หน้าแรก » เปิดกรุ

ดนตรี

สุนทร (Sarun’s Sunthon)

โดย • 12/02/2567

ฟอนต์จากหน้าปกซีดีพี่แจ้ชุด “ที่สุดสุนทราภรณ์” …ทำฟอนต์ 5 วัน ทำปก 2 เดือน

คีตักษร (SP-Khitakson-Br)

โดย • 15/11/2566

ฟอนต์รำทำเพลง ♬♪♩♩♪♫♬ ลีลาศอักษร… ฉลองต้อนรับสิ่งดีๆ ที่จะเกิดมีในปีใหม่ ออกแบบให้เหมือนตัวโน้ตดนตรี สัญลักษณ์ที่ใช้แทนระดับเสียง ลูกคอ 9 ชั้น เมื่อนำอักษรตัวโน้ตมาร้อยเรียงต่อกัน จนเกิดเป็นห้วงท่วงทำนองขับร้องลำนำฮัมเพลงบรรเลงชีวิต

จังหวะ (SOV_JangWha)

โดย • 09/10/2565

ฟอนต์จังหวะ ตัวปรกติโน้ตจะโดดเด้งหน่อย เพื่อความครึกครื้น กด bold จะวางบนบรรทัด 5 เส้น เรียงเรียบๆ แต่ก็มีการเปลี่ยนโน้ต (เปลี่ยน glyph) เป็นจังหวะๆ (84) ถ้าเอามาพิมพ์ยาวๆ แนะนำให้เติมสัญลักษณ์ทางดนตรี จะดูสนุกขึ้น (ลองจิ้มๆ ดูว่าตัวไหนอยู่อักษรอะไร)

เอบีซี-อัจฉริยะ (#ABC-Aschariya)

โดย • 01/04/2562

ฟอนต์นี้เป็นครั้งแรกที่ได้อัปขึ้นเว็บ ฟอนต์.คอม เว็บฟอนต์ที่คนนิยมที่สุด ในประเทศไทย กว่าจะเตรียมอะไรเสร็จ ก็เกิดเรื่องหลายอย่างในชีวิตเกิดขึ้น จนทำให้ไม่ได้สนใจในการทำฟอนต์เลย คิดว่าสักครั้งจะต้องอัปฟอนต์ขึ้นเว็บให้ได้ แต่ก็ไม่มีโอกาสเลย จนได้มาถึงวันนี้ถึงมีโอกาสมาอัปฟอนต์ลงเว็บ

TS-Do Re Mi-NP

โดย • 04/07/2556

ฟอนต์แบบนี้ทำมายาวนานนับ 10 กว่าปี คือเขียนแบบแล้วก็ไม่ชอบ ก็เลยดองไว้ตั้งแต่ยังไม่มีเมีย (มัวหลงระเริงไปกับบางอย่าง) มาเสร็จสมอารมฌ์หมายเอาตอนเมียทิ้งจนเฉาไปหลายปี มันกระตุ้นต่อมความทำอยากได้ดี ก็เห็นเด็กๆ มันชอบดนตรีก็เลยขุดขึ้นมาทำต่อ เสร็จแล้วก็ไม่รู้จะได้ใช้ตอนไหน เด็กๆ คงชอบ โด เร มี โดเรมีซ่อนลา เอาฮา ฮา..
งั้นแจกฟรีเลยก็แล้วกัน ขอบคุณ F0nt.com และทีมงาน ที่อนุเคราะห์ TemplateNP ครับผม

ASG Aksornsanan

โดย • 11/09/2551

ASG Aksornsanan (เอเอสจี อักษรสนาน)
แนวความคิดในการออกแบบ คงจะไม่มีอะไรมากไปกว่าการเห็นงานออกแบบสิ่งพิมพ์ประเภทต่างๆ ของวงดนตรีในแนว Disco-Punk / Rave / Electro-Clash ครับ การใช้ฟอนต์ที่มีรูปร่างทางเรขาคณิต กลมๆ แหลมๆ เหลี่ยมบ้าง ก็เลยคิดว่าน่าจะลองทำออกมาให้เป็นภาษาไทยดูบ้าง ออกแบบปรับไปปรับมาอยู่นานสองนาน ทำค้างไว้ช่วงนึง แล้วก็เกิดอาการขี้เกียจ ไม่ได้ทำต่อ จนมาฮึดทำจนเสร็จเมื่อไม่มีวันมานี้เอง ตัวอักษรในชุด ประกอบไปด้วยตัวอักษรทั้งไทย และโรมัน รวมทั้งตัวเลข อักขระพิเศษ เท่าที่ควรจะได้ใช้ในการทำงานจริง เหมาะสำหรับการนำไปใช้เป็นตัวหัวเรื่อง เพราะอ่านยาก แต่อ่านได้นะครับ โดยเฉพาะการทำไปใช้บนปกซีดี โปสเตอร์ หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ ที่น่าจะเกี่ยวข้องกับแนวดนตรีเหล่านี้ (ที่กล่าวมาแล้วข้างต้น) เป็นหลัก ส่วนงานประเภทอื่นๆ ก็ใช้ได้ครับ แล้วแต่การนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดผล ตามความต้องการของนักออกแบบ