เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” 2/3

ต่อจากตอนที่แล้ว: เก็บตก “ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์” (ตอนที่ 1) คราวนี้เรามาต่อกันด้วยการบรรยายของวิทยากรผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบตัวอักษรขั้นเทพของไทย คือ อ.ปริญญา โรจน์อารยานนท์, อ.ไพโรจน์ ธีระประภา (โรจ สยามรวย) และ อ.เอกลักษณ์ เพียรพนาเวชครับ ขออภัยที่คราวนี้เขียนยาวกว่าเดิมมากๆ แต่สำหรับผู้สนใจแล้ว นี่คือความรู้จากผู้เชี่ยวชาญที่มีคุณค่ามากๆ เลยจ้ะ สนใจแล้วก็อ่านต่ออย่างตั้งใจได้เลย!

P1100896 P1100898 P1100899 P1100901 P1100902

แกะรอย Font DNA โดยปริญญา โรจน์อารยานนท์

โดย อ.ปริญญา โรจน์อารยานนท์ (DB Fonts)

  • ปัญหาในการออกแบบฟอนต์ ทำให้ ข้อความ “WSU” อาจอ่านได้เป็นตัวย่อของ “Washington State University” หรือ “รบ” ก็ได้
  • อาจารย์เคยไปบรรยายที่สมาคมสถาปนิกสยาม ว่าด้วย “การปลดหัวตัวอักษรไทย” เลยเอามาเล่าให้ฟัง
  • เอกลักษณ์ของอักษรไทยคือหัว .. ถ้าปลดล็อกเอกลักษณ์ไทย หมายถึงปลดหัวตัวอักษรไทย แล้วเราจะยอมให้เสียงมันแปร่งได้แค่ไหน?
  • ตัวพิมพ์มีไว้อ่าน (สวยด้วยได้ก็ดี) เป็นหลักการออกแบบตัวอักษร
  • “ฟอนต์ไทยเสมือนโรมัน” หมายความว่าฟอนต์ที่มีพื้นการออกแบบมาจากตัวโรมัน
  • อาจารย์สนใจศึกษา และสังเกตการมีอยู่และถ่ายทอดพันธุกรรมของแต่ละฟอนต์
  • จ จานใน “DB Sathorn” นั้นทำขึ้นมาเพื่อเลี่ยงไม่ให้เหมือนฟอนต์มานพติก้า ของ อ.มานพ
  • พ พานของ DB Helvethaica ยอมให้เหมือนตัว W เพราะอยากให้มีบุคลิกแบบนั้น (แต่ถ้านำไปใช้ไม่ดีก็อาจจะเห็นปัญหา WSU ข้างต้น)
  • ผ ผึ้ง มักจะทำเส้นกลางให้สั้นเพื่อไม่ให้ซ้ำ ส่วนในฟอนต์ DB Ozone นั้นสไตล์ของ ผ และ ฟ จะต่างกันไปเลย
  • คนไทยชอบใช้ตัวดิสเพลย์เล็กมาก ซึ่ง อ.ไม่แนะนำ แต่ก็นิยมใช้กันเยอะ เลยทำฟอนต์มาตัวนึงให้ ท ทหารเป็นเหมือนตัว N กลับด้านซะเลยเพื่อกันการสับสน
  • ฟอนต์ใหม่คือ DB Yord กำลังจะมา ซึ่งฟอนต์ตัวนี้ได้รับการถ่ยทอด DNA มาจากรุ่นพ่อแม่
  • ฟอนต์ไทยประดิษฐ์แบบ “ละหัว” ที่ DB ทำ คือ DB EuroThai และ DB Ramintra เป็นตัวอย่าง 2 ตัวที่ไม่มีหัวและเน้นความกว้างของตัวฟอนต์
  • “ดิฉัน” เป็นหัวหนังสือที่ดีที่สุดในประเทศไทยตอนนี้
  • ฝรั่งมี Serif และ Sans Serif ในไทยก็จะมี TomLight (หรือ CordiaUPC) เป็น Serif และ DB EcoThai เป็น Sans-serif รื้อหัวให้สั้นลงเพื่อประหยัดหมึกขึ้น
  • DNA ของตัวพิมพ์ไทยจะมีหัวขมวดม้วนๆ เช่น PSL COmmon, DB Zair, DB ComYard
  • ลองคงหัวกลมไว้: DB FongNam, DB JariyaTham (ตัวหลังมี DNA คือเส้นเฉียงและถ่ายทอดไปยังตัวอื่นๆ และฟอนต์ตัวนี้เอามาเขียนคำว่า “จริยธรรม” ได้สวย)
  • DB Soda 7 น้ำหนัก คือการเข้าสู่ยุค OpenType โดยทาง DB อยากให้คนไทยลองใช้ตัวที่มีน้ำหนักหนาๆ ไปใช้พาดหัวมากขึ้น
  • “นักออกแบบฟอนต์ทำได้แค่รูปแบบ ส่วนนักเขียน ลงลึกได้ถึงเนื้อหา” นักออกแบบไม่ได้ทำฟอนต์เพื่อสนองความงามส่วนตัวของตนเองเท่านั้น
  • ฉะนั้น ฟอนต์สวย + งานเขียนน่าสนใจ = ชวนอ่าน

แกะรอยตัวอักษรไทย จับลักษณะเด่นพื่อใช้เป็นหลักในการออกแบบตัวพิมพ์

  • ตัวเนื้อที่ดี เมื่ออ่านต่อเนื่องจะจับใจความได้ต่อเนื่อง เหมือนคุยกับเราในสมอง
  • ลักษณะเด่น 5 ประการของอักษรไทย เอามาสรุปได้เป็นคำว่า “ปรากฏ”
  • หัวอักษรไทยมี 3 ประเภทคือ หัวขมวด หัวม้วน และหัวหยัก (ตัวหัวกลมธรรมดา แค่ตำแหน่งของหัวหันซ้ายหันขวาก็สามารถแยกแยะออกได้แล้ว)
    • หาง (ตรง โค้ง และเฉียง) และหัวหยัก เป็นวิธีสร้างอักขระเพิ่ม (บ > ป)
    • เส้นขมวดม้วน (น ม ห) รวมถึงการสอดไส้ (ษ)
    • เส้นสะบัด (ร ธ ฐ โ)
    • เส้นหยัก (ต ฅ ฏ)
    • ปาก (ก) ตัว ก แม้จะไม่มีหัวแต่ก็มีปากที่สามารถออกแบบได้หลายอย่าง
  • การแปลงร่าง ก > ภ > ฦ > ฏ
  • การผสมตัวอักษร (ต + ม = ฒ)
  • แนะนำตารางอักษรสัมพันธ์ของปริญญา
  • แนะนำคู่สับสนที่มักคล้ายกันบ่อยๆ เช่น ช ซ เป็นต้น
  • การลวงตา (ษ ไม่เท่า บ ) ลวงความสูง ช่องไฟ (ใช้ Kerning ช่วยได้)

แบรนด์กับตัวพิมพ์

  • แบรนด์ ไม่ใช่แค่โลโก้ หัวจดหมาย ป้ายร้าน ไม่ใช่แค่ตราของสินค้าและบริการ แต่มันคือสำนึกที่ฝังสมอง (ต้องแรงพอหรือมีลักษณะอะไรสักอย่างที่สื่อสาร)
  • แบรนด์ที่ดีต้องมีทั้งภาษาพูดและภาษาภาพ (Voice และ Verbal Expression) เกิดเป็น Impression
    • Visual Expression: Brandmark, Color, Typography
    • Verbal Expression: Tagline (สโลแกน), Headline, Copywriting, Baseline (คำสรุปตอนท้าย)
  • ในบรรดา Verbal ทั้งหลาย เกี่ยวกับ Typography หมดเลย
  • ฝรั่งแยกประเภทของแบรนด์ออกเป็น Lettermark, Wordmark, Pictorial (สองอย่างแรกเกี่ยวกับ Typeface)
  • จะสร้างแบรนด์ไทยอวดฝรั่ง มี 2 แนวทาง คือ ตัวอักษรไทยทำเองไม่เลียนแบบตะวันตก หรือตัวโรมันที่ดูสากล
  • มีฟอนต์ DB ของอาจารย์หลายตัวที่นำมาเสนอ (เปลี่ยนสไลด์เร็วจี๋ครับ พิมพ์ไม่ทัน)
  • ตัวพาดหัวบางตัวก็เป็นตัวเนื้อได้
  • นายแซ ช่างแกะอยู่ที่บางรัก (ต้นแบบของ DB Zair, DB ComYard, DB BangRak) เป็นอัจฉริยะในอดีตที่คิดค้นตัวพาดหัวได้งดงามที่สุด โดยใช้การแกะแบบพิมพ์ไม้ ยากกว่าสมัยนี้เยอะ แต่เป็นตัวที่สวยสุดๆ
  • DB ChokeChai คล้ายฟอนต์ของ อ.โรจ สยามรวย แกะมาจากตัวอักษรของคณะช่าง ที่ตั้งชื่อว่าโชคชัยก็เพราะดูดีไซน์แล้วน่าจะเอาไปทำหนังสือพระเครื่อง เลยชื่อนี้คงเหมาะดี (ฮา)

P1100974

(แถม) ปลดล็อกหมากรุกไทย

  • อาจารย์มีบรรยายแถมเรื่องการออกแบบหมากรุกชนิดใหม่ด้วยการนำข้อดีของตัวหมากรุกไทย จีน และฝรั่ง เข้าด้วยกัน
  • กลายเป็นหมากรุกชนิดใหม่ พร้อมดีไซน์ตัวหมากโดยใช้กราฟิกเข้าช่วย กลายเป็นหมากรุกใหม่ชื่อ OXELI (โอเซลิ-ชื่อนำมาจากลักษณะการเดินของหมากแต่ละตัว)
  • หลังจากออกแบบเสร็จ อ.ก็เลยไปท้าแข่ง โดยอธิบายกติกาให้คู่แข่งได้ฟัง และในที่สุดก็แพ้ (ฮา) เพราะมาทราบทีหลังว่าคู่แข่งคือแชมป์หมากรุกชาวไทยที่ชนะหมากรุกมาแล้วหลายชาติ
  • อ่านเพิ่มเติมได้ที่ www.oxelichess.com

.

P1100917

แกะรอยตัวอักษรไทยโดยโรจ สยามรวย

โดย ไพโรจน์ ธีระประภา

  • ชื่อฟอนต์ SR Rojee เกิดจากเพื่อนฝรั่งที่ทำงานเอเจนซี่ด้วยกันออกเสียงชื่อ “โรจ” ได้ลำบาก เลยใช้ชื่อโรจี้
  • “ตัวอักษรมีไว้เพื่อสื่อสาร”

P1100915
อินทรีแดง

  • บนกระดานที่ อ.บรรยายอยู่ มีตัวอักษรประหลาดที่หน้าตาคล้าย ฉ ฉิ่ง แต่ไม่คุ้นเอาเสียเลย เพราะดูจะคล้ายตัว R และพิสดารจนแกบอกว่า “เป็น ฉ ฉิ่งซ่าที่สุดที่ผมทำมา มันถือว่าเป็น ฉ ฉิ่งที่ละเมิดภาษาไทยมากๆ” เกิดจากการที่ อ.ไปคุยกับคุณวิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่องอินทรีแดง โดยมีสรุปสั้นๆ มาจากคุณวิศิษฏ์สั้นๆ ว่า “ขอไม่เชยนะ” ดังนั้น อ.โรจเลยถือว่าอินทรีแดงฉบับนี้เป็นการตีความใหม่ ตัวอักษรที่นำมาทำเป็นฟอนต์อินทรีแดงนี้จึงถือว่าเป็นการ “ตีความใหม่” เช่นกัน
  • “ความไม่สมบูรณ์ ความไม่สมประกอบ เป็นสิ่งที่ผมชอบ และผมก็ทำงานแบบนี้มาโดยตลอด” ทำงานแทบตาย เตรียมพรีเซนต์แทบตาย แต่รถติดไปพรีเซนต์ไม่ทันก็เสร็จ
  • ความไม่สมบูรณ์ในฟอนต์อินทรีแดงคือไม่มีตัวไหนซ้ำกันเลย เช่นคู่สับสน (คู่ ข/ฃ, คู่ ช/ซ และคู่ ผ,พ) ก็เลยทำให้ต่างกันโดยสิ้นเชิงเพื่อให้อ่านง่าย และไม่เกิดความสับสน
  • ด ต ถ เป็นตัวปราบเซียน จะต้องแตกต่างกันอย่างสิ้นเชิงเพื่อให้แยกแยะได้ดีกว่า (ในฟอนต์นี้เลยนำ ผ ผึ้งมากลับหัวให้กลายเป็น ต เต่าเสียเลย)
  • การละเมิดยังไม่จบแค่นั้น อย่าง ค หรือ ฅ ก็ลองจับชิ้นส่วนที่ไม่คุ้นกันมาประกอบ หรือแม้กระทั่ง จ และ ฉ
  • “ฒ ผู้เฒ่าคือ ฅ ที่แก่แล้ว ก็เลยเอา ฅ มาเติม ม ม้าลงไป ..อันนี้แถ” (ฮาครืน)
  • ผลงานของดีไซเนอร์เมื่อผ่านการใช้งานไปในระยะเวลาหนึ่ง สังคมก็จะเริ่มเรียนรู้และยอมรับ เมื่อเวลาผ่านไปเราจะสามารถมีพื้นที่สำหรับออกแบบได้กว้างขึ้น (แต่เราต้องมีเหตุผลในการออกแบบด้วยนะ อย่างงานอินทรีแดงนี่ตั้งอยู่ในโจทย์ของการ “ตีความใหม่”)
  • การจะทำให้ตัวอักษรทั้งชุดมีความแตกต่างไม่จำเป็นต้องทำทั้งหมด ทำบางตัวก็พอให้มีคาแรกเตอร์ที่โดดเด่นและมีของ

P1100916
CasaViva

  • นิตยสาร CasaViva ที่มีวางจำหน่ายในต่างประเทศ เมื่อมีฉบับภาษาไทยก็เลยให้ อ.โรจทำ สิ่งที่ยากก็คือมันมี “เชิง” (Serif) ดังนั้นจึงใส่ความเป็นไทยลงไปในตัวฟอนต์ Boloni แต่ดั้งเดิม แต่คงลักษณะเอาไว้
  • แต่ปัจจุบันนี้นิตยสาร CasaViva ไม่ได้ใช้ฟอนต์นี้แล้ว (อ้าว) ฉะนั้น อ.เลยเสนอให้ใช้ฟอนต์ของ อ.ศุภกิจแทน และยังใช้มาจนปัจจุบัน
  • การออกแบบฟอนต์ให้มีคู่สับสนนั้นไม่ควรทำ ถ้าพบตัวอักษรคู่ที่น่าจะเหมือนกันให้ทำออกมาให้แตกต่างกันที่สุด เพื่อให้อ่านง่ายไม่สับสน
  • “จุดเริ่ม” ของแต่ละตัวอักษรนั้นจะมีความหนากว่าเชิงธรรมดาที่บางมาก
  • ตามคติของตัวอักษรไทย ฐ ฐาน จะมีหยักเยอะมาก ฉะนั้นเลยลดรูปให้กลายเป็น จ จานที่มีหางเท่านั้น ส่วนหยักข้างล่างก็ทอนให้เหลือแค่ขยักเล็กๆ และลามไปถึงตัว ฎ ด้วย
  • ด ต ฅ ฒ โครงสร้างจะคล้ายกันมาก แต่ในฟอนต์นี้ดีไซน์ให้ต่างกัน แต่ยังคงความเกลี้ยงเกลาตามสไตล์ Boloni
  • ตัวทดลองของฟอนต์นี้คือ ฮ คือไม่ใช่แค่เติมหางลงไป แต่ใส่ความหวานด้วยการใส่ตวัดครบวง
  • เท่านี้ทั้งฟอนต์ก็จะมีบุคลิกได้

P1100918
50 Dec

  • เลข ๙ ไทยในฟอนต์นี้ทำลักษณะการเขียนไทยให้วิบัติอีกแล้วครับ เลยลดขยักลงเพื่อลดความแคบ
  • เป็นฟอนต์ที่ทำเสร็จในเวลา 3 วัน 3 คืน เกิดมาเพื่อวันครบรอบ 50 ปีของคณะมัณฑนศิลป์ ม.ศิลปากร และนำไปขายให้กับศิษย์เก่าในราคาฟอนต์ละ 100 บาทเท่านั้น
  • แต่ขายได้ทั้งหมด 800 บาท (ฮา) และไม่ค่อยมีคนใช้กัน ปัจจุบันนี้เลยเป็นของหายากไว้สำหรับให้คนเล่นของมีไว้ครอบครอง
  • ปัจจุบันยังไม่ได้นำไปเข้าตารางฟอนต์มาตรฐาน เลยยังใช้ไม่ได้กับโปรแกรมตระกูล Adobe CS (ฮา)
  • ในบันทึกของ อ.เขียนไว้ว่าทำไว้ตามสมัยนิยมในยุคนั้น (หมายเหตุผู้เขียน: ในปัจจุบันนี้มีฟอนต์แนวนี้เกลื่อนไปหมด เห็นแล้วเสียดาย น่าสะสมเหมือนกันนะเนี่ย) ซึ่งจริงๆ ฟอนต์นี้มีความเป็นไทยกว่าฟอนต์ในสมัยนิยม เลย
  • ห หีบ
  • ต เต่าเอามากลับหัวเป็น ผ ผึ้ง (อีกแล้ว)

P1100920
เปนชู้กับผี

  • แต่เดิมชื่อนาครเขษม ขอชื่อมาจากนิยายเรื่องนาครเขษมของภรรยาของคุณวิศิษฏ์เจ้าเก่า แต่ภายหลังนำมาใช้กับภาพยนตร์เรื่องเปนชู้กับผี และหนังดังกว่า ก็เลยเปลี่ยนชื่อมาเป็นชื่อปัจจุบัน
  • ตอนนำฟอนต์มาเสนอผู้กำกับก็ดีไซน์ฟอนต์ไปหลายแบบมากๆ เพราะต้องเป็นตัวอักษรที่สะท้อนบุคลิกของตัวอักษรในยุครัชกาลที่ 7 ด้วย
  • แต่พอคุยกับผู้กำกับ คุณวิศิษฏ์ก็บอกว่า “ไม่ต้องดีไซน์แล้วแหละ ใช้ตัวอักษรของยาสีฟันวิเศษนิยมไปเลย” (ฮา)
  • ข้อเสียของตัวอักษรแบบวิเศษนิยม จะพบว่าตัวมันผอมไปหน่อย และช่องไฟแคบไป ในความที่ อ.ทำงานที่บริษัทเอเจนซี่ ทำให้ซีเรียสกับการใช้ช่องไฟให้กับตัวอักษร Super (ตัวอักษรตัวเล็กๆ ที่ขึ้นแว้บเดียวในโฆษณา) เพราะถ้าช่องไฟไม่กว้างพอมันจะสว่างเป็นก้อน
  • ฟอนต์นี้ออกแบบโดยยืนพื้นมาจากสไตล์ตัวหัวนก ที่มีจงอยแหลม จึงนำมาปรับดีไซน์ให้มนลงมาหน่อย ด้วยจินตนาการว่าจะนำไปใช้ ให้เหมาะกับการนำมาทำเป็นป้ายไม้แกะ
  • สังเกตป้ายไม้ตามร้าน ตัวอักษรมันจะห่าง เหตุผลก็คือไม้ที่นูนเป็นตัวอักษรนั้นจะมีความนูน ทำให้เกิดเงา ถ้าเรากระจายช่องไฟจะทำให้ตัวอักษรกระจายกันอยู่ ทำให้สังเกตง่าย
  • ชุดตัวอักษรนี้น่าจะเหมาะกับการนำมาทำเป็นคำว่า “มณโฑ”
  • ทำออกมาเสร็จแล้วก็อยากจะเก็บไว้คนเดียว แต่ผู้กำกับบอกให้แจกก็เลยแจก แป๊บเดียวก

P1100922
ฟ้าไทย

  • แจกในงาน Somewhere Thai โดยในงานให้มีการแสดงผลงานสักอย่างที่บ่งบอกความเป็นไทย อ.ก็เลยนำบุคลิกแบบไทยๆ มาอยู่ในฟอนต์
  • เป็นฟอนต์ตัวเนื้อที่ซ่ามาก โดยเฉพาะตัว ฮ โดยการนำมา
  • มันเป็นไทยตรงที่มีความแหลม และมีบุคลิกโดยรวม
  • จงอยของตัว ก จะมีขยักต่างจาก ฎ และ ฏ ที่ไม่มี เพราะสองตัวหลังถ้ามีจงอยเล็กมันจะทำให้หัวล้นออกมา
  • “ทำฟอนต์ไม่ต้องสมบูรณ์นะครับ ทิ้งข้อสงสัยไว้ให้คนรุ่นหลัง มันจะได้ดูว่าเราเซียน” (ฮา)
  • ตัวอะไรไม่ฉลาดที่สุด.. ก ไก่ครับ เพราะมันไม่มีหัว (ฮาอีก)

P1100923
อื่นๆ

  • การออกแบบอย่าซื่อ อย่าทำให้มันซ้ำกัน การที่ฟอนต์ภาษาอังกฤษมันซ้ำกันได้เพราะปริมาณมันไม่เยอะ แต่สำหรับตัวไทยนั้นมีความละเอียดซับซ้อนหลากหลายกว่า
  • “ฟอนต์ไม่ได้งอกมาจากต้นไม้ มีคนเหนื่อยมากๆ ที่นั่งทำมันออกมา กรุณาเห็นคุณค่ามันด้วย” พยายามปลูกฝังและส่งต่อกันนะ

.

P1100925

แกะรอยตัวอักษรไทยโดยเอกลักษณ์ เพียรพนาเวช

โดย เอกลักษณ์ เพียรพนาเวช

  • งานที่จะนำมาพูดเป็นงาน Custom Font ของคัดสรรดีมาก
  • ถึงเราจะบอกว่าเอกลักษณ์ของตัวอักษรไทยคือ “มีหัว” แต่ที่เราเห็นทุกๆ วันไม่ว่าจะใหม่หรือเก่า กลับกลายเป็นฟอนต์ที่ไม่มีหัว แม้แต่ป้ายโฆษณาที่บอกว่า “หัวคิดของคนทันสมัย” (ฮา)
  • ดังนั้นตัวอักษรไทยที่ไม่มีหัวจึงเป็นอีก Category นึงที่สามารถทำได้
  • ร เรือที่มาจากตัว S นั้นเราเห็นจนคุ้นตา จนแทบไม่ได้มาถามกันแล้วว่านี่ตัว ร เรือหรือเปล่า?
  • แบรนด์ที่เราคุ้นตามักเป็นโลโก้ฝรั่ง หรือแม้แต่ยี่ห้อไทยแต่พยายามเขียนให้กลายเป็นตัวอักษรคล้ายฝรั่ง จนกลายเป็นธรรมเนียมที่กลายเป็นพฤติกรรม ที่เวลามีแบรนด์นอกเข้ามาขายในไทย จะต้องมีการออกแบบตัวอักษรไทยใหม่ให้เข้ากับตัวละติน
  • ฟอนต์สำเร็จรูปที่สามารถหาซื้อและใช้งานได้เลย รวมทั้งในหนังสือพิมพ์ ก็จะเป็นฟอนต์ที่ไม่มีหัวที่เห็นกันอยู่ได้ทั่วไป
  • ทางเอเจนซี่จะคุ้นชินกับการใช้ฟอนต์ทำเป็นตัวละตินแบบไม่มีหัว
  • อย่างโจทย์ของแบรนด์ dtac คือ ทำตัวอักษรไทยที่เข้ากับฟอนต์ Telenor
  • ส่วน Nokia ใช้ฟอนต์ NOKIA SANS ซึ่งมีลักษณะพิเศษคือ ตัวบางและตัวธรรมดา จะมีความหนาเสมอกันทั้งตัว แต่พอกลายเป็นตัวหนา ความหนาในเส้นตั้งจะหนากว่าเส้นนอน ซึ่งไม่จำเป็นต้องออกแบบให้มีลักษณะนี้เหมือนกันทั้งฟอนต์ แต่ให้มีความ Balance กัน
  • นิตยสาร 3D World ใช้ฟอนต์ WeddingSans ที่มีที่มาจากการนำฟอนต์ทดลองจาก 2 ตระกูลมาผสมกัน (แต่งงานกัน) โดยตระกูลนึงเป็นโครงสร้างแบบโค้ง อีกตระกูลเป็นแบบสี่เหลี่ยมมุมมน โดยการผสมนี้ไม่ได้แบ่งแบบ 50-50 แต่ใช้การจัดความพอดี ซึ่งตั้งใจทำให้คู่คล้ายไม่คล้าย
  • ฉะนั้นเมื่อนำมาทำเป็นภาษาไทยแบบ “Base on Latin” ก็จะตีความตามโจทย์

P1100926 P1100927 P1100928 P1100929 P1100932

หงษ์ทอง

  • โดยปกติแล้วงานที่ “พยายามจะไทย” จะใช้ฟอนต์แนว Serif หรือที่ไม่เป็น Mono-line
  • แต่เมื่อไทยมากๆ ก็จะทำให้ดูเชย จึงปรับให้เป็นละตินเพื่อความทันสมัย
  • ซึ่งในที่สุดก็จะนำมา Combine กันให้มีบุคลิกเฉพาะ (เป็น Custom Font) เช่นการเพิ่มหางให้ ย ธ อ ฮ

ฟอนต์แม่โขง

  • ลักษณะแบบอักษรไทยจะมีอีกประเภทคือใช้ปากกาหัวตัดในการออกแบบ ทั้งป้ายห้างร้านหรือแม้แต่ใช้พู่กันเขียน
  • ความตั้งใจของแม่โขง ต้องการให้มีความเด็กกว่าหงษ์ทอง ดังนั้นเมื่อนำลักษณะของปากกาหัวตัดมาตีความเข้ากับโจทย์
  • ไม่ได้นำมาใช้ตรงๆ แต่ศึกษาโครงสร้างและหยิบมาใช้ในสไตล์ละติน โดยหาบุคลิกพิเศษให้กับมัน
  • แบบร่างฟอนต์ครั้งแรกนั้นมีบุคลิกที่จัดเกินไป เมื่อผ่านการประชุมจึงนำมาปรับให้ใช้ง่ายขึ้น
  • ทั้งฟอนต์แม่โขงและหงษ์ทอง จึงกลายเป็นทั้งฟอนต์ไทยที่มีความเป็นไทยและสมัยใหม่กันทั้งคู่

.

แฮก แฮก เหนื่อย :05:

P1100941 P1100940 P1100939 P1100942 P1100952

หลังจากนั้นก็เป็นการวิจารณ์ผลงานของผู้ส่งเข้าประกวด (และชนะเลิศ 20 ผลงานจนได้มาเข้าค่ายนี้)
จากคณะกรรมาการทั้ง 6 ท่าน บรรยากาศเป็นไปอย่างจริงจังยังกะนักศึกษารายงานหน้าชั้นแน่ะ
แต่บางทีก็ดูเหมือนรายการทีวีที่มีคอมเมนเทเตอร์คอยแซวผู้นำเสนอบนเวทีเหมือนกันนะครับ :30:
งานนี้ก็ได้ความรู้และเพิ่มพูนทักษะในการออกแบบตัวอักษรกันไปเต็มๆ เลยทีเดียว

สำหรับภาพบรรยากาศในวันที่ 2 ของโครงการค่ายฯ นี้ผมอาศัยจังหวะที่เน็ต มจธ.บางขุนเทียน
ที่เร็วปรี๊ดซะขนาดนี้ มาอัปโหลดภาพทั้งอัลบั้มขึ้นไปที่ Flickr เหมือนเดิม กดดูเพลินๆ ได้เลยครับ

ต่อภาคสามคราวหน้าครับ อีกไม่นาน :D

04 May 2011