หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 15
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องเรียนออกแบบ?  (อ่าน 143739 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เรื่องมันเริ่มจาก น้องที่น่ารักหลายคนของชาวฟอนต์กำลังตัดสินใจ
เรื่องที่ยิ่งใหญ่ของชีวิตอยู่ เรื่องเรียนต่อมหาลัยนะครับ ไม่ได้มีใครกำลังจะแต่งงาน
ถึงมีผมก็ไม่มีความรู้เรื่องความรักอยู่ดี ที่พอมีก็คือความรู้เรื่อง
การเรียนมหาวิทยาลัยในด้านการเรียนออกแบบ
เรื่องของเรื่องคือในกระจู๋นั้น พี่สามพูดถึงความแตกต่างของ
นิเทศศาสตร์-นิเทศศิลป์ น้องๆหลายความเห็นที่ตามมามีน้ำเสียง
ไปในทางคลุมเครือว่ามันต่างกันมากไหมอย่างไร แล้วจริงๆมันเรียนอะไรกันแน่?
ตามนี้ http://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,5489.315.html
(เด็กสมัยนี้จะเข้ามมหาลัยทีโคตรซวย)


ไม่ต้องสืบเลยว่า ความคิดเห็นผมนี่พูดถึงของฝั่งนิเทศศิลป์ด้วยนำ้เสียงส่อไปในทางที่ดีแน่นอน
ช่วยไม่ได้นะครับ แต่ไม่ได้แปลว่าเชียร์ให้ใครมาฝั่งนี้หรอก
ไม่เชียร์อยู่แล้ว ไม่เคยเชียร์ใครด้วย อนาคตใครตัวใครตัวมัน
ไม่มีเคยความคิดแบบนั้นแทรกอยู่ในซอกหลืบไหนของความคิดอีกต่างหาก
(ถ้าเชียร์แล้วได้ค่าหัวคิวก็ว่าไปอย่าง)

แล้วที่สำคัญผมก็ไม่ชอบเหมือนกัน เวลาที่พวกผู้ใหญ่ชอบมาบอกว่า
อย่างเอ็งต้องไปเรียนแบบนั้น ต้องไปเป็นแบบนี้ ต้องทำนู่น ต้องทำนี่
ตลกน่า ใครจะมารู้ดีกว่าเราได้ยังไง

ดังนั้นที่ผมเล่าให้ฟังคือ ข้อเท็จจริง เอาไว้ไปประกอบการตัดสินใจเฉยๆ

การเรียนนิเทศศาสตร์นี่ อย่างที่ทุกท่านว่าไว้ในกระจู๋นั้น
ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับการออกแบบในเชิงทัศนะศิลป์ วาดรูป กราฟิก
ไม่มีอะไรแบบนั้น แต่อ่านจุดประสงค์ของผู้(กำลังจะ)เรียนแล้วก็พอนึกออก
ผมเข้าใจว่าสามนั้น ระดับฝีมือไม่ต้องเรียนไอ้พวกที่ว่านั่น เพราะทำเป็นแทบจะทั้งหมดแล้ว
แถมทำได้ดีมากด้วย แล้วที่ทำๆนี่ ศึกษาเองทั้งนั้น เอาเวลาไปเรียนอะไรที่ตัวเองไม่รู้
ศึกษาด้วยตัวเองไม่ได้ดีกว่า คือศาสตร์ด้านนิเทศศาสตร์ น่าจะประมาณนี้ใช่ไหม?
อันนี้ว่าตามที่ป๋าเลย์อ่านขาดไว้ก่อนแล้วนะครับ

ดังนั้นเลยจะเล่าให้ฟังถึงการเรียนนิเทศศิลป์ ว่าทำไมคนที่หวังจะเป็นนักออกแบบ
ถึงมาเรียนนิเทศศิลป์ ถ้าเป็นเมื่อก่อน สมัยคอมพิวเต้อไม่ใช่ของมีไว้ตามบ้าน
อินเตอร์เน็ตก็ไม่มี โฟโต้ฉ็อปยิ่งไม่ต้องพูดถึง ไม่มีอะไรทั้งนั้น
กระบวนการออกแบบอะไรพวกนี้เลยยังต้องเรียนจากมหาลัยอยู่
อันนี้ก็พอเข้าใจได้อยู่หรอก

แต่สมัยนี้ล่ะ?

โฟโต้ฉ็อปก็เปิดหนังสือหัดเองได้ กราฟิกเดี๋ยวนี้เด็กประถมก็ทำได้แล้ว
(ใครทันเคยเห็นงานน้องวี น้องแอ๊นตอนปอหกไหม) ยิ่งไอ้พวกวาดรูป เขียนการ์ตูน
ยิ่งหัดวาดเองได้อยู่แล้ว ส่วนแฟลช อาฟเต้อ พรีเหมี่ย สามดี อนิเมชั่น อะไรต่อมิอะไร
นั่งเกาไข่หัดอยู่ในห้องก็ทำเป็นแล้ว ไม่เห็นจะยากตรงไหน


ทำไมถึงต้องมาเรียนออกแบบด้วยล่ะ?


การเรียนศิลปะ ธรรมชาติของมันคือใครๆก็เข้าถึงได้อย่างเท่าเทียมกัน
ไม่มีใครถูก ใครผิด อย่างแท้จริง ไม่เหมือนวิชาชีพชนิดอื่นๆ
ที่เราจำเป็นต้องเรียนโดยตรง เราต้องเรียนแพทย์ ถึงจะจบมาเป็นหมอแมวได้
ต้องจบวิศวะถึงจะมาทำงานเป็นวิศวกรได้ แม้แต่ด้านออกแบอย่างสถาปัตย์
เราก็ยังต้องเรียนสถาปัตย์ห้าปีเท่านั้นถึงจะประกอบอาชีพสถาปนิกได้
แต่หมอ วิศวกร นักฎหมาย ทุกคนสามารถใช้เวลาว่างเขียนรูปได้
ทำกราฟิกได้ ฝึกเล่นเครื่องดนตรีได้ ใช้เวลากับงานอดิเรกศิลปะชนิดไหนก็ได้
แต่คนเรียนศิลปะไม่สามารถไปเดินควบคุมเครื่องจักรเล่นๆในโรงงานได้
ไปผ่าตัดผนังพังผืดคนไข้เล่นยามว่างๆก็ไม่ได้ ไปจ่ายยาคนไข้เล่นๆยังไม่ได้เลย

ดังนั้นผมจึงไม่มีเหตุผลใดเลยที่จะมาอธิบายได้ว่า
ทำไมเราจึงจำเป็นต้องมาเรียนออกแบบ

สรุปคือ ผมตอบคำถามนี้ไม่ได้


แต่ผมจะตอบด้วยการเล่าให้ฟังว่า
ตลอดสี่ปีของการเรียนนั้น เราเรียนอะไร-เราได้อะไรจากมันบ้าง
เค้าต้องการให้เราได้บทเรียนชนิดไหน และมันเปลี่ยนอะไรในตัวเราไปบ้าง
ชอบหรือไม่ชอบ จำเป็นหรือไม่จำเป็นต้องเรียน
อ่านจบแล้ว น่าจะมีส่วนช่วยให้สาม นานา ใครก็ตามที่หลงมาอ่าน
หรือยังหลงทาง งุนงง กับคำแนะนำของ"ผู้ใหญ่"
แบบที่ว่าเอ็งต้องไปเรียนนั่น ต้องไปเป็นนี่ เชื่อตูสิ ตูผ่านมาหมดแล้ว
นำไปใช้ในการหาคำตอบให้ตัวเองได้บ้างนะครับ


ส่วนท่านที่ไม่ได้อยู่ในความสนใจ เชื่อว่าจะขี้เกียจอ่านไปเอง
มันยาวจนตอนนี้ผมยังพิมพ์ไม่จบเลย ข้อเขียนกึ่งสารคดีกึ่งมั่ว....

ทำไมเราต้องเรียนออกแบบ?





ปล.กว่าจะเปิดเรื่องได้ ท่ามากจริงๆ ง่ะ
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
คั่น รออ่าน  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า






อีกหนึ่งว่าที่กระจู๋แนะแนวชั้นเยี่ยม กรี๊ดดดดด


บันทึกการเข้า

งบน้อย
 กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด กรี๊ดดดดด +++++++ (อยากบวกให้ซักล้าน)
รออ่านต่อค่ะ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
ทำไมต้องเรียนออกแบบ???

ตอนเริ่มจะสอบเข้าคณะนี้ ไม่ได้คิดว่าจะมาเรียนออกแบบเลยนะครับ
คิดอย่างเดียวว่า "กูจะมาวาดรูปๆๆๆๆ" แต่พอเริ่มได้เรียน ปี1 ปี2 และปี3

ก่อนผลัดขึ้นปี3 เริ่มมีความแตกต่างในแต่ละคนแล้วล่ะครับ เพราะที่คณะ
เริ่มให้เลือกที่จะเรียนเลือกที่จะเรียนหมายถึง มีถ่ายรูปนะ
มีคอมพิวเตอร์กราฟฟิคนะ มีทำหนังนะ พวกเอ็งจะลงเรียนอะไร???

ผมเลือกคอมพิวเตอร์กราฟฟิคครับ เพราะตอนที่เรียน (2537) มันเพิ่งเริ่มมีคอมฯ
และเพิ่งจะมีโปรแกรมกราฟฟิคดีไซน์ ซึ่งเป็นเทรนด์ใหม่มากๆ และน่าสนใจ

พอเริ่มเรียน วิชาแรกที่เขาให้ตั้งใจฟัง คือวิชาการออกแบบนิิเทศศิลป์ ครับ
เป็นเนื้อหา และทฤษฎีล้วนๆ เพื่อบอกคุณว่า กฏและหลักการณ์ของวิชานี้ มีเท่านี้นะกู​ (อาจารย์)
สอนมึงเท่านี้นะ แล้วไปพลิกนอกตำรากันเอาเอง อาจารย์บอกอย่างกระชับและจริงจังว่า

วิชาออกแบบนิเทศ คือการดูตัวอย่างจากสิ่งที่เขามีอยู่แล้วทั่วโลก
แล้วเอามาพลิกแพลง ในแบบฉบับของเรา จับหลักของแต่ละอย่างให้ได้
ถึงจะออกแบบได้ และห้ามลอก

ตอบไม่ได้เหมือนกัน ว่าทำไมต้องเรียนออกแบบ รึแค่ว่า
เมื่อเราออกแบบอะไรซักอย่างขึ้นมาแล้ว มีคนเห็น ไม่ต้องชม มันก็แอบภูมิใจเล็กๆ ล่ะครับ
ว่านี่งานเรา ฝีมือเรา เท่านั้นล่ะครับ

สิ่งที่สำคัญในการเลือกเรียนศิลปะแขนงนี้ คือ
คุณชอบอะไร? เท่านั้นล่ะครับ
หาตัวเองให้เจอก่อน แล้วอย่างอื่นจะตามมา
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo


อย่างแรกที่ชาวบ้านเขาพูดถึงบ่อยๆจนเป็นแผ่นเสียงตกร่องคือ การเรียนออกแบบ
กับการเรียนใช้โปรแกรมคอมพิวเต้อสำหรับการออกแบบเป็นคนละอย่างกัน
การออกแบบเป็นศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับศิลปะ มากกว่าที่มันจะเกี่ยวข้องกับเทคโนโลยี
เพราะฉะนั้น เมื่อเราเข้ามาปีแรกเลย ทุกคนจะต้องได้เรียนพื้นฐานที่เรียกว่า "ทักษะทางศิลปะ"
เราจะได้เรียนวาดเส้น เพ้น ปั้น เขียนแบบ ในช่วงเกือบๆสองปีแรก อันนี้แต่ละที่ก็เน้นมากน้อย
แตกต่างกันไป ผมพอจะได้ยินของทุกที่ เพราะแถวนั้นมีคนที่ซิ่วเรียนที่อื่นมาก่อนแทบจะครบทุกที่
ส่วนมากเดี๋ยวนี้วิชาวาดเส้นเน้นในเชิงสร้างสรรค์เปิดให้ใช้วิธีการแบบคอลลาจ หมึก เล่าเรื่อง ฯลฯ
ผสมผสานตั้งแต่เริ่มเรียน เพื่อให้สอดรับกับวาดเส้นแบบนิเทศศิลป์ ซึ่งเน้นใช้ความคิดสร้างสรรค์
แต่ที่ผมเรียนมาไม่มีอะไรแบบนั้นเลยในปีแรกๆ จะเป็นการเรียนวาดเส้นพื้นฐานอย่างเดียว
เช่น วาดหุ่นนิ่งชนิดต่างๆในสตูดิโอ ไปวาดวัดวา ต้นไม้ ป่า ทะเล อยุทธยา ฯลฯ
จนมาถึงโหมดวาดคนแบบต่างๆเป็นอันสุดท้าย ซึ่งหินสุด
เพ้นก็เรียงลำดับต้นไม้ใบหญ้าเหมือนกันกับที่ว่ามา ปั้นก็ด้วย ไอ้ช่วงทัวร์ไปเขียนรูปตามที่ต่างๆนี่
ผมว่าเป็นช่วงชีวิตที่น่าจดจำที่สุดช่วงหนึ่งเลย ไอ้เรื่องราวทั้งหลายแหล่ในหนังหรือในนิยาย
เกี่ยวกับคนเรียนศิลปะก็เกิดขึ้นในช่วงเวลาแบบนี้แหละ หมายถึงเพื่อนๆผมมันจีบกัน
-ได้กันก็อีตอนนั่งเขียนรูปข้างๆกันนี่แหละ

(แต่ทั้งหมดนี่ เทียบกัับจิตรกรรมแล้วถือว่ากระจิริดมะเขือเผาไปเลยนะครับ
อาจารย์จิตรกรรมบางท่านยังวิจารณ์เลยว่า วาดเส้นสร้างสรรค์ของคณะมัณฑนศิลป์
เรียนในปีสองนั้นเร็วไป!?)

ในขณะเดียวกัน วิชาอื่นๆในช่วงปีแรก นอกจากทักษะแล้วสิ่งสำคัญที่นักออกแบบต้องมี
ก็คือ "ความเข้าใจ" ในระดับพื้นฐานก็คือความเข้าใจในความงาม ว่าไอ้ที่เราว่างามนั้น ทำไมถึงงาม
อะไรคือความงามกันแน่ วิชาคลาสสิคที่สุดของศิลปากรคือ วิชาสุนทรียศาสตร์ ซึ่งสอนโดย
อาจารย์ที่เฮี้ยนที่สุดที่ผมเคยเจอมา เป็นด็อกเต้อนักวิชาการและนักวิจารณ์ศิลปะที่กระโดดเหยงขึ้นไปนั่งยองๆ
บนโต๊ะเล็กเช่อได้ขณะบรรยาย (นึกถึงห้องเล็กเช่อใหญ่ๆคล้ายๆโรงหนังแล้วอาจารย์กระโดดขึ้นไปนั่ง
เหมือนหลวงพ่อคูณบนโต๊ะแล้วบรรยายสิ) ลีลาการพูดที่เหมือนหลุดออกมาจากการ์ตูนทิมเบอร์ตั้น
เรื่องเพี้ยนๆเกี่ยวกับอาจารย์ท่านนี้เยอะมากจนผมไม่รู้จะบรรยายเป็นภาษามนุษย์ยังไง
แต่เห็นยังงี้สอนดีมากนะครับ ใครๆก็รัก ชื่อของแกคือ รองศาสตราจารย์ด็อกเตอร์ไพโรจน์ ชมุนี
(ตำแหน่งนำหน้ายาวกว่าชื่อนามสกุลอีก) แกเกษียณปีนี้แล้ว เดือนตุลานี้แหละ น่าเสียดายมาก

สิ่งที่เราได้นอกจากจะเป็นการตั้งคำถามกับความงาม ซึ่งเป็นคำถามที่ซับซ้อนที่สุดอย่างหนึ่ง
ของมนุษย์ ยังตั้งคำถามกับรสนิยม ว่ามันคืออะไรกันแน่ ผมว่ามันเป็นแกนกลาง
ของการเรียนศิลปะเลยก็ว่าได้ มันสามารถทำให้เราตั้งคำถามชนิด "ว่ากันให้ถึงที่สุด"
ได้ว่าที่เราเรียนมาทั้งหมดที่ว่าสวย ว่าดีนั้นมันคือ"กลุ่มรสนิยม"กลุ่มหนึ่งเท่านั้น
แถมมันอาจจะเป็นกลุ่มรสนิยมของอาจารย์ที่ตรวจให้คะแนนเราก็ยังได้ พอบอกว่าศิลปะ
ไม่มีถูก มีผิด อ้าว แล้วอาจารย์เอาอะไรมาให้คะแนนเราล่ะ คำถามเหล่านี้ล่ะครับ ที่เราจะได้ค้นหาคำตอบ
แล้วการตั้งคำถามพวกนี้ ก็ทำให้เราตั้งคำถามกับผลงานตัวเอง รสนิยมตัวเอง
อะไรที่เราเห็นว่าสวย ทำไมเราถึงว่ามันสวยล่ะ? อันนี้เป็นสิ่งที่ผมว่านำไปใช้ได้ตลอดชีวิต
การทำงานเกี่ยวกับสุนทรียศาสตร์ทุกชนิดเลย ไม่ต้องเอาเรื่องการทำงานก็ได้
การเสพผลงานศิลปะรอบๆตัวทั่วไป อย่างการดูหนัง การฟังเพลง การรับรู้เข้าใจความงาม
ความไพเราะ ยิ่งอยู่กับมันมากเท่าไหร่ ตั้งคำถามมันมากเท่าไหร่ เราจะยิ่งละเอียดกับมันมากยิ่งขึ้น

สิ่งนี้มันส่งผลถึงผลงานตรงไหนเหรอครับ เอาง่ายๆนะครับ
ในการค้นหาสไตล์ของตัวเราเอง มันย่อมเริ่มจากความรู้สึกของเราว่า
อันนี้สวย อันนี้ห่วย อันนี้ไม่เพราะ อันนี้เจ๋ง อันนี้แปลก อันนี้สนุก
ความรู้สึกพวกนี้ทุกคนสะสมมาตั้งแต่เด็ก เรียกว่าประสบการณ์ทางสุนทรียศาสตร์
ทุกครั้งที่เราไปเดินร้านหนังสือ ตอนดูงานกราฟิกหรือเรื่องราวในนิตยสาร
ตอนเห็นวิวทิวทัศน์ที่สวยงาม  เห็นคนตามถนนแต่งตัวเจ๋งๆ ตอนที่เราดูหนัง
เพลงที่เราฟัง ตอนที่เรานั่งคลิกหน้าคอมดูงานกราฟิก ดูเวบกาม เสิร์ชเวบเกย์ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้มันพอกพูนขัดเกลาเรามาโดยธรรมชาติ

แต่การเรียน มันทำให้เราตั้งคำถามกับสิ่งที่เรารับมาโดยไม่รู้ตัวนั้น เอามันมาแยกแยะ เรียบเรียง ตีค่าใหม่
รสนิยมบางอย่างติดตัวเรามาเพราะเราถูกสังคม(ซึ่งคิดเห็นอะไรตามๆกัน)หล่อหลอมมา
ถูกบริษัทเพลง(ซึ่งผลิตแต่เพลงแบบเดิมๆซ้ำๆ)หล่อเลี้ยงเรามา...ให้เป็นลูกค้าเสียตังค์ให้เขาต่อไปนานๆ
ถูกลูกค้า(ที่ต้องการแต่งานที่ตอบโจทย์ของตัวเอง)กำหนดรูปแบบมา
ถูกตัวอย่างงานกราฟิกที่เราดูทั้งหลายในโลก(ซึ่งก็ดันมีแต่ของฝรั่ง)หล่อหลอมเรามา
ประสบการณ์ทั้งหลาย ปาดป้ายรสนิยมชนิดต่างๆลงบนตัวเราตามใจชอบของมัน
แต่มันเป็นใจชอบของเราแน่เหรอ?

การเรียนนิเทศศิลป์ มันทำให้เราได้สำรวจตัวเอง
อย่างไหนควรรับ อย่างไหนควรทิ้ง อย่างไหนควรตาม อย่างไหนที่เราถูกหลอกมาตลอดชีวิต
เราได้ "รื้อ-สร้าง" ตัวเองใหม่ด้วยมือของเราเอง

วิชาแนวเล็กเชอร์นี้ ยังมีประเภทประวัติศาสตร์ศิลปะ (ตะวันตก ตะวันออก)
ซึ่งก็คงนึกออกกันว่าเรียนอะไร ฟังดูน่าเบื่อ แต่มีประโยชน์อย่างไม่น่าเชื่อ
เพราะมันก็เกี่ยวกับความงามอีกนั่นแหละ นักออกแบบแนวๆในโลกนี้
อาจบอกว่า กูเจ๋ง กูของแท้ กูคือออริจินอล แต่การเรียนพวกนี้ทำให้ผมรู้สึกว่า
โลกนี้ไม่มีอะไรใหม่จริงหรอก เราต่างเป็นส่วนผสมของสิ่งที่มีมาก่อนแล้วทั้งนั้น ไม่ว่าจะรู้ตัวหรือไม่
แล้ววิชาเหล่านี้ก็จะพาเราไปสำรวจการต่อยอดทางศิลปะของมนุษย์ตั้งแต่ภาพเขียนผนังถ้ำ
จนดาวินชี จนแอนดี้ วอร์ฮอลล์ จนศิลปะร่วมสมัย เพื่อที่เราซึ่งเป็นองค์ประกอบชิ้นเล็กๆ
ของโลกศิลปะที่กว้างใหญ่จะกลายเป็นบทต่อไปของประวัติศาสตร์เหล่านั้น

คงต้องขอยืมคำของสาวๆโบราณคดีมาหน่อยว่า ไม่รู้อดีต ไฉนจะคาดเดาอนาคต
งานศิลปะ-ออกแบบ ก็เช่นเดียวกัน หากรู้อดีต เราก็สามารถต่อเติมอนาคตได้ง่ายกว่า
แล้วตอนนี้มีวิชาประวัติศาสตร์ออกแบบนิเทศศิลป์แยกออกมาโดยเฉพาะ
ประวัติของเฮลเฟตติก้า สวิสดีไซน์ บาวเฮาส์อะไรจำพวกนี้มีครบหมด

ต่อไปเป็นฝั่งวิชาหลักคือวิชาออกแบบพื้นฐานของปีแรกๆบ้าง
แต่ยังพิมพ์ไม่สวยงามดีนัก (แถมนี่มันก็ยาวมากแล้วอีกต่างหาก)
ค่อยพบกับตอนต่อไป อย่าเปลี่ยนช่องไปไหนนะครับ
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
เกาะติดขอบจอค่ะ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
คำนี้เพราะมากครับ อ่านง่าย แต่ทำยาก
คุณจะเรียนศิลปะ หรืออะไรก็แล้วแต่ จำเป็นต้องมีคำนี้อยู่ในสมองครับ

แอบอ้าง
สิ่งสำคัญที่นักออกแบบต้องมี ก็คือ "ความเข้าใจ"
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
กระทู้นี้น่าสนใจมาก กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า
จบเพียวอาร์ตมาครับ มีใครอยากเรียนมั่งง่ะ
หลักๆก็ทำอะไรก็ได้ให้มันดูไม่รู้เรื่องเข้าไว้
บันทึกการเข้า

ในหมู่คนตาบอด คนตาบอดข้างเดียวได้เป็นราชา
เกาะติดสถานการณ์  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า
โอ้ ขอบคุณมากครับ
ไม่คิดว่าจะมีคนตอบเยอะขนาดนี้
(พอดีตัวเองตอนนี้มันตี 5 เลยไปนึกว่าคนอื่นเขาจะนอนกันหมด ง่ะ)

ของพี่โก้ก็เท่นะครับ ได้ความคิดเห็นเหล่าผู้อาวุโสเพิ่มเติมด้วย
จริงๆอยากได้คนทำแบนเน่อช่วยด้วย น่าจะมีคนออกแบบได้จ๊าบกว่านี้นะครับ กร๊าก
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ลืมบอก
แบนนอร์จ๊าบมากพี่เก้อ  กร๊าก
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ

(แบนเน่อหมดมุกแค่นี้ล่ะครับ)



คราวนี้มาฝั่งวิชาหลัก คือวิชาออกแบบทั้งหลายแหล่

ในปีแรกๆ เราจะได้เรียนวิชาออกแบบพื้นฐาน
ซึ่งวัยรุ่นอย่าพึ่งใจร้อนครับว่าจะได้ทำกราฟิกเท่ๆ ปกหนังสือจ๊าบๆ โมชั่นแจ๋วๆ
ที่จะได้ทำคือ พื้นฐานขององค์ประกอบในการออกแบบจริงๆ เราจะได้นำเอา
ทัศนธาตุ(ภาษาไทยมันว่ายังงี้จริงๆนะ) เส้น สี จุด พื้นผิว ฯลฯ
มาประกอบเข้าด้วยกันด้วยโจทย์ชนิดต่างๆ ด้วยวิธีการชนิดต่างๆ
เอามันมาผสมกัน ทับซ้อนกัน ตัดกัน เปรียบเทียบกัน ขัดแย้งกัน สะท้อนกัน ปะทะกัน ฯลฯ
ซึ่งงานพวกนี้ก็เริ่มตั้งแต่สองมิติ ไปจนสามมิติต่อโมเดลทดลองวัสดุชนิดต่างๆ
ยกตัวอย่างงานที่เริ่มจากง่ายๆ ให้เอา จุดวงกลมหนึ่งอัน กับเส้นหนึ่งเส้น
มาจัดวางกันยังไงให้น่าสนใจ มีแค่สองอย่างนั้นแหละ
ไม่มีสีพื้นผิวหรืออะไรอื่นมาเกี่ยวข้อง ทำมาหลายๆแบบ
บางคนก็ได้อธิบายหน้าห้องด้วยว่าน่าสนใจเพราะอะไร
อาจารย์ก็จะเอามาถกกันในห้องว่างานใครเป็นยังไง นิดเดียวแค่นี้ก็วิจารณ์กันได้เป็นวัน
ดูเหมือนเรื่องง่ายๆ แต่พออาจารย์มาวิจารณ์ให้ฟังแล้วรู้สึกว่า
ระหว่างจุดๆเดียวกับเส้นๆเดียวนั่น มันมีอะไรให้เรียนรู้ในนั้นมากมายอย่างไม่น่าเชื่อ



ช่วงเริ่มต้นทุกงานนั้นทำมืออยู่แล้ว แต่หากใครทำกราฟิกเก่งๆมาแล้ว
ขั้นตอนนี้ก็จะทำให้ยิ่งเห็นภาพชัดเจนขึ้น ปกติกราฟิกที่เราทำสวยๆ
ทดลองอยู่หน้าคอมมาตั้งแต่มัธยม เราก็ทำด้วยการทดลอง
ตามแบบกราฟิกเจ๋งๆที่เราเสิร์ชหาเจอ หรือเปิดหนังสือโฟโต้ฉ็อป
แล้วลองทำตาม หรือหัดเดินเส้นอิลลัสจัดวางเส้น สี
โดยใช้เพียง"ความรู้สึก"ตัดสินเอาว่าสวย ไม่สวย
บางทีวางแล้วบังเอิญสวย บางทีใช้ความสะดวกของโปรแกรม
ลองเปลี่ยนสีไปเปลี่ยนมาจนสวย

แต่การที่องค์ประกอบ สี จุด เส้น ฯลฯ มารวมกันจนเป็นงานกราฟิกสวยๆอย่างหนึ่งนั้น
ทุกอย่างมันมีที่มาที่ไป มีเหตุมีผล ไม่ได้มาจากความบังเอิญ
ไม่ได้มาจากเพียงความรู้สึก ไม่ได้แปลว่าบังเอิญ
หรือใช้แค่ความรู้สึกนำทางไม่ได้นะครับ เพราะถ้าเอาให้ลึกไปอีก
งานกราฟิกประเภท Mistakism-ผิดพลาดนิยมก็ยังมี แต่ทุกคนก็ต้องผ่านระดับพื้นฐานมาแล้ว
ก่อนที่จะเขียนนิยายที่ยิ่งใหญ่ทุกคนต้องเรียนสะกดตัวหนังสือมาก่อนทั้งนั้น
ขั้นตอนนี้คือการเรียนการสะกดตัวอักษรว่ามีสระกี่ตัว วรรยุกต์เท่าไหร่ ผสมยังไงจึงจะเป็นคำ
ถ้าเข้าใจแล้วจะผสมเป็นมหากาพย์หรือเป็นนิยายเล่มละบาทเลยก็แล้วแต่ตัวใครตัวมัน



คนที่เป็นเซียนกราฟิกมาก่อนแล้ว ขั้นตอนนี้จะยิ่งทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้น
ลองสังเกตดูก็ได้ครับ ถ้าใครไม่ได้เรียนรู้ขั้นตอนพื้นฐานนี้ เช่นอาจหัดกราฟิกทำเอง
มักจะประสบปัญหามีอะไรขาดหรือเกินในองค์ประกอบของงานอยู่เสมอ
งานขาดรายละเอียด ไม่มีความกลมกลืน ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงออกแบบได้
หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือปัญหา รู้แต่ว่างานมันดูขาดๆเกินๆ ไม่ลงตัว
เพราะใช้เพียงความรู้สึกจับ


ปัญหาเหล่านั้นผมว่าทฤษฎีพื้นฐานในการออกแบบช่วยได้เสมอ
ผมไม่ได้หมายความว่าคนที่ไม่เรียนจะทำไม่ได้นะครับ อย่างที่ว่าศิลปะนี่
ไม่จำเป็นต้องเรียนในมหาลัยก็ทำได้ บางคนใช้สัญชาตญานล้วนๆ
แล้วงานออกมาเจ๋งก็มาก คนที่เรียนแล้วไม่เข้าใจก็มี เข้าใจแต่ทำไม่ได้หรือทำไม่สวยก็เยอะ
คนที่ไม่ได้เรียนโดยตรงก็เรียนรู้จากหนังสือได้ ตัวอย่างก็มีอยู่มากมาย ซึ่งประเด็นเรื่อง
ความแตกต่างของคนที่เรียนมาโดยตรงกับคนที่ไม่ได้เรียนผมขออนุญาต
ฝากไว้ก่อน เก็บไว้ขยายความโดยละเอียดต่อไป


เอาเป็นว่าใจความของการเรียนออกแบบที่เขามักจะพูดถึงว่า
เป็นคนละอย่างกันกับการใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ก็อยู่ตรงนี้นี่ล่ะ


ในช่วงปีแรกนี้ เราจะได้ทำกราฟิกเหมือนกันครับ อย่างพวกโปสเตอร์
ปกหนังสือ แพ็กเก็จ โลโก้ แน่ล่ะว่าทำมือทั้งหมด ปีแรกเนี่ยมันคือพื้นฐาน
ไม่ใช่ว่าทุกคนที่อยากจะเรียนทำกราฟิกจะทำคอมเป็นมาทั้งหมดใช่ไหมครับ
ถึงจะสมัยนี้ก็เถอะ ด้วยความเสมอภาคก็ต้องทำมือหมด
ตอนผมเรียน ใครทำคอมมาก็ได้เหมือนกัน แต่จะตัดคะแนนลงเกรดนึง
บางคนก็ยอมทำนะครับ แบบว่าทำมือเผาไม่ทัน ตอนนี้เข้าใจว่ายังไม่เปลี่ยน
เพราะผมก็ยังดูงานให้น้องอยู่(แต่ถ้ามันจะเปลี่ยนหลังจากผมมานี่แล้วก็ไม่รับทราบนะ)
เหตุผลเรื่องทำมือ ทำคอมนี่ ยังมีอีกมาก เก็บไว้เล่าในการเรียนปีลึกๆ

จะมีคำตอบให้...





ปล.ใส่จุดจุดจุดไปงั้นแหละครับ จะได้ดูเหมือนจะมีอะไรน่าตื่นเต้น
ตอนนี้ตื่นเต้นไม่ไหว เพราะเช้าแล้วขอลาก่อน
ฝากเรื่องแบนเนอร์ด้วยนะครับ ต้องมีคนทำได้เหี้ยกว่านี้แน่ๆ เจ๋ง


บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
น้องหลายๆ คน เลือกเรียนศิลปะเพราะ
- ไว้ผมยาวได้ เท่ห์
- ได้ถือกระดานสเก๊ตอัพ
- ได้ถือกล่อง พู่กัน
- แต่งตัวเซอร์ได้ สาวกรี๊ด
- ทำอะไรก็ได้ ที่คณะอื่นเขาไม่ทำ

จริงๆ แล้วอยากจะบอกว่า รุ่นพี่ผม หลายคน
ไม่ได้เหมือนเด็กศิลปะเล้ย บางคนผมสั้นเรียบร้อย
แต่งตัวเนี๊ยบ สะอาดสะอ้าน แต่ฝีมือเนียนสุดๆ

องค์ประกอบรองเหล่านั้น อย่าเพิ่งไปคิดครับ
คิดเรื่องเรียนก่อน ว่าจะตั้งเป้าเอาแบบไหน เรียนสาขาอะไร

นักออกแบบ ต้องหมั่นเข้าห้องสมุด และหาตำราครับ
นั่งเฉยๆ กระดิกตีน มองท้องฟ้า ได้เหมือนกัน แต่มีไม่กี่คนที่ทำได้ครับ ผมรับรอง
ส่วนใหญ่พวกนี้ หลุดกรอบไปแล้ว เรียกได้ว่าเป็นพรสวรรค์

คุณอยากเก่ง คุณต้องหาพรแสวงครับ จากทุกที่ ผมเชื่อว่า
พรสวรรค์กับพรแสวง วิ่งไปด้วยกัน ถึงจะดีครับ
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 15
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!