หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 ... 15
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องเรียนออกแบบ?  (อ่าน 143705 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
จะติดตามอ่านเรื่อยๆ ค่ะ  ปลื้ม
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
ลงชื่อไว้ให้หาง่ายๆ จะได้ตามอ่าน
บันทึกการเข้า

มาติดตามอ่านเช่นกัน..

 กรี๊ดดดดด



บันทึกการเข้า

ท่องเที่ยวเป็นงานหลัก ถ่ายรูปเป็นงานรอง
วาดรูปเป็นงานอดิเรก ขายยาเป็นงานประจำ
อ๊ะ ย่อหน้าแรกของเก้อ แทงป้าเสียงดังจึ๊กๆๆๆๆเลย  เศร้า
อ่านแล้วรู้สึกผิด ที่เชียร์นานาเข้าเรียนนิเทศศิลป์ ..แต่ว่า ..แต่ว่า...  ฮือๆๆ 
บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
+ เก้อเยอะเลยครับ  กรี๊ดดดดด


อ่านแล้วได้ย้อนกลับไปคิดดีครับ สุนทรีย์ตอนนั้นก็เรียนนะเจ๋งมากๆอย่างชอบเลย
ตอนนั้นปี1ปี2เองยังไม่รู้อะไรมากเลย ได้ดูหนังสวยๆ ของงามๆ เปิดหูเปิดตาสุดๆ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ความสวยไม่รับประกัน แต่ความมันเดี๊ยนรับรอง

คนที่เป็นเซียนกราฟิกมาก่อนแล้ว ขั้นตอนนี้จะยิ่งทำให้เราเข้มแข็งมากขึ้น
ลองสังเกตดูก็ได้ครับ ถ้าใครไม่ได้เรียนรู้ขั้นตอนพื้นฐานนี้ เช่นอาจหัดกราฟิกทำเอง
มักจะประสบปัญหามีอะไรขาดหรือเกินในองค์ประกอบของงานอยู่เสมอ
งานขาดรายละเอียด ไม่มีความกลมกลืน ไม่สามารถแก้ปัญหาในเชิงออกแบบได้
หรือไม่รู้ด้วยซ้ำว่าอะไรคือปัญหา รู้แต่ว่างานมันดูขาดๆเกินๆ ไม่ลงตัว
เพราะใช้เพียงความรู้สึกจับ



โอ๊ย เก้อ

นี่แหละที่เป็นอยู่เลย
ทำมาหากินด้านกราฟิก แต่ พื้นฐานศิลปะไม่แน่น เรียนมาแต่ไม่เข้มข้น (วิชาโท)

พื้นหลวมๆ โครงสร้างไม่แข็งแรง มันก็มาทรุด ตอนทำงานนี่เลย

ถึงภาคจบแล้ว จะเอาไปเผยแพร่นะ
บันทึกการเข้า

โอ้ว กระจู๋แห่งปี กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
โอ้ว กระจู๋แห่งปี กรี๊ดดดดด


เดี๋ยวผมรับอาสาแปะทองเองครับลุง
จู๋นี้ของบักเก้อ ขลังแน่ๆ  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
เยี่ยมไปเลยครับ ได้เปิดหูเปิดตามาก เจ๋ง
บันทึกการเข้า
สุดยอดครับเก้อ  เจ๋ง  แต่มันน่าน้อยใจอย่างนึงที่คนกลุ่มนึงชอบคิดว่า "ไม่ต้องเรียนออกแบบมา ก็ทำงานกราฟิกได้"
แต่ความแตกต่างของคนที่เรียนออกมาคือ สามารถคิดงานและทำงานภายใต้สภาวะความกดดันต่างๆได้ เช่น มีเวลา 1-2 ชั่วโมง ให้ทำงานเสร็จออกมาตาม concept ตามโจทย์ ถ้าคนๆนั้นไม่มีองค์ความรู้ด้านการออกแบบมา มันจะทำออกมาได้ยากมาก

อย่างนึงที่ต้องแยกความคิดออกจากกันก่อน คือ 1.)ความคิด 2.)ทักษะ 3.)เทคโนโลยีและเครื่องมือ
ข้อ 1 และ 2 เป็นสิ่งที่ได้จากการเรียนรู้วิธีการออกแบบ และมันเป็นสิ่งที่จะติดตัวเราไปจนตายจากโลกนี้ไป
ส่วนเทคโนโลยีหรือเครื่องมือมันแปรเปลี่ยนไปตามยุคสมัย ซึ่งนักออกแบบก็ต้องหาความรู้เพิ่มเติมให้ทันยุคไปเรื่อยๆ สมัยก่อนเขาใช้พู่กัน, แอร์บรัช, สีมาร์กเกอร์ ในการทำงาน นักออกแบบก็ต้องเรียนรู้วิธีใช้เครื่องมือตัวนั้นๆ สมัยนี้เปลี่ยนไปเป็น computer แถมมี software หลากหลาย นักออกแบบก็ต้องเรียนรู้วิธีใช้งานเพื่อเอาความคิดกับทักษะเข้าไปประกอบและทำออกมาเป็นตัวงาน

คนที่จบด้านออกแบบหรือมีความรู้เรื่องการออกแบบ จะมองว่าเทคโนโลยีมันคือเครื่องมือแบบนึง ที่ใช้ออกแบบงานในสื่อที่ต่างกันไป สังเกตุดูง่ายๆว่าคนที่ทำงานออกแบบจริงๆ เขาทำได้งานได้บนทุกมีเดีย ....คือมันจะคล้ายๆกับว่าพวกมีเดียหรือสื่อ (สิ่งพิมพ์, TV, เว็บ) เป็น Frame วาดภาพ ซึ่งบางทีมันอาจจะเป็น กระดาษ 100 ปอนด์, กระดาษปรู๊ฟ, ผืนผ้าใบ, กำแพงวัด ที่ต้องวาดภาพลงไป แต่มันจะดีหรือไม่ดีอยู่ที่ตัวนักวาดรูปว่ารู้การทำงานมากหรือน้อย  ..... นักวาดรูปที่เก่งๆเขาก็วาดออกมาได้ดีไม่ว่าจะวาดบนวัสดุไหน ใช้สีประเภทไหนในการวาด แต่มันก็จะมีสิ่งที่ตัวเองชอบหรือถนัดสุดอยู่สักอย่งสองอย่าง .... นักออกแบบก็จะคล้ายๆกัน
บันทึกการเข้า
โอ้ว เพิ่งตื่นมาเห็น

ประทับใจกับกระจู๋นี้มาก จนต้องขออนุญาตทำเรื่องเพื่อเตรียมเอาไปเป็นลิงก์ในหน้าแรกของเว็บครับ
คนใช้เว็บที่กำลังมาหาความหงอย จะได้อ่านอะไรแบบนี้ไว้กระแทกใจกันโต้นๆ เจ๋ง

คำตอบส่วนตัวสำหรับคำถามในโพสต์แรกของเก้อ ว่าแล้วจะเรียนไปทำไม
ถ้าตัดปัจจัยว่าโตขึ้นกูจะรวยแล้ว สำหรับตู คำตอบก็คงเป็นความเท่มั้งครับ

สำหรับวัยรุ่นตอนต้นที่ฮอร์โมนเพศกำลังฉีดพล่านแล้ว
สิ่งที่สุดยอดที่สุดก็คงเป็นเรื่องความเท่นี่แหละครับ
การได้เรียนมาในทางกราฟิกดีไซน์เชียวนะเว้ย นั่นถือเป็นความเท่ขั้นสูงสุด
พอๆ กับที่สมัยเด็กๆ เป็นคนวิ่งเร็วที่สุดในห้อง และสมัยมอต้นเป็นคนที่ได้เกรดสี่เยอะๆ นั่นแล

ตลกดีเหมือนกันที่พอเข้ามาในรั้วสถาบันการออกแบบชั้นนำของประเทศแล้ว
ไอ้ความรู้สึกเท่นั่นก็กลายเป็นแค่พื้นฐานที่ทุกคนทดไว้ในใจอยู่แล้ว เพราะทุกคนได้เรียนออกแบบกันหมด
กลายเป็นว่าถ้าจะให้เท่กว่า มันต้องมีจุดยืนที่เหนือกว่าขึ้นไปอีก
ลำบากละสิครับทีนี้  ง่ะ ก็เลยต้องมีสายวิชาเพิ่มมูลค่าเท่อีกหลากหลาย
ซึ่งตัวอย่างที่เห็นได้ชัดหน่อยก็คง การทำเพลงอินดี้ หรือหนังสั้น แล้วก็เดินถืออะเดย์
ย่อหน้านี้ถ้าป๋าเต้ดผ่านเข้ามาอ่านคงหัวเราะขลุกขลิก (อิอิ)

ก็นั่นแหละครับอย่างที่ลุงโก้ว่าไว้ พอตัวเองพาตัวเองข้ามผ่านวัยที่ต้องการเสพความเท่ปั๊บ
ผมเผ้าก็จะกลับมาเรียบแปล้เหมือนเดิม และอาการตกผลึกทางความเท่ก็จะบังเกิด
และกลายเป็นผู้ใหญ่ในที่สุด ซึ่งอันนี้แล้วแต่คนนะครับ
บางคนยังฮอร์โมนคุกรุ่นอยู่ก็ยังจะเท่ต่อไปได้เรื่อยๆ
การจะเป็นตัวจริงหรือตัวไม่จริงก็วัดกันตรงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อตรงนั้นแหละครับ

ที่แน่ๆ แบนเนอร์ของเก้อแม่งเท่จริงๆ กร๊าก

ป.ล.เคยเรียนกับ อ.ไพโรจน์ 1 เทอมครับ สนุกดีเหมือนกัน กร๊าก
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ไม่เคยเรียนออกแบบ อะครับ เอ๊ะ!! ออกแบบฐานข้อมูล อะไรพวกนี้ พอได้มั้ย  เอือม   ผมไม่มีความรู้ ลึกซึ้ง หรือเสพงานศิลปะได้อย่างขนลุกขนพองสยองเกล้าน่ะ แต่ผมชอบของสวยๆงามๆ
บันทึกการเข้า

ล้ำลึกคนึงหาในดวงจิต ใจเคยคิดตัดสวาทมิอาจสิ้น
ดั่งก้านบัวหักกลางชลาสินธุ์ ผิว่าสิ้นไร้เยื่อยังเหลือใย
 เจ๋ง
+ให้เน้นๆเลย
บันทึกการเข้า
อ่านแล้วมันแทงใจดังจึ่กๆเลยค่ะ 

บวกให้เรื่อยๆนะคะ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า


ขอบคุณพี่ๆทุกคนนะครับ
มุมมองของผมคนเดียวอาจจะยังแคบไป คงต้องขอแรงช่วยกันเพิ่มเติม
ส่วนแบนเนอร์ข้างบนนี่ ถ้าคิดว่ามันเหี้ยมาก ก็ต้องไปชมกับพี่แอนนะครับ
อุตส่าห์ตั้งใจทำมาให้ กร๊าก คุยกับพี่แอน เห็นว่ามันทำยากดี
เลยเห็นว่าอยากขอแรงทุกท่าน โพสความคิดเห็นครั้งต่อไป
ช่วยทำการดีไซน์์กราฟิกคำว่า "ทำไมต้องออกแบบ?" ประกอบกันมาด้วย
ใครเหี้ยได้ใจไม่มีรางวัลไรให้ (นอกจากคำว่าโคตรเหี้ยเลย กร๊าก)

เอามันในกระจู๋นี้แหละ เพื่อจะได้ช่วยให้ใครผ่านมาอ่าน
เกิดอยากเรียนออกแบบขึ้นมาบ้าง จะได้ไม่ต้องมาทนเห็น
ดีไซน์อะไรจั๊กกระเดียมแบบนี้อีก เอาแบบให้ผู้ชมเกิดความรู้สึกว่า
"โอ้ย มึงไปเรียนออกแบบเห๊อะ" หรือไม่งั้นก็ " มึงไปขี้เทอะ " ก็จะแจ๋วเลยนะครับ
เข้ากับกระจู๋ดีไหม (อีกอย่างกระจู๋มีแต่ตัวหนังสือยาวๆมันน่าเบื่อ)


กลับมาที่เนื้อหา ยังไม่จบปีสองเลยนะครับ



พอปีสองวิชาออกแบบนิเทศนี่ ได้ทำคอมแล้วครับ
(แต่วาดเส้นดินสอก็ยังวาดกันอยู่นะ) โจทย์คล้ายๆเดิมนั่นแหละ
ก่อนทำเราต้องเอาไอเดียและสเก็ตช์ไปคุยกับอาจารย์ก่อน
ควรเพิ่มเติมตรงไหน อันไหนขยายพัฒนาได้อีก อันไหนควรตัดทิ้ง
กระบวนการเรียนรู้รายละเอียดต่างๆก็อยู่ตรงนี้
การใช้สี เส้น องค์ประกอบต่างๆที่เราเรียนรู้มา
ก็เอามาใช้กับงานตอนนี้ อาจารย์ก็จะคอยจ้ำจี้จ้ำไช
กับการใช้สี เส้น รูปภาพพวกนั้นมาประกอบเป็นงาน ขยับนั่นนิด ขยับนี่หน่อย
เรื่องฟอนต์นั้นมีวิชาแยกต่างหาก วิชาไทโปกราฟี่ ได้เรียนในช่วงนี้แหละ
ตอนผมเรียน อ.โรจน์นี่แหละสอน



วิชาพวกนี้การได้ดูงานเพื่อนก็เป็นการเรียนรู้ที่ถือเป็นส่วนสำคัญมาก
โจทย์เดียวกันใครสามารถทำอะไรออกมาได้บ้าง
ตัวเราคิดออกมาได้แบบนี้ ทำออกมาได้แบบนี้
ของเพื่อนๆแต่ละคนก็คิดและทำออกมาแตกต่างกันไป
มันเป็นทั้งตัวช่วยเปรียบเทียบไอเดีย ฝีมือ เทคนิค ทั้งช่วยกระตุ้นผลักดันเรา
หรือแม้แต่ทำให้เราหมดกำลังใจตายห่าลงเหวไปเลยก็บ่อย
แต่ยิ่งเราได้อยู่ท่ามกลางคนที่ตั้งใจ คนเก่งๆ เจ๋งๆ
ก็ยิ่งผลักดันให้เราพัฒนามากเท่านั้น ดังนั้นที่ที่มีคนเก่ง
รวมกันเยอะๆจะยิ่งช่วยเราได้มาก
แถมหลังจากจบไปแล้ว พวกมันยิ่งช่วยได้มากยิ่งกว่าเก่าอีก



ก่อนขึ้นปีสาม เราจะได้เรียนอะไรรอบๆครบหมดแล้วครับ
ปีสองเทอมสองมันจะมีอะไรให้เรียนครบหมด
ทั้งวิชาภาพประกอบ ถ่ายภาพพื้นฐาน โฆษณาพื้นฐาน สิ่งพิมพ์พื้นฐาน
(กราฟิกนั่นแหละ)และพวกโปรแกรมพื้นๆทั้งหลายแหล่
ตั้งแต่ฉ็อป อิลลัส แฟลช อาฟเต้อ แต่ไม่ได้สอนอะไรมาก
นักหนาหรอกแค่พื้นฐานๆแถมสมัยนี้เป็นกันมาหมดแล้ว
ไม่เป็นก็ดูดวิชาจากเพื่อนเก่งๆเอา พอได้เรียนพวกพื้นฐานรอบๆแล้ว
ก็เป็นอันต้องตัดสินใจแล้วว่า เราจะไปทางไหนเป็นพิเศษเมื่อเข้าสู่สองปีสุดท้าย



ผ่านไปสองปีแล้ว หลังจากนี้ ปีสามเป็นปีส่วนตัวแล้วครับ


ถึงตอนนี้เราจะเน้นไปทางไหน ก็เลือกวิชาตามแต่จะสนใจ
มันมีตั้งแต่ สิ่งพิมพ์(กราฟิก) อนิเมชั่น คอมิค มัลติมีเดีย
ภาพยนต์ ถ่ายภาพนิ่ง ภาพขยับ แฟชั่น-ที่ตอนนี้แยกออกมาเป็นภาควิชาต่างหากแล้ว
เลขนศิลป์สิ่งแวดล้อม(ดิสเพลย์น่ะ) ฯลฯ

ผมก็เรียนนะแฟชั่นเนี่ย กับไอ้วิชาทางอนิเมชั่น โมชั่น ภาพขยับทั้งหลายแหล่
เป็นผลให้ได้เรียนถ่ายภาพตั้งสามเทอม เพราะมันต้องเรียนต่อกัน
ที่ไม่ได้เรียนเลยคือพวกสิ่งพิมพ์ ที่เขาสอนรีทัชระดับสูง
(ดูอาจารย์ทำแล้ว หยั่งกะว่าอาจารย์มีเวทย์มนต์)
การวางเลย์เอาท์ กริด องค์ประกอบทางกราฟิก
สิ่งพิมพ์ต่างๆ ได้ทำนิตยสารทั้งเล่ม แล้วที่น่าตกใจคือ
มีอาจารย์แก่ๆเป็นผู้อาวุโสในวงการสิ่งพิมพ์ไทยท่านหนึ่ง
(แล้วก็เป็นศิลปินที่มีชื่อเสียงมากด้วย สมัยหนุ่มเคยแสดงผลงาน
ในงานศิลปะที่มีงานของแอนดี้วอร์ฮอลล์ร่วมอยู่ด้วย)
แกให้ทำงานกราฟิกจัดหน้าหนังสือแบบมืออาชีพด้วยการทำมือ ก็แบบว่า
ถ้าเป็นเส้นก็ต้องมานั่งขีดเส้น ถ้าเป็นไทโปก็ต้องมานั่งเขียน เขาบอกว่า
ถ้าทำกราฟิกแล้วไฟดับล่ะ จะทำยังไง ซึ่งทุกคนก็ตอบว่า ไฟดับตูก็นอนสิ
คงไม่มานั่งจุดตะเกียงขีดเส้นกราฟิกหนังสือส่งโรงพิมพ์หรอก
 


เหตุผลจริงๆมีอยู่ว่า ในขณะที่เราใช้คอมพิวเตอร์ในการออกแบบนั้น
เราไม่รู้หรอกว่า เราได้พึ่งพามันแค่ไหนที่จะทำให้เกิดองค์ประกอบความงามขึ้น
ของบางอย่างเราก็ไม่มีทางออกแบบออกมาได้ ถ้าไม่รู้ว่า
อ๋อ มันมีเอฟเฟ็คอันนี้อยู่ในโปรแกรมนะ โปรแกรมมันสามารถ
สร้างฟิลเตอร์แบบนี้ได้ด้วยนะ มันทำโกลว ทำดร็อปชาโด้วแบบนั้นแบบนี้ได้นะ
หรือแม้แต่การเลือกสี แค่เลื่อนๆไปมาจนกว่าจะเจอสีที่ใช่
แทบไม่ต้องมานั่งคิดให้เหนื่อยเลย แสดงว่ากระบวนการออกแบบ
มันไม่ได้ออกมาจากตัวเรา แต่มันออกมาจากความสะดวก
และความรู้ในการใช้โปแกรม ไม่เชื่อลองทำดูเล่นๆก็ได้ครับ
ออกแบบและทำกราฟิกทุกอย่างด้วยมือ คิดออกมาเองล้วนๆ ลองดูซิว่า
อะไรที่ออกมาจากความคิดเราเต็มๆนั้น มีอะไรบ้าง  
ผมว่านี่เป็นการสำรวจขอบเขตความสามารถในการออกแบบกราฟิก
ของเราได้อย่างเข้มข้นใช้ได้เลย



ส่วนวิชาพวกวาดเขียนการ์ตูนนั้น ก็มีเชิญนักเขียนการ์ตูนหลากหลายแบบมาสอน
คุณชาตินี่สอนมาตั้งแต่ไหนแต่ไร คุณทรงศีลด้วย คุณเซียด้วย
พี่คำป้อนผู้กำกับก้านกล้วย(แต่ตอนผมเรียนแกพึ่งกลับมา
ยังไม่ได้ทำก้านคออะไรทั้งนั้น) คุณสกาลก็ด้วยนะ
เมื่อก่อนมันอยู่ในวิชาภาพประกอบ แต่ตอนนี้มันแยกมาเป็น
วิชาเขียนการ์ตูนโดยเฉพาะแล้ว


ส่วนไอ้วิชาภาพประกอบก็สนุกมาก อย่างมีบางงาน อาจารย์ให้ไปข้าวสาร
แล้วเสก็ตช์อะไรก็ได้มา บ้างก็เสก็ตช์เจ๊อ้วนคนดำ สาวฝรั่งนมโต ร้านกาแฟ
ฝรั่งหนุ่มในร้านหนังสือเก่าๆ เด็กพั้งแซ็บๆ แมงสาบ รองเท้ามือสอง อะไรก็ได้
หลังจากนั้นอาจารย์ถึงบอกให้ผูกมันเป็นเรื่อง
แล้วเอาสเก็ตช์พวกนั้นมารวมกัน จัดวางเรื่องราวขียนเป็นภาพประกอบ
ให้เขียนเขียนเรื่องประกอบด้วย อ่านของแต่ละคนฮาดี
เพราะทีแรกที่ออกไปนั่งสเก็ตช์ ไม่มีใครรู้ว่าจะเอามาทำอะไร
แต่ละเรื่องเลยมั่วไปหมด สายวิชาอิลลัสเตรชั่นนี่ประสบความสำเร็จเอามากๆ
พวกงานการ์ตูนหน้าพระลานก็เป็นส่วนหนึ่งของสายนี้นี่แหละครับ
การ์ตูนที่เอามารวมเล่ม ก็มาจากงานเรียนนี่แหละ
ผมเคยเห็นการ์ตูนงานเรียนวิชานี้ของคุณทรงศีลด้วยนะครับ
สไตล์คุณทรงฯเขาชัดแจงแวงมาตั้งแต่ตอนนั้นเลย


ส่วนวิชาทางโมชั่น อนิเมชั่นวิชาหนัง วิชากำกับหนัง
ก็สอนอย่างที่จะนึกออกนั่นแหละครับ วันๆก็ให้ดูหนัง
แล้วนั่งเขียนวิจารณ์ส่ง เรียนสบายมากๆ ไม่มีอะไรถูก ไม่มีอะไรผิดเลย
เขียนอะไรไปก็ได้คะแนน อาจารย์ไม่เคยบอกว่าอะไรถูกอะไรผิด
อะไรดี อะไรไม่ดีเลย แค่มาเปิดหนังดูกันแล้ววิจารณ์มันไปด้วยกัน
งานที่ให้ทำส่งก็แหงล่ะว่า ต้องให้ทำหนังสั้นส่ง กับให้ทำอนิเมชั่นสั้นส่ง
และอนิเมชั่นหนังสั้นการบ้านพวกนี้นั้น เราสามารถทำอะไรก็ได้
ไม่มีโจทย์อะไรให้ คืออยากทดลองห่าเหว บรรเจิด
ใหญ่โตอลังการติสต์แดกแค่ไหน ทำไปเลย เป็นช่วงเวลาที่รู้สึก"มันมือ"ที่สุด
นึกไม่ออกเลยว่า มีช่วงชีวิตไหนอีกไหม ที่จะได้ทำอะไรตามใจอยากได้ขนาดนั้นอีก
ปกติเรามักจะบ่นกัน อย่างตอนมัธยมเราอยากทำงานพวกนี้เราก็บ่นว่า
ติดเรียน ไม่มีเวลา ต้องเตรียมเอ็น พอเข้ามหาลัยใหม่ๆก็ติดว่าเราไม่รู้เทคนิคทำไม่เป็น
หรือโจทย์อาจารย์บังคับ ข้ออ้างเยอะแยะไปหมดที่ทำให้เราไม่ได้ทำสิ่งที่อยากทำ
แต่ตอนนี้นี่ เราไม่มีข้ออ้าง ข้อจำกัดอะไรเลย มีแค่เรา กับงานที่เราอยากทำ
ข้อจำกัดมีแค่อย่างเดียวคือ " มึงไม่เก่งพอ! "


ดังนั้นปีสาม ทุกวิชาคือแบบลงลึกรายละเอียด
สไตล์ใครจะออกมายังไงก็เห็นกันหมดในตอนนี้แล้ว
รางวง รางวัลส่วนใหญ่ก็ได้กันตอนนี้แหละ ใครจะเป็นอะไรหรือไม่เป็นอะไรแน่
เราจะเป็นใครหรือไม่เป็นใครแน่ เราไม่มีข้อแก้ตัวอะไรอีกต่อไปแล้ว





ปล.แฮ่กๆ เหลืออีกปีเดียว (เหงื่อแตกพลั่ก)
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
หน้า: 1 [2] 3 4 5 6 7 8 9 ... 15
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!