หน้า: [1] 2 3 4 5
 
ผู้เขียน หัวข้อ: Rhyme  (อ่าน 102898 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ตอนแรกกะจะรวมไว้ในกระจู๋ Typomancer's Journal
แต่ว่าอาจจะไม่เห็นลำดับความคิดกัน ผมจึงตัดสินใจตั้งใหม่เพื่อบอกเล่า
และส่วนตัวผมเอง ผมคิดว่าลำดับความคิดของการทำฟอนต์ชุดนี้น่าสนใจ
และน่าจะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจ เหมาะสำหรับการต่อยอดครับ

แล้วก็เพื่อเป็นการต้อนรับการแจกฟรีของ Rhyme lite อีกทางหนึ่งครับ



---------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------

ผมแจกแจงให้ดูนะครับ ระหว่างตัว ฟรี / ไม่ฟรี


ข้อแตกต่างก็จะมีพอสมควรครับคือ

1. opentype features ทั้งหลายจะไม่มีในตัว LITE เช่น ligature, stylistic alternates, ฯลฯ แต่วรรณยุกต์ไม่ลอยนะครับ
2. จะไม่มีตัวเลขไทยและอารบิก และเครื่องหมายวรรคตอนบางตัว แต่ตัวที่ถูกใช้บ่อย เช่น วงเล็บ, colon, semicolon ยังคงมีอยู่ตามปกติ
3. kerning จะทำแค่บางคู่ที่ถูกใช้บ่อยๆ เท่านั้น จะไม่ได้ถูกทำทั้งหมดในตัวละติน

สรุปดังนี้

ถ้าถามว่าฟอนต์นี้สามารถใช้ได้ตามปกติหรือไม่ ?

- ใช่ครับ ตัวอักษรไทยทั้งหมด ยกเว้นเลขไทย สามารถใช้ได้ตามปกติและวรรณยุกต์ไม่ลอย
- ตัวละติน A-Z, a-z ยกเว้นตัวเลขและเครื่องหมายบางตัว เช่น { } สามารถใช้ได้ตามปกติ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ส.ค. 2012, 10:22 น. โดย าาา๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
งามมากกกก กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
เริ่มต้นนั้นผมอยากได้ฟอนต์ Script ที่เป็นภาษาไทย
ซึ่งตอนแรกแน่นอนว่าเราก็ต้องศึกษาตัว Script ของฝรั่งกันก่อนว่ามันมีลักษณะยังไง

ซึ่ง Script ที่คุ้นเคยกันก็เป็นลักษณะนี้นั่นเองครับ



ซึ่งจุดเด่นหรือ จุดที่เราคุ้นเคยกันน่าจะเป็นการเชื่อมของตัวพยัญชนะ โดยอิงจากเวลาเราลากปากกากันจริงๆ



ทีนี้ปัญหาที่มันมักจะเจอแน่ๆ (หรือเป็นความฟุ้งซ่านของผมเองก็มิทราบได้)
ว่ามันจะต้องมีการเขยื้อนของจุดเชื่อมต่อเกิดขึ้น เวลาเราปรับ tracking ของฟอนต์
และนั่นหมายความว่ามันก็คงจะดูไม่ดีนักเวลาพิมพ์เป็นประโยค

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ส.ค. 2012, 14:10 น. โดย าาา๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
ขออนุญาตเบิ้ลนะครับผม  ไหว้

----------------------------------

อีกหนึ่งข้อจำกัดของตัวละตินก็คือ พยัญชนะส่วนมากวิธีการเขียนจะมีการลากลงเพื่อจบการเขียน
และสิ่งนี้จึงทำให้เกิดจังหวะในการเขียนที่สวยงามขึ้น



แต่ตัวไทยไม่เป็นเช่นนั้นครับ ผมแยกแยะให้ดูง่ายๆ ว่า พยัญชนะไทยมันมีการจบที่ไม่เหมือนตัวละติน
คือมีการจบแบบลากขึ้น หรือกระทั่งตัวที่จบแบบ ว แหวน, ง งู, จ จาน, ก็ยิ่งประหลาดหนักขึ้น



และถ้าเราจะยัดเยียดการตวัดหางให้กับการลากขึ้นมันก็คงจะก่อให้เกิดความสับสนในตัวพยัญชนะแน่
เพราะลำพังตัวไทยของเราเองก็มีรายละเอียดที่มากอยู่แล้ว

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ส.ค. 2012, 14:10 น. โดย าาา๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
โอยๆ พี่เลย์มาดูเร็ว งานในค่าย อ๊าก ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
กรี๊ดดดดดด โวย
บันทึกการเข้า

ขอคั่นรายการด้วยตัวภาษาอังกฤษก่อนนะครับ แล้วเราค่อยโดดไปภาษาไทย



การแก้ปัญหาของผมคือก็ให้มันมีหางเชื่อมด้านเดียวไปเลย ตัว metric ก็เลื่อนให้มันกินเข้าไปนิดหนึ่ง
ทีนี้ถ้าขยับ tracking ไม่มากเกินไป มันก็ไม่มีการหลุดแน่นอน

ภาพรวมก็ออกมาเป็นลักษณะแบบนี้ครับ



ที่นี้รายละเอียดเล็กๆ น้อยๆ ในการออกแบบ ก็คือผมก็จะให้เส้นตั้งมันหนากว่าเส้นนอน
เพื่อให้มันมี volume บ้างเวลาเรียงกันเยอะๆ แล้วก็ดูเป็นลายมือมากขึ้น
บันทึกการเข้า

perfectionist
แค่ภาษาอังกฤษก็ระดับโลกแล้วคร้าบ อ๊าก ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
และในความคิดผม สิ่งที่ควรจะมีในฟอนต์ script คือ ligature นั่นเองครับ
นอกจากจะช่วยเพิ่มความน่าสนใจแล้วก็ ผมว่ามันยังช่วยเพิ่มความเป็นลายมือให้มากขึ้น



แต่ !!

เนื่องด้วยความรู้ของผมก็มีไม่สูงส่งขนาดจะเขียน opentype script ที่มันซับซ้อนมากๆ ได้
ก็เลยใช้ความรู้เท่าที่มี ลองจับดูว่า พยัญชนะตัวไหน ที่มันถูกใช้บ่อยๆ ในการพิมพ์
ซึ่งภาษาอังกฤษก็พอจะจับได้บ้างครับ



ซึ่งตัวอย่างก็คือตัวพวกนี้ครับ

ลองสังเกตเล่นๆ ได้ว่า เนื่องจากตัวฟอนต์เองก็มีบุคลิกที่ค่อนข้างชัดมากอยู่แล้ว
เมื่อนำมาผสมกับ ligature อีก ก็จะสร้างความแตกต่างได้มากพอสมควร
บันทึกการเข้า

perfectionist
กรี๊ดดดดดดดดดดด อ๊าก ฮือๆ @%$#%^@$#^@$#%^@$#%^#@$%^
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
กรี๊ดดดดดดดดดดด อ๊าก ฮือๆ @%$#%^@$#^@$#%^@$#%^#@$%^

ใจเย็นคร้าบ พี่แอน ฮ่าๆ ฮือๆ

-------------------------------------

ทีนี้ข้ามมาดูตัวไทยกันนะครับ ผมคลี่คลายแบบออกมาได้เป็นดังนี้



แต่ตัวไทยก็จะมี ข้อแตกต่าง/เหมือน กับตัวละตินบ้างครับ คือ

1. ผมตัดการเชื่อมออก เนื่องจากระบบการเขียนของตัวไทยที่ผมบอกไว้ก่อนหน้านี้ แต่ว่าการตวัดของหางยังคงอยู่
2. ความหนาบางของเส้นยังคงมีอยู่ ทำให้มีจุดที่เชื่อมโยงกับตัวละตินได้ ใช้ด้วยกันได้แบบไม่ขัดแย้ง



เมื่อเรียงเป็นประโยค ก็ออกมาเป็นแบบนี้ครับผม
บันทึกการเข้า

perfectionist
อือ พอเห็นตัวไทยแล้วก็รู้สึกเหมือนกันว่า
ตัวอักษรไทย มันไม่ได้เหมาะกับการลากเส้นสคริปต์แบบไม่ต้องยกปากกา
แต่มีช่องไฟ จังหวะแบบนี้แหละกำลังกลมกล่อมเลย
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
 กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ภาษาอังกฤษพอขนาดใหญ่สวยมาก ตอนตัวเล็กๆ รู้สึกเฉยๆ ไหว้
รอดูภาษาไทยต่อ งามแงะดีฮะ เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
อือ พอเห็นตัวไทยแล้วก็รู้สึกเหมือนกันว่า
ตัวอักษรไทย มันไม่ได้เหมาะกับการลากเส้นสคริปต์แบบไม่ต้องยกปากกา
แต่มีช่องไฟ จังหวะแบบนี้แหละกำลังกลมกล่อมเลย

ใช่เลยครับ ผมก็คิดแบบนั้น ผมจึงยึดไว้ว่า "อยากให้มันใช้ด้วยกันได้โดยไม่ขัดแย้งกัน"
แต่ผมก็ไม่กล้าบอกนะครับว่านี่เป็นการคลี่คลายที่ดีที่สุด

-------------------------------------------------------------------

ต่อมานี่คือคำถามที่สำคัญมากในการออกแบบฟอนต์ชุดนี้ครับ



เนื่องด้วยผมพยายามระดมสมองคิดออกมาว่า ภาษาไทยเราพอจะมีระบบอะไรให้จับออกมาได้
เหมือนที่ภาษาอังกฤษมีตัวสระชัดเจน คือ a e i o u มันจะอยู่ในทุกๆ คำ เราจึงพอจะจับจุดได้แบบที่ผมได้บอกได้

ซึ่งภาษาไทยนั้น ผมมองว่ายากมาก เพราะแค่หลักการผสมคำก็ซับซ้อนมากแล้ว

แต่สุดท้ายผมก็มาจบที่ คำควบกล้ำ ครับ

แต่คู่พยัญชนะที่มันควบกล้ำกันได้ ก็มีคู่ที่ทั้งเหมาะและไม่เหมาะจะนำมาทำเช่นกัน สุดท้ายนี่คือบางคู่ที่ผมเลือกออกมาครับ
(ตัวอย่างนะครับ)



อย่างตัว ร์ ผมมองว่ามันถูกใช้เยอะในคำทับศัพท์ครับ ผมเลยแถมมันมาด้วย  เจ๋ง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 ส.ค. 2012, 15:45 น. โดย าาา๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
หน้า: [1] 2 3 4 5
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!