หน้า: 1 ... 65 66 67 68 69 70 71 [72] 73 74 75 76 77 78 79 ... 440
 
ผู้เขียน หัวข้อ: หมอแมวเค้าถามอะไรหน่อยสิ -..-  (อ่าน 1757152 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เกทและ โทษที ไหว้
บันทึกการเข้า
อายุมากกว่ายักษ์1ปีครับ

19 เหรอครับ กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
26
บันทึกการเข้า
http://www.bangkokhealth.com/skin_htdoc/skin_health_topics.asp

ลองเข้าไปดูในเวบนี้นะครับเกี่ยวกับโรคผิวหนัง อาจจะมี
(พอดีกำลังหาเรื่อง ลมพิษ อยู่)
บันทึกการเข้า

i'll walk until i find u.
ตอบMUM ครับ
จุดที่ว่าผมว่าน่าจะเรียกว่าecchymosis

แต่ข้อมู,น้อยเกินไปครับ บอกไม่ถูกว่าเป็นอะไร....  แต่ไม่น่าจะเป็นงูสวัด งูสวัดจะเป็นพื้นแดงก่อน1วันแล้วก็เห่อเป็นตุ่มน้ำใสๆ
และถ้าไม่มีอาการอะไรเลย สันนิษฐานว่าปลอดภัย ฮิ้ววว
(อาการที่ผิดปกติ ก็พวกเลือดออกตามไรฟัน เลือดกำเดาไหล ถ่ายเป็นเลือด ...มีไหมอ่ะ ถ้าไม่มีก็คือไม่ต้องไปทำอะไร)

(พอๆกับบอกว่า ไปเจอตัวอะไรสักอย่างยืนอยู่นอกบ้าน เป็นสัตว์มีขาสองขา ตัวขนาดครึ่งฟุตน่ะครับ... บอกไม่ได้ว่าเป็นตัวอะไร) ฮิ้ววว

มีภาพให้ดูไหมครับ
************************************************************************
เดี๋ยวตอนบ่ายจะเอาเรื่องประกาศข้อเท็จจริงทางการแพทย์มาลงให้อ่านครับ เอือม (เรื่องสามสิบบาท ขอพักไว้ชั่วคราว)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ธ.ค. 2006, 14:46 น. โดย หมอแมว » บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.พ. 2007, 14:48 น. โดย โลกส่วนตัว » บันทึกการเข้า

หมอแมว อยากถามว่า

การกินยา ก่อน-หลัง อาหารเนี่ย มันก่อนนี่นาทีหลังกี่นาทีครับ

เคยได้ยินว่า ก่อน 1ชมหรือ15นาที (ข้อมูลไม่แน่ชัด แต่ปกติ พอกินยาไปก็ซัดข้าวตามเลย - - โดยคิดว่า เอาฟะ ก็กินก่อนอาหารนี่หว่า)
ส่วนไอ้หลังอาหารเนี่ย มันต้องเว้นช่วงอีกมั้ยครับ

สงสัยมาตั้งแต่เด็ก แต่ไปหาหมอก็ลืมถามทุกที - -
ก่อนอาหาร 15-30นาทีครับ เพราะต้องการให้กินยาตอนท้องว่าง ถ้าไปกินพร้อมหรือหลังอาหาร จะไปเจอกรดในกระเพาะ ยาบางชนิดเจอกรดแล้วไม่ดูดซึม
หลังอาหาร 30นาที-1ชม. เพราะยาบางชนิดกินแล้วกัดกระเพาะ หรือยาบางอย่างต้องการความเป็นกรดในการทำให้ยาแตกตัว


เร่ืองประกาศข้อเท็จจริงทางการแพทย์ที่จะเอามาลง ต้องแจงไว้ก่อนว่าตอนนี้มีหมอคนนึง ตั้งตนเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบท ออกมาทำงานเรียกร้องด้านต่างๆ
เอาเป็นว่าผมไม่เห็นด้วยกับหมอคนนี้ เพราะตาแกมีพฤติกรรมหมกเม็ดแล้วเอาคนอื่นเป็นที่รองตีนเพื่อขึ้นหาตำแหน่ง
อย่างที่แกไปกล่าวหาว่านายกแพทยสภาคนปัจจุบันประกาศเพื่อหาเสียง แพทย์ทั้งหลายก็รู้ว่าไม่จริง เพราะว่าเรื่องนี้เราทราบกันมาหลายปีแล้ว .... ตัวแกเองต่างหากที่หาที่นั่งมาหลายปี
จนป่านนี้บรรดาหมอทั้งหลายเรียกแกว่านายแพทย์ เกรียนศักดิ์กันแล้ว โวย
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
 กร๊าก กร๊าก กร๊าก
บันทึกการเข้า

รับงานถ่ายภาพ
www.rpash.com
  คนแบบนี้มีอยู่ทุกวงการนะครับ เชื้อชั่วไม่ยอมตายจริงๆ
บันทึกการเข้า

สู่ความโดดเดี่ยว อันไกลโพ้น
ประกาศแพทยสภา เรื่องข้อเท็จจริงทางการแพทย์
ในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา ได้มีการวิพากษ์วิจารณ์การออกประกาศ"ข้อเท็จจริงทางการแพทย์"ที่ออกมาโดยแพทยสภา มีการพยายามเสนอข่าวในเชิงที่ว่าสิ่งที่แพทยสภาออกมาคือ"กฎหมาย"และมีความพยายามบิดเบือนโดยกลุ่มคนบางกลุ่มว่าประกาศฉบับนี้เป็น"กฎหมายห้ามฟ้องแพทย์"
ยิ่งเมื่อมีสื่อมวลชนบางคน และแพทย์บางคน(ที่แพทย์ทั้งหลายก็รู้ว่าเป็นใคร) ออกมาให้ความเห็นคัดค้านว่าเป็นการกระทำที่ผิดจรรยาแพทย์ ก็เลยทำให้เกิดความน่าสงสัยว่า แพทยสภาจะมีหรือที่จะออกประกาศออกมาให้คนด่าเล่น
อันที่จริงแล้วเมื่อประมาณ6เดือนก่อน ผมได้อ่านร่าง"ประกาศข้อเท็จจริงทางการแพทย์"ที่แพทยสภาได้ส่งไปที่บ้านแล้วรอบหนึ่งและได้มีความคิดจะเขียนแล้วเอามาลงในMthaiอยู่แล้ว แต่ในครั้งนั้น ด้วยเชื่อว่าอ่านเนื้อความแล้ว ไม่มีเหตุอะไรที่น่าจะต้องเขียน และมองโลกในแง่ดีว่ามันไม่ได้เป็นกฎหมายอะไรทั้งนั้น เป็นแค่การบอกกล่าว"เรื่องธรรมดาสามัญ"ของมนุษย์ปุถุชนภายใต้กรอบกฎหมายบ้านเมือง
คำถามก่อนการอ่านต่อไป

ก.เป็นกฎหมายหรือข้อบังคับหรือไม่ (ไม่ เป็นประกาศเพื่อแสดงความจริง)
สิ่งที่ทางแพทยสภาประกาศออกมา คือ"ข้อเท็จจริง" สิ่งที่กล่าวขึ้นมาเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย เช่น คนไข้มารพ.โดยต้องการให้แพทย์รักษาตามใจตนเอง(ข้อ1) ผู้ป่วยปิดบังข้อมูลโรคประจำตัวบางอย่างจนเกิดผลเสียต่อการรักษา(ข้อ8) เป็นต้น สิ่งที่แพทยสภาทำนั้นก็เป็นเช่นเดียวกับประกาศสิทธิผู้ป่วยนั่นคือ เป็นการบอกสิทธิของผู้ป่วย และสิ่งที่ผู้ป่วยควรจะทำเพื่อประโยชน์ทางสุขภาพของตนเอง ซึ่งทั้งสิทธิผู้ป่วยและข้อเท็จจริงทางการแพทย์ ต่างเป็นสิ่งที่ตั้งอยู่บนกฎหมายและรัฐธรรมนูญอยู่แล้ว เพียงแต่แพทยสภานำมากล่าวให้ชัดเจนเท่านั้น

ข.มีข้อใดที่ก่อผลเสียต่อผู้ป่วยหรือไม่ (ไม่มี แค่บอกกล่าวความจริง)
อย่างที่บอกแล้วว่าเป็นการประกาศสิ่งที่เป็นอยู่จริงอยู่แล้ว ไม่ได้มีผลต่อการรักษาผู้ป่วย เพียงแต่แสดงจุดยืนให้ชัดเจน อีกทั้งเป็นการบอกให้รู้ว่าการรักษาด้วยระบบทางวิทยาศาสตร์การแพทย์นั้นมีข้อจำกัดหลายอย่าง ถึงแม้จะรักษาอย่างเต็มที่ในประเทศหรือที่ซึ่งมีเทคโนโลยีที่พร้อม แต่กับเมืองไทยซึ่งแพทย์ยังมีไม่มากยิ่งไปกันใหญ่




ผมอยากนำเสนอให้ทุกท่านอ่านประกาศข้อเท็จจริงไปด้วยกันกับผม และมาดูในรายละเอียดของแต่ละข้อกัน
1."การแพทย์" ในที่นี้ หมายถึงการแพทย์แผนปัจจุบัน ซึ่งคือการแพทย์ที่ได้รับการพิสูจน์แล้วทางวิทยาศาสตร์ว่ามีประโยชน์
ปกติแพทย์เรียนมายังไงก็รักษาอย่างนั้น แต่ว่าในการทำงานกับคนจริงๆ ในชนบทจริงๆ มีความเชื่อความเข้าใจหลายอย่างที่บางครั้งแก้ไขยาก
ตามสามัญสำนึก ถ้ามารพ.แต่ไม่รักษาตามที่แพทย์บอก หรือไปรักษาทางไสยศาสตร์,ความเชื่อ ก็ย่อมเป็นความรับผิดชอบของคนๆนั้น
แต่ชีวิตจริงไม่ใช่แบบนั้น ที่แพทย์ชนบทตัวจริงต้องเจอคือต้องชนกับความเชื่อของชาวบ้าน
บางคนมารพ. ปวดท้องหมอสงสัยไส้ติ่ง ผู้ป่วยไม่ต้องการผ่าตัด แต่ต้องการนอนพ่นน้ำมนต์ในโรงพยาบาล แพทย์เห็ฯว่ากลับไปแล้วต้องตายแน่ก็เลยให้นอนรพ.(แต่ผู้ป่วยหัวเด็ดตีนขาดก็ไม่ยอมผ่าตัด) ... ต่อมาผู้ป่วยปวดท้องมาก แพทย์ตื้อให้ผ่าจนผู้ป่วยยอมผ่า แต่พบว่ากลายเป็นไส้ติ่งแตกไปแล้ว... กรณีแบบนี้ถ้าเกิดขึ้นในภาคกลาง ผมพนันได้10:1 ว่าหมอต้องโดนร้องเรียนแน่นอน
หรือที่ผมเจอเอง โดนงูกัด เอางูมาโรงพยาบาล ... ผมแนะนำให้นอนโรงพยาบาล แต่ญาติและผู้ป่วยไม่ยอม บอกว่าจะเอากลับไปรักษาด้วยว่านที่บ้าน (คงคิดแล้วใช่ไหมครับว่าแล้วจะพามารพ.ทำไม) พอถามว่าแล้วพามาทำไม เค้าก็ตอบซื่อๆว่า ถ้ากลับไปบ้านแล้วเป็นอะไรไปจะได้มีคนรับผิดชอบ....... ผมฟังแล้วก็หน้าชาเหมือนกัน (สรุปแล้วผมก็บอกว่าถ้าไม่รักษาที่รพ. จะมาให้หมอรับผิดชอบคงไม่ได้หรอก... ว่าแล้วผู้ป่วยก็เลยยอมนอนรพ.)


2.การแพทย์ยังไม่สามารถให้การวินิจฉัย ป้องกัน และ/หรือบำบัดให้หายได้ทุกโรคหรือทุกสภาวะ บางครั้งอาจทำได้เพียงบรรเทาอาการหรือประคับประคองเท่านั้น ยิ่งกว่านั้น บางโรคยังมิอาจให้การวินิจฉัยได้ในระยะเริ่มแรก
เรื่องนี้สามัญสำนึกทั่วไปก็คงรู้ว่าจริง อย่างความแก่ชรา โรคเอดส์ มะเร็งหลายๆชนิด ไม่มีทางรักษาให้หายขาดได้(ยังไงก็ตาย) ในการรักษานั้นส่วนใหญ่แพทย์จะบอกกล่าวญาติไว้เลยว่า ไม่ไหวแล้ว หรือ แม้จะไม่หมดหวังทั้งหมดแต่ก็แย่มากแล้วให้ทำใจ
ญาติบางคนกลับไม่เข้าใจในจุดนี้ และไปคิดว่าแพทย์พูดเล่นพูดเผื่อ เมื่อเกิดการเสียชีวิตก็มองไว้ก่อนเลยว่าเป็นความผิดของแพทย์
หลายครั้ง ผุ้ป่วยเสียชีวิตแล้ว หัวใจไม่เต้นไม่หายใจ เดินทางไปโรงพยาบาลใช้เวลาครึ่งชั่วโมง เมื่อไปถึงแพทย์ปั้มหัวใจพยายามช่วยและไม่สำเร็จ เมื่อนำศพกลับไปกลับเป็นเรื่องราวขึ้นมาว่าแพทย์รักษาไม่ดีรักษาไม่รอด .... เรื่องเหล่านี้เวลาเอาไปพูดกันก็มักวิจารณ์ว่าทำไมหมอถึงไม่มีฝีมือ ทั้งที่หัวใจหยุดมานานครึ่งชั่วโมง หมอเกรียนเทพที่ไหนก็ไม่สามารถช่วยเหลือได้
ส่วนเรื่องการไม่สามารถวินิจฉัยโรคในภาวะเริ่มแรกนั้น คงต้องบอกถึงเรื่องไส้ติ่งเป็ฯหลัก
ไส้ติ่งส่วนใหญ่วันแรกที่ปวด จะปวดกลางๆท้อง.... หมอตรวจไม่เจออะไรทั้งนั้น ไม่ว่าจะเป็นประธานชมรมแพทย์ชนบทหรือจะเป็นแพทย์ที่ทำงานในชนบทจริงๆก็ตาม เมื่อผ่านไปสองสามวันอาการจึงจะเด่นชัด
ช่วงที่ผมยังผ่าไส้ติ่งอยู่ จะเห็นชัดเจนว่าคนไข้เกือบทุกคนที่ต้องผ่าไส้ติ่งโดยที่ไปหาหมอท่านอื่นมาก่อน จะด่าหมอคนแรกว่าห่วยที่วินิจฉัยไม่ได้ ผมก็ต้องมานั่งทำความเข้าใจว่า ต่อให้หมอเทพเกรียนมาจากไหน ก็วินิจฉัยไม่ได้ ... คนไข้เชื่อบ้างไม่เชื่อบ้าง
เคยมีรายหนึ่งพอผมผ่าเสร็จมาดูอาการ ทั้งผู้ป่วยและญาติก็ชมผมว่าพูดจาเพราะสนใจคนไข้ ไม่เหมือนหมอคนก่อนที่ไม่บอกอะไรพูดจาตะคอกโฮกฮากตรวจก็ห่วย.... จนผมต้องบอกว่า หมอคนแรกกับคนที่สองมันก็ผมเองนั่นแหละ แล้วก็จำไม่ได้ว่าไปตะคอกใส่เมื่อไหร่(ปีนั้นทั้งปีไม่ได้ตะคอกใครเลยอยู่แล้ว)
.... ประกาศฉบับนี้ คงไม่ได้ทำให้ผู้ป่วยเข้าใจอะไรนัก แต่การมีอยู่ของข้อนี้ก็จะทำให้ง่ายต่อการอธิบายมากขึ้นว่า ไอ้ที่หมอบอกพร่ำบ่นอยู่เนี่ย เป็นความจริงที่แพทย์ท่านอื่นๆทั่วไปเขาก็รู้กัน ไม่ใช่ยกเมฆมาคนเดียว

   
3.ในกระบวนการดำเนินการทางการแพทย์อาจเกิดสภาวะอันไม่พึงประสงค์ได้ แม้ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมจะใช้ความระมัดระวังอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม ซึ่งถือว่าเป็นเหตุสุดวิสัย

ในทางการแพทย์นั้นเป็นที่รู้กันอยู่แล้วว่าไม่มีอะไรที่ปลอดภัย100% ไม่ว่าจะเป็นอะไรที่เล็กน้อยมากๆเช่นการถอดเล็บ หรือเจาะเลือด
น่าเสียดายที่คนส่วนใหญ่ไม่ค่อยรู้กัน และเวลาแพทย์พูดถึงสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นได้ก็มักจะไม่สนใจฟังหรือรำคาญ.... และเมื่อเกิดเรื่องขึ้นมาก็มักจะบอกว่าเป็นความผิดพลาดของแพทย์
ยกกรณีที่เกิดขึ้นกับคนที่รู้จักกับทางครอบครัวผม สุขภาพแข็งแรงดี ไปตรวจเช๊คสุขภาพและทำเอกซ์เรย์คอมพิวเตอร์(ซึ่งปกติมีการฉีดสี)ซึ่งทั้งคนทำและถูกทำก็รู้ว่ามีโอกาสแพ้อยู่แล้วแต่ต่ำมาก.... โชคร้ายที่แจ๊คพ็อตมาตรงพอดี เกิดการแพ้รุนแรงจนถึงแก่ชีวิต แม้จะเตรียมเครื่องมือช่วยเหลือล่วงหน้าเต็มที่อยู่แล้วก็ช่วยเหลือไม่ทัน....
ผมเอง เคยมีผู้ป่วย(จริงๆไม่ป่วย) จะมาขอให้ผมส่งตรวจCT โดยที่ไม่ได้มีอาการอะไรเลย ผมก็ยกเรื่องแบบนี้ให้ฟังและพยายามบอกว่าถ้าไม่มีอะไร ก็ไม่ต้องไปตรวจเพราะอันตรายและไม่ได้อะไรขึ้นมา... แต่ดูท่าทีแล้วอีกฝ่ายคงจะคิดว่าผมพูดเล่นซะมากกว่า
การมีอยู่ของประกาศข้อนี้ เป็นการยืนยันความจริงที่จะช่วยให้แพทย์อธิบายได้ง่ายขึ้นว่าของพวกนี้มันไม่ได้ปลอดภัย100% ไม่ใช่คำขู่เล่นๆของหมอ
และเวลาไปออกทีวี จะได้เลิกอ้างคำพูดว่า แพทยสภาไม่เคยประกาศว่าการรักษาอย่างถูกต้องก็สามารถเกิดภาวะไม่พึงประสงค์ได้


   
4.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมย่อมใช้ดุลพินิจใ นการเลือกกระบวนการดำเนินการทางการแพทย์ รวมทั้งการปรึกษาหารือส่งต่อโดยคำนึงถึงสิทธิและประโยชน์โดยรวมของผู้ป่วย

สามัญสำนึกของคนทั่วไป ถ้าอยู่บ้านก็รักษาตัวเอง แต่หากมาโรงพยาบาลแล้วแม้ว่าจะสามารถเป็นผู้ตัดสินใจได้ก็ต้องให้แพทย์เป็นผู้รักษา แต่ในทางปฏิบัติแล้วจะพบว่าผู้ป่วยบางรายต้องการตัดสินใจการรักษาทั้งหมดโดยที่ไม่ฟังความเห็นของแพทย์
อย่างเช่นตรวจพบว่าเป็นการท้องนอกมดลูก แต่ผู้ป่วยเคยได้ยินว่ามีการรักษาโดยใช้ยาไม่ต้องผ่าตัด แต่แพทย์เห็นว่าเริ่มไม่ดีแล้วหากปล่อยหรือยอมส่งตัวไปในโรงพยาบาลที่ทำแบบนั้นได้ ต้องเดินทางอีกเป็นหลายชั่วโมง มีโอกาสถึงแก่ชีวิต แพทย์ก็มีสิทธที่จะไม่ยอมใช้การรักษานั้น
ตรวจพบว่าเป็นมะเร็ง ต้องส่งไปตรวจเพิ่มเติมและรักษาในศูนย์มะเร็ง แต่ผู้ป่วยบอกว่าไม่ต้องส่งหรอก ตัดก้อนทิ้งก็พอ แพทย์เห็ฯว่าการตัดก้อนเฉยๆโดยไม่ฉายแสงให้คีโมต่อนั้นไม่มีประโยชน์อันใด ก็มีสิทธิไม่ยินยอมรักษาตามแบบที่ผู้ป่วยต้องการ
ถ้าจะเอาให้ชัดเจนและใกล้ตัวทุกท่านมากๆ ก็อย่างกรณีเจ็บคอมีไข้ต่ำๆไปแล้วได้แต่ยาพาราฯที่หลายๆคนบ่นกันนักหนาว่าจ่ายแต่พาราฯ .... ก็ถ้าคอแดงนิดเดียว ไข้37นิดๆ ทอนซิลไม่อักเสบ  การจ่ายยาแก้อักเสบฆ่าเชื้อ นอกจากไม่มีประโยชน์แล้วยังไปทำให้เชื้อในร่างกายเกิดการดื้อยา เป็นผลเสียในภายภาคหน้า ... แพทย์ก็มีสิทธิที่จะไม่สั่งยาเอาไปกินให้เชื้อดื้อเล่น (แต่ปัจจุบันถ้าคนไข้เยอะมากๆ อธิบายไม่ทัน หลายแห่งก็อาจจะต้องยอมให้ไปเพราะถ้าไม่ให้ก็ไม่ยอม... เป็นการแก้ปัญหาที่ปลายเหตุซึ่งหลายที่แก้ไขไม่ได้)


5.เพื่อประโยชน์ต่อตัวผู้ป่วยเอง ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอาจปฏิเสธการรักษาผู้ป่วยที่ไม่อยู่ในสภาวะฉุกเฉินอันจ ำเป็นเร่งด่วนและเป็นอันตรายต่อชีวิต โดยต้องให้คำแนะนำหรือส่งต่อผู้ป่วยตามความเหมาะสม

ข้อนี้ได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ และถูกใช้เป็นเครื่องมือในการบิด....ข้อมูลในการออกรายการหนึ่ง....
ในข้อนี้ต่างจากข้อ4ตรงที่ ข้อ4มุ่งเน้นเรื่องกระบวนการรักษาเป็นหลัก แต่ในข้อ5นี้พูดถึงว่าการที่แพทย์จะไม่รักษานั้นประกอบด้วยองค์ประกอบใดบ้างนั่นคือ หากแพทย์จะไม่ยอมรักษาผู้ป่วยก็ต้องมี
- ผลประโยชน์ของผู้ป่วยเป็นหลัก ไม่ใช่ผลประโยชน์ของแพทย์หรือโรงพยาบาล
- เป็นภาวะที่ตรวจแล้วหรือเห็นชัดว่าไม่ฉุกเฉิน ไม่อันตรายต่อชีวิตในตอนนั้น (และเมื่อประกอบกับข้อ5 ถ้าช่วยแล้วมีผลเสียมากกว่าส่งต่อก็มาเข้าเกณฑ์นี้อีก)
- ต้องบอกว่าที่ไม่รักษาก็ต้องบอก แนะนำ หรือส่งต่อให้รักษา .... ไม่ใช่เดินมา มองหน้า โบกมือให้กลับไปแล้วไม่บอกอะไร
ที่ผ่านมาปัญหานี้มีมากทีเดียวในกรณีรูปแบบต่างๆกันเช่น
-ผู้ป่วยตื้อให้รักษาไปเลยด้วยวิธีที่ผู้ป่วยเชื่อว่าได้ผล แต่แพทย์เห็นชัดแล้วว่าถ้ารักษาแบบนี้ไม่มีทางดีขึ้นแน่.... ตัวอย่างยอดนิยม เช่นผู้ป่วยมีอาการซีดเรื้อรัง มารพ.ขอรับเลือดโดยไม่ยอมตรวจเพิ่มเติมหลายครั้ง ครั้งนี้มาขอรับเลือดเมื่อแพทย์ตรวจร่างกายและเจาะเลือดแล้วพบว่าซีดเพียงเล็กน้อย .... แพทย์จึงให้ส่งตัวไปโรงพยาบาลจังหวัดเพื่อทำการตรวจส่องกล้องระบบทางเดินอาหาร และปฏิเสธการไม่ให้เลือด
-ผู้ป่วยไม่ฉุกเฉิน.... ผู้ป่วยขี่จักรยานหกล้ม(หัวไม่กระแทกไม่สลบมีแผลถลอกเล็กน้อย) เดินมาโรงพยาบาล ตรวจแล้วเอกซ์เรย์แล้ว(ทั้งที่รู้ว่าไม่จำเป็นแต่ผู้ป่วยต้องการมาก) พบว่าน่าจะเป็นอาการช้ำธรรมดา แต่ผู้ป่วยต้องการนอนโรงพยาบาลให้น้ำเกลือและเอกซ์เรย์สมอง  แพทย์เห็นว่ารักษาด้วยการกินยาพาราเซตามอลและพักสักวันก็เพียงพอ ผู้ป่วยไม่พอใจและเห็นว่ารถล้มเป็นเรื่องฉุกเฉินเร่งด่วนอาจจะถึงแก่ชีวิต ... แต่เมื่อแพทย์ตรวจและไม่พบความจำเป็นที่จะต้องตรวจแล้ว ก็สามารถอธิบายและไม่ตรวจรักษาต่อได้ (จะให้ตรวจอะไรต่อล่ะครับ)
น่าเสียดายที่ประกาศฉบับนี้ไม่ครอบคลุมถึงเพื่อประโยชน์ของผู้ป่วยที่มีอาการหนักถึงแก่ชีวิตกว่า... เพราะที่ผ่านมาปัญหาหนึ่งที่พบบ่อยก็คือ ระหว่างที่แพทย์พยาบาลกำลังช่วยเหลือผู้ป่วยที่กำลังจะตาย(เช่นโดนยิง, รถคว่ำ, ปอดทะลุ หรือคนไข้เลือดไหลท่วมเป็นลิตรๆ) บางครั้งเกิดมีคนที่รอไม่ไหวบอกว่าตนเองฉุกเฉินเร่งด่วนเข้ามาขัดขวางการรักษา เช่น คนไข้ขาดยาความดัน10วัน คนไข้อยากผ่าหูด คนไข้ท้องเสียที่ความดันปกติ  ซึ่งถ้าแพทย์คนไหนเกิดเหตุการณ์นั้นและดวงตกพอ ก็อาจจะโดนญาติผู้ป่วยทั้งสองฝ่ายร้องเรียนพร้อมๆกัน

คำถามที่ถามกันมากเนื่องจากมีการปลุกกระแสก็คือ อย่างนี้แพทย์มีสิทธิปฏิเสธผู้ป่วยได้เสมอใช่ไหม คำตอบก็คือไม่ใช่.... ถ้าเป็นโรคที่แพทย์รักษาได้ที่นั่นเลย ก็ต้องตรวจรักษาตามปกติ
ดังนั้นอาจจะตอบปัญหาที่มีคนสร้างกระแสว่า "ถ้าคนไข้ไม่มีเงิน หมอไม่รักษาได้" ว่า "ไม่เป็นความจริง"

   
6.ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานและจริยธรรมวิชาชีพ ย่อมมีสิทธิ และได้รับความคุ้มครองที่จะไม่ถูกกล่าวหาโดยไม่เป็นธรรม

ตามกฎหมายไทยภายใต้รัฐธรรมนูญ ประชาชนทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการคุ้มครองจากการถูกกล่าวหาอย่างไม่เป็นธรรม จึงมีการฟ้องหมิ่นประมาทกันในสังคมไทย
กรณีที่เจอกันบ่อยมากก็คือหมอตรวจในโรงพยาบาล ผู้ป่วยบางคนมารักษาแล้วเกิดความไม่พอใจ... ยกตัวอย่างกรณีของผม ผู้ป่วยมาแล้วต้องการยาที่ไม่จำเป็นและเห็นแล้วว่าอันตราย(มาขอยานอนหลับ4-5ชนิด) พอไม่ให้ก็เดินมาหน้าห้องแล้วมาด่าว่าผมที่หน้าห้องตรวจ พอมีคนมาเชิญไปที่อื่นดีๆ ก็ออกไปด่าหน้าโรงพยาบาลว่าหมอด่าว่าและไม่ยอมตรวจ...
ถ้าเป็นอาชีพอื่น ผู้ป่วยคนนี้คงโดยฟ้องหมิ่นประมาทหรือแจ้งความไปแล้ว แต่สังคมไทยเป็นสังคมที่อลุ้มอล่วยกันมาก ที่ผ่านมาแพทย์มักจะปล่อยไป... แต่ปัจจุบันเวลาเกิดเหตุผู้ป่วยกล่าวหาแพทย์แล้วแพทย์ปล่อยเลยไป ก็กลายเป็นว่ายอมรับว่าทำจริง (เป็นข่าวก็แพทย์ผิด) ถ้าหากแพทย์ไปฟ้องหรือไปแจ้งความแพทย์ก็จะโดนกล่าวว่าไม่มีความเมตตา
ประกาศนี้จึงมีจุดประสงค์เพื่อบอกให้รู้ว่าแพทย์ก็เป็นคนๆนึง มีสิทธิต่างๆเท่ากันกับคนทั่วไป หากคิดว่าไม่พอใจในการตรวจรักษาหรือมาตรฐาน ก็ควรจะปฏิบัติเช่นเดียวกับความไม่พอใจในการรับบริการอื่นๆ นั่นคือร้องเรียนไปตามระบบ ถ้าหากออกมาต่อยหมอ ด่าหมอ ก็ต้องรับรู้ไว้ว่าเป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้อง
ตามที่นพ.เกรียนศักดิ์ ได้บอกว่าเป็นการคุ้มครองไม่ให้ถูกฟ้องหรือแจ้งความนั้น ก็ไม่เป็นความจริง  เพราะในกฎหมายไทย ประชาชนทุกคนก็มีสิทธิได้รับความคุ้มครองที่จะไม่ถูกกล่าวหา"อย่างไม่เป็นธรรม"อยู่แล้ว
ถ้าทำผิด ก็โดนร้องเรียนฟ้องร้องได้ตามกฎหมาย
   
7.ภาระงาน ข้อจำกัดของสถานพยาบาล ความพร้อมทางร่างกาย จิตใจ และสภาพแวดล้อมของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ย่อมมีผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการดำเนินการทางการแพทย์

เอาง่ายๆครับ หลายโรงพยาบาลมีหมออยู่กันแค่สองคน ดูผู้ป่วยนอกวันละ300-400คนต่อช่วงเช้า ตกเย็นต้องมาอยู่เวรถึงเช้า วันเว้นวัน.... บางครั้งเจอเรียกตัวไปประชุมของจังหวัด ไปเป็นพยานศาล ซะ1คน อีกคนก็ต้องอยู่เวร บางคนไม่ได้นอนติดกันสามวัน บางคนจำต้องอยู่เวร5วันติดกัน ไม่ได้นอนเต็มตื่นสักคืน
หมอบางคนที่เป็นข่าว ข่าวไม่ลงไปด้วยว่าสภาพหมอบางคนอาการหนักแค่ไหน , หมอบางคนมีไข้39-40 แต่ก็ต้องทนทำงานเพราะไม่มีคนอื่นมาอยู่เวรแทน (รพ.ใกล้ก็เต็มกลืน) , บางคนเป็นข่าวว่าพูดจาไม่เพราะไม่มีหางเสียง แต่ข่าวเลี่ยงไม่ลงว่าแพทย์โดนด่าบุพการี โดนถุยน้ำลายใส่ หรือโดนผลักอก โดยคนที่เรียกตนเองว่า"ผู้ป่วย" 
กฎหมายของบางประเทศ สั่งห้ามแพทย์ไม่ให้ทำงานเกิน....ชม.ต่อสัปดาห์ ใครทำมีความผิด
แต่ของไทย แพทย์ส่วนใหญ่รู้ดีว่าถ้าไปกำหนดเพดานการทำงานแบบนั้นล่ะก็ได้วุ่นวายกันไปทั่วแน่นอน ก็เลยไม่มีใครออกมาเรียกร้องเพื่อเห็นแก่ส่วนรวม
ดังนั้นประกาศในข้อนี้ จึงเป็นแค่การบอกความจริงอีกข้อตามหลักเหตุและผลว่า "ในสภาพโรงพยาบาลของประเทศกำลังพัฒนา มีหมอ1-2คน ทำงานได้นอนวันละ5-6ชั่วโมง ไม่มีวันหยุด มีคนไข้มาวันละ300-400คน โดนคนไข้บางคนด่าว่าทุกวัน จะให้รักษาเทียบเท่ารพ.มหา'ลัยฮาร์วาร์ดของอเมริกาและให้นั่งคุยกับคนไข้คนละครึ่งชั่วโมง คงเป็นไปไม่ได้"

   

8.การปก ปิดข้อมูลด้านสุขภาพและข้อเท็จจริงต่างๆ ทางการแพทย์ของผู้ป่วยต่อผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมที่ทำการวินิจฉัยและรักษาย่อม มีผลเสียต่อการวินิจฉัยและการรักษา

ตามสามัญสำนึกของคนทั่วไป ถ้าปกปิดหรือไม่บอกข้อมูลทางสุขภาพแล้วก็ย่อมมีผลเสียใช่ไหมครับ... อย่างเช่น ผู้ป่วยมีโรคหอบหืดอยู่ก่อน เมื่อไปรักษาโรคความดันสูงกลับไปบอกหมอว่าไม่มีโรคประจำตัว.... เมื่อหมอให้ยาลดความดัน ก็เกิดอาการหอบหืดกำเริบ... ฟังดูก็ปกติดีผู้ป่วยผิดพลาดเองที่ไม่บอก
แต่ความซับซ้อนของมันอยู่ที่ว่า บางโรคถ้าปกปิดปุ๊บ อาจจะส่งผลเสียจนถึงชีวิต หรือพิการได้ และเมื่อเกิดเหตุขึ้นมาแล้วผู้ป่วยและญาติบางครั้งก็ร้องเรียนโดยพยายามจะ"ไม่พูดถึงประเด็นที่ผู้ป่วยได้ปกปิดข้อมูล" มีบางกรณีเคยเป็นข่าวออกทีวีด้วยซ้ำ
ถ้ายกตัวอย่างให้ชัดเจนขึ้น ผู้ป่วยติดเชื้อเอดส์และรู้ตัวอยู่แล้ว ป่วยมีไข้ไอไปโรงพยาบาล แพทย์ถามโรคประจำตัวก็ตอบว่าไม่มี เมื่อตรวจรักษาตามแนวทางปกติก็ตรวจไม่พบอะไร เวลาผ่านไปปรากฎว่าผู้ป่วยติดเชื้อชนิดที่ไม่พบในคนปกติ เกิดอาการหนักต้องเข้าไอซียู เมื่อหายก็กล่าวหาว่าแพทย์ตรวจรักษาไม่ดีทำไมไม่ตรวจด้วยเครื่องมือชนิดหนึ่งซึ่งถ้าตรวจจะเจอทันที และอ้างว่าที่ไม่บอกแพทย์ว่าติดเอดส์ก็เพราะแพทย์ไม่ได้บอกก่อนว่าสำคัญต่อการรักษา
เอาง่ายๆว่า เวลาเกิดเรื่องแล้ว ผู้ป่วยบางคนจะอ้างว่า "หมอไม่บอกก่อนว่าถ้าปกปิดแล้วอันตรายขนาดนี้ ถ้าหมอบอกว่าอันตรายผมก็บอกแล้ว" (มีจริง และน่าเสียใจที่อ้างแล้วฟังขึ้นในสื่อต่างๆ)
การประกาศนี้ออกมาให้ชัดเจนจะได้เป็นการบอกให้ทุกคนรู้ไปเลยว่า การปกปิดข้อมูลข้อเท็จจริงทางสุขภาพมันก่อผลเสียได้

9.การไม่ปฏิบัติตัวตามคำแนะนำของผู้ ประกอบวิชาชีพเวชกรรม หรือบุคลากรทางการแพทย์ ย่อมมีผลเสียต่อการรักษาและการพยากรณ์โรค

ฟังดูก็ปกติธรรมดานะครับ ถ้าไม่ทำตามหมอสั่งก็ย่อมเกิดผลเสียต่อการรักษาและต่อโรคในระยะยาว ไม่น่าจะเอามาโกรธแพทย์ แต่ปัจจุบันก็มีปัญหาที่เกิดจากเรื่องแบบนี้อยู่บ่อยๆ
ผู้ป่วยถุงลมโป่งพอง เกิดจากการสูบบุหรี่เป็นเวลานาน... โรคนี้รักษาไม่หายแต่พอจะชะลออาการได้ถ้าไม่สูบบุหรี่เพิ่มเติม แต่ผู้ป่วยหลายคนจะไม่ยอมหยุดสูบบุหรี่ โรคก็จะหนักขึ้นเรื่อยๆ.... ผมเองรักษาผู้ป่วยที่เป็นแบบนี้หลายคน มีบางรายมีอาการหนักเพราะหยุดสูบบุหรี่ไม่ได้มาโรงพยาบาลต้องใส่ท่อช่วยหายใจเข้าเครื่องช่วยหายใจ ญาติบางคนมีเชื่อว่าการสูบบุหรี่จะทำให้เป็นแบบนี้ และตั้งแง่ว่า "ถ้าหมอรักษาดีมีมาตรฐานต่อให้สูบบุหรี่ก็ไม่มีทางเป็นอย่างนี้ ที่อาการหนักเป็นเพราะหมอรักษาไม่ดี"
ผู้ป่วยเบาหวาน ไม่ควบคุมอาหารเลยแม้จะขู่หรือแนะนำว่าถ้าทำอย่างนี้ต่อไป ไตจะวาย จะทรมานจากอาการน้ำท่วมปอด ผู้ป่วยก็ยังปล่อยต่อไป...ต่อมาเกิดไตวายเรื้อรัง ต้องฟอกไตต้องทนทรมานกับอาการเหนื่อยตลอดเวลา... เมื่อถึงจุดนี้ก็บอกว่าแพทย์รักษาไม่ดีปล่อยให้น้ำตาลขึ้นสูงหลายปีจนไตวาย
แต่ถ้ากรณีของผมโดนเอาไปเป็นข่าวหน้าหนึ่ง ก็คงโดนบอกว่ารักษาไม่มีมาตรฐานโดยสื่อคงไม่บอกว่าผู้ป่วยไม่ยอมทำตามคำแนะนำแต่ใช้คำว่าไม่มีมาตรฐานแทน
ดังนั้นประกาศฉบับนี้จึงแค่บอกสิ่งที่ควรจะเป็นสามัญสำนึกธรรมดาเท่านั้น

สรุปนะครับ ประกาศฉบับนี้ื ก็เป็นการบอกกล่าวสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยว่าตอนนี้มันเกิดเรื่องแบบนี้อยู่ ไม่ใช่กฎหมายหรือข้อบังคับใดๆ ไอ้ที่จะฟ้องหมอก็สามารถฟ้องได้ตามปกติครับ

ค.ประเทศอื่นมีแบบนี้ไหม
มี สามารถดูได้ที่ http://www.who.int/genomics/public/patientrights/en/index.html ในส่วนของความรับผิดชอบ,หน้าที่ของผู้ป่วย  มีกำหนดไว้ชัดเจนและให้ความคุ้มครองบุคลากรทางการแพทย์ ต่างจากเมืองไทย ซึ่งคำประกาศนี้ แค่ประกาศเฉยๆว่าความจริงมันเป็นแบบนี้ ไม่มีผลอะไร..........


ง.อเมริกา แดนแห่งเสรี มีประกาศแบบนี้ไหม
หากไปเปิดเวปของมหาวิทยาลัยการแพทย์ชั้นนำ10แห่งของอเมริกา จะพบว่ามี7แห่งที่มีประกาศแบบเดียวกันนี้ (ที่เหลืออาจจะมีแต่ผมหาไม่เจอ)
และที่คุณหมอเกรียงศักดิ์ออกมาบอกว่าเป็นกฎที่ออกโดยโรงพยาบาลเอกชน ผมไม่ทราบว่าแกละเมอเพ้อพกอะไร หรือกินยาผิดสำแดงหรือเปล่า เพราะว่าเรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องของเอกชน แต่เป็นเรื่องของระบบสาธารณสุขสากล


ปล. นพ.เกรียงศักดิ์ (ชื่อจริง) ที่ออกมาบอกว่าตนเองพูดในนามของแพทย์ชนบท ตัวแกเองไม่ได้ทำงานในชนบทนานแค่ไหนก็ไม่รู้ คนในกลุ่มก็อยู่ในเมืองอยู่เอกชนกันหลายคน ... ความพยายามที่จะเข้ามาเป็นใหญ่ในแพทยสภาของแกก็เป็นที่รู้เช่นเห็นชาติกันทั่ว
ปอ. เซ็งครับ สรยุทธ ยังมีIQในการตีความภาษาไทยต่ำเช่นเดิม
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
อ่านไม่ไหว  ง่ะ
บันทึกการเข้า

지금은 소녀시대 , 앞으로도 소녀시대 , 영원히 소녀시대
มีด้านมืดทุกวงการจริงๆ
 ง่ะ
บันทึกการเข้า

รับงานถ่ายภาพ
www.rpash.com
 ง่ะ ใครก็ได้สรุปที
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)


สรุปครับ คนไข้เรื่องมาก

หมอเลยประกาศให้คนไข้เรื่องมากรู้

แต่โดนขุดประเด็นอื่นๆ มาพูดเลยทำให้เรื่องใหญ่

ตัวละครในเรื่องมี 2 คน

คือหมอเกรียนศักดิ์ และ หมอเกรียงศักดิ์  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
อ่าว มีจู๋นี้ด้วยเหรอ เอ่อ พึ่งเห็น อายจัง
บันทึกการเข้า

กาก
หน้า: 1 ... 65 66 67 68 69 70 71 [72] 73 74 75 76 77 78 79 ... 440
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!