หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 ... 26
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่เมตตา  (อ่าน 84402 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ขอบคุณหลวงพี่มากครับ ไหว้

คำถามเรื่องกรรมแรกนี่ ความจริงแล้วมันเริ่มมาจากหลานชายของผมอายุสิบขวบ
เขาคุยกับแม่ของเขา(น้องสาวผม) เรื่องกรรม เรื่องการเวียนว่ายตายเกิด
แล้วเขาก็เลยถามคำถามนี้ขึ้นมา
ก็เลยให้หลานมาถามผมเพราะเขาคิดว่าผมจะตอบได้  กร๊าก

แต่ผมก็ไม่ได้ตอบคำถามนี้กับหลานผมนะครับ
เพราะรู้ด้วยสติปัญญาของตัวเองเลยว่า
เรื่องนี้ผมไม่สามารถตอบแบบสั้นๆ ให้เด็กสิบขวบ
ที่สงสัยเรื่องกรรมและการเวียนว่ายตายเกิด คลายสงสัย ไม่ผิดหลง
เข้าใจได้ภายในไม่กี่ประโยคในช่วงเวลาสั้นๆ ได้
เพราะต้องอธิบายเรื่อง กำเนิด 4 วัฏฏสงสาร ปฏิจจสมุปบาท
อะไรต่อมิอะไรอีกเยอะ ซึ่งตัวผมเองก็ไม่ได้แตกฉานไปซะทั้งหมด
ซึ่งหนำซ้ำเรื่อง กรรมวิสัย ยังเป็นหนึ่งในเรื่องที่ไม่ควรคิดในศาสนาพุทธเสียด้วย

โชคดีที่เรารู้จักปราชญ์ทางพุทธศาสนาท่านนึง
ก็พาหลานผมไปพบ แล้วให้เขาถามคำถามนี้กับผู้รู้โดยตรง
ซึ่งก็ได้คำตอบที่คลายความสงสัยให้หลานผมได้ในตอนนั้น

แต่คำถามนี้ก็ยังวนเวียนอยู่ในหัวของผมเป็นครั้งคราว
เนื่องจากผมมีนิสัยชอบค้นคว้าหาความรู้
(ซึ่งเป็นกันทั้งบ้าน เป็นกิเลสที่ตัดไม่ขาด
แต่ไม่ใช่ว่าอยากรู้อยากเห็นเรื่องชาวบ้านนะครับ)
พอมีโอกาสและเวลา ก็จะค้นคว้าเพิ่ม
ก็จะเตือนตัวเองว่าไม่ใช่เป็นไปเพื่อหาคำตอบเรื่องกรรมแรก
แต่เป็นไปเพื่อศึกษาความรู้ข้างเคียงมากกว่า

ส่วนที่ผมพูดถึง ชาติก่อน ชาติหน้าไม่มี มีแต่ชาตินี้เท่านั้น
เนื่องเพราะผมเคยลอง มองมุมกลับดูบ้าง
พยายามลองมองกงล้อแห่งกรรมให้มันหยุดหมุน
โดยกำหนดช่วงเวลาไว้ขณะหนึ่งดู เพื่อลองหาจุดเริ่มต้นน่ัะครับ

การที่หลวงพี่สละเวลามาสนทนาธรรมในบอร์ดนี้
ก็เป็นประโยชน์แก่สาธุชนชาวฟ้อนต์มากๆ  ไหว้
ไม่รู้จะเป็นไปได้หรือเปล่า
หากหลวงพี่จะกรุณาใส่เชิงอรรถหรืออ้างอิงไว้ท้ายคำตอบ
เพื่อให้พวกเราได้ไปศึกษาค้นคว้าเพิ่มเติมได้ในอนาคต  ไหว้




 

บันทึกการเข้า
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2011, 12:13 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2011, 14:57 น. โดย Alsmile:D » บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2011, 14:57 น. โดย Alsmile:D » บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
ไม่รู้ว่าใครเอาไปแนะนำมั่ง แต่ที่แน่ๆ
มีที่ผมเอาไปแปะให้มหาสุรพศ ทวีศักดิ์อ่านบนหน้าวอลล์ของแกครับ

ส่วนใหญ่ ผมว่าปัญหาในเชิงศาสนาเรื่องกรรมเวร
หรือการทำบุญ การปฏิบัติเกี่ยวกับพระ วัด ฯลฯ
มันอาจจะเป็นเรื่องที่คนรุ่นใหม่เฉยๆมั้งครับ ผมก็เฉยๆ ไม่รู้สึกว่าอยากรู้อะไร

แล้วคำตอบหลายๆข้อในมิติทางสังคม อ่านแล้ววกวนมากครับ
อย่างคำตอบที่ตอบของนานาเรื่องโลกเสื่อมลงไหมอะไรนั้น
ผมอ่านจนจบแล้วก็รู้สึกว่า ไม่ได้รับคำตอบอะไรเลย

แต่อีกหลายๆข้อก็รู้สึกว่าตอบได้เป็นประโยชน์ครับ
ส่วนตัวผมไม่มีอะไรจะถามอีก เนื่องจากคำถามที่ผมสงสัยเกี่ยวกับศาสนาเป็นมิติทางสังคมทั้งสิ้นนั่นเองครับ
จึงขอติดตามคำถามจากท่านอื่นๆแทน

พึ่งอ่านย้อนไปเห็นที่หลวงพี่บอกว่าผมอธิบายอิสลาม(ซึ่งเป็นแค่ประโยคเดียว
และพูดเพื่อขยายความข้ออื่นๆเลยไม่ได้มีรายละเอียดอะไร)
ผมว่าถ้าเราไม่เคยศึกษาอิสลามอย่างถ่องแท้จริงๆ
แล้วเลือกเอาเฉพาะบางส่วนมาวิจารณ์และแสดงท่าทีเห็นขำ มันเป็นการวิจารณ์ที่ไม่มีคุณภาพครับ
การวิจารณ์โดยขาดการศึกษา ย่อมจะนำมาซึ่งข้อสรุปที่ผิดเพี้ยน
ซึ่งไม่ใช่เรื่องทำไม่ได้ จะเอากี่ส่วนหรือรู้มากรู้น้อยแค่ไหนแล้วจะเอามาวิจารณ์ก็ได้
แต่ก็ทำให้ผู้อ่านเห็นความบกพร่องผิดเพี้ยนในการวิจารณ์นั้นนั่นเองครับ
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
อึม...ที่จริงตั้งใจการตอบคำถามของนานานั้นตั้งใจให้ออกแนวนั้น
เพราะไม่อยากให้คนยึดคำตอบเราว่าเราฟันธงแปะว่าจริงไม่จริงทีเดียวเลย


เพราะมันต้องอาศัยมุมมองความคิดของเจ้าของแนวคิดด้วย
นานาเขาแค่เอามาถามต่อ จึงไม่ฟันธง


คำถามชัดเจนมากแค่ไหนหลวงพี่ก็ตอบตามนั้นละครับ
อย่างการสนทนากับโยมเก้อร์ก่อนนั้นก็เหมือนกัน
ถ้าหลวงพี่มองว่ายังไม่รู้แนวคิดภาพกว้างที่ชัดเจนในประเด็นนั้น
หลวงพี่ก็ตอบตามประเด็นเป็นไปตาม Step ก่อน
เพื่อถ่วงเวลาให้โยมได้แสดงความคิดเห็นออกมากกว่านี้
การแสดงทีท่าทางคำพูดก็เพื่อให้เขาได้เจาะลึกลงไปอีก
หลวงพี่จะได้รู้จักความคิดเขาในประเด็นนั้นให้มากขึ้น


ครั้นรู้ว่าเขาคิดเห็นอย่างไรมากขึ้นก็ตอบให้กว้างได้มากขึ้นไปอีก
เราจะให้คนรู้ความจริงในเรื่องใดก็ต้องให้บรรลุความจริงในประเด็นนั้นพร้อมกัน
หากฝ่ายผู้ถามสงวนท่าที ฝ่ายผู้ตอบก็ต้องสงวนท่าทีบ้าง
แต่หากพร้อมจะพูดกันให้เคลียร์ได้ เราก็พร้อมที่จะพูดให้เคลียร์ได้ในประเด็นนั้นเช่นกัน


ฉะนั้นหากให้ได้คำตอบอย่างเรื่องของนานาเขาควรต้องมาถามกลับอีกครั้ง
และพูดให้เคลียร์ครับ ว่าโลกที่เขาหมายถึงหมายถึงโลกที่กินความกว้างเพียงใด



หากโยมมองในภาพกว้างโยมก็จะรู้ว่าหลวงพี่ว่ายังไงได้ เพียงแต่ต้องแบ่งรับแบ่งสู้
ตอบแบบฟันธง โดยไม่ฟังให้ได้ความเดี๋ยวเจ็บตัวฟรีครับ
แล้วคำตอบเรามันไม่สากลแน่นอน จะมองแบบไหนก็ได้หากมันไม่ชัด
แต่ถ้า Focus คำถามให้ชัดเจนมากกว่านี้ มันก็ได้คำตอบชัดตามนั้น

คำตอบในคำถามของนานานั้นหลวงพี่กล่าวให้จำแนกความคิดก่อนไม่ใช่หรอ
คือเขาเอาความเจริญทางองค์ความรู้หรือวัตถุ เทคโนโลยี มาเปรียบเทียบกับความเจริญทางจริยธรรม
คำตอบมันชัดอยู่แล้วว่ามันจริง เพียงแต่การมองของเขามันผิดที่เขาไปยึดวัตถุมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน


เพราะอะไร ก็เพราะว่า เราพัฒนาองค์ความรู้ทางโลกมากกว่าอยู่แล้ว เราให้ความสนใจทางโลกมากกว่าอยู่แล้ว
ครั้นเราไปเปรียบเทียบเจริญระหว่างสิ่งที่พัฒนากับสิ่งที่ไม่พัฒนา มันก็ย่อมแน่อยู่แล้วว่ามันต่างกัน
แต่ถามว่ามันเสื่อมจริงไหม มันไม่ได้เสื่อมเพียงแต่มันไม่ขยับ มันไม่ได้รับการพัฒนา
มันก็เลยดูเหมือนเสื่อมถอย แต่ที่จริงแล้วมันอยู่ที่เดิม


แต่โยมชอบให้หลวงพี่เป็นคนตัดสินแบบฟันธงแปะ ๆ
ท้ายที่สุดคนพังคือหลวงพี่ โยมต้องรักษาหลวงพี่ด้วย
ครั้นหลวงพี่มองเห็นจุดอ่อนในเรื่องการตอบประเด็นนี้
หลวงพี่ก็ไม่อยากตอบ หรือก็ตอบแบบเลี่ยง ๆ หรือแบ่งรับแบ่งสู้
ตัวอย่างมันมีเยอะครับ หลวงพี่ก็จึงควรระวังตนไว้ก่อน


อย่างประเด็นโยมเก้อถามก็เหมือนกัน
คำถามมันดีมีประโยชน์เกิดคุณค่า มีความหมายอยู่มากในทางวิชาการ
แต่มันมีความเป็นไปได้ที่จะทำลายหลวงพี่คนที่ตอบได้
เพราะบ้านเมืองเรายังไม่พร้อมในประเด็นนี้ หรือ
จะด้วยเหตุผล มุมมองหลักการหรือกรอบแนวคิดอะไรก็ตาม
ความน่าเชื่อถือของผู้ตอบก็มีส่วนด้วย


การตอบคำถามโยมจึงไม่ควรดีที่ผลของคำตอบเพียงประการเดียว
โยมควรดูกระบวนการตอบด้วย
ต้องดูว่า กระบวนการคำตอบมันจบสมบูรณ์แล้วหรือไม่
โยมอาจอยากรู้หตุผลก็ได้ว่าทำไมหลวงพี่ถึงเลือกตอบแบบนั้น

บางคำตอบหากเรามองในกรอบเบ็ดเสร็จเราอาจเข้าใจเจตนาผิดพลาดได้
เรื่องนี้มีตัวอย่างอยู่ หากอยากรู้วันหลังหลวงพี่เล่าให้ฟังอีกครั้งก็ได้ อยากฟังก็บอกละกัน

โยมเก้อจะถามในประเด็นที่เป็นมิติทางสังคมก็ได้ แต่ควรจัดลำดับยากง่าย
เราต้องช่วยอำนวยประโยชน์เผื่อคนที่เดินตามเราด้วย
แต่ที่หลวงพี่ห้ามไว้ก่อนนั้นเพราะเห็นว่าผู้ตามเราไม่พร้อม

คำตอบในพุทธศาสนาที่ช่วยสังคมก็มีอยู่ แต่เป็นการจัดให้ในระดับลดลงไป
ตามลักษณะวิถีชีวิตโยม เพราะอย่างที่เคยคุยกัน
วิถีสูงสุดของพระคือมุ่งบรรลุอรหันต์ แต่วิถีโยมแค่อยากให้ใช้ชีวิตโดยง่าย
และมีความสุขได้ในสังคม โดยเรานับถือศาสนาไหนก็ตาม
เราก็อยากให้ชีวิตเราไม่ผิดขัดกับหลักศาสนาของเรา และ
เราก็อาจใช้คำสอนในศาสนามาเอื้อเฟื้อต่อวิถีชีวิตทางสังคม

การจัดหลักธรรมสำหรับฆราวาสไม่ได้ใช้ในระดับเดียวกับพระ
มีการจำแนกแยกแยะอยู่ อย่าตีความผิดละกันครับ
เพราะหัวข้อเดียวกันแต่บางคนก็เอาของพระไปอธิบายให้ใช้กับโยม
ในขณะบางครั้งก็เอาของโยมมาอธิบายใช้กับพระ มันจึงผิดหลักครับ

สำหรับประเด็นที่หลวงพี่วิจารณ์โยมก็รับรู้ได้อยู่แล้วว่าหลวงพี่วิจารณ์แต่เพียงประเด็นเดียวนั้น
ไม่ได้เหมารวมว่าทั้งหมดจะเป็นไปตามนั้นเห็นแค่ไหนแสดงความความคิดเห็นตามนั้น
ตรงนี้จึงไม่ใช้คำว่าวิจารณ์ ให้เป็นแต่เพียงแสดงความความคิดเห็น
หากโยมที่รับรู้มาแน่แท้ก็สามารถแสดงความคิดเห็นชี้แจงต่อกันได้ หลวงพี่ไม่ได้ว่าอะไร
ไม่ได้ยึดแนวคิดตนเป็นหลัก หากแต่แสดงให้รับรู้ตามที่รับรู้
โยมเข้าใจมามากโยมก็ชี้แจงแสดงได้ เราจะได้เข้าใจศาสนาอื่นด้วยว่าเขามีดีอะไรคนจึงนับถืออย่างนั้น

หรือหากคนในศาสนาเขาจะมาชี้แจงให้ฟังมันก็ดีเกิดประโยชน์ เพราะนี่คือความสงสัยของเราต่อศาสนาอื่น
ในขณะเดียวกันหากเขาสงสัยในคำสอนของศาสนาเรา เขาก็มาถามเราได้ เราไม่จำกัดอยู่แล้ว
ยินดีชี้แจงเพื่อให้เข้าใจกันได้ จะได้ไม่ก้าวก่ายกัน เพราะทุกวันนี้ก็โดนก้าวก่ายอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ถือสาอะไร
เพราะที่นี่ไม่ใช่บ้านหลวงพี่ หลวงพี่จะแสดงออกมากมันก็ยังไม่ควร
แต่หากเป็นบ้านเกิดหลวงพี่เอง หลวงพี่ย่อมกระทำได้มากกว่านี้


แล้วคำตอบบางประเด็นก็อาจให้รายละเอียดอย่างสบายใจได้มากกว่านี้
ตรงนี้ก็ยังต้องปฏิบัติอยู่ในอำนาจของสงฆ์และกฎหมายบ้านเมืองของโยมอยู่
จะให้ทำเหมือนบ้านตนเองทั้งหมดก็ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงบทบาทเบื้องต้นเล็กน้อยเท่านั้น


อย่างการเข้ามาเว็บนี้ที่จริงหากแค่ต้องการทำฟอนต์แค่แวะมาศึกษาก็ได้
ไม่ต้องถึงมาสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเอาตนมาเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดก็ทำได้
แต่คิดว่ายังไงเจตนาเราดีอยู่แล้ว คงไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ชี้แจงไปให้เข้าใจกันก็คงพอ


แต่คำว่าพอของเรามันไม่เท่ากัน เพราะสติปัญญา การรับรู้และประสบการณ์ หรืออะไรก็ช่าง
ของเราแต่ละคนบางครั้งไม่เหมือนกัน มันก็จึงต้องอธิบายกันยาวแบบนี้


มันก็ดีที่มีคนแนะนำ ให้คนอื่นอ่าน แต่หากมหาสุรพศเขาได้รับการขัดเกลาทางจิตสังคมมาไม่ต่างกัน
เขาก็คงเห็นด้วย หากมันขัดกับเขาก็คงเกิดความเข้าใจผิด ที่จริงแล้วตรงนั้นหลวงพี่มองว่าไม่น่าห่วงอะไร
แต่ที่น่าห่วงคือเข้าใจไม่ตรงกันแล้วเราไม่ได้อธิบายให้เข้าใจตรงกันได้ อันนี้แอบคิดลึก ๆ
ใครจะมาเข้าใจความคิดเราได้ทั้งหมดก็หามีไม่

ฉะนั้นจึงอยากให้ถนอมหลวงพี่บ้างหากต้องการพึงระดับสติปัญญาให้หลวงพี่ตอบคำถาม
เพราะเรามีเจตนาดีต่อกัน ในพุทธศาสนานั้นเรากล่าวว่า
"กัลยาณมิตรคือเพื่อนที่ดีและสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์แก่กัน แต่ที่สำคัญนั้นคือ
เราสามารถรักษาและป้องกันภัยให้กันได้"

เจริญพร.  อืมมมมห์
บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
ไปค้นดูแล้วครับ นี่คือบทความล่าสุดของ
สุรพศ ทวีศักดิ์: จินตนาการภัยพุทธศาสนา

นี่บทความแรก
"เป็นเรื่องน่าศึกษาว่า เหตุใดในเชิงสังคมจิตวิทยาชาวพุทธจึงนิยมสร้าง “วาทกรรมปกป้องพุทธศาสนา”
ด้วยการสร้างจินตนาการภัยพุทธศาสนา และเน้น “ภัยภายนอก” เป็นด้านหลัก เช่น กลัวการครอบงำของวัฒนธรรมตะวันตก
ที่นิยมเรียกกันว่าวัฒนธรรมตอบสนองกิเลส การตกเป็นทาสของวัตถุนิยม บริโภคนิยม
หรือไม่ก็เป็นภัยคุกคามจากศาสนาอื่น อันเกิดจากภาพหลอนของ “ประวัติศาสตร์บาดหมาง”
ในอดีตที่เน้นภาพความความจริงครึ่งเดียวว่า ศาสนาพุทธสูญไปจากอินเดียเพราะถูกกองทัพมุสลิมฆ่าพระสงฆ์
และเผามหาวิทยาลัยนาลันทา เป็นต้น"

คำแรกเล่นสำนวนเข้าหลวงพี่ด้วย แต่(คิดว่า)เขาไม่รู้จักหลวงพี่ดีพอจึงไม่เจาะประเด็นนี้
เป็นแต่เหมารวมแนวความคิดไว้ก่อนว่า เป็น "วาทกรรมปกป้องพุทธศาสนา"
ซึ่งแน่นอนคำกล่าวนี้อาจถูก แต่เขาไม่ได้รุ้ที่กระบวนการ
เป็นแต่เขามองผลรวมของคำที่กล่าว แล้วตีความเข้าใจไปเองเช่นกัน
เพราะหากโยมอ่านติดตามจริง ๆ โยมจะเห็นว่าหลวงพี่ไม่ได้กล่าวแค่ "ภัยนอก"
แต่กล่าวถึง"ภัยใน"พุทธศาสนาด้วย เขาเลือกวิจารณ์เฉพาะส่วนที่ขัดกับแนวคิดเขาครับ

มองที่เนื้อหาหลัก ๆ เปรียบเทียบระหว่างบทบาทและภาวะผู้นำทางพุทธศาสนา
กับบทบาทภาวะผู้นำของศาสนาคริสต์ แต่เหมารวมว่าเขาดีเช่นเคย
ตรงนี้ไม่เถียงหากมองภาพกว้างกัน แต่ความจริงแล้วเขาควรมองที่รายละเอียด
เขามองศาสนาที่ค่านิยมทางสังคมมากกว่า อึม...พอเข้าใจแนวความคิดของเขาแต่ไม่มาก
(คนนี้รู้สึกเคยลองเขียนถึงพระเกษมที่เป็นข่าวด้วย)

ตรงนี้พอมองออกแนวความคิดของเขาแต่เขาไม่ได้มองในทางเดียวกับเรา
ย่อมแตกต่างเป็นธรรมดา คิดว่าคงมีโอกาสได้สนทนาแรกเปลี่ยนแนวคิดเป็นการส่วนตัว
แต่ตรงนี้ วาระนี้ไม่เหมาะในทุกเหตุผล ไม่อธิบายมาก ยังไม่วาระ


คราหน้าไม่ต้องเอาแนวคิดหลวงพี่ไม่โพสต์ให้เขาหรอก
เพราะเขายังไม่รู้จักแนวความคิดหลวงพี่ทั้งหมด และเรายังไม่รู้จักกันดีพอ
เขาจะตีความหลวงพี่ผิดได้ มีอะไรถามกันตรงนี้ดีกว่า
หลวงพี่ผ่านกระบวนการขัดเกลาทางจิตสังคมมาแตกต่างกันกับเขา
ทั้งด้านแนวคิดหลักการวิธีการหรือแม้กระทั่งทัศนคติมุมมองอะไรก็แตกต่างกัน
เพราะทำแบบนั้นไม่มีประโยชน์ประสิทธิภาพของการแซร์แนวความคิดตรงนี้ไม่เกิดประโยชน์คุ้มค่าพอ

หลวงพี่ไม่ได้เรียนมาแค่จิตวิทยา สังคมวิทยา หรือแค่ศาสนาปรัชญาเท่านั้น
ไม่ใช่ภูมิเดียวกันที่จะมาสนทนากับคนในภูมิภาวะนี้ เว้นไว้ก่อน
โยมเก้อคงเข้าใจหลวงพี่น่ะ  อืมมมมห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 พ.ย. 2011, 19:59 น. โดย Alsmile:D » บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
จริงๆก็เพราะเข้าใจในมุมมองและจุดมุ่งหมายทางธรรมของหลวงพี่นี่ล่ะครับ
ผมจึงคิดว่าไม่เหมาะที่จะมาถามในมิติทางสังคม ที่ต้องอาศัยความรู้ทางโลกย์มากๆอย่างนี้
เพราะอย่างไรก็ไม่ใช่จุดมุ่งหมายทางศาสนา

ส่วนคำวิจารณ์กลับอื่นๆ ผมก็วิจารณ์ไปตามเรื่อง
ตามเหตุตามผลเท่าที่ตนเองจะคิดได้เท่านั้นล่ะครับ
ซึ่งแน่นอนว่ามันฟังดูกระด้างๆ อาจจะด้วยเพราะว่าผมรู้สึกว่า
หลวงพี่ในฐานะพระ สามารถรับฟังคำวิจารณ์ต่างๆได้ดีกว่าคนทั่วไป
(คือไม่ได้ใช้อารมณ์ต่างๆมาตัดสิน) ก็เลยวิจารณ์ไปตรงๆแบบนี้นั่นเองครับ



บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ยังไงก็อย่าลืมว่าหลวงพี่ยังอยู่ในภาวะแรกแห่งพุทธศาสนา
เปรียบเหมือนทารกที่เพิ่งหัดเดินหัดพูดในทางศาสนา
แต่เห็นว่าเรายังมีผู้อื่นที่ไม่เข้าใจเหมือนกัน
ถึงกล่าวว่าพยายามบรรลุความจริงพร้อมกัน
หลวงพี่ไม่ได้มองว่าตนรู้ทั้งหมด

เรื่องอารมณ์มีบ้างอยู่แล้วเพราะยังเป็นพระธรรมดา
ยังแบะเบาะทางศาสนา อย่ามองหลวงพี่สูงเกินเหมือนคนส่วนใหญ่
มีเบื่อ มีเศร้า มีเหงา มีเจ็บปวดใจอยู่นั่นละครับ ความรู้สึกแบบคนธรรมดาจะอะไรมาก

แต่หลวงพี่เป็นพระ เรื่องสติยับยั้งมันก็มีบ้างแต่เราก็พลาดพลั้งกันได้จริงไหม
ฉะนั้นเรากำลังหัดเดินจึงต้องระวังให้มากเข้าไว้
แต่อารมณ์ขัดเคืองมันก็กำจัดได้บ้างในระดับหนึ่ง ไม่ใช่จะได้หมด
แต่ขัดเครืองส่วนมากไม่ใช่โกรธแซ่งเอาผิด
แต่เพราะเบื่อที่โยมไม่รู้ เหมือนครูนั่นละครับ
เวลาสอนลูกศิษย์มักมีดุว่าเครืองใจบ้าง แต่ใช่จะเครืองเพราะโกรธ
ใช้ภาษาแรงบ้าง แต่ไม่ใช่เจตนา บางครั้งภาษามันสื่อแบบนั้นแต่เจตนาใครรู้ได้

จุดอ่อนของหลวงพี่เวลาสอนคือชอบให้เขาคิดได้เองไม่ชอบไปชี้อะไรว่าแบบนี้แปะ ๆ
ครั้นพอลูกศิษย์ไม่รู้จริง เรามองว่าง่าย ตรงนี้ไม่น่าไม่เข้าใจ แต่ลุกศิษย์มองไม่เข้าใจ
อันนี้มันก็ขัดเครืองใจ ใช้คำพูดกระทบเพื่อให้ใช้สมองบ้างอะไรประมาณนี้


ส่วนเรื่องศาสนาในมิติทางสังคมนี้ เรารู้กันอยู่แล้วว่ามีจุดอ่อน
หากจะให้ใช้ครอบคุม เพราะพุทธศาสนามุ่งแค่ให้โยมกันด้วยความสุข
สร้างสรรค์ความดี จึงสอนให้คนแค่เว้นการทำชั่วต่อกัน ด้วยการทำดีต่อกันแทน
ครั้นใครพอมีศรัทธาจักพัฒนาจิตใจก็จึงสอนให้พัฒนาต่อไป

จะเห็นได้ว่าเราให้พระถือศีลศึกษาธรรมให้มาก
ในขณะเดียวกันทางสังคม เราแนะนำโยมแค่ระดับศีลห้าธรรมห้า ไม่มากกว่านั้น
แม้โยมก็รักษายาก หากทำได้อยากให้พัฒนาต่อก็มารับศีลเพิ่มเป็นศีลแปด ศีลสิบ หรือพร้อมก็บวชก็มีครับ
ถ้าโยมมีเป้าหมายแค่ไหนเราก็สอนแค่นั้นแหละครับ ไม่คาดคั้น กฎศาสนาใช้กับศาสนา
ส่วนฆราวาสเป็นเรื่องของระบบการบ้านเมือง พระไม่ยุ่งไม่แตะต้อง สอนแต่ระดับที่โยมอยากเข้าถึง


และที่พยายามพูดก็คือไม่ใช่เราไม่เคร่ง เราก็เคร่งของเรา
อย่างอิสลามห้ามกินหมู ห้ามแตะต้องสัมผัสหมา ไม่เคารพรูปภาพวัตถุ
เราก็เช่นกันแต่เคร่งกับพระไม่ใช่โยม
พระห้ามฉันมังสะสิบประการ ห้ามสัมผัสแตะต้องสีกา เคารพพระธรรมไม่ใช่ที่วัตถุ
อันนี้พูดแค่พอมองพูดดูกันได้ ไม่พูดมากกว่านี้

อย่างศาสนาทางตะวันตกเขาก็มีรูปแบบของเขา บ้านไทยเราก็มีแบบบ้านเรา
พม่าก็อีกแบบ ทิเบตก็อีกแบบ ลาวก็อีกแบบ โดยรวมคล้ายกัน แต่รายละเอียดที่จะเข้าถึงมันต่างกันครับ

หลวงพี่ถึงพยายามให้โยมช่วยกันมีสติแล้วใช้ปัญญาจำแนกแยกแยะไม่ให้เหมารวม
จะได้ไม่เข้าใจอะไรผิด เพื่อให้เกียรติและเข้าใจกันได้มากกว่าที่ผิดขัดใจกัน

 อืมมมมห์
บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
ส่วนที่เอาไปแปะให้คุณสุรพศอ่านนั้น ไม่ต้องห่วงว่าแกจะมาอ่าน
หรือจะคิดจะถกทำความเข้าใจอะไรด้วยกับกระจู๋เราครับ แกจะพุ่งปร๊าดมาก็ต่อเมื่อเราถกกันในเรื่อง
ศาสนาส่วนที่เกี่ยวพันกับสังคมที่เป็นประเด็นที่ใหม่มีการตีความที่น่าสนใจเท่านั้นครับ


เรื่องการสนทนากับพระ ผมมีมุมของผมอีกแง่หนึ่งครับ

โดยปกติการสนทนากับพระนั้น มักจะมีโครงสร้างเชิงอำนาจชนิดหนึ่งครอบอยู่
คือพระอยู่ในสมการเชิงอำนาจที่สูงกว่า ซึ่งใช่ว่าเป็นเพราะตัวศาสนาหรือพระนั้นต้องการมีอำนาจเองหรืออะไรแบบนั้น
มันมีที่มาเชิงวัฒนธรรม+สังคมมากกว่า คล้ายๆกับ อาจารย์-ลูกศิษย์ , ผู้ปกครอง-ผู้ถูกปกครอง , ผู้สอน-ผู้ถูกสอน , พ่อแม่-ลูก

บทบาทของพระมาโดยตลอดประวัติศาสตร์คือ ฐานะผู้สั่งสอน
เนื่องจากพระเป็นผู้รู้ในข้อเท็จจริงของชีวิตผ่านการขัดเกลาในด้านต่างๆ"มากกว่า"คนอื่นๆในมุมมองทางศาสนา
อย่างหลวงพี่ก็บอกว่ามาเพื่อที่จะสอน ที่ปรากฏในประโยค ก็เช่น โยมต้อง...(ไปทำแบบนั้นแบบนี้)...
ซึ่งแน่นอนว่าความสัมพันธ์เชิงอำนาจนี้ที่ติดมาในวัฒนธรรม/สังคม หรือเรียกง่ายๆว่าความเคยชิน
มันก็ฟอร์มวิธีการใช้คำ วิธีการสนทนาของพระทุกรูปขึ้นมาให้เป็น"การสอน"เสมอ
สิ่งนี้อยู่ในแทบทุกย่อหน้าของหลวงพี่เลยครับ  และก็อยู่ในพระแทบทุกคนที่เราสนทนาด้วยในชีวิตตั้งแต่เกิดจนโต
คือเราเป็นผู้รับฟัง พระเป็นผู้สอน ดังนี้เป็นต้น แต่หลวงพี่เป็นพระคนรุ่นใหม่ที่เข้าใจวัยรุ่น เข้าใจโลกสมัยใหม่
จึงมีความเข้าใจตรงนี้เป็นอย่างดี แต่ในความเคยชินของบทบาทการสอนของพระ
ก็จะปรากฏอยู่ในวิธีการอธิบายเสมอ

นี่คือความสัมพันธ์เชิงอำนาจในทางสังคม/วัฒนธรรมที่ติดมากับศาสนานั่นเองครับ
ซึ่งไม่ได้บอกว่าเป็นความผิดความพลาดของใครหรือตัดสินว่าดีไม่ดี 
หรือเอามาพิพากษาว่าศาสนาทำแบบนี้ไม่ดี เพียงแต่อธิบายว่ามันเป็นแบบนี้เท่านั้นครับ

ในทางศาสนา จะมีมุมมองของผู้สอน(มีปัญญามาก) ---> ผู้ถูกสอน(มีปัญญาน้อยหรือยังไม่มีปัญญา)
ซึ่งก็ไม่ได้แปลกอะไร เพราะพ่อแม่สอนลูก ครูสอนศิษย์ ก็ต้องตั้งอยู่บนความสัมพันธ์แบบนี้
คนมีปัญญา/ความรู้/ประสบการณ์ ---> สอน ---> คนที่ยังไม่มีปัญญา/ความรู้/ประสบการณ์
เพียงแต่สำหรับพระ ปัญญา/ความรู้/ประสบการณ์ มีที่มาจากศาสนา

ในขณะที่การสนทนาแลกเปลี่ยนมุมมองทางสังคม ศาสนา วัฒนธรรมโดยทั่วๆไป
ของทางโลก เช่น ตามอินเตอร์เน็ต โซเชียลเน็ตเวิร์ค หรือแม้แต่ในวงวิชาการ งานทางวิชาการ
เป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกคนสามารถแลกเปลี่ยนโต้แย้งผิดถูกร่วมกันไป ไม่มีใครมีบทบาท"สอน"คนอื่น
เพราะทุกคนสามารถถูกผิดได้เท่าๆกัน ขึ้นอยู่กับเหตุผล/ข้อมูล

แต่ในเชิงศาสนา เราไม่สามารถบอกได้ว่า"สิ่งที่พระพุทธเจ้าสอนนั้นผิด"
คำสอนทางพุทธศาสนาผิดได้ไหม มีคำสอนของพระพุทธเจ้าที่ผิดไหม
เราสามารถหาข้อเท็จจริงอื่นๆหรือโลกเปลี่ยนแปลงมาตามกาลเวลา
เราหาหลักฐานใหม่ๆ มาโต้แย้งแนวคิดของพระพุทธเจ้าว่าผิดพลาดคลาดเคลื่อนได้ไหม

แน่นอนว่าเป็นไปไม่ได้

คือทำได้แหละ มีคนทำมากมาย แต่ในมุมมองทางศาสนาเป็นไปไม่ได้ที่จะยอมรับอยู่แล้ว
ไม่ว่าจะบอกว่าปฏิบัติจนถึงขีดแล้วก็จริงตามพระพุทธเจ้าว่า ฯลฯ หรือเหตุผลอะไรก็ตาม
แต่รวมๆแล้วคือ เป็นไปตามคำสอนของพระพุทธเจ้า

การคุยกันเรื่องต่างๆในมุมมองทางศาสนา จึงเป็นสมการที่ปิดตาย
เพราะไม่มีใครสามารถ"มีเหตุผลมากกว่า"คำสอนทางศาสนาได้
แน่นอนว่าทุกคนที่อยู่ในสถาบันศาสนาก็ดำเนินอยู่ในบริบทเช่นนี้
(คงไม่มีพระรูปไหนอธิบายว่าคำสอนพระพุทธเจ้าผิด)

อันนี้ไม่นับเรื่องการตีความเรื่องอื่นๆปลีกย่อยนะครับ พูดถึงในภาพรวม
เพราะในเรื่องปลีกย่อยอื่น แม้แต่ในแต่ละศาสนาก็ยังถกเถียงกันไม่จบ
มีหลากหลายนิกายยึดถือแตกต่างกันไปในรายละเอียด อันนี้ผมพูดในภาพกว้างๆ
และไม่ได้นับรวมไปถึงการที่เราต้องกราบไหว้พระ พนมมือขณะรับฟัง ก้มลงละหมาดต่อพระเจ้า ฯลฯ
ที่เป็นทั้งพิธีกรรมทางสังคมที่ถูกกำหนดขึ้น และเป็นเป็นส่วนหนึ่งของความสัมพันธ์ทางอำนาจของศาสนา
สิ่งนี้คือเรื่องปกติของศาสนาทุกศาสนา คำว่า"นับถือ"ศาสนา ก็บอกในตัวของมันเองอยู่แล้ว
(และในทางศาสนาก็สามารถอธิบายได้ในลักษณะว่า การไหว้การนอบน้อมต่อพระธรรมเป็นการลดอัตตาลง ฯลฯ)

ทุกครั้งที่ผมสนทนากับพระ ผมจึงสอบถามเพื่อ"รับฟัง"มุมมองคำตอบของเรื่องนั้นๆในมุมทางศาสนาดู
(และเป็นแง่มุมทางศาสนาผ่านการตีความของผู้ที่เราสนทนาด้วย ไม่ได้นับว่าเป็นตัวแทนของทั้งศาสนา)
เพื่อจะไปเติมเต็มหรือชั่งน้ำหนักกับมุมมองอื่นๆ ไม่ได้เอาไว้เป็นข้อเท็จจริงที่ผิดพลาดไม่ได้ครับ

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM


พี่เก้อคลี่คลายมาก  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
โอย อ่านถึงหน้าสามแล้ว ขอปักหมุดไว้ก่อน อย่าเพิ่งนินทาตูนะ ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
โอย อ่านรวดเดียว หมดไปชั่วโมงนึงได้  fuc yea


กราบขอบพระคุณทั้งหลวงพี่และบักเก้อและผู้ถามปัญหาครับ   ไหว้  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
คำตอบต่อไปนี้แบ่งออกเป็น 2 ส่วน
- หากจะให้ดีมีคุณค่ามาก และ มีเวลาพอ ควรอ่านให้ครบทั้งสองส่วน
- แต่หากมีเวลาน้อยให้อ่านโพสต์ข้างล่างที่เป็นการสรุปคำตอบก่อนได้เลย

ต่อไปนี้เป็นโพสต์อธิบายส่วนแรก

ไงก็ระวังเข้าไว้ ไม่ว่าเขาจะอ่านหรือไม่ก็ตาม
เพราะโอกาสที่เราจะสื่อกันแบบเข้าใจตรงกันมันยากในชั้นเชิงของเวลาและวาทะกรรม
หลวงพี่ไม่ชอบทำเช่นนั้น เพราะเจตนาเราตรงนี้แค่มุ่งอธิบายผู้สงสัยในพุทธศาสนา
ไม่ได้มุ่งประเด็นสังคมอะไรมาก มันกระทบหรือพูดถึงไม่ได้มากด้วยภาวะตรงนี้

ต่อให้หลวงพี่มีความเห็นต่างจากพระเถระรุ่นก่อน หลวงพี่จะแย้ง หรือ
ไม่เห็นด้วยกับระบบการหรือวิธีการปกครองรวมถึงวิธีการสอน การแก้ปัญหาอะไรก็ตาม
ในขณะนี้รู้ตัวว่าเป็นใคร ทำได้แค่ไหน ไม่อยากให้ใจเศร้าหมองเพราะคนอื่น
พยายามรักษาจิตตนอยู่ แม้กิจที่ทำอยู่ตรงนี้ก็ใคร่คิดอยู่ตลอด
เราจะเป็นพระให้ถูกต้องมันทำไม่ได้ง่าย ยิ่งให้สังคมพึ่งได้ยิ่งหนักเข้าอีก


เรื่องสมการโครงสร้างเชิงอำนาจมันก็ขึ้นอยู่กับบทบาทหน้าที่
และความคาดหวังของสังคมนั่นละครับ เราอยู่จุดไหนของสังคมมันจะเตือนเอง
บางครั้งเราไม่ได้อยากเป็น สังคมผลักไสให้เป็นก็มี ครั้นเป็นตามนั้นบางทีมันก็ติด
นาน ๆ เข้าแกะไม่ออก ตรงส่วนนี้โยมพอมองออกน่ะ...

ฉะนั้นพระติดยศฐานันดรอะไรก็มีส่วนของสังคมภายนอกนี้ละมาก้าวก่ายด้วย
ส่วนมากอาจก็ทำหน้าที่สอน ๆ ไป ครั้นสอนดีโยมก็ติด
เราจะเห็นได้ว่าเพราะเหตุผลเหล่านี้ด้วยที่ทำให้มีความคิดแตกแยกนิกายกันไป
แทนที่จะมุ่งที่พระพุทธเจ้า ดันติดอยู่แค่หลวงพ่อ หลวงพี่ หลวงปู่ทั้งหลายก็มีเยอะครับ
หลวงพี่ไม่อยากรู้จักโยมมากก็เพราะลำบากใจตรงนี้ส่วนหนึ่ง ไม่ชอบให้โยมมาติด
ครั้นสอนไม่ดี หรือออกแนวเขวหรือรุนแรง หรือคิดต่างจากเดิมหน่อยก็โดนด่าบ้าง
ส่วนนี้ก็เป็นแบบที่บ้านเราเห็น ๆ กันอยู่

ดังนั้นในการสนทนาตรงนี้บางครั้งมันก็มีบอกกล่าวกันบ้าง "โยมต้อง...คนนี้ใครกันไม่รู้จัก ฮาาา  กร๊าก"
เหตุผลเพื่อรวบรัดให้คำอธิบายเหตุผลให้สั้นลง บางครั้งมันก็จำเป็นต้องมี
ตรงนี้หลวงพี่ต้องการรวบรวมองค์ความรู้ก็เพื่อมุ่งเตือนสติกันไว้
ไม่ได้มีความหมายในเชิงสัญญะอะไรนัก เป็นก็แต่เพียงบริหารองค์ความรู้
เพื่อรวบรัดให้เข้าใจได้เร็ว เหมือนจะเป็นการลากโยมไปบ้างเพื่อให้ถึงเร็ว
หากเดินกับลูกมันเดินช้าแต่เรามีภาระที่ต้องทำกิจในชีวิตอยู่ก็อุ้มเลยครับ
ปล่อยให้เดินโต๋ะเต๋ะมากก็จะช้าเกิน อันไหนรวบรัดได้เราก็ควรรวบรัด
อย่างที่เคยบอกกล่าวไว้ พระมีหน้าที่แต่จะยังสติให้เกิดเท่านั้น
หากเราเตือนสติให้บุคคลทางสังคมได้ก็จักมีประโยชน์แก่ชีวิตเขา
ถ้าไม่ปรารถนาดีเรา เขาไม่ให้ยุ่งเราก็ไม่ยุ่งไม่พูดไม่ทำอยู่แล้ว

โยมเก้ออาจมองว่าเราไม่ใช่เด็ก แต่ด้วยประสบการณ์ที่เรามองผ่านมาแล้ว
หากเทียบหลวงพี่เป็นไกด์นำทางในเส้นนี้ พิจารณาเห็นส่วนไหนที่มีประโยชน์ก็จัดการให้
ส่วนไหนเว้นแล้วปลอดภัยเราก็พาไปเพราะเดินในเส้นนี้ อันนี้ก็คือบทบาทหน้าที่ด้วย
เพราะตรงส่วนนี้มันคือหน้าที่โดยตรง หากจะให้ผู้เดินทางที่ไม่รู้ไม่ชำนาญไม่ใช่ทางนำทาง
ก็อาจเสียกาล ดีไม่ดีอาจไม่ปลอดภัยกับชีวิตด้วย เรามองเห็นภัยส่วนนั้นก็เตือนสติกัน
เราก็เดินนำไปบ้างเพื่อเว้นบางส่วนที่ไม่มันเยิ่นเย้อ
ไม่ได้มองว่าโยมไม่มีความรู้อะไรเลย แต่โดยประสบการณ์และบทบาทตรงนี้
มันคือหน้าที่โดย สงคมคาดหวังก็ต้องทำ ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ได้หวังอะไร

หากแต่ทำอะไรก็ควรทำให้มันดีได้ทั้งประสิทธิผลและมีประสิทธิภาพด้วย
ประสิทธิผลมันคือสำเร็จ แต่ประสิทธิภาพมันมองในเรื่องของความคุ้มค่า
ทั้งในส่วนที่ทำและระยะเวลาปฏิบัติการจริง ยิ่งใช้เวลาได้น้อยยิ่งดี
จะได้ใช้เวลาไปทำอย่างอื่น บางประเด็นจบได้เร็วมันก็ดี
บางความสงสัยเล็ก ๆ น้อยไม่สำคัญกำจัดเสียได้มันก็ดี
ตัดความอยากรู้อยากเห็นไปบ้างมันก็ดี อย่าสงสัยสะเปะสะปะ
เวลาชีวิตมันไม่ได้แน่นอนยืนยาว เห็นหน้าตอนเช้า รู้ข่าวว่าตายตอนสายก็มี

ถามว่ามันติดพันมากับศาสนาวัฒนธรรมไหม เราต้องจำแนกว่าบทบาทหรือป่าว
ความคาดหวังทางสังคมหรือป่าว ศาสนาหรือวัฒนธรรมอาจไม่ได้เป็นต้นเหตุก็ได้
เหมือนกันเรายังเด็กเราจะไม่ฟังครูสอนเหมือนเรียนปริญญาตรีขึ้นไปก็ได้
จะเรียนรู้เองก็ได้ แต่เริ่มแรกมันก็ยังต้องทำความเข้าใจพื้นฐานก่อน
จะไปตำหนิครูว่าทำไมครูต้องแสดงบทบาทสอน ก็หน้าที่ของเขาโดยตรง
เหมือนชื้อตู้เย็นเราอาจรู้วิธีใช้ แต่บริษัทก็ต้องมีคู่มือติดมาด้วยอยู่แแล้ว
เราจะอ่านหรือไม่อ่านก็เรื่องของเรา จะไม่ปฏิบัติตามก็เรื่องของเราแล้วทีนี้
หากเราใช้ไม่ถูกวิธี หรือทำพัง บริษัทเขาก็รับประกันตามเงื่อนไขนั่นละ
เรารู้ แต่เราไม่ใช่ผู้ชำนาญ ทั้งนี้เราอาจรู้มากกว่าพนักงานที่แนะนำเราก็ได้
แต่เราก็ไม่พึงแน่ใจว่าเรารู้มากกว่าเขา เราควรฟังก่อน
เพราะมันไม่ใช่ทางของเราโดยตรง จะขัดจะแย้งในใจก็เรื่องของเราอยู่แล้ว
มันไม่ผิดอะไร พนักงานอาจอธิบายผิด แต่คู่มือเขาก็มี
นักบวชอาจสอนผิดคัมภีร์ในศาสนาเขาก็มี แต่เราอ่านไปตีความก็ได้
เราอาจตีความหรือเข้าใจอีกอย่างจากนักบวชด้วยซ้ำ อันนี้ก็มี

ดังนั้นบทบาทหน้าที่ตามโครงสร้างทางสังคมมันก็มีอยู่
จะเกิดอะไรขึ้นหากพระอาทิตย์บอกว่าวันนี้ขอพักงาน
พระจันทร์บอกว่าขอพักด้วย เวลาก็ขอหยุดหมุนได้ไหม
นกบินไปกางอากาศแล้วบอกว่าขี้เกลียดบินแล้ว
มันจะเกิดอะไรขึ้น ถ้าอะไร ๆ ไม่ทำหน้าที่เหมือนที่ตนมีบทบาทอยู่

ส่วนนี้ที่หลวงพี่พยายามอยู่เสมอที่จะไม่ชี้ขาดคำพูด มันขึ้นกับประเด็นว่า
ควรชี้แนะเลยไหม หรือจะมัวแต่ตามปล่อยน้ำไปก่อน
แต่แน่นอนว่าน้ำผ่านหน้าบ้านก็ต้องจัดการบริหาร

แต่หากส่วนใหญ่โยมถามก็ออกลักษณะให้พระแสดงบทบาทนั้นอยู่แล้ว
แม้จะคาดหวังคำตอบว่าพระจะไม่แสดงออกแบบนั้น
แต่ตรงส่วนนี้ลึก ๆ ก็มี บางครั้งเราคุยกันตรงนี้อาจคิดว่าเราสองคน
แต่คนที่ดูเขาก็ดูกันอยู่ มันไม่เหมือนเรามาจับเข่าคุยกันโดยตรง
มันคือ Social network ที่สำคัญบันทึกหลักฐานไว้ได้

ตรงนี้มันคือประเด็นที่เราสนทนากันได้ จะให้สะเปะสะปะมากไปเหมือนฆราวาสทั่วไป
ก็ทำได้ โยมชอบแบบนั้นก็ได้ แต่ถามว่ามันจะมีประโยชน์มากกว่าไหม
ถ้าหากเราสามารถอธิบายให้โยมเข้าใจได้มากพอ จะให้พิมพ์สั้นก็ได้ แต่โยมจะเข้าใจไหมนั่น
เพราะหากต้องการปัญญาจากใคร เราจะมัวให้เขาโอ้เอ้อยู่มันก็ยังไงยังงั้น
หลวงพี่กับชอบฟังยาว ๆ มากกว่า แต่เมื่อเสียสละเวลามาตอบคำถามพวกนี้
จะบอกไม่ให้หลวงพี่ไม่แสดงบทบาทสอนก็ย่อมได้ เหมือนนั่งรถกับคนขับรถไม่เป็น
ไม่ให้เราผู้ขับเป็นที่รู้ทางมาขับ แต่ให้เราดูก็ได้ แต่ขอนั่งดูข้างนอก ไม่ขอนั่งด้วย
เพราะนั่งด้วยเกรงจะไม่ปลอดภัย และใช้เวลามากเกินจำเป็น ใครจะเอาชีวิตไปเสี่ยง

เรื่องการพูดคุยเรื่องความถูกผิดมันก็จริงว่าขึ้นกับว่าใครมีข้อมูลที่มีเหตุผล
แต่นั่นมันในทางวิชาการเขาก็วิเคราะห์แบบนั้น ตรงนี้เราไม่ได้เอาไปวิเคราะห์ทางวิชาการมาก
ตรงนี้คือสนทนาในหมวดปฏิบัติการ มันจึงเลยขั้นการวิเคราะห์แบบนั้นมาแล้ว
หากโยมพูดแบบนั้นก็เปรียบเหมือนโยมอยากย้อนไปที่กระบวนการกรั่นกรองตรวจสอบอีกรอบ
ซึ่งตรงนี้ไม่ผิดอะไร หากว่าเราจะย้อนแบบนั้นก็ย่อมได้ แต่ดูที่ชื่อจู๋นอล์นี้นิดหนึ่งครับ
เราสนทนากันผิดขั้นตอน กระบวนการตรวจสอบมันขึ้นกับวิจารณญาณของเรา
ฟัง ๆ ไปก่อน หากโยมอยากได้คำตอบ โยมก็ค้นหาคำตอบได้อยู่แล้ว เพราะทุกศาสนามีคัมภีร์
หากมาถามที่ความคิดของคนในศาสนาย่อมเห็นต่างบ้าง ผิดเพี้ยนไปบ้าง ก็แค่ความคิดคน

ตรงส่วนนี้ก็เพราะว่าสติปัญญาในการมองรายละเอียดของเรามันต่างกัน
คำพูดเดียวกัน เราอ่านแล้วได้อารมณ์ต่างกัน ได้ข้อคิดต่างกันไปก็มี
เพราะยังไงประสบการณ์เรามันได้รับการขัดเกลาทางจิตสังคมมาต่างกันอยู่แล้ว


แน่นอนคนในศาสนาใดก็ย่อมมีคำตอบของตนชัดเจน ข้อนี้โยมก็รู้
เราอ่านคัมภีร์หรือแม้แต่เนื้อหาเดียวกันบางครั้งก็ตีความต่างกันได้
ดังนั้นหากมุ่งที่ความคิดคนมันไม่มีจุดยืนแน่นอนตายตัว
เราหมุนไปตามลมปากหรือความคิดคนหรือป่าว อันนี้น่่าคิด
เพราะเหตุผลเชิงตรรกะมันก็ครอบงำความคิดเราอยู่
ครั้นเราจะบอกว่าไม่มีอคติกับเรื่องนั้น ๆ แน่นอนเราละไม่ได้อยู่แล้ว

คำสอนในศาสนาทุกศาสนาไม่มองหาว่าศาสดาตนสอนนั้นผิดหรอกครับ
ดังนั้นคำสอนในพระพุทธศาสนานั้นผิดได้ไหม มีที่สอนผิดได้ไหม อันนี้คิดได้
แต่พระไม่ค้นหาส่วนนั้นกัน เพราะเอาแต่สงสัยมองหาจุดผิดเราก็ไม่ได้กระทำพอดี
หาความสมบูรณ์ทั้งหมดแบบไม่ให้ใครตำหนิได้นั้นยากครับ
เรามุ่งเอาสาระที่เราจะทำประโยชน์

หากเปรียบศาสนาเหมือนรถบริการให้กับบุคคลต่าง ๆ ในสังคม
เป้าหมายปลายทางที่เราเลือก ก็ต้องเลือกเอากันเองครับ
หากเราจะขึ้นเหนือ แต่ไปตำหนิหรือขึ้นสายที่จะพาไปลงใต้
อันนี้มันก็ขัดครับ เราต้องเลือกให้เหมาะกับเป้าหมาย
ไม่ใช่ให้รถที่มาบริการปรับตามใจชอบของเรา จริงไหม....?

หากเปรียบคำสอนทางพุทธศาสนาเหมือนเรือ ที่ใช้ขี่ข้ามฝั่งน้ำคือความทุกข์
เรามัวแต่สงสัยว่าเรือที่สร้างนี่ตอกตระปูผิดรูปแบบหรือป่าว
แต่ละวัตถุมันผลิตมาถูกกระบวนการไหม ทำเรือถูกรูปแบบไหม
แบบนี้เราก็ไม่ต้องไปกันพอดีสิครับ ชีวิตมันไม่ได้ยาวนานอะไรนัก
มัวแต่สงสัยนั่งวิเคราะห์ไม่ได้ปฏิบัติมันก็จะเสียกาล
เราไม่ใช้ก็ไม่ขัด คนอื่นเขาจะใช้ประโยชน์ หากติดในโลกแห่งความสงสัยไม่สิ้น
เราก็อยู่แต่ในโลกของความคิด ส่วนมากโลกแห่งความคิดก็ไม่พ้นตรรกะวิธี
ความจริงข้อนี้พิสูจน์ได้ด้วยตัวโยมเอง ลองนั่งคิดแบบตรรกะในเรื่องใดหนึ่งสิ
รับรองทั้งชีวิตมีคำตอบให้ไม่สิ้น ทั้งนี้หลวงพี่ก็เคยลองทำ

เหมือนกันเราจะใช้สะบู่ก้อนหนึ่งเราจะต้องค้นหาความบกพร่องของมันว่า
มีส่วนผสมที่ลงตัวไหม มีองค์ประกอบสมบูรณ์หรือไม่
ตรงส่วนนี้ไม่ใช่หน้าที่เรา เป็นหน้าที่ของผู้ผลิตคิดค้นแรก
เรามาใช้ให้เกิดประโยชน์จะดีกว่า ไม่อยากใช้ยี่ห้อนี้ก็ไม่ต้องใช้ครับ
อยากพิสูจน์เราก็พิสูจน์ด้วยตนเองครับ ไปมัวถามคนอื่นทำไมกัน
เหมือนคำว่า "อิ่ม" จะให้หลวงพี่อธิบายให้ฟังก็ได้
แต่โยมจะรู้ไหมนั่นว่า "อิ่ม" ของหลวงพี่กับโยมมันคนละความรู้สึกกัน
ถ้าโยมไม่เคยทำโยมก็จินตนาการในโลกของความคิดอยู่อย่างนั้น
ทางที่ดีกินดูสิครับ จะได้รู้ว่า "อิ่ม" มันเป็นยังไง


เราจะพิสูจน์อย่างให้เกียรติแนวความคิดหรือศาสตร์ใดก็ตาม
อย่าลืมว่าเรามันภูมิเดียวกับเจ้าของความคิดหรือศาสตร์นั้นไหม
หากอยู่คนละภูมิกันเห็นจะเกิดข้อผิดพลาดในการสรุปความ
บางทีเผลอไปตำหนิวิจารณ์ อันนี้มันก็เป็นวจีกรรมไปแค่นั้น
การมองคนละมุม ยืนคนละระดับ ใส่แว่นคนละสีพวกนี้
เราจะรับรู้ได้แตกต่างกันครับ ระวังความคิดไว้
(ประโยคนี้ไม่มุ่งสอน แต่มุ่งเตือนสติกัน เพื่อป้องกันและรักษากันไม่ให้พลาด)

ลงมือทำเลยจะได้รู้ว่ามันถูกผิดบกพร่องตรงไหน
ตรงส่วนนี้เคยสนทนากันแล้ว โยมอย่าสับสนละกันว่า
วิถีพุทธส่วนมากเน้นสอนที่พระมากกว่าชีวิตแบบฆราวาส
เราใช้มีดมาตัดต้นไม้มันก็ไม่มีประสิทธิภาพ มีดเอาไว้หั่นอาหารเป็นส่วนมาก
หากใช้เลื่อย หรือขวานมาตัดมันก็จะดีมีประสิทธิภาพมากกว่า
ดังนั้นหากใช้มีดมาตัดจึงอย่าหวังมาก เพราะเราใช้ของผิดวิธี
แล้วจะไปคาดหวังประสิทธิภาพมันก็ยากละครับ

เพราะฉะนั้น ธรรมะสำหรับพระก็จะถูกสอนอีกแบบ ต่อโยมก็จัดให้อีกแบบตามเป้าหมายชีวิต
หากโยมจะไปตีความสะเปะสะปะมันก็เขวกัน ครั้นมาวิจารณ์มันก็สร้างวจีกรรม
โยมเก้อถามพระยิ้ม พระยิ้มก็ตอบให้ได้ในระดับหนึ่ง ไม่ตอบทั้งหมด
หากพอจะให้มาวิจารณ์ความคิดใครนั้นหลวงพี่ว่า
มันไม่กระทบแค่บุคคล หากมีคนในศาสนาอื่นอาจจะมองว่า
พระในพุทธศาสนาไม่รู้เรื่องอะไรพวกนี้เลย ไม่มีกฎเกณฑ์หลักการอะไร
ที่สำคัญนอกจากตำหนิสถาบันแล้วเล่นประเทศเลยก็มี
เราจึงต้องระวังในการแสดงความคิดให้กับสังคม
เพื่อจะได้ไม่ต้องกล่าวคำว่า "ถ้าไม่ยกยอก็อย่าย่ำยี ไม่ปราณีก็อย่าระราน"

รู้ว่าโยมเก้อจำแนกว่านี่คือความคิดพระยิ้ม แต่คนที่เขาไม่ชอบเราก็อาจมี
เราจึงไม่คิดว่าคนอื่นจะชอบเราหมด อารมณ์มนุษย์ชอบก็ยกยอ
ไม่ชอบนิ่งไว้ก็มี หรือรุกรานไปถึงอาฆาตก็มี บางทีเราไม่รู้ด้วยซ้ำ

เพราะฉะนั้นจุดอ่อนบางเรื่องมันมี เราก็ต้องระวัง
โดยส่วนตัวจึงไม่หวังว่าจะให้ใครต้องกราบ ต้องไหว้ ไม่อยากไหว้ก็ไม่ต้องไหว้ครับ
แม้พระพุทธองค์ก็เคยมีให้รู้อยู่ เพราะวิถีฆราวาสมันก็ต่่างกับพระอยู่แล้ว
หากเขาคิดว่่าเรายังไม่มีคุณค่าหรือคุณสมบัติพอที่เขาจะกราบไหว้ได้ ก็ไม่ต้อง
ตรงส่วนนี้ยืนหยัดในใจมาตลอดตั้งแต่เป็นเณร จึงไม่คาดหวังอยู่แล้ว
เป้าหมายการบวชนี้ไม่ใช่เพื่อให้ใครมากราบมาไหว้หรือถวายสักการะอะไร
สิ่งเหล่านี้แค่เปลือกนอกของพุทธศาสนา หาใช่สาระเป้าหมายแท้จริงไม่

เพียงแต่ตรงส่วนนี้สังคมคาดหวัง ไม่ใช่หลวงพี่แน่นอน พระรูปอื่นอาจเป็น
แต่ทั้งนี้ก็เพราะแนวความคิดมันต่างกัน ขึ้นกับใครจะมุ่งเป้าหมายการบวชเพื่ออะไร
ตรงนี้ไม่อยากแตะมาก ตัวอย่างเช่นโยมอยู่ในพิธีทุกคนกราบกันหมด
โยมไม่อยากกราบหลวงพี่ก็ไม่ได้ว่าอะไร พระบวชใหม่เขาไม่รู้ก็อาจกล่าวว่า
แต่แน่นอนภาวะกดดันทางสังคมมันมี หากโยมไม่กราบก็เกรงใจสายตามหาชน
ทั้งนี้ก็โยมเองนั่นแหละที่อยากดูดีในสายตาคนอื่นเอง หลวงพี่ไม่หวังอะไรจากใคร
ศาสนากลายเป็นเหยื่อทางสังคมก็มีครับ มันแตกต่างที่เป้าหมายของเรา


เป้าหมายของการบวชหลวงพี่นี้ไม่ใช่เพื่อให้ใครมากราบไหว้หรือให้สิ่งของอะไร
และตรงส่วนนี้ยังอยู่ในกระบวนการขัดเกลาทางสังคมสู่ความเป็นพระอยู่
จึงยังต้องเรียน ซึ่งบ้านเรายังไม่มีระบบการจัดการศึกษาที่ดีและมุ่งตรงอย่างมีหลักการ
ส่วนมากเมื่อบวชก็แล้วแต่ใครอยากทำอะไรมากกว่า
มันก็ถูกที่มหาสรพศจะกล่าวว่าภาวะผู้นำของพระเถระทางบ้านเราไม่ถึง
แต่อย่าเอาเกณฑ์ทางสังคมหนึ่งมาวัฒนธรรมหนึ่งศาสนาหนึ่งที่เราเห็นว่า
มันแตกต่างกันชัดเจนในวิถีการปฏิบัติมาเปรียบเทียบกัน

ศาสนาที่พอจะเอาเปรียบเทียบกันได้แบบใกล้เคียงกันมากกว่านี้ก็มี
แต่บ้านเรามันก็พัฒนามาอีกแบบอยู่ดี

ดังนั้นส่วนตัวคิดไม่เหมือนพระที่โยมรู้จักอยู่แล้ว
เพราะอุดมการณ์และปณิธานของชีวิตเราต่างกัน
ยิ่งพระแถบนี้คิดห่างกันไกล แค่นี้ชีวิตก็ลำบากอยู่แล้ว
อย่าให้หลวงพี่คิดและรับผิดชอบชีวิตได้ลำบากมากกว่านี้เลย
ระบบการศึกษา ระบบการปกครอง รูปแบบวิธีการสอน การคิด
หรือแม้แต่โครงสร้างพระ อันนี้เหนื่อยใจสุดแล้ว

ตรงนี้(ชอบใช้คำนี้แทนตัวเองมาก)ขอรับผิดชอบตนเองก่อน
เพราะไม่มีใครจัดการเป็นแนวทางให้ กว่าจะรู้ว่าเขวจากเป้าหมายก็ช้าไปหน่อย
ช่วงเวลานี้เหมือนพักสนทนาระหว่างทางเดินสู่เป้าหมายกับคนระหว่างทาง
ทั้งที่จริงพระควรจัดการระบบการศึกษาได้มากกว่านี้
แม้สำนักปฏิบัติก็กระจายไป แต่มองไม่เห็นระบบการจัดการที่ดี
เอาล่ะไม่พูดมากมันเสี่ยงมากเกินไป

ยังไงหากมองการกราบไหว้ในสายตาคนทั่วไปก็อาจคิดแบบโยมเก้อได้
แต่อย่าลืมว่าไม่ใช่เป้าหมายสูงสุดของพระในพุทธศาสนาแน่นอน
ตรงนี้หากพิจารณาจริงมันก็มาจากกระบวนการ Socialization ด้วย
เกิดเป็นชาวพุทธต้องทำงี้ ๆ สังคมมันถ่ายทอดกันมาแบบนั้นเอง
บางครั้งผิดขัดกับคำสอนก็มี เราถูกขัดเกลาทางจิตสังคมแบบนี้กัน
ก็ตั้งแต่เด็กด้วยซ้ำ เราไม่รู้ว่าทำไมต้องทำ แต่สังคมเห็นว่าดีงามเราก็ทำ
ไปขัดกับสังคมมันก็ยากหน่อย บางครั้งเราก็ต้องยอมทำตามบ้าง

การกราบไหว้เป็นก็แต่เพียงสัญญะเบื้องต้นไม่ใช่ทั้งหมด มันไม่ใช่อุปสรรค
มันเป็นแค่ Symbolic Interaction ทางสังคม ที่ไม่ใช่แค่ในมุมของศาสนา
ซึ่งผู้คนส่วนมากในสังคมบ้านเราเห็นว่าดีงามที่เราจะกระทำหรือปฏิบัติต่อกัน

แต่หากมองด้านพุทธศาสนาแล้ว มีการจำแนกแยกแยะด้วยเช่นกัน
ท่านกล่าวว่าการบูชาผู้ควรบูชา กราบไหว้ผู้ควรกราบไหวเป็นมงคล
หมายถึงดีที่สุด ไม่ใช่ไหว้สะเปะสะปะไปทั่วเหมือนที่เราเห็นในบ้านเมืองเรา
เราไม่เคารพไม่ศรัทธาก็ไม่ต้องไหว้ พูดไม่เป็นธรรมก็ไม่ควรไหว้

ทั้งนี้การไหว้ก็มีการจำแนกด้วยว่าไหว้ในเหตุผลใด
ส่วนมากไหว้เพราะเห็นว่าอายุมากกว่าเราแสดงถึงให้เกียรติตามเหมาะสม
เรียกว่า มีวัยวุฒิ หรือไหว้เพราะเห็นว่ามีบุญคุณแก่ผู้อื่น เรียกว่า มีคุณวุฒิ
ไม่ใช่ไหว้ไปแบบมั่ว ๆ มีการจำแนกแยกแยะปฏิบัติไม่สะเปะสะปะกราบไหว้
เหมือนที่โยมเก้อเห็นในสังคมปัจจุบัน แต่หากอยากทำใครจะห้ามได้

ถามเราสอนให้คนอ่อนน้อมเลยกลายเป็นทำให้คนไม่มีภาวะผู้นำไหม
ตอบว่าไม่ใช่ครับ ยิ่งสูงส่งแต่นอบน้อมยิ่งได้รับการยกย่องทางสังคม
บางคนไม่เก่งอะไร แต่นอบน้อมไปเจริญก้าวหน้าในสังคมก็มี
แต่มันก็อยู่ไม่ได้นานถ้าไม่มีความรู้ ที่สำคัญถ้าไม่ดีก็อยู่ไม่ได้เช่นกัน
เราสอนให้คนกล้าแสดงออกไม่ให้เกลียด แต่กล้าแสดงออกในสิ่งที่ดีอย่างเหมาะสม
ไม่ใช่จะสอนให้เก่งกล้าแต่ยิ่งยโสโอหังมมังการ
แต่คนไม่ถือปฏิบัติจะมาตำหนิศาสนาก็จะควรไหม

พุทธศาสนาจึงไม่มุ่งคาดคั้นให้โยมทำในสิ่งที่ไม่อยากทำ
แต่หากอยากทำ มาถามเรา เราก็ให้สติโยมว่าให้ทำในสิ่งที่ควรทำ
ทีนี้สิ่งควรทำมีอะไรบ้างก็ว่ากล่าวเตือนสติกันไป ไม่ใช่ให้มาติดอยู่ที่ตัวบุคคล
เราไม่ได้หวังให้มาติดเรา หรือไม่หวังลาภสักการะสิ่งมีค่าจากสังคม

อย่างศีลห้านี่ก็ชาวพุทธเองมาถาม มาขอศีล ไม่ใช่พระจะไปบังคับ
แต่ีคนพุทธเองนั่นละเห็นประโยชน์จากการเตือนสติของเรา
ทีนี้โยมก็อยากมีข้อปฏิบัติบ้าง เพื่อให้ตนมั่นใจว่าตนปฏิบัติตามคำสอนของศาสนา
พระก็จึงว่ากล่าวให้สติแก่สังคม ไม่ใช่อยู่ดี ๆ พระจะจับไมค์ขึ้นเวทีไปพูด
อันนั้นไม่ใช่วิถีพระแล้ว อยู่ดี ๆ จะมาโพสต์พูดกล่าวนั่นนี่

ทุกการกระทำของผู้มีสติและปรารถนาดีต่อสังคมก็ต้องเหตุสมผล
อย่างหลวงพี่ก็ไม่ใช่อยู่ดี ๆ จะมาโพสต์ข้อความพวกนี้
เคยปฏิเสธโยมร่มไทรกับโยมแอนไว้ก่อนหน้าแล้ว
แต่เมื่อมีโยมคนอื่นกล่าวถึงบ้างก็จึงโพสต์ไว้ให้
ทั้งนี้ความอยากดัง หรืออะไรนั่นไม่ใช่ประเด็นเลย
เพราะไม่ต้องการอยู่แล้ว แต่เราคิดว่าหากเรามีประโยชน์
หรือให้ข้อคิด ให้สติแก่บุคคลในสังคมได้บ้าง
เห็นเป็นสิ่งควรทำก็จึงทำ ทั้งนี้ก็ไม่ได้แน่ใจอะไรกับข้อนี้นัก

แต่บทบาทที่มีอยู่ก็ชัดเจน ไม่ชอบทำให้ตนเองเหนื่อยอยู่แล้ว
โดยธรรมชาติเราก็อยากทำอะไรง่าย ๆ มีความสุข
เพราะบางทีเราจมดิ่งกับความสุขมากเกินไปก็อาจพลั้งต่อประโยชน์
อันนี้ก็เตือน ๆ สติกันไว้ เหมือนนั่งฟังเพลงเพลิน ๆ
ข้าศึกมาก็จะมานั่งฟังเพลงอยู่อันนี้ก็ไม่เหมาะ

พุทธศาสนาเปรียบคนในการสอนไว้เหมือนบัวสี่เหล่า
ถามว่าพระพุทธเจ้าต้องไปโปรดหมดไหม ตอบว่าไม่
ถ้าพิจารณาดูจะเห็นได้ว่าจะทรงสอนเฉพาะส่องเหล่าบน
นอกนั้นไม่มุ่งเน้นอะไรนัก เพราะเขาไม่พร้อม

กิจอันไหนดี เหมาะสมกับวาระเราก็ลงมือทำ
กิจอันไหนดี ไม่เหมาะสมกับวาระก็เว้นก่อน
กิจอันไหนไม่ดี เหมาะสมกับวาระเราก็ไม่ทำ
กิจอันไหนไม่ดี ไม่เหมาะสมกับวาระเราก็ยิ่งไม่ทำเลย

เผลอตอบยาวลืมมองนาฬีโมง
ดึกไปล่ะ โพสต์ตอนเช้าละกัน...
ว่าจะโพสต์เช้า ไง wi. ไม่มาซะงั้น  ฮือๆ~
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 พ.ย. 2011, 18:17 น. โดย Alsmile:D » บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
ส่วนนี้เป็นโพสต์ส่วนที่สองเพื่อสรุปเนื้อความประเด็นทั้งหมด

สรุปคือ
โดยบทบาทหน้าที่ โดยสถานภาพทางสังคม รวมถึงเพศภาวะแล้ว
และการไตร่ตรองรอบคอบแล้วมองเห็นข้อบกพร่องอันจะเกิดขึ้นได้
เราก็ยังต้องว่ากล่าวกันตามโครงสร้างทางสังคม
ข้อนี้กระทำยากอยู่หากจะให้ครูไปเล่นกับศิษย์ หรืออะไรก็ตาม
แต่หากจะมองเป็นสัญญะทางอำนาจอันนี้ก็มองได้ ไม่ว่ากัน
แต่เจตนาในที่นี้ไม่ได้มุ่งตรงนั้น ไม่ได้มุ่งหวัง จะไม่กระทำได้
เพียงแต่ปฏิบัติตามโครงสร้างบทบาทหน้าที่ทางสังคม
จู๋นอล์นี้ก็บ่งบอกลักษณะชัดเจนอยู่แล้วว่าเพื่ออะไร อย่างไรโดยใคร

ในพระพุทธศาสนานั้นเราไม่กล่าวโดยปราศจากเหตุผล หรือหลักคิดวิธีการ
ครั้นมัวมองหาจับจ้องแต่จะเอาเหตุผลทุกสิ่งจากการกระทำ
เราก็เหมือนกับหาข้ออ้างหรือข้อแก้ตัวไปให้กับการกระทำตนเอง
หากจะหมุนตามเหตุผลบางครั้งมันก็หมุนตามลมปาก อารมณ์ ความคิด
เพราะฉะนั้น บางครั้งเหตุผลมันมีแต่เราเว้นไว้ที่จะใส่ใจในทุกรายละเอียด
หรือต่อประเด็นแยกย่อย ไปให้ความสนใจในประเด็นส่วนที่สำคัญมากกว่า
ความสงสัยมันดี แต่ควรเก็บไว้สงสัยในสิ่งที่ควรสงสัยดีกว่า
อย่าคาดคั้นจะเอาแต่เหตุผลมากเกินไป บางครั้งในชีวิตเราไม่ต้องใช้เหตุผลก็มี
แต่หากจะให้เอาเหตุผลในรายละเอียดลงไปก็ได้
ซึ่งความจริงเหล่านี้มันมีอยู่แล้วหากไตร่ตรองดี ๆ เช่นในกรณีนี้

- เราใช้คำว่า "ต้อง"
๑. เพื่อรวบรัดประเด็นให้กระซับเวลา-สาระ ให้เอื้อเฟื้อกิจอื่นที่ยังไม่ได้ทำ
๒. เพื่อเน้นย้ำเตือนสติกันว่าตรงนี้ควรจดจำ ควรตระหนักรู้ จะได้ไม่พลาด
ไม่ใช่มุ่งชี้สอนแบบเด็ดขาดทุกประเด็นแต่ประการใด ต้องจำแนกแยกแยะ
จะเกิดประโยชน์ได้มันก็เป็นของผู้กระทำ ไม่กระทำก็ไม่มีใครว่า
แต่ตรงส่วนนี้เราคิดว่าเราให้สติ ป้องกันและรักษากันได้ จึงกล่าวเช่นนั้น

- การกราบไห้ว
๑. เป็น Symbolic Interaction ทางสังคมที่ไม่ใช่แค่มุมมองทางศาสนาเท่านั้น
๒. ทางพุทธนั้นสอนให้มีการจำแนกแยกแยะ ไม่ได้ให้กราบไหว้แบบสะเปะสะปะไร้สาระวิธีการ

อันที่จริงศาสตร์ทุกศาสตร์ล้วนมีจุดเด่นและจุดด้อยแตกต่างกัน
ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับผู้จะนำไปใช้ว่าต้องการคำตอบ เพื่อเป้าหมายใด หรือวิธีการไหน
เพราะศาสตร์แต่ละศาสตร์ถูกพัฒนามาเพื่อบรรลุเป้าหมายและมีวัตถุประสงค์แตกต่างกัน
กระบวนการของแต่ละศาสตร์จึงแตกต่างกัน และมีเอกลักษณ์เฉพาะอยู่ในตัว

หากเราจะใช้เกณฑ์ของศาสตร์หนึ่งมาตรวจสอบอีกศาสตร์หนึ่งนั้นเห็นจะไม่เหมาะสม
เราควรเลือกที่จะนำศาสตร์ที่เราต้องการไปใช้ให้เกิดประโยชน์เหมาะสมกับเป้าหมายที่เราปรารถนา
อย่ามัวไปมุ่งที่วิธีการตรวจสอบควบคุมแบบรวบหัวรวบหางโดยไม่เจตนาไม่ให้เกียรติศาสตร์ใด ๆ
ศาสตร์ทุกศาสตร์มีวิธีใช้ มีวิธีปฏิบัติ เพื่อบรรลุเป้าหมายตามลำดับของศาสตร์นั้น ๆ

ทั้งนี้เราจึงไม่ควรใช้ความคิดตนไปปรุงแต่งศาสนาให้เป็นโน่นนี่นั่นตามใจชอบ
จนลืมประเด็นไปว่า ศาสนามีไว้เพื่ออะไร มีเป้าหมายเพื่ออะไร อย่างใด วิธีไหน
เราจะพัฒนาศาสตร์เป็นของตนเองก็พัฒนาและสร้างมันขึ้นมาเอง
แต่ไม่ควรไปก้าวก่ายศาสตร์อื่นที่มีอยู่ก่อนหรืออ้างมาเป็นของตนโดยไม่ให้เกียรติ
หากคิดว่าตนจักมีสติปัญญาสามารถกระทำเองได้ก็กระทำไป แต่อย่าไปทำให้ศาสตร์อื่นเสียหาย
เราไม่ใช้ก็หลีกทางไป แต่อย่าไปขัดขวางหรือทำลายให้คนที่เขาเห็นประโยชน์สำคัญได้เจ็บปวดใจ

ไม่มีศาสตร์ไหนถูกหรือผิดทั้งหมด มีแต่ศาสตร์ไหนเหมาะสมที่สุดกับการตอบโจทย์นั้น ๆ
แม้พุทธศาสตร์ หรือวิทยาศาสตร์เอง ก็พัฒนามาเพื่อวัตถุประสงค์เป้าหมายต่างกัน
การเอากรอบแนวคิด หรือกฎเกณฑ์ของอีกศาสตร์หนึ่งไปพิจารณาอีกศาสตร์ ไม่ถูกต้องแน่

องค์ความรู้สามารถแซร์กันได้ แต่ควรให้เกียรติแบบนักปราชญ์ทั้งหลายเขากระทำต่อกันอย่างสมศักดิ์ศรี
เราไม่ใช้วิธีแบบนักคิดธรรมดา ๆ ที่ไม่ได้คิดให้รอบคอบ แต่ไม่ให้เกียรติกันตามความเหมาะสม
ทั้งนี้เราไม่ได้ทวงเกียรติศักดิ์ศรีอะไร แต่มันก็คือวิถีที่ปราชญ์ทั้งหลายเขากระทำกันมาและเราเห็นว่าดีแล้ว
สิ่งสำคัญที่สุดยังไงก็คือการมีสติ แล้วใช้ปัญญาเพื่อจำแนกแยกแยะความเหมาะสมในการนำไปใช้อย่างไม่ประมาท

เจริญพร
พระยิ้ม สักขีธัมมิกะ.
บันทึกการเข้า

นกกระจอกแม้จะตัวเล็ก แต่ตับไตใส้พุงก็มีครบ...
หน้า: 1 2 3 4 5 [6] 7 8 9 10 11 12 13 ... 26
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!