หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ทำไมต้องเรียนออกแบบ?  (อ่าน 143703 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ไม่เก่งก็สอบไม่ติดไปตั้งแต่แรกแล้วมั้งครับ(แบบว่าก็ในระดับนึงน่ะนะ)
บันทึกการเข้า

ในหมู่คนตาบอด คนตาบอดข้างเดียวได้เป็นราชา
คนเก่งกับคนไม่เก่ง จบมาแล้วรุ่งไม่รุ่ง มันก็ขึ้นอยู่กับดวง+เส้นสายเหมือนกัน
พวกที่เก่งมากๆตอนเรียนที่เรียกว่าพวกเทพ มีพรสวรรค์บางคน มันจัดระเบียบชีวิตตัวเองไม่ได้ ทำงานร่วมกับคนอื่นแล้วไม่รุ่งก็มีให้เห็นกันอยู่
บางคนหลุดโลกเบื่อทุกอย่าง อยู่แบบเรื่อยๆเปื่อยๆ ไม่หาอะไรเพิ่มให้กับตัวเอง ทำงานไปวันๆก็มี ..... แต่ไอ้คนประเภทนี้ ที่ยังหาความรู้เพิ่มเติมตลอด ฝึกตัวเองเหมือนตอนสมัยเรียน มันก็จะเก่งขึ้นเรื่อยๆ ทำงานจนมีชื่อเสียงในวงการนั้นๆได้แบบหายห่วง

พวกฝีมือดีรองลงมา บางคนตอนเรียน ทำงานได้ไม่ถึงกับดีมาก (แต่อยู่ในขั้นดี) จบออกไปบางคนก็รุ่งกว่าคนกลุ่มแรกที่ว่ามา ส่วนใหญ่คนกลุ่มนี้มันอาศัยพรแสวงและการฝึกฝนเรียนรู้ตลอด จนแซงพวกที่เก่งกว่าตัวเองได้

ส่วนบางคนที่ฝีมือไม่ดีมากแต่มันมี Taste ที่ดีรู้ว่าอะไรสวยไม่สวย ไอ้พวกนี้โดยมากมันจะขี้เกียจฝึกด้านฝีมือตั้งแต่ตอนเรียน ทั้งๆที่ถ้ามันตั้งใจฝึกคงจะเก่งกว่านี้ อาศัยเผางานส่งอาจารย์ไปเรื่อยๆ แต่มันมีหลักการในการเผางานให้จบออกมาได้ แถมโดยมากไอ้พวกนี้แหล่ะที่เป็นตัวฮา ตัวชวนตั้งวงสุราประจำชั้น ....ส่วนใหญ่คนลักษณะนี้ไม่ค่อยอดตาย มันเอาตัวรอดของมันได้ตลอด ..... เพื่อนในกลุ่มลักษณะนี้ บางคนไปทำงาน Prop (หาของ จัดฉาก ให้กับภาพยนตร์), ไปประกอบอาชีพอิสระอย่างเปิดร้านขายเสื้อผ้าที่จตุจักรบ้าง แถมบางคนร่ำรวยไปเลยก็มี

ส่วนพวกที่ฝีมือไม่เก่ง ส่วนใหญ่ก็จะทำงานประจำไปเรื่อยๆ บางคนก็ไปประกอบอาชีพอื่น มีเพื่อนไปทำงานเป็นเซลล์, เป็น Traffic (คอยดิวงาน จัดแจงงานด้านโปรดักชั่นให้พวกทีมงาน, Creative)

จำแนกเอาประมาณนี้ก็แล้วกัน
บันทึกการเข้า
อ่านของพี่ฉึ่งแล้วนึกออกเลยครับ
เห็นหน้าเพื่อนแต่ละแบบลอยมาในหัวเลย กร๊าก

ต่อกับประเด็นที่เหลือครับ ไม่เกี่ยวกับชีวิตการเรียนแล้ว




ข้อเท็จจริงสำคัญอย่างหนึ่ง ในแวดวงกลุ่มคนทำงานออกแบบดังๆหรือ
กลุ่มคนทำสตูดิโอออกแบบที่มีชื่อเสียง แทบจะไม่มีใครที่เรียนมาด้านอื่น
นอกจากสายศิลปะ- ออกแบบเลย ถ้าไม่ได้เรียนตอนตรีก็เป็นโท(มักจะเป็นเมืองนอก)
ปริมาณคนในแวดวงนี้หลักๆก็คงเป็นนิเทศศิลป์ หรือออกแบบสื่อสาร
นฤมิตรศิลป์ ฯลฯ ตามแต่จะเรียก มาทางสายไฟน์อาร์ตแบบจิตรกรรม-วิจิตรศิลป์,
ออกแบบอุตสาหกรรม, ครุศิลป์, สถาปัตยกรรม(หมายถึงที่เรียนถาปัตสร้างบ้านจริงๆ),
คอมอาร์ต และภาควิชาอื่นๆที่อยู่ในคณะด้านศิลปะออกแบบ
ส่วนคณะชื่อประเภทออกแบบสื่อ มัลติมีเดีย เทคโนโลยี ฯลฯ
ก่อตั้งขึ้นมาในระยะไม่นาน การจะมีคนจบมาแล้วเก่งกาจมีชื่อเสียง
ในวงการยังต้องใช้เวลากว่านี้หน่อยจึงยังไม่ปรากฎตัวตนมากนักในแวดวงการทำงาน


ข้อเท็จจริงที่สำคัญนี้ น่าจะถือเป็นการตอบคำถามต่อ
"ข้อแตกต่างของคนที่เรียนมาโดยตรงกับที่ไม่ได้เรียน"ได้ด้วย
อย่างที่พูดไว้ในการเรียนวิชาออกแบบพื้นฐาน
การเรียนพื้นฐานมันทำให้รากเราแน่นหนามั่นคง
ไม่ว่าจะเจอโจทย์แบบไหน ตัวตน ความชอบของเราเปลี่ยนไปแค่ไหน
รากเราจะยังมั่นคงไม่สั่นคลอนไปไหน หากไม่มีพื้นฐานที่ว่าแล้ว
เมื่อเจอปัญหาในเชิงออกแบบที่หนักหนาเข้า ก็ไม่สามารถไปไกลได้กว่านั้น
เรียกว่าเจอทางตัน ก็อาจทำให้ไขว้เขว แล้วไอ้วิชาชีพนี้จะทำให้คนร่ำรวยหรือก็เปล่าเลย
แถมไม่มีความมั่นคงใดๆอีกถ้าหากใครที่มีวิชาชีพอื่นๆรออยู่
ในระยะยาวเมื่ออายุมากขึ้น ก็มักจะเปลี่ยนแปลงไปทำอย่างอื่น
เป็นสาเหตุให้ เราแทบไม่เคยเห็นรุ่นใหญ่ๆในวงการ
ที่ไม่ได้เรียนสายศิลปะ-ออกแบบมาเลย


เหตุผลอีกด้านหนึ่ง การที่เราจะอยู่กับอะไรไปตลอดรอดฝั่งจนประสบความสำเร็จนั้น
มันอาศัยปัจจัยอะไรต่อมิอะไรหลายอย่างมาก การสอบเอ็นทร้านก็เป็นอีกอย่างหนึ่ง
การที่เราตัดสินใจจะเรียนคณะอะไรก็แสดงถึงความมุ่งมั่นในระดับหนึ่งแล้ว
ว่าเรารักมันและตั้งใจจะอยู่กับมัน ความยากง่ายของคณะก็มีส่วน คณะที่เข้ายากๆ
ต้องใช้ความพยายามสูงในการสอบเข้าก็วัดความมุ่งมั่นได้อีกอย่าง จึงเป็นอีกคำอธิบายว่า
ทำไมคนที่ประสบความสำเร็จมักมาจากคณะที่เข้ายากๆเหล่านี้
(ก็ทุกสาขาอาชีพด้วยนั่นแหละ)และโดยเฉลี่ยคนที่มาจากคณะเหล่านี้
จะมีเปอร์เซ็นต์หันเหเฉไปทำอะไรอย่างอื่นน้อย การมีกลุ่มเพื่อน สังคม
ที่สร้างคอนเน็คชั่นดีๆ ก็มีส่วน ทั้งหมดนี้มันเป็นตัวพยุงให้เรา
ไม่ว่าจะเจอปัญหาอะไรในระยะยาว ก็จะยังอยู่กับวิชาชีพนี้ไปได้จนประสบความสำเร็จ
ซึ่งเป็นปัญหาสำหรับคนไม่ได้เรียนมาโดยตรงจะเผชิญ
(และพออายุมากก็อาจหันไปทำอย่างอื่นในที่สุด)


ที่เปรียบเทียบนี้ ไม่ได้บอกว่าไม่ได้เรียนมาจะทำไม่ได้
หรือมีความรักในการออกแบบน้อยกว่าแต่อย่างใดนะครับ
ผมไม่อาจเอื้อมไปชั่งน้ำหนักความรักของใครๆจากแค่การสอบเพียงหนึ่งครั้งนั่นหรอก
เราทุกคน แค่จุดมุ่งหมายก็ไม่เหมือนกันแล้ว ทางที่จะไปถึงนี่ยิ่งไม่ต้องพูดถึงเลย
บางคนแค่การได้อยู่กับสิ่งที่รัก ไม่ต้องมีใครรู้จัก ไม่ต้องทำอะไรยิ่งใหญ่
นั่นก็คือประสบความสำเร็จแล้ว เพียงแต่ผมไม่สามารถหลีกเลี่ยงไปพูด
อะไรอย่างอื่นที่มันดูน่ารักน่าชังกว่านี้ได้ มันเป็นเรื่องจำเป็นที่ต้องเล่าข้อเท็จจริง
ให้เห็นภาพรวมทั้งหมดในช่วงเวลาที่น้องๆ ยังเลือกอนาคตการเรียนให้ตัวเองได้
จะชอบแบบไหนจะเลือกแบบไหนก็ตาม ข้อเท็จจริงมันก็คือแบบนี้แหละ


ลองนึกดูว่า การตัดสินใจของเราตอนนี้ ลองกะเอาว่าจะตายตอน 80
อายุ 16-17 จาก 80 มันเป็นระยะที่สั้นมาก ไม่ถึง 1 ใน 4 เลย
ในอนาคตปัจจัยในการดำรงชีวิตหลายต่อหลายอย่าง
มันจะนำพาเราไปพบเจออย่างอื่นมากมาย(ซึ่งไม่เกี่ยวกับการออกแบบเลย)
อะไรที่ทำแล้วได้ตังค์มากกว่า มั่นคงในชีวิตมากกว่า เลี้ยงลูกเมียได้
ผ่อนบ้านได้ ผ่อนรถได้ออปชั่นดีกว่า แต่ถ้าคิดว่าจะอยู่กับการออกแบบถึงอายุมากๆ
ก็ลองคิดดูว่า อะไรที่จำเป็นบ้างในการที่จะพาเราไปถึงจุดนั้น
พื้นฐานศิลปะที่มั่นคงเหรอ จำเป็นมากขนาดนั้นไหม ?
หรือความรู้ในศาสตร์ที่จะเอามาจัดการงานด้านนี้(เช่น นิเทศศาสตร์)มากกว่า ?
ที่ตัดสินใจวันนี้ เพื่อที่จะอยู่กับมันไปจนถึงอายุเท่าไหร่ ?
อย่างผมปีนี้ 19 ไอ้ที่ว่ามาทั้งหลายผมก็ไม่รู้หรอกว่าจะอยู่กับมันไปจนสามสิบ
สี่สิบ ห้าสิบไหม รู้แต่ว่าไอ้ที่การเรียนออกแบบให้ผมมานั้น
มันเพียงพอที่จะนำพาผมไปถึงตรงนั้น-ตรงไหนก็ตามเถอะ ที่ผมต้องการ


และสุดท้ายนี้ คือไอ้ผมเองเนี่ย จริงๆก็ไม่เคยต้องมานั่งติดสินใจอะไรแบบนี้หรอก
เหตุผลเหรอครับ ก็เพราะผมรักการออกแบบ ...อ้าว ฟังดูหล่อไปเหรอครับ
หน้าด้านจริงๆ เอาความจริงดีกว่า (ไม่ใช่พี่เบิร์ดนะครับ จะได้เพราะเบิร์ดรักเสียงเพลง)
ความจริงก็มีแค่ว่าทำอย่างอื่นไม่เป็น อยู่ในสังคมแบบอื่นไม่เป็น
นอกจากสังคมแบบที่เคยเรียนมา ง่ายๆแค่นั้นแหละ
พ่อแม่เลยไม่เคยต้องมาให้คำแนะนำอะไร แต่ถ้าเป็นพี่ๆผม
เวลาพ่อแม่ผมแนะนำเรื่องอนาคต แกก็เล่าอธิบายแสดงความคิดเห็น
ในฐานะพ่อแม่ คงคล้ายๆพ่อแม่ทุกคนที่รักลูกนั่นแหละ แต่พ่อผมจะลงท้ายเสมอว่า
ยังไงก็แล้วแต่ นี่ก็เป็นความคิดเห็นของพ่อ ซึ่งก็เป็นคนๆนึงเหมือนกัน
อาจจะถูกหรืออาจจะผิดก็ได้ เพราะงั้นอนาคตเรา รู้ตัวเราเองว่าต้องการอะไร
เลือกเอาเอง และรับผิดชอบการตัดสินใจนั้นเอง


เช่นเดียวกัน ผมอาจจะถูกหรืออาจจะผิด แต่ผมเลือกมาแล้ว
และทั้งหมดนี้คือที่ผมเจอมาครับ.


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 30 ต.ค. 2007, 04:45 น. โดย เก้อ » บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM


 (แจ๋ว แจ๋ว) สุดยอดมากๆ ครับพี่เก้อ
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
อลังการงานสร้างครับ  (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า
สุดยอดมากเก้อ  เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง

ชอบแบนเนอร์ เห็นปุ๊ปรู้เลยว่า "ทำไมต้องเรียนออกแบบ?"  (แจ๋ว แจ๋ว)
บันทึกการเข้า

[ว่างให้เช่า]
จบซะที เยี่ยมมากครับ ตอนผมสอบเข้าน่าจะมีอะไรแบบนี้ให้อ่านมั่งนะเนี่ย หลับหูหลับตาวัดใจกันเองไปเลยตอนนั้น คนให้ปรึกษาก็ไม่มี อาจารย์แนะแนวก็ไม่รู้จะตอบคำถามที่อยากรู้ลึกๆยังไง เจ๋งมากครับ  เจ๋ง

เรื่องสวนทวารของพี่โอดำนี่เจ๋งดีครับ ช่างเปรียบช่างเปรย เจ๋ง


สวนทวาร นี่ฟังดูแหม่งๆนะครับ  ง่ะ
บันทึกการเข้า

- R u Happy with ur Rock&Roll ? -
โอ้ว จบลงอย่างสวยงามแล้ว

อ่านจบแล้ว อยากลาออกจากงานเลย

เพราะมีความสุขที่จะทำ แต่ไม่มีความสุขที่ต้องทำตามอารมณ์คนอื่น

เหมือนใครเคยบอกว่า อย่าสิ่งที่ชอบ มาเป็นงาน เพราะอาจทำให้สิ่งที่ชอบกลายเป็นไม่ชอบ

 ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
 ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า
 กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ความสวยไม่รับประกัน แต่ความมันเดี๊ยนรับรอง
 เจ๋ง   เยี่ยมสุดๆเลยจู๋นี้




ปล.เห็นแบนเน่อร์จู๋นี้แล้วนึกถึงโปรแกรมออกแบบแบนเน่อร์สมัย Dos
บันทึกการเข้า

i'll walk until i find u.
เ่อ่อ ขอถามนิดนึงนะครับ
ถามแบบว่า ไม่ไป search ตามจู๋อื่นแล้วนะครับว่าซ้ำมั้ย
เพราะขอใช้สิทธิ์เด็กที่กำลังอยู่ในช่วงตัดสินใจ ไฟลนก้น มาถามเลยละกัน

ที่จริง นิเทศศิลป์เป็นสิ่งที่สามอยากเข้าเป็นอันดับแรกเลยนะครับ กร๊าก
แต่ที่สามเบนความคิดมาทางคณะอื่นมั่ง เพราะอยากลองหาทางเลือกเพิ่มเติมให้กับตัวเอง
และสามซีเรียสเรื่องสอบความถนัด เพราะสาม ม.5 แล้ว ยังไม่ได้ไปเรียนกับชาวบ้านเค้าเลย อี๋~
ใช่ว่ามั่นใจในพื้นฐานของตัวเองนะครับ เพราะมันมีก็แ่ค่ขี้เล็บ
สามอยากเรียนมาก แต่ไม่มีเวลาไปเรียนเลย ฮือๆ~

เลยอยากรู้ว่า มันจำเป็นมั้ยครับ ที่ทุกคนต้องไปเรียน
หรือว่าการที่ไปเรียน ก็ขึ้นอยู่กับความสามารถ+พื้นฐานของแต่ละคนด้วย
มิฉะนั้น จะซื้อหนังสือติว มาศึกษาค้นคว้าเอง
และต่อยอดด้วยการค่อยๆเรียนรู้สิ่งใหม่ๆด้วยตนเอง พร้อมๆกับทฤษฎีต่างๆในหนังสือด้วย

เพราะสามค่อนข้างเซ้วกับตัวเองไปนิดว่า
ทุกอย่างที่สามเป็นๆมา สามศึกษาและใช้ึความเข้าใจของตัวเองเป็นหลัก
เลยกล้าที่จะถามว่า จะไปซื้อหนังสือติวมาอ่านเอง แทนที่จะไปติวได้มั้ย กร๊าก

ก็จะซื้อมาอ่าน แล้วก็นั่งทำ zheza ไปด้วยครับ ชิ
บันทึกการเข้า
ความเห็นส่วนตัว
การติวเพื่อสอบเข้า ต่างจากการสะสมบารมีทีมีอยู่นะ
ไม่ว่าเอ็งจะเจ๋งมาจากไหน แต่ถ้าไม่ผ่านตามไวยากรณ์ที่เขาใช้เป็นบัตรผ่านเข้าคณะ ก็ อด

อย่างความถนัดถาปัด ติวกันไปเหอะ สอบกันไปเหอะ
สอบเสร็จปั๊บพอเข้ามานั่งเรียนในคณะเนี่ย ก็ไม่เห็นจะได้แตะอีกเลย

แล้วก็งานเนี่ย ถ้ารู้สึกว่ามันรบกวนเวลาเรียน-รบกวนอนาคตมากไปแล้ว
ก็หยุดทำไปเลย ต้องชั่งน้ำหนักดูว่าอะไรสำคัญกว่ากัน
(อาจจะเงินสำคัญกว่าก็ได้ไม่เชื่อถามตั๊กบงกชสิ ไม่เห็นต้องเข้ามหาลัยเลย)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
+ พี่เก้อ  กรี๊ดดดดด

อดีตผมเคยอยากเรียนสายออกแบบครับ ครั้งแรกคือ สาขาที่มันทำ animation ครับ
ตอนนั้นอยู่ ม.2 กำลังบ้า flash วาดรูปทุกวัน มหิดลจับมือกับบริษัทอะไรไม่รู้ลืมไปแล้วเปิดสาขานี้
ต่อมาไม่นานก็หันมาสนใจสถาปัตย์ ความคิดตอนนั้นคือ อยากเรียนจบไปทำอย่างอื่นครับ
แบบว่า วินทร์ ประภาศ  ปัญญา ฯลฯ

แล้วพอมา ม.3 ผมคิดมากจนหัวแตก แล้วก็เป็นพวกหัวรุนแรง ขวางโลกอยู่พักนึง
ไอเดียของผมคือ จะไม่ทำงานรับใช้นายทุนเด็ดขาด (แต่ก็ยังเสือกทำเว็บอีกหลายครั้ง)  กร๊าก
ผมทำลายความฝันของเด็กอายุ 14 คนหนึ่งด้วยความคิดต่อต้านทุนนิยมสามานย์
แล้วผมก็มาคิดได้ทีหลังแหละ ว่าจริงๆ แล้วจะเอาอะไรกะชีวิตนี้มากไม่ได้หรอก
กว่าจะคิดได้ผมก็เลิกสนใจการเรียนเพื่อไปทำงานในสายงานนี้แล้วครับ จบ...


จริงๆ ผมก็ไม่เคยรู้นะว่าเรียนไปแล้วได้อะไร
ตอนนี้พอเข้าใจอย่างลึกซึ้งมากขึ้นนิสนึง

 ปลื้ม
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 15
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!