หน้า: 1 2 [3]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: เจอบทความมา เห็นว่าน่าอ่านดี  (อ่าน 13260 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
อ่านของนิติภูมิแล้วนึกถึงป้าเช็ง  อืมมมมห์

เหมือนผมเลยพี่  อืมมมมห์

บันทึกการเข้า

สฤณี อาชวานันทกุล


“ความอุดมสมบูรณ์มิได้ประกอบสร้างจากทรัพย์สมบัติที่เรามี หากเกิดจากสิ่งที่ทำให้เรามีความสุข”

เอพิคิวรัส (๓๔๑-๒๗๐ ปีก่อนคริสตกาล)


เคยไหม...เวลาที่คุณทำงานหนักหามรุ่งหามค่ำ ไม่เว้นแม้กระทั่งเสาร์อาทิตย์ ติดต่อกันเป็นเดือน ๆ คุณจะสงสัยว่า เงินเดือนและโบนัสงาม ๆ ที่บริษัทจ่ายให้นั้น คุ้มกันหรือเปล่ากับการสูญเสียเวลาส่วนตัว และการสะสมความเสี่ยงที่จะเป็น “โรคคนรวย” ยามชรา ซึ่งต้องใช้ยาราคาแพงและค่ารักษาสูงลิบลิ่ว ไม่ว่าจะเป็นโรคกระเพาะ โรคหัวใจ ความดันสูง เบาหวาน ฯลฯ

ถ้าในอนาคตคุณจะต้องหมดเงินจำนวนมากที่ทนทำงานหนักเพื่อมัน ไปกับการรักษาโรคที่เกิดจากการทำงานหาเงินนั้นเอง ก็น่าจะตั้งคำถามตั้งแต่ตอนนี้ว่า ไปหางานใหม่ที่ได้เงินน้อยกว่าเดิม แต่ไม่ต้องเสี่ยงกับโรคที่ตามมากับงานและการใช้เงินรักษาโรคเหล่านั้น ทำให้โดยรวมแล้วคุณมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น มีเวลาพักผ่อนมากกว่าเดิม สุขภาพดีขึ้นทั้งกายและใจ จะไม่ดีกว่าหรือ ?

สมาชิกชนชั้นกลางหลายคนคงตั้งคำถามนี้กับตัวเองหลายครั้ง แต่ก็ตัดใจลาออกไปหางานใหม่ที่หนักน้อยกว่าเดิมไม่ได้ ไม่ใช่เพราะยึดติดกับเงินเดือนสูง ๆ แต่เป็นเพราะไม่แน่ใจว่า ความสัมพันธ์และจุดสมดุลระหว่าง “ความสุข” กับ “เงิน” นั้นอยู่ตรงไหนกันแน่ เช่นเราจะรู้ได้อย่างไรว่างานใหม่จะทำให้เรามีความสุขกว่าเดิม ?

ถึงแม้ว่าเรื่องนี้จะเข้าข่าย “ไม่ลองก็ไม่รู้” แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราไม่มีทางชั่งน้ำหนักและวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความสุข อย่างมีเหตุผลและเป็นระบบระเบียบได้

เอพิคิวรัส (Epicurus) นักปรัชญาชาวกรีกโบราณ คิดและเขียนเรื่องนี้ไว้อย่างลึกซึ้งเมื่อกว่า ๒,๐๐๐ ปีมาแล้ว ในฐานะบิดาแห่งแนวคิด “สุขนิยม” คนแรก ๆ ของโลก แต่น่าเสียดายที่ปรัชญาของเขาถูกตัดทอนจนเหลือเพียงมิติที่ฉาบฉวยในปัจจุบัน มิหนำซ้ำคนจำนวนน้อยที่รู้จักชื่อเขาก็มักจะเข้าใจผิดว่า เอพิคิวรัสสนับสนุนเฉพาะความสุขราคาแพง ไม่ว่าจะเป็นอาหารหรู ๆ ที่พักตากอากาศแพง ๆ ฯลฯ ชนิดที่คนไม่รวยจริงคงไม่มีโอกาสได้สัมผัส

ความเข้าใจผิดข้อนี้เข้าใจได้ เพราะคนปัจจุบันคุ้นเคยกับเอพิคิวรัสที่สุดในฐานะต้นตอของคำว่า “Epicurean” ในภาษาอังกฤษ ซึ่งพจนานุกรมอังกฤษ-ไทยส่วนใหญ่แปลคำนี้ในแง่คำนามว่า “คนเจ้าสำราญ, คนชอบสนุก, คนฟุ้งเฟ้อ, ผู้มีรสนิยมสูง” และในแง่คำคุณศัพท์ว่า “ซึ่งรู้จักเสพสุขกับชีวิต” หรือ “ซึ่งอุทิศให้กับความหรูหราและพิถีพิถัน โดยเฉพาะการกิน”

ชื่อของเอพิคิวรัสจึงกลายเป็นคำขยายความ “วิถีชีวิตมีระดับ” ในปัจจุบันที่ต้องใช้เงินซื้อทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็นอาหารในภัตตาคารหรู นิตยสารสำหรับคนรวยรสนิยมสูง และแม้กระทั่งชื่อตู้เสบียงของขบวนรถไฟสายหนึ่งในอเมริกา ที่เสิร์ฟอาหารหรูจากห้องครัวสมัยใหม่ที่มีเครื่องไม้เครื่องมือครบครันไม่แพ้ร้านอาหารในโรงแรมห้าดาว ตลอดการเดินทาง

แต่ถ้าใครลองศึกษาปรัชญาของเขาจริง ๆ อาจแปลกใจและดีใจที่พบว่า เอพิคิวรัสเชื่อมั่นในความสุขที่ยั่งยืนกว่านั้น เป็นความสุขชนิดที่สามัญชนไม่ต้องมีเงินมากก็สามารถเข้าถึงได้

ถึงแม้เอพิคิวรัสจะเห็นด้วยกับนักสุขนิยมคนอื่น ๆ ว่า “ความสุข” ของมนุษย์ประกอบด้วย “ความสำราญ” (pleasure) และการแสวงหาความสำราญคือ “ประโยชน์และจุดมุ่งหมายสูงสุด” ของความเป็นมนุษย์ แต่เขาก็แนะนำว่า เราควรแสวงหาความสุขหรือความสำราญชนิดที่ยั่งยืนจริง ๆ ไม่ใช่ชนิดที่ทำให้เราเพลิดเพลินเพียงชั่วครู่ยามเท่านั้น

เอพิคิวรัสจึงไม่เห็นด้วยกับวิถีชีวิตหรูหราที่ชื่อของเขากลายมาเป็นคำอธิบาย ตรงกันข้าม เขาบอกว่าพฤติกรรมเสพสุขแบบสุดขั้วที่ไร้ขีดจำกัดนั้น มิใช่แนวทางที่ดีที่สุดในการบรรลุซึ่งความสุขที่แท้จริง เพราะนอกจากจะไม่ทำให้เรารู้สึกสุขอย่างยั่งยืนหลังจากที่การเสพสุขนั้นจบไปแล้ว บ่อยครั้งยังนำความทุกข์มาให้แทนที่ ดังที่เอพิคิวรัสกล่าวไว้ว่า

“ไม่มีความสุขใด ๆ ที่เป็นผลเสียในตัวมันเอง แต่สิ่งที่ทำให้เกิดความสุขบางอย่างนั้น ก่อให้เกิดผลข้างเคียงที่เป็นผลเสียร้ายแรงกว่าความสุขนั้นหลายเท่า”

มีตัวอย่างมากมายของความสุขชั่วคราวที่ไม่ยั่งยืนและทำให้เกิดทุกข์ เช่น เกิดอาการคลื่นเหียนถ้ากินอาหารเข้าไปมาก ๆ หรือความเบื่อหน่ายในเซ็กซ์หรือคู่นอนถ้ามีเซ็กซ์บ่อยจนเกินไป

เอพิคิวรัสไม่ใช่นักปรัชญาที่คิดค้นทฤษฎีโดยปราศจากการทดลอง เหตุผลที่เขากล้าประกาศปรัชญาเกี่ยวกับความสุขก็เพราะตัวเองลองมาหมดแล้ว ความโด่งดังของเอพิคิวรัสในสมัยนั้นทำให้เขาสามารถก่อตั้งโรงเรียนเกี่ยวกับความสุขในกรุงเอเธนส์ ด้วยเงินที่เขาขอเรี่ยไรจากเศรษฐีผู้มีจิตศรัทธา โรงเรียนนี้กลายเป็นแหล่งมั่วสุมของชาวกรีกที่ชอบกินเหล้าเมายา ปาร์ตี้ และมั่วเซ็กซ์วิตถารแบบไร้ขีดจำกัด ถึงขนาดเป็นที่ฮือฮาในสังคมกรีกโบราณซึ่งมองว่าการมั่วเซ็กซ์ (รวมทั้งรักร่วมเพศระหว่างชายต่างวัย หรือที่เรียกว่า pederasty) เป็นเรื่องปรกติธรรมดาของคนมีเงิน

หลังจากที่ทดลองเสพและสังเกตผลของกิเลสชนิดต่าง ๆ ในโรงเรียนด้วยตัวเอง (ลือกันว่าเอพิคิวรัสต้องอาเจียนวันละ ๒ รอบ เพราะเขากินอาหารเยอะเกินไป) เอพิคิวรัสก็ได้ข้อสรุปว่า

“ในบรรดาความต้องการทั้งหมดของเรา บางอย่างคือความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น บางอย่างคือความต้องการตามธรรมชาติที่ไม่จำเป็น ส่วนที่เหลือนั้นคือความต้องการที่ทั้งไม่เป็นธรรมชาติและไม่จำเป็น เป็นเพียงผลจากความคิดที่ไร้เหตุผลใด ๆ รองรับ”

เอพิคิวรัสบอกว่า “ความสุข” ที่ดีที่สุดและยั่งยืนที่สุดสำหรับมนุษย์ คือการมี “ความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น” (natural and necessary) พร้อมมูล ซึ่งประกอบด้วย ปัจจัยสี่ มิตรสหาย เสรีภาพ และความคิดอ่าน (wisdom) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น “ความต้องการทางใจ” ที่ไม่ต้องใช้เงินซื้อ ต่างจาก “ความต้องการตามธรรมชาติที่ไม่จำเป็น” (natural but unnecessary) ซึ่งส่วนใหญ่เป็น “ความต้องการทางวัตถุ” เช่น บ้านหลังใหญ่ คนรับใช้ งานเลี้ยงหรูหรา ฯลฯ ส่วน “ความต้องการที่ทั้งไม่เป็นธรรมชาติและไม่จำเป็น” (unnatural and unnecessary) ในกระบวนทัศน์ของเอพิคิวรัสนั้น ส่วนใหญ่เป็นกิเลสที่เป็นนามธรรม อาทิเช่น ชื่อเสียง อำนาจ ฯลฯ

ดังนั้นเราจึงอาจสรุปปรัชญาความสุขของเอพิคิวรัสได้ว่า “การใช้ชีวิตอย่างพอประมาณ” (moderate life) ท่ามกลางเหล่ามิตรสหายที่เสวนากันด้วยปัญญาอย่างสม่ำเสมอเท่านั้น ที่จะนำไปสู่ความสุขอันยั่งยืนตลอดอายุขัยอันแสนสั้นของมนุษย์

หากเราจะพล็อตความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความสุข สำหรับคนที่มี “ความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น” ครบถ้วน ออกมาเป็นกราฟ เราน่าจะได้กราฟรูปร่างแบบนี้



เอพิคิวรัสยืนยันว่า สำหรับคนที่หาเงินได้แล้วถึงระดับหนึ่ง และมีปัจจัยสี่ มิตรสหาย เสรีภาพ และความคิดอ่านพร้อมมูลแล้ว ไม่ว่าเขาจะจ่ายเงินมากกว่าเดิมเท่าไร ก็ไม่มีทางมีความสุขสูงกว่านั้น (ที่ตัวเลข “3” ในกราฟ) ได้อีก

พูดอีกนัยหนึ่งคือ สามัญชนที่มีปัจจัยแห่งความสุขอย่างยั่งยืนครบถ้วน ก็สามารถมีความสุขเท่ากับคนรวยล้นฟ้าได้ และความสุขนั้นก็เป็นความสุขที่ยั่งยืน เพราะเป็นความสุข “ตามธรรมชาติที่จำเป็น” ต่อการดำรงอยู่ของคนคนนั้นจริง ๆ

แต่สำหรับคนที่ไม่มีเพื่อน เสรีภาพ หรือความคิดอ่าน ไม่ว่าจะมีเงินมากขนาดไหนก็ไม่สามารถมีความสุขที่แท้จริงได้ เราอาจพล็อตความสัมพันธ์ระหว่างเงินกับความสุขสำหรับคนแบบนี้ได้ดังต่อไปนี้



เอพิคิวรัสบอกว่า เพื่อนแท้เป็น “ความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น” เพราะความรักของเพื่อนเป็นเครื่องตอกย้ำความมีตัวตนของเรา เพื่อนแท้ย่อมไม่เคยเรียกร้องให้เราพิสูจน์ความเก่งหรือคุณธรรมใด ๆ แต่มีความหวังดีและยอมรับตัวตนของเราเสมอ ไม่ว่าภาพลักษณ์ภายนอกและฐานะของเราจะน่าเกลียดหรือต่ำต้อยเพียงใด และไม่ว่าอุปนิสัยและความคิดอ่านของเราจะขัดต่อธรรมเนียมหรือมารยาทสังคมขนาดไหนก็ตาม

ถึงตอนนี้คุณคงสงสัยว่า แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าสิ่งที่ต้องการทำแต่ละอย่างนั้น เป็น “ความต้องการตามธรรมชาติที่จำเป็น” หรือไม่ เพราะคนเราแต่ละคนน่าจะมีความต้องการไม่เหมือนกัน ?

ความที่เอพิคิวรัสเป็นนักปรัชญาผู้ใช้เหตุผลอย่างเป็นระบบ เขาเสนอให้เราทำ “การทดลองทางความคิด” ง่าย ๆ ๕ ขั้นตอน ดังต่อไปนี้ (ตัวอย่างในวงเล็บ)

๑. คิดถึง “เป้าหมาย” ข้อหนึ่งที่เชื่อว่าจะทำให้ตัวเองมีความสุข (ฉันต้องทำงานที่ฉันชอบและได้เงินเดือนสูงกว่า ๖๐,๐๐๐ บาท จึงจะมีความสุข)

๒. ลองสมมุติว่าเราคิดผิด หาข้อยกเว้นที่ทำให้เป้าหมายกับความสุขนั้นไม่เชื่อมโยงกันจริง ๆ เป็นไปได้ไหมที่เราจะบรรลุเป้าหมายนั้นแต่ไม่มีความสุข หรือมีความสุขโดยไม่บรรลุเป้าหมายนั้น (เป็นไปได้ไหมที่ฉันจะทำงานที่ฉันชอบ ได้เงินเดือนสูงกว่า ๖๐,๐๐๐ บาท แต่ไม่มีความสุข ฉันจะมีความสุขได้ไหม ถ้าได้งานที่ฉันชอบแต่เงินเดือนต่ำกว่า ๖๐,๐๐๐ บาท)

๓. ถ้าเราพบข้อยกเว้นดังกล่าว ก็แปลว่าเป้าหมายของเราไม่ใช่ “ความต้องการที่จำเป็น” (ฉันอาจได้งานเงินเดือนสูงที่ฉันชอบ แต่ไม่มีความสุขถ้ามีเจ้านายที่มองไม่เห็นคุณค่าของฉัน แม้ฉันอาจได้งานที่เงินเดือนน้อยกว่า แต่มีความสุขกับงานที่ฉันชอบ เพราะมีเจ้านายที่มองเห็นคุณค่าของฉัน)

๔. ขยายความเป้าหมายดั้งเดิมให้รัดกุมกว่าเดิม เพื่อสะท้อนข้อยกเว้นที่ค้นพบ (ถึงแม้จะได้เงินเดือนน้อยกว่า ๖๐,๐๐๐ บาท ฉันก็สามารถมีความสุขกับงานที่ฉันชอบ ตราบใดที่มีเจ้านายที่มองเห็นคุณค่าของฉัน)

๕. เมื่อมาถึงขั้นนี้ ความต้องการที่แท้จริงของเราอาจไม่เหลือเค้าของความต้องการดั้งเดิมอันสับสน (ความสุขของฉันขึ้นอยู่กับการมีเจ้านายที่มองเห็นคุณค่าของฉัน มากกว่าระดับเงินเดือน)


สุขนิยมฉบับขนานแท้และดั้งเดิมของเอพิคิวรัส เป็นผลผลิตจากการวิเคราะห์ผลกระทบของความสำราญชนิดต่าง ๆ ที่มีต่อสุขภาพกายและใจของเราในระยะยาว ไม่ใช่ความสุขชั่วครู่ยาม ดังนั้นถ้ามองในแง่นี้จะพบว่า แนวคิดของเขามีส่วนคล้ายกับแนวคิดเรื่อง “ทางสายกลาง” ในพุทธศาสนาไม่น้อย

เป็นเรื่องน่าเสียดายที่นักสุขนิยมยุคปัจจุบันยึดเอาความสุขแบบฉาบฉวยและมักง่ายเป็นสรณะ จนไม่รู้จักสุขนิยมที่แท้จริงของเอพิคิวรัส คน (ไม่) สำคัญที่ถูกสังคมเข้าใจผิดอย่างร้ายแรงตลอดมา

http://www.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=728

เราก็เป็นพวกสุขนิยม
บันทึกการเข้า

หิวจนไส้กิ่ว แต่ก็ยังเดินลิ่วๆ เพราะส้นเข็มสามนิ้ว..
โอ้วววววว บวก ชอบมาก
บันทึกการเข้า

บล็อกในมุมมืด
because we always.....expecting
ขุดๆ

หลวงปู่ชา สุภัทโท สอนคนที่ชอบยุ่งกับเรื่องของคนอื่นว่า ..

 

อย่ายุ่งกับเรื่องของคนอื่น

ภาวนามากๆ  ดูตัวเองมากๆ

หลวงปู่บอกว่า ..

"ธรรมดาเราดูแต่คนอื่น 90%  ดูตัวเองแค่ 10%"

คือ  คอยดูแต่ความผิดของคนอื่น  เพ่งโทษคนอื่น

คิดแต่จะแก้ไขคนอื่น

 

กลับเสียใหม่นะ

ดูคนอื่นเหลือไว้ 10%

ดูเพื่อศึกษาว่า  เมื่อเขาทำอย่างนั้น

คนอื่นจะรู้สึกอย่างไร

เพื่อเอามาสอนตัวเองนั้นแหละ

ดูตัวเอง  พิจารณาตัวเอง 90%

จึงเรียกว่าปฎิบัติธรรมอยู่

 

ธรรมชาติของจิตใจมันเข้าข้างตัวเอง

โบราณพูดว่า  เรามักจะเห็น  ความผิดของคนอื่นเท่าภูเขา

ความผิดของตนเองเท่ารูเข็ม

มันเป็นความจริงอย่างนั้นด้วย

เราต้องระวังความรูสึกนึกคิดของตัวเองให้มากๆ

 

เห็นความผิดของคนอื่น  ให้หารด้วย 10

เห็นความผิดของตนเอง  ให้คูณด้วย 10

จึงจะใกล้เคียงกับความจริงและยุติธรรม

เพราะเหตุนี้เราจะต้องพยายามมองแง่ดีของคนอื่นมากๆ

และตำหนิติเตียนตัวเองมากๆ

แต่ถึงอย่างไรๆ เราก็ยังเข้าข้างตัวเองนั้นแหละ

 

พยายามอย่าสนใจการกระทำ  การปฎิบัติของคนอื่น

ดูตัวเอง  สนใจแก้ไขตัวเองนั้นแหละมากๆ

เช่น  เข้าครัวเห็นเด็กทำอะไรไม่ถูกใจ

แล้วเกิดอารมณ์ร้อนใจ ..

 

ยังไม่ต้องบอกเขาให้แก้ไขอะไรหรอก

รีบแก้ไข  ระงับอารมณ์ร้อนใจของตัวเองเสียก่อน

เห็นอะไร  คิดอะไร  รู้สึกอย่างไร  ก็สักแต่ว่าใจเย็นๆ ไว้ก่อน

ความเห็น  ความคิด  ความรู้สึกก็ไม่แน่ใจ..

ไม่แน่..อาจจะถูกก็ได้  อาจจะผิดก็ได้

เราอาจจะเปลี่ยนความเห็นก็ได้

สักแต่ว่า..  สักแต่ว่า.. ใจเย็นๆ ไว้ก่อน ยังไม่ต้องพูด

 

ดูใจเราก่อน  สอนใจเราก่อน  หัดปล่อยวางก่อน

เมื่อจิตสงบแล้ว  เมื่อจิตปกติแล้ว

จึงค่อยพูด  จึงค่อยออกความคิดเห็น

พูดด้วยเหตุ  ด้วยผล  ประกอบด้วยจิตเมตตากรุณา

ขณะมีอารมณ์อย่าเพิ่งพูด..

ทำให้เสียความรู้สึกของผู้อื่น

ทำให้เสียความรู้สึกของตนเอง

ไม่เกิดประโยชน์เท่าที่ควร

มักจะเสียประโยชน์ด้วยซ้ำไป

 

เพราะฉะนั้น  อยู่ที่ไหน  อยู่ที่วัด  อยู่ที่บ้าน

ก็สงบๆ ๆ  ไม่ต้องดูคนอื่นว่าเขาทำผิดๆ ๆ

ดูแต่ตัวเรา  ระวังความรูสึก  ระวังอารมณ์ของเรามากๆ

พยายามแก้ไข  พัฒนาตัวเรา.. นั้นแหละ

 

เห็นอะไรชอบ  ไม่ชอบ  ปล่อยไว้ก่อน

เรื่องของคนอื่น  พยายามอย่าให้เข้ามาที่จิตใจเรา

ถ้าไม่ระวัง  ก็จะยุ่งแต่เรื่องของคนอื่นไปเรื่อยๆ

หาเรื่องอยู่อย่างนั้น

เอาเรื่องโน้นเรื่องนี้มาเป็นเรื่องของเราไปหมด

มีแต่ยินดี  ยินร้าย  พอใจ  ไม่พอใจ  ทั้งวัน

อารมณ์มาก  จิตไม่ปกติ  ไม่สบาย  ทั้งวันๆ ก็หมดแรง

 

ระวังนะ

พยายามตามดูจิตของเรา

รักษาจิตของเราให้ปกติให้มาก

ใครจะเป็นอะไร  ใครจะทำอะไร  ดีหรือไม่ดี  เรื่องของเขา

แม้เขาจะทำกับเรา  ว่าเรา..  ก็เป็นเรื่องของเขา

อย่าเอามาเป็นอารมณ์

อย่าเอามาเป็นเรื่องของเรา


 

ดูใจเรานั้นแหละ


พัฒนาตัวเองนั้นแหละ

ทำใจเราให้ปกติ  สบายๆ มากๆ

หัด-ฝึก  ปล่อยวาง นั้นเอง

ไม่มีอะไรหรอก

ไม่มีอะไรสำคัญกว่ากการตามรักษาจิตของเรา

คิดดี  พูดดี  ทำดี  มีความสุข..





เจอมาจาก http://bannpeeploy.exteen.com/20080701/entry
ชอบค่ะ กรี๊ดดดดด
ยิ่งมีช่วงนึง เคยหงุดหงิดเด็กในเว็บงุงิ อ่านแล้วเข้าใจอะไรได้เยอะเลยง่ะ
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
ขณะมีอารมณ์ อย่าเพิ่งพูด
ขอบคุณครับ ไหว้+
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ขณะมีอารมณ์ อย่าเพิ่งพูด
ขอบคุณครับ ไหว้+
อ่านที่พระท่านเทศน์ก็ไม่ได้คิดอะไรนะครับ
แต่ทำไมพอพี่แอนเอามาพิมพ์ ถึงคิดอกุศลได้ก็ไม่รู้ กร๊าก


ไหว้
บันทึกการเข้า

อูย หื่น
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
 ไม่ล่ะ
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
ไม่ล่ะ
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
 อู้ย..

เขาหมายถึงอารมณ์เสีย โวย
บันทึกการเข้า

ต๊กต๋าเปิ้นเป๋นดีไค่หัว ต๊กต๋าตัวเป๋นดีไค่ไห้
 กร๊าก
บันทึกการเข้า

ขุด

http://archmania.exteen.com/20080723/entry-3
ณ ขณะเสี้ยว........วินาทีเดียวกัน.....



http://icedlatte.exteen.com/20080722/entry
กินกาแฟอย่างมีศิลป์ ถูกต้อง และอร่อย
ชอบบบ
ปกติกินแต่กาแฟกระป๋อง ไม่มีปัญญาเข้าร้านหรูๆ กร๊าก
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
หน้า: 1 2 [3]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!