หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์จารึก  (อ่าน 32849 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ด้วยความบังเอิญเมื่อกลางเดือนธันวา 59 ได้พบกระทู้เก่าของเวบพันทิป กระทู้หนึ่งชื่อ การสูญสิ้นอัตลักษณ์การเขียนภาษาไทย อันมิอาจหวนคืนได้ โดยคุณหนุ่มรัตนะ  http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/06/K9360777/K9360777.html

อ่านแล้วตื่นเต้นมาก เป็นความรู้ใหม่สำหรับผมเรื่องการเขียนภาษาไทยแบบโบราณ ซึ่งมีหลักฐานว่าเขียนแบบนี้มาตั้งแต่สมัยอยุธยา จนมายุครัตนโกสินทร์ แล้วเริ่มหายไปเนื่องจากการมีเครื่องพิมพ์ หนังสือ แบบเรียน แล้วพวกเราก็หัดเขียนอักษรไทยจากตัวพิมพ์  (หาความรู้เพิ่มเติมจาก ตำราออนไลน์ของ ม.ราม http://e-book.ram.edu/e-book/inside/html/dlbook.asp?code=FL348(47))

หลายคนต่างกล่าวโทษว่า อักษรไทยแบบโบราณนั้น ยากต่อการทำตัวเรียงพิมพ์ ซึ่งก็จริง แม้กระทั่งยุคนี้ใช้ฟอนต์ ก็ยังมีตัวที่ยากและต้องการความซับซ้อนในการจัดการ เช่น สระอำ ปัญหาวรรณยุกต์ลอย สระที่อยู่กับ ป ฝ ฟ ฎ ฏ ญ  เป็นต้น

โดยส่วนตัวมองว่า ที่ผ่านมาก็มีเหตุผลชัดเจนอยู่ แต่ด้วยความสามารถเรื่อง open type ของฟอนต์ในปัจจุบัน เราน่าจะสามารถนำอักษรไทยโบราณให้กลับมาใช้งานได้อีก



จึงไปศึกษาเพิ่มเติม โดยหางานตัวอย่างที่วัดโพธิ์ดู  ปรากฏว่า โอ้โห ขุมทรัพย์จริงๆ จากเดิมที่เคยเดินผ่าน อ่านก็ไม่รู้เรื่อง แต่เอาความรู้ที่คุณหนุ่มรัตนะบอกไว้ในพันทิป คราวนี้อ่านออกอีกเยอะเลย แล้วทำให้การดูจารึกสนุกมาก ได้พบโคลง ฉันท์ กลอน กลบท เจ๋งๆ อ่านสนุกมากมาย และทั้งหมดได้ถูกจารึกไว้มากกว่าร้อยปีแล้ว



เนื่องจากเป็นอักษรโบราณ จึงอยากคงรูปลักษณ์เดิมไว้ ไม่ได้ออกแบบใหม่ แต่ใช้วิธีเลียนแบบ  โดย typeface ที่เลือกมาทำ ได้มาจากสมุดข่อย ลิลิตพระลอ เล่มนี้ http://library.cmu.ac.th/digital_collection/digitalheritage/show.php?RecID=457&FID=32714



ส่วนรูปแบบการเขียนนำมาจาก จารึกในวัดโพธิ์ และสมุดข่อยจินดามณี เล่มนี้ http://library.cmu.ac.th/digital_collection/digitalheritage/show.php?RecID=432&FID=34288   แล้วก็ได้ขอคำแนะนำจากคุณหนุ่มรัตนะในอีกหลายๆคำที่ไม่มีอ้างอิงด้วยครับ ขอบคุณมา ณ ที่นี้ด้วย

ขอบพระคุณทุกแหล่งข้อมูลครับ

uvSOV
บันทึกการเข้า








download ฟอนต์ ที่นี่ --> https://mega.nz/#!jUBWWLAQ!6cueMhA25jW--rSZhSzWUYYDww4D7ys8P3Nr53BrSC4
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เม.ย. 2017, 12:50 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ตัวอย่าง การใช้ฟอนต์  สำหรับ ภัททิกาฉันท์  เหมือนรูปด้านบน



credit : http://www.sac.or.th/databases/inscriptions/inscribe_detail.php?id=3599
http://www.jarukwatpho.com/index.php?option=com_phocadownload&view=category&id=1:2011-12-20-04-59-05&Itemid=29

ฟอนต์ขอมใช้ KhomPaliForXP จากhttp://www.kitmaiwatpho.com/contactus/download.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ม.ค. 2017, 15:23 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
บันทึกการเข้า
โอ๊ย โวย สุดอีกแล้วครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ชื่อฟอนต์ : จารึก (SOV_Jaruk)

ข้อมูลการติดต่อ : https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich

ภาพไอคอน :


ภาพตัวอย่าง :






การใช้งานฟอนต์จารึกบาลี (ขอมบาลี)


ภาพโปสเตอร์ :


รายละเอียด :
1. เป็นฟอนต์ไทยโบราณ จัดทำขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกในการคัดลอก สมุดข่อย หรือจารึกต่างๆ เพื่อช่วยในการอนุรักษ์วัฒนธรรมของชาติไทยอีกทางหนึ่ง

ผู้สร้างฟอนต์ ไม่ได้เป็นผู้ออกแบบฟอนต์ แต่เลียบแบบมาจากสมุดข่อย ลิลิตพระลอ เล่มนี้ http://library.cmu.ac.th/digital_collection/digitalheritage/show.php?RecID=457&FID=32714

2. ไม่รองรับอักษรละติน  และจัดทำอักษรขอมบาลี เพิ่มในฟอนต์จารึกบาลี

3. การเขียนตัวอักษรยึดจากจารึกวัดโพธิ์เป็นหลัก จึงยังไม่รองรับตัวอักษรที่เปลี่ยนแปลงในสมัยต่างๆ และ อักษรย่อต่างๆ


download ฟอนต์ ที่นี่ --> https://mega.nz/#!jUBWWLAQ!6cueMhA25jW--rSZhSzWUYYDww4D7ys8P3Nr53BrSC4

 
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ฟรี ดัดแปลงแก้ไขได้ เพื่อประโยชน์ต่อการอ่านอนุรักษ์อักษรไทยโบราณ

ขอบคุณครับ
uvSOV

ได้แรงบันดาลใจ จากการได้อ่านกระทู้นี้ http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2010/06/K9360777/K9360777.html
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 04 เม.ย. 2017, 12:52 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
แนวนี้ต้องให้เขาเลย uvSov (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ม.ค. 2017, 16:36 น. โดย TST (Thai Smart Type) » บันทึกการเข้า
สวยงามมากครับ (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า

ติดตามผลงานได้ที่ www.facebook.com/cm28design
พออ่านเพิ่มเติมแล้ว พบว่าในบันทึก จารึก โบราณ เมื่อจะเขียนคำบาลี นิยมใช้อักษรขอม เช่น
http://library.cmu.ac.th/digital_collection/digitalheritage/show.php?RecID=572&FID=25551

จากการสังเกตพบว่า นิยมเขียนตัวขอมเล็กกว่าตัวไทย และชิดด้านบน  จึงได้จัดทำเป็นอีกฟอนต์ มาคู่กัน และใช้เป็น ขอมบาลี  เป็นหลัก
ไม่ได้รองรับขอมไทย การใช้งานก็ให้พิมพ์ภาษาไทย แบบบาลี ใช้ตัวพินทุ และ นิคหิต ไม่ใช้สระอะ  จากนั้นก็เปลี่ยนเป็นฟอนต์ จารึกบาลี (SOV_jarukbali)




ส่วนรายละเอียดการทำฟอนต์ขอม เยอะมาก เอาไว้จะเล่าให้ฟังอีกที

credit : KhomPaliForXP.ttf
http://www.nlt.go.th/node/183

ขอบคุณครับ
uvSOV
บันทึกการเข้า
ขอแชร์เบื้องหลัง และแนวคิดการ  เผื่อเป็นประโยชน์นะครับ



ขอแบ่ง 4 ขั้นตอนใหญ่ๆ


บันทึกการเข้า
1. สร้างตัวอักษร  ผมใช้ inkscape วาด vector ทีละตัวอักษร โดยร่างภาพจากสมุดข่อย



ทำไปเรื่อยๆจนครบทุกตัว


จากนั้น ก็เอามาทำเป็นฟอนต์  โดย fontforge  แบ่งเป็น 2 ชุด อักษรปรกติ และอักษรพิเศษสำหรับ ฟอนต์ชุดนี้

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.พ. 2017, 08:10 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
2. จัดการเรื่องช่องไฟ  เรื่องเล็กแต่ยิ่งใหญ่ พลาดเรื่องนี้ ฟอนต์นั้นแทบดับ .. แนะนำว่าควรวางแผนไว้ก่อน และจัดทำตั้งแต่ตอนออกแบบฟอนต์



2.1 ช่องไฟปรกติ



ให้เว้นระยะ ระหว่างเส้นกั้นหน้า และเส้นกั้นหลัง



2.2 การจัดการสระอา ที่จะเขียนติดกับพยัญชนะ



ตรงสระอา ให้วางตำแหน่งล้ำเส้นกั้นหน้า ..แค่นั้นเอง




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.พ. 2017, 08:11 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
3. การจัดการสระ วรรณยุกต์ โดยใช้ open type



3.1 ไม้โท ตัวเดียว แต่สามารถวางไว้หลายตำแหน่ง ขึ้นอยู่กับว่าประกบกับ อักษรตัวใด



อยู่บนพยัญชนะ จะอยู่ในตำแหน่งปรกติ ไม่ต้องทำอะไรพิเศษ  แต่ไม้โท ต้องวางในตำแหน่ง ล้ำหน้าเส้นกั้นหน้านะครับ  เมื่อ 2 ตัวประกอบกัน จะกลายเป็นไม้โท อยู่บน อ.อ่าง



กรณีที่ไม้โท ต้องอยู่บนสระอำ จะใช้คุณสมบัติ mark on mark  คือ กำหนด ตำแหน่ง Anchor-3 Base ที่นิคหิต   และกำหนด Anchor-3 Mark ที่ไม้โท  เมื่อเอามาประกบกัน  นิคหิตจะมาอยู่บน อ.อ่าง ตามปรกติ แต่ไม้โท จะลอยไปอยู่บน นิคหิต ในตำแหน่ง Anchor-3 ที่กำหนดไว้



กรณีสระอึ ตำแหน่ง Anchor-3 จะสูงกว่า นิคหิต ซึ่งเราก็ไม่ต้องทำอะไรแล้ว ไม้โทจะลอยขึ้นไปเอง



3.2 กรณีที่มีการวาง วรรณยุกต์ ไม่เหมือนกัน เช่น ไม้เอก ไม้โท บนสระอิ อยู่ตำแหน่งเดียวกัน  แต่ ไม้เอก ไม้โท บนสระอี อยู่คนละตำแหน่ง จะทำอย่างไร


สระอิ กำหนด Anchor-3 Base แค่จุดเดียว ก็จะได้ตำแหน่งเดียวกัน


ส่วน สระอี  กำหนด 2 จุด Anchor-3 Base และ Anchor-4 Base  และไม้โท มีการกำหนด Anchor-4 mark เพิ่มอีกจุด ไม้โท ก็จะย้ายมาใช้ ตำแหน่งของ Anchor -4 แทน





« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 17 ก.พ. 2017, 08:48 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
4. โดยปรกติ ก็เสร็จแล้ว แต่เนื่องจาก อักษรโบราณ มีการแปลงรูปพยัญชนะเยอะมาก หลากหลายรูปแบบ จะเล่าให้ฟังทีละแบบนะครับ

บันทึกการเข้า
อันแรกสุด เรื่องแก้ปัญหา วรรณยุกต์ลอย

1. ปรกติ วรรณยุกต์จะวางตำแหน่ง สูงกว่า ไม้หันอากาศ นิคหิต (สระอำ)
2. ถ้าไม่มีเขียนสูตรจัดการ  เมื่อเอา ไม้เอก ไม้โท มาวางบน ก.ไก่ ข.ไข่  ก็จะสูงเกินไป เรามักเรียกปัญหาสระลอย (แต่มันเป็นวรรณยุกต์ไม่ใช่หรอ  (อิอิ) งง แฮะ)

ต้องเขียนสูตร จัดการดังนี้ ก ถึง ฮ ที่ตามด้วย ไม้เอก ถึง ไม้จัตวา  ให้เปลี่ยน ไม้เอก ถึง ไม้จัตวา ให้เป็น ไม้เอก ถึง ไม้จัตวา ชุดที่วางตำแหน่งเตี้ยลงมา

บันทึกการเข้า
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!