หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ขอความช่วยเหลือฟอนท์ล้านนาครับ  (อ่าน 59717 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ขอเกริ่นนำนิดหน่อยก่อนนะครับ ยิ้มน่ารัก


อักษรล้านนา
เนื่องด้วยล้านนาเป็นอาณาจักรที่ยิ่งใหญ่ มีวัฒนธรรมมาจากหลากหลายพื้นที่ มีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของตัวเอง เรียกตัวเขียนล้านนาว่า “อักษรล้านนา” ในล้านนามีตัวอักษรใช้ 3 แบบ คือ อักษรธรรมล้านนา อักษรฝักขาม และ อักษรไทยนิเทศ หรืออักษรขอมเมือง อักษรทั้งสามชนิดเป็นอักษรโบราณ ในอดีตเคยใช้กันอย่างแพร่หลาย





อักษรธรรมล้านนา หรือตัวเมือง
เป็นอักษรที่สำคัญ และแพร่หลายในล้านนามาก การกำเนิดอักษรธรรมล้านนาก็คล้ายกับการกำเนิดอักษรทั้งหลาย คือ ปรับปรุงจากอักษรที่มีอยู่เป็นระบบมาแล้ว คือ อักษรมอญ หลักฐานเกี่ยวกับการกำเนิดอักษรธรรมล้านนาไม่ปรากฎ  หลักฐานอักษรธรรมล้านนาเก่าที่สุดเท่าที่พบในปัจจุบัน คือ จารึกลานทอง พบที่สุโขทัย จารึกได้ระบุศักราชไว้ตรงกับ พ.ศ.1919 อย่างไรก็ตาม ยังไม่พบหลักฐานว่า อักษรธรรมล้านนาเกิดขึ้นในสมัยใด เพราะอักษรธรรมล้านนามีกำเนิดจากพัฒนาการของภาษาคือ ค่อยๆเปลี่ยนแปลงทีละน้อยจึงอาศัยเวลานาน
การกำเนิดอักษรธรรมล้านนา มีสาเหตุสำคัญมากจาความจำเป็นทางศาสนาเพื่อเขียนพระธรรมคำภีร์ให้เป็นสื่อแก่คนในวงกว้าง อักษรธรรมล้านนาจึงเริ่มต้นจากการใช้เขียนภาษาบาลีเป็นหลัก ต่อมาดัดแปลงเพื่อใช้เขียนภาษาเมืองด้วย








อักษรฝักขาม
อักษรฝักขาม เป็นตัวหนังสือของพ่อขุนรามฯที่แพร่เข้าไปในล้านนา โดยได้เปลี่ยนรูปร่างและอักขรวิธีไปบ้าง จึงกลายเป็นอักษรฝักขาม ในล้านนานิยมใช้อักษรฝักขามสำหรับเขียนศิลาจารึก หลักที่เขียนเป็นอักษรฝักขามเก่าแก่ที่สุดคือ ศิลาจารึก ลพ.9 เขียนพ.ศ.1954 และหลักใหม่สุดเขียน พ.ศ.2370







อักษรไทยนิเทศ
อักษรไทยนิเทศหรืออักษรขอมเมือง ตัวอักษรชนิดนี้เกิดจากการดัดแปลงอักษรธรรมล้านนา และอักษรฝักขามเข้าด้วยกันแล้วเติม “ศก” แบบขอม อักษรไทยนิเทศังสรุปไม่ได้ชัดเจนว่า มีมาเมื่อใด เดิมเข้าใจกันว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้ากาวิละ แต่ภายหลังเริ่มพบหลักฐานว่ามีมาก่อนหน้านั้นแล้ว อักษรไทยนิเทศนิยมใช้เขียนในกวีนิพนธ์ต่างๆที่เป็นเรื่องทางโลก เช่น นิราศหริภุญไชย โคลงมังทรารบเชียงใหม่ โคลงพรหมทัต ทั้งนี้ถือว่าอักษรธรรมเป็นของสูง ใช้เขียนในศาสนา จึงไม่ใช้เขียนงานของกวีนิพนธ์

อักษรทั้งสามแบบดังกล่าว มีหน้าที่ในสังคมล้านนาต่างกัน และมีที่มาต่างกันด้วย การใช้ตัวอักษรของชาวล้านนาในอดีตจึงต้องพิจารณาตามความเหมาะสม นักเรียนประวัติศาสตร์ควรศึกษาที่มาของอักษรที่ใช้ในล้านนา และสามารถศึกษาหลักฐานประวัติศาสตร์จากอักษรโบราณได้

ข้อมูลจาก หนังสือประวัติศาสตร์ล้านนา อ.สุรัสวดี และรูป จาก หลายๆที่

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ต.ค. 2007, 12:24 น. โดย kryse555 » บันทึกการเข้า






แล้ว...


จะขอให้ช่วยอะไรครับ งง


บันทึกการเข้า

งบน้อย
ขอเกริ่นนำ ปรับความเข้าใจในข้อมูลก่อนครับ ปลื้ม

เดี๋ยวมีเยอะเลยครับผม เกย์ออก เกย์ออก
บันทึกการเข้า
แหม ศึกษาข้อมูลมาดี กรี๊ดดดดด




เตรียมอ่านเล่มต่อไปครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ต่อๆ

เพื่อตีโจทย์ให้แคบลงมาอีกหน่อย..

จากอักษรล้านนาทั้ง 3 แบบ .. ที่ ถูกบันทึกไว้
อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์ จากเชียงราย (อ.ชรินทร์ เค้าเป็นบก.หนังสือ ไชยนารายณ์ ออกมาตั้งแต่ปี 2523 ถึงปัจจุบัน)
ก็ได้ทำการจัดเรียง ออกแบบตัวอักษร ให้เป็นฟอนท์ใช้ได้ในคอมพิวเตอร์
เพื่อสะดวกต่อการพิมพ์เอกสารต่างๆ

เป็นฟอนท์ ตระกูล  Cr 
ทำออกมา 12 ชุด

และ

ใน 12 ชุด มีอยู่ 2 ชุด
ที่มี หน้าตา ต้นแบบเหมือนกับ
อักษรธรรมล้านนา - อักษรฝักขาม - อักษรไทยนิเทศ



« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ต.ค. 2007, 23:10 น. โดย kryse555 » บันทึกการเข้า
กรี๊ดดดดด ดูเหมือนเป็นบทความมากกว่าคำถาม
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ผมรออ่านตั้งแต่บ่ายๆแล้ว ภาษาล้านนาเป็นภาษาพื้นเมืองเดียวที่มีภาษาเขียนเชียวนะเออ อืมมมมห์
บันทึกการเข้า

ข้อสังเกต ลักษณะเด่นของอักษรล้านนาทั้ง 3

อักษรธรรมล้านนา


- ลักษณะการเขียน ต้องใช้ 2 มือ โดยมือข้างซ้าย ใช้จับใบลานไว้ และมีฐานนิ้วโป้งเป็นฐานของเหล็กจารในการหมุนเพื่อเขียนตัวอักษร และมือขวา ใช้จับเหล็กจาร


- เนื่องจากการใช้เหล็กแหลมในการจาร ทำให้ตัวอักษรมีรูปลักษณะที่ค่อนข้างเป็นวงกลม จึงทำให้ตัวอักษรมีลักษณะเส้นที่เล็ก และส่วนปลายอักษรจะมีลักษณะแหลม ส่วนจะแหลมมาก หรือแหลมน้อยนั้น ขึ้นอยู่กับการตวัดเหล็กจาร


- ในรูปตัวอักษร ข บ ป ฝ ผ พ ฟ น ฉ จะมีการตวัดเส้นมาด้านหน้าก่อนเล็กน้อย ซึ่งต่างจากตัวอักษรไทย ที่ลากเป็นเส้นตรงลงมาเลย


- เมื่อเขียนแต่ละตัวอักษรจนถึงปลายอักษร จะมีการตวัดขึ้น และลงเป็นจงอยเล็กน้อย เรียกว่า ป้อกต๊อ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์เด่นอย่างหนึ่งของตัวอักษรที่จารลงไป



อักษรฝักขาม

ลักษณะเด่นที่สุดของอักษรฝักขามคือ การตอกด้วยเหล็กลิ่มลงบนหลักศิลา และ ฐานพระพุทธรูป


- รูปอักษร จึงมีลักษณะเส้นที่เท่ากันตลอดตั้งแต่ต้นจรดปลาย ส่วนเริ่มตัวอักษร และ ส่วนจบ ตัวอักษร ปลายจะมนกลม ไม่แหลม (เว้นแต่ตอกด้วยเหล็กแหลมเช่นฐานพระพุทธรูป)


- เนื่องด้วยการเขียนนั้น ทำโดยการตอกลงบนวัสดุของแข็ง ทำให้ตอกได้ลำบาก ส่งผลให้รูปอักษรมีลักษณะที่ค่อนข้างเป็นเส้นตรง แม้แต่ตัว อ หรือ จ ก็มีลักษณะที่เป็นเส้นตรง มากกว่าเส้นโค้ง


- ลักษณะเด่นอีกอย่างหนึ่ง คือ การมีหยักตรงกลางตัวอักษร



อักษรไทยนิเทศ

ในแง่ประวัติศาสตร์ความเป็นมา พื้นฐานของตัวอักษรไทยนิเทศ มาจากการผสม ตัวอักษรธรรมล้านนา เข้ากับ ตัวอักษรไทย คือ ใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวิธีในการจารแบบ อักษรธรรมล้านนา แต่ รูปอักษรนั้นเป็นอักษรไทย


- เนื่องด้วยใช้วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ รวมถึงวิธีในการจารแบบ อักษรธรรมล้านนา ทำให้รูปอักษรมีลักษณะกลมป้อม


- อีกทั้งยังมีการตวัดป้อกต๊อที่ปลายตัวอักษรเช่นเดียวกันกับ อักษรธรรมล้านนา


- ในรูปตัวอักษร ข บ ป ฝ ผ พ ฟ น ฉ ม ฑ ฆ จะมีการตวัดเส้นมาด้านหน้าก่อนเล็กน้อย เช่นกัน
บันทึกการเข้า


อย่ามาจบแบบหักมุมนะครับ

ขอช่วยทำรายงานให้หน่อย  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
5555

รู้ได้ไง เกย์ออก เกย์ออก เกย์ออก เกย์ออก

โปรดติดตามตอนต่อไป... ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า
ไม่ทราบว่า อักษรธรรมล้านนา กับ อักษรธรรมอีสาน เนี่ย เหมือนกันหรือเปล่าครับ
เพราะลักษณะพยัญชนะ คล้ายๆ กันมาก
แต่ไม่รู้ว่าลงลึกไปในรายละเอียดการประสมคำแล้ว ต่างกันมากน้อยขนาดไหน

อักษรธรรมอีสาน ( อักษรไทน้อย )
http://ubon.obec.go.th/school/swws/tham/thamhome.htm   



คาถาจำอักษรกลาง ไก่ จิก เด็ก ตาย บิน ไป เอา ยา
อักษรต่ำ ควาย งัว ซ้าง ย่าง เทียว นา พ้า ฟัน ไม้ รถ แล่น ไว แฮง
อักษรสูง ขอ ถาม ใผ เฝ้า เสา หิน
บันทึกการเข้า

ดื่มเหล้า เข้าผับ จับผู้ชาย ถ่ายคลิป  zip แล้วส่งต่อ
อ่านมาตั้งหลายวันและ สรุปว่าจู๋นี้จะถามอะไรครับ หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

บล็อกในมุมมืด
because we always.....expecting


พี่ครับ สรุปให้หน่อยนะครับ  หมีโหดดดด





















 กร๊าก กร๊าก 





 เกย์ออก ล้อเล่นนะ
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
 กร๊าก
บันทึกการเข้า
มาเดาตอนจบของเรื่องนี้กันดีไหม
หรือจะทำให้เสียอรรถรส งั้นทำสีนวลไว้ดีว่า

ผมว่า:
มีใครทำฟอนต์แบบนี้หรือแนวๆแล้วหรือยัง โหลดได้ที่ไหน ถามเลยก็ได้มั้งมีให้โหลดอยู่แล้ว มีเกริ่นนำด้วยเว้ย
บันทึกการเข้า

กินรอบวง
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!