หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 29
 
ผู้เขียน หัวข้อ: Typomancer's Journal  (อ่าน 236107 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
เอาล่ะครับ ก่อนอื่นต้องขอโทษที่เลื่อนมานาน  ฮิ้ววว
จู๋นี้ก็จะเป็นจู๋ที่ผมจะเอาไว้ใช้บันทึกการออกแบบฟอนต์ เกร็ดเล็ก เกร็ดน้อย บลาๆ

เริ่มแรกเลยผมขอยกตัวอย่างจาก Thesis ของผมเอง
เนื่องจากมีการบันทึก process ไว้ค่อนข้างครบ น่าจะทำให้เห็นภาพรวมของการออกแบบได้ดี




INTRO

เริ่มจากการนำพยัญชนะไทยโบราณ
ผสมผสานเข้ากับการเขียนด้วยปากกาหัวตัด
และวิธีการเขียนแบบ calligraphy ของยุโรป
เกิดเป็นอักษรไทยรูปแบบใหม่ที่มีความร่วมสมัย
ที่คงไว้ซึ่งลักษณะเด่นของตัวอักษรทั้งสองชนิด

เปรียบเสมือนการคาบเกี่ยวระหว่างสองวัฒนธรรม
การเกิดใหม่ของตัวอักษรในจารึก

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 มี.ค. 2011, 11:51 น. โดย าาา๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
ของเขาดีจริง อาจารย์พี่โม่  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

Chatnarong Jingsuphatada
Graphic Designer
Type Designer
tel. +66 86842 9770
info@superstorefont.com
http://www.chatnarong.com/
http://www.superstorefont.com/
http://www.typesketchbook.com
เริ่มต้นในตอนแรกสุด ผมอยากที่จะออกแบบตัวอักษรสักชุดหนึ่ง
โดยได้รับแรงบันดาลมาจากตัวอักษรประเภท Blackletter



ซึ่งหลังจากทำการหาข้อมูลแล้วก็เลยพบว่าในประเทศไทยนั้น
มีการดัดแปลงรูปลักษณ์ตัวอักษรจากตัวละตินมาเป็นภาษาไทยอย่างมากมาย
แต่ตัวอักษร Blackletter นั้นกลับไม่ค่อยมีการสนใจเท่าไหร่
ถึงจะมีก็มีแต่ทำเป็น lettering เท่านั้น


ตัวอย่างปกเทป วงกล้วยไทย

ซึ่งตอนนั้นผมก็ได้มาเจอฟอนต์ของคุณ Sarun นั่นเองครับ
ทำให้ผมได้ทราบว่า ในประเทศเราก็มีคนสนใจตัวอักษรประเภทนี้เช่นกัน  เจ๋ง




บันทึกการเข้า

perfectionist
จานโม่ จานโม่ จานโม่ !!! เกย์ออก
บันทึกการเข้า
หลังจากนั้นพอผมทราบว่า เอาล่ะ ในเมื่อมีคนเคยทำไปแล้ว !  อู้ย..
ทำยังไงดีล่ะจะให้แตกต่าง?

ก่อนอื่นผมเลยศึกษา Blackletter อย่างจริงจังครับ
ก็เลยได้พบว่า Blackletter มันไม่ได้มีแบบเดียวนะเว้ยเฮ้ย  โวย
แถมยังมีวิธีเขียนไม่เหมือนกันอีกตะหาก

* Blackletter เป็น Calligraphy หรือ ศิลปะการคัดลายมือประเภทหนึ่ง


ตัวอย่าง Blackletter ประเภท TEXTURA & FRAKTUR


วิธีการเขียน Blackletter ประเภท Batarde
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 มี.ค. 2010, 23:07 น. โดย ววว๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
ทนน่าเบื่อหน่อยนะครับ เพราะว่าช่วงนี้เป็นช่วงประวัติศาสตร์ศิลป์  ฮิ้ววว


หลังจากขุดคุ้ยประวัติเสร็จแล้ว ก็เลยมานั่งคิดๆว่าทำยังไงดี
เพราะถ้าเอาภาษาไทยมาชนเลยมันก็จะไม่แปลกใหม่แน่นอน

ผมเลยลองหาตัวอักษรไทยที่มีประวัติความเป็นมาคล้ายคลึงกับ Blackletter ดู
ก็เลยมาเจอกับอักษรไทยนิเทศครับ





อักษรทั้งสองนี้มีประวัติเหมือนกันคือ

แต่เดิมถูกสร้างขึ้นเพื่อใช้ในเรื่องของศาสนา ( ไบเบิ้ล + ใบลาน​ )
แต่ต่อมาจึงถูกใช้ในด้านต่างๆนอกเหนือจากศาสนา

บันทึกการเข้า

perfectionist

หลังจากได้รากฐานที่มั่นคงแล้ว ก็มาเริ่มออกแบบกันเลยครับ

แรกของแรกสุด ผมต้องหัดเขียนตัว Calligraphy ครับ เขียนเยอะมากจริงๆ  ฮือๆ~
แทบจะทุก Typeface ที่มีบนโลก

ส่วนปากกาที่ใช้ก็ปากกาหัวตัดแท่งละ 15 บาทนั่นแหละ  ฮิ้ววว



หัดภาษาอังกฤษแล้วก็มาเขียนตัวไทยบ้างครับ




หลังจากนั้นก็ลองเอามาผสมกันแบบดื้อๆเลยครับ

แบบที่ 1 Textura


หลังจากนั้นแบบร่างที่ 1 ก็ไม่ได้รับการสนใจใดๆอีก เนื่องจากออกมาจืดมากๆ
แถมลักษณะของอักษรไทยนิเทศได้หายไปหมดเพราะถูกข้อจำกัดของวิธีเขียนของ Textura นั่นเอง


แบบที่ 2 Fraktur


เจอของน่าสนใจ และความเป็นไปได้ที่จะได้ตัวอักษรแบบใหม่!?! เลยเขียนให้ครบทุกตัวครับ





บันทึกการเข้า

perfectionist
เหมือนมาทัศนศึกษาโรงงานผลิตฟอนต์ นะนะ
บันทึกการเข้า

Reading Learning & Sharing
อ๊ากกกก กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

สะพรึบสะพรั่ง ณหน้าและหลัง ณซ้ายและขวา ละหมู่ละหมวด ก็ตรวจก็ตรา ประมวลกะมา สิมากประมาณ
เจ๋งอีกแล้ว กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

เหมือนมาทัศนศึกษาโรงงานผลิตฟอนต์ นะนะ
บันทึกการเข้า

หลังจากได้แนวทางการออกแบบแล้ว
ก็ลองนำมาเรียงเป็นประโยคเลยครับ นับเป็นแบบร่างที่ 1

* เพื่อที่จะให้เห็นภาพรวมของชุดตัวอักษรได้ดีขึ้น *



หลังจากมานั่งดูก็พบปัญหามากมายครับ ข้อสำคัญคือ

- ตัวอักษรมีความเป็นไทยมากถึงมากที่สุด  อู้ย.. ( ทั้งๆที่เราตั้งโจทย์ไว้บนความร่วมสมัย )


ก็เลยพัฒนาแบบร่าง
โดยการร่างดินสอลงบนกระดาษกราฟครับ
เพื่อที่เราจะได้สามารถกำหนดความสูง ความกว้าง ของตัวอักษรได้ได้






โครงสร้างหลักๆที่ผมกำหนดเป็นข้อบังคับไว้คือ



- ตัวกลมตามลักษณะของอักษรไทยนิเทศ
- ความหนาบางของเส้นตามแบบตัว Blackletter
- ทิ้งปลายแหลมตามลักษณะการเขียนของเหล็กจาร




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มี.ค. 2010, 15:42 น. โดย ววว๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist

หลังจากร่างดินสอจนหนำใจแล้ว  ฮิ้ววว
ก็จับมายัดโปรแกรมเลยครับ กลายเป็นแบบร่างที่ 2

ผมกำหนดข้อบังคับเพิ่มไปครับ คือ

- องศาในการวางปากกาเพื่อลากเส้น ผมใช้ที่ 40 องศา ครับ








เสร็จทั้งชุดเช่นเดิมครับ เพื่อให้เห็นภาพรวม



บันทึกการเข้า

perfectionist
ว้าวๆๆ  ว้าววว
บันทึกการเข้า

และแล้วก็เจอปัญหาก้อนใหญ่มากครับ

คือมันดั๊นไปคล้ายฟอนต์ตามร้านทองต่างๆแถวเยาวราช
เปรียบเสมือนทางตันครั้งใหญ่ของผมเลยครับ

ปัญหาเกิดจาก * ผมหาข้อมูลน้อยเกินไปในตอนแรก ทำให้ไม่คาดคิดว่า
ตัวอักษรไทยที่เขียนด้วยปากกาหัวตัดมันมีมานานแล้วนะเออ

แต่ในเมื่อทำมาแล้ว ก็ไปต่อครับ เผื่อจะเจอทางใหม่ๆ



ปัญหารองลงมาที่พบ ก็ยังคงเป็นเรื่องของความร่วมสมัยครับ แบ่งเป็นข้อๆ ดังนี้

1. ความหนาบางของเส้นที่ต่างกันมากเกินไป ทำให้เกิดความเป็นไทยจัดๆขึ้นมา

จึงทำการเพิ่มขนาดของเส้นในส่วนที่บาง และปรับให้เข้าชุดมากขึ้น
ใหม่ / เก่า




2. องศาในการเขียน ผมเปลี่ยนจาก 40องศา มาเป็น 30องศา ทำให้เส้นมันไม่เอียงจนเกินไป




3. โครงสร้างของอักษรไทยนิเทศนี่ล่ะครับ ที่เป็นปัญหาใหญ่อีกข้อ
นั่นคือไอ้เส้นยื่นๆที่เกิดจากการเขียนด้วยเหล็กจารนี่ล่ะครับ ทำให้มันเกิดผลกระทบเวลาอ่านเป็นประโยค






จึงลดทอนมันซะ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 06 มี.ค. 2010, 16:25 น. โดย ววว๐ » บันทึกการเข้า

perfectionist
หน้า: [1] 2 3 4 5 6 7 8 ... 29
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!