกันเรื่องปากท้องหากินกันก่อน
ดังนั้นความสนใจด้านศิลปะ
ของคนไทยเลยอาจจะลดลง

แต่นั่นไม่ได้หมายความว่าศิลปะไทย
จะตายหรือไม่ได้พัฒนา
เพราะก็ยังมีคนกลุ่มนึง
ที่ทำงานด้านศิลปะอย่างจริงจังอยู่


บันทึกการเข้า
คือสงสัยว่า
ไอ้คำว่า
ยุโรปพัฒนา เนี่ย
พัฒนายังไงหรอครับ
จะได้เทียบกับไทยถูก
เพราะผมคิดว่ายุโรปสมัยนี้มันก็พัฒนาแนวๆ เดียวกับไทย
บันทึกการเข้า

อย่างงานพระศพพระพี่นางที่ผ่านมา ในพระเมรุก็ใช้ ลายดอกแก้วกัลยา ซึ่งผูกมาใช้ในงานนี้อย่างเดียว
เป็นตัวหลักลายประดับผสมกับลายอื่นๆของดั้งเดิม อันนี้ผมว่ามันก็ต่อยอดขึ้นมาในระดับนึงแล้วนะครับ

โอ้ อันนี้ดูทีวีอยูเ่หมือนกันครับ
พอดีสนใจช่างแทงหยวก (ตามประสาคนบ้านเดียวกัน)
พอดูที่ลุงแกเล่าก็คือมีการรังสรรค์ลายใหม่ๆ สัตว์หิมพานต์ใหม่ๆ
แบบที่ไม่มีใครเคยเห็นไม่เคยได้ยินชื่อกันมาก่อนเยอะแยะเลย
แบบนี้คือการเล่นกับลายไทยประเพณีครับ
แต่เป็นการแสดงการไม่หยุดนิ่งของศิลปะประเพณีเลยแหละ

ส่วนศิลปะไทยระดับชาวบ้านอย่างเราๆ ก็ดูสิ ฃ
วันก่อนยังมีงานเข้าๆๆ จี่หอยกันอยู่เลย วันนี้มันต้องถอนซะแล้ว
ไม่ตายซะหน่อย เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ไม่ ตายซะแล้วเหรอครับเนี่ย  ฮือๆ~
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 [3] 4
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!