หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 ... 26
 
ผู้เขียน หัวข้อ: แผ่เมตตา  (อ่าน 84542 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ยังอ่านไม่จบนะครับ จะบอกว่า
ผมสำลักกาแฟก๊ากออกมาตรงมุก โยมต้อง นี่แหละ กร๊าก

แว้บไปอ่านต่อครับ ไหว้
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ตรงนี้ผมสนใจเรื่องของกระบวนการขัดเกลานะครับ
ผมว่าทุกศาสนาจะมีเรื่องของกระบวนการนี้อยู่ทุกศาสนา
วิธีการและรายละเอียดก็อาจจะแตกต่างกันไป
ขึ้นอยู่กับสิ่งแวดล้อมและสังคม

กระบวนการขัดเกลาตรงนี้
ผมว่าเป็นจุดนึงที่นักสังคมวิทยามักจะเข้าไปไม่ถึงอย่างถ่องแท้
เนื่องจากมันเป็นเรื่องของปัจเจกบุคคลและความเชี่ยวชาญ
ถึงแม้ว่านักสังคมวิทยาหรือนักปรัชญา
จะสามารถบอกว่าจะมีกระบวนการอะไรบ้าง
ลำพังแค่การเรียนรู้ผ่านอายตนะภายนอก
เช่น รูป รส กลิ่น เสียง สัมผัส
เข้ามากระทบกับอายตนะภายในนั่นคือ หู ตา จมูก ลิ้น กาย ใจ
หรือที่เราเรียกกันว่า ประจักษประมาณนั้น
ระหว่างผู้ที่ผ่านการขัดเกลา
กับผู้ที่ไม่ได้ผ่านการขัดเกลา
ผมเชื่อว่าการเรียนรู้และการเข้าถึงก็ต่างกันแน่นอน
เหมือนกับ เราดูคนวาดรูป กับเราวาดเองมันก็ต่างกัน

ถึงแม้คนดูจะสามารถจับกระบวนการวาดรูปได้
ว่าจะต้องมีการผสมสี การลงสี
แต่การฝึกฝนด้วยตัวเองย่อมให้การเรียนรู้ที่แตกต่าง

ตรงนี้มุมมองจากนักสังคมวิทยาเขาอาจจะมองว่า
ศาสนามุ่งแต่การรับใช้ปัจเจกบุคคล
แต่ส่วนตัวผมมองว่า สังคมก็ประกอบไปด้วยตัวบุคคลไม่ใช่หรือ
การที่เราจะขัดเกลาสังคม มันก็ควรเริ่มจากการขัดเกลาตัวบุคคลก่อน
ผมว่าตรงนี้แหละ ที่ศาสนารับใช้สังคมส่วนนึงล่ะ

อยากฟังความเห็นแลกเปลี่ยนในประเด็นนี้เพิ่มเติมจากหลายๆ ท่านนะครับ  ไหว้


บันทึกการเข้า
ผมว่าในมุมของสังคมวิทยาก็เข้าใจอยู่แล้วนะครับว่า
ศาสนาเป็น"ส่วนหนึ่ง"ของสังคม

ส่วนเรื่องความเข้าใจที่พ้นมิติที่เราจะมาอธิบายกันได้นั้น
อย่างที่เปรียบเรื่องคนวาดรูป-คนดูคนวาดรูป ข้อนี้ผมเข้าใจ
และยอมรับเสมอนะครับ ว่ามันมีความเป็นไปได้มากมายที่เราไม่อาจเข้าใจได้
ถ้าหากเราไม่ปฏิบัติหรือขัดเกลาตามวิถีทางนั้นๆ

คือผมยอมรับได้ใน"ระดับหนึ่ง"ว่า มันมีสิ่งต่างๆมากมายที่มนุษย์ยังไม่มีเครื่องมือที่จะเข้าใจ
สิ่งนี้ผมนึกถึงคำของนักบวชคาร์เมอเลโญในเรื่องเทวากับซาตานที่บอกว่า
" วิทยาศาสตร์และศาสนามิใช่ศัตรูกัน หากทว่าวิทยาศาสตร์นั้นเพียงอ่อนเยาว์เกินกว่าจะเข้าใจ "
เพียงแต่การนำบางสิ่งบางอย่างไปใช้ในระดับสังคมวงกว้าง
เราก็ทำได้เพียงรับเอาหลักการที่มาจากเครื่องมือและความสามารถของมนุษย์ปัจจุบัน
จะสามารถใช้ได้เพื่อเข้าถึงความจริง"เท่าที่จะทำได้" ที่เราเรียกกันว่าวิทยาศาสตร์ไปพลางๆก่อน

อ่านของหลวงพี่ทั้งหมดแล้ว เข้าใจตามนั้นทุกประการครับ
สงสัยเรื่องเดียวว่า หลวงพี่พูดถึงการให้เกียรติในท้ายโพสมา 2 ครั้ง
สงสัยว่าหลวงพี่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยเหตุอะไร งงครับ ไหว้

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
แปะไว้ก่อนขอเวลาอ่านตั้งแต่หน้าแรกสองวันนะครับ ฮือๆ~
จะข้ามเลยก็กลัวถามซ้ำ กร๊าก
บันทึกการเข้า

เรื่องกระบวนการขัดเกลาทางจิตสังคมนี้
หลวงพี่ก็เพิ่งมองออกว่ามันเป็นขั้นตอนอย่างไร
ก็ตอนมาเรียนวิชาสังคมวิทยานี้ จึงศึกษาเพิ่มเติม
ที่จริงคิดจะเขียนหนังสือพวกนี้อยู่มาก
เพราะคนที่เขาเขียนส่วนใหญ่ไม่ใช่พระมาเขียนในประเด็นศาสนาก็ยาก
ครั้นพระเขียนเองก็อธิบายไม่ได้มากตามที่หลวงพี่รับรู้และผ่านกระบวนนั้นมาบ้าง
สิ่งนี้ยังอยู่ในแค่ระดับความคิดว่าจะเขียน
ยังไม่ได้ลงมือเขียนเลย  กร๊าก

เรื่องรายละเอียดนี้ยังต้องร่ายกันยาวและใช้เวลานานอยู่ครับ
เพราะพูดสั้น ๆ มองไม่เห็นภาพและไม่ครอบคุมประเด็นต่าง ๆ ได้ทั้งหมด
หลวงพี่จึงไม่ได้มองศาสนาในแง่การเรียนรู้ผ่านอายตนะภายนอกเท่านั้น
เพราะสิ่งที่กล่าวแบบนั้นมันเป็นนามธรรมมากอยู่
ครั้นโยมสนใจก็ทำความเข้าใจตรงนี้ได้ยากอีก
ต้องพยายามกันมากอีกเพราะไม่ได้อยู่ในวิถีเดียวกันครับ


เข้าใจไม่ต่างกันว่า สังคมก็ประกอบไปด้วยตัวบุคคล
การที่เราจะขัดเกลาสังคม มันก็ควรเริ่มจากการขัดเกลาตัวบุคคลก่อน
ตรงนี้ที่เรียกว่าศาสนาเอื้อประโยชน์ให้กับสังคมส่วนนึง
แต่ไม่ทั้งหมด ทำได้เพียงส่วนเดียว เพราะเป้าหมายชีวิตมันคนละวิถีครับ

เอาล่ะยังไม่อยากโพสต์ประเด็นนี้มากนัก
ขอให้ท่านอื่นแสดงความคิดเห็นกันต่อได้เลยครับ


อ่านของหลวงพี่ทั้งหมดแล้ว เข้าใจตามนั้นทุกประการครับ
สงสัยเรื่องเดียวว่า หลวงพี่พูดถึงการให้เกียรติในท้ายโพสมา 2 ครั้ง
สงสัยว่าหลวงพี่ยกประเด็นนี้ขึ้นมาด้วยเหตุอะไร งงครับ ไหว้

ไม่มีอะไรมาก แค่อยากยกประเด็นให้มันหนักแน่นมีหลักการให้มากขึ้น
เป็นการให้สติให้สัญญาณกันไม่ให้สะเปะสะปะ จนมองข้ามจากประเด็นอื่น ๆ ไป
เพื่อยกระดับการสนทนาระหว่างเราให้ขึ้นไปอีกระดับหนึ่งเท่านั้น
(สงสัยจะเน้นมากไปมั๊ง ลืมตรวจทาน  กร๊าก อโหสิครับ)

 อืมมมมห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พ.ย. 2011, 12:58 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
โยมเก้อนี่ถือว่าเก็บรายละเอียดเก่งจริง ๆ  เจ๋ง
แสดงว่าผลงานที่ทำอะไรนี้ต้องออกมาแล้วน่าภูมิใจมากแน่เลย

อันที่จริงการกล่าวตอบในประเด็นเหล่านี้ที่โยมเก้อถาม
หลวงพี่ก็ยังรู้สึกเหมือนเดิมว่ามันเป็นประเด็นที่พระในพุทธศาสนาไม่ควรมุ่งตอบ

แต่เห็นโยมเก้อมีความใฝ่ใส่ใจในประเด็นนี้
จึงสละเวลาตอบให้ หวังว่าจะคลายความสงสัยและให้คำตอบโยมเก้อได้บ้าง
แต่ก็อย่างที่บอกมันไม่ได้มาก เพราะมันคนละวิถีทาง จุดเน้นและเป้าหมายต่างกัน

ครั้นสมัยพุทธกาลหากย้อนไปศึกษาดูจะพบว่ามีประเด็นที่ถูกถามเยอะมาก
ประเด็นคำถามนี้เด็ด ๆ มาก อ่านแล้วคิดว่าโดนสุด ๆ ภาษาวัยรุ่นเรียกจ๊าบบ๊ะสุด ๆ
มีนักคิดทางสังคมมาถามมากมาย บางครั้งมีเจ้าของลัทธิแอบมานั่งฟังธรรมด้วย
แต่เขาก็ไม่ได้มุ่งมานำความรู้ตรงนั้นไปปฏิบัติตาม เพียงอยากรู้แนวความคิดเฉย ๆ
จบแล้วก็มาไตร่ตรองตรวจสอบความตรงกัน ครั้นเห็นแย้งกันก็ถามกลับไปแบบนี้ไม่สิ้น
(จะเห็นตัวอย่างได้ในสมัยต่อมาในเรื่องมิลินทปัญหา พระยามิลินทร์ ถามคำถามพระนาคเสนได้แบบกวนมาก)

ดังนั้นพระพุทธองค์จึงไม่ทรงตอบคำถามประเภทลักษณะนี้
เพราะมองเห็นว่าเป็นประเด็นยืดยาว ไม่มุ่งที่นักคิดทางสังคม
เพราะเขามีเป้าหมายปิดตายไว้ที่สังคม ไม่ได้หวังเป้าหมายทางธรรมอันเป็นเป้าหมายในทางพระพุทธศาสนา
เพราะเขาไม่หวังจะใช้ชีวิตในวิถีทางที่ต้องกระทำในวิถีที่พระเราเป็นอยู่
และทั้งนี้เพราะศาสนาไม่ได้อยู่แต่ในระดับนักคิดหรือแนวความคิดเท่านั้น
แต่เน้นไปที่กระบวนการปฏิบัติสู่พฤติกรรมภายนอกด้วย
ทั้งนี้สำหรับแนวความคิดของนักคิด จะมีคนปฏิบัติตามก็ได้ไม่ตามก็ได้
เพราะไม่ได้มีสาวกเชิงปฏิบัติ บางทีถือว่าจบสิ้นความสงสัยก็พอ
อันนี้คนในบุคคลศาสนาพุทธทางบ้านเมืองเราก็มีเยอะครับ ไม่ใช่ไม่มี
(ไม่เน้นกล่าวโยมน่ะ กล่าวถึงพวกพระมหานี่ละ) แต่ทั้งนี้เป็นแต่ความเข้าใจส่วนบุคคล
ในสมัยพุทธกาลก็มีเรียกว่าพระใบลานเปล่า รู้หมดวิถีปฏิบัติ แบบไหนได้
แต่ไม่ได้บรรลุอะไร สอนลูกศิษย์นี่บรรลุก็มาก แต่ตนเองนี่ไม่ได้ปฏิบัติอะไร
ตรงนี้หลวงพี่ไม่อยากกล่าวให้มาก (แต่มันก็มากมาแล้วน่ะ  คริคริ)

ครั่นเอาสาระธรรม

"พุทธศาสนาไม่ใช่ศาสนาที่อาศัยแต่ความเชื่อแล้วจะสำเร็จผลดลบันดาลอะไรให้ใครได้เลย
ในขณะเดียวกันนอกจากจะไม่ใช่ศาสนาที่อยู่ในระดับของลัทธิความเชื่อแล้ว
ก็ไม่ได้อยู่แค่ในระดับนักคิดไตร่ตรองให้หายสิ้นความสงสัยเท่านั้นแล้วจะบรรลุธรรมได้เลย
แต่พระพุทธศาสนาเป็นศาสนาที่ลงรายละเอียดลึกซึ้งในการปฏิบัติขัดเกลาพฤติกรรมทั้งภายในและภายนอก
ที่สังเกตเห็นได้และสังเกตเห็นไม่ได้ด้วยตาเปล่าเท่านั้น ทั้งนี้เนื้อความนี้ก็ไม่ได้กล่าวถึงพุทธศาสนาในแบบที่
เกินจริงให้คุณจินตนาการแบบปาฏิหาริย์ในเชิงไสยศาสตร์แบบนั้นก็หามีไม่
ในขณะเดียวกันก็ไม่ได้ให้คุณจินตนาการไปเองว่าเท่าเทียมหรือตรงกับหลักวิทยาศาสตร์
เพราะวิถีทางและเป้าหมายของพุทธศาสตร์ถูกพัฒนามาเพื่อเป้าหมายที่แตกต่างจากวิถีทางและเป้าหมายของวิทยาศาสตร์
ศาสตร์ทุกศาสตร์จึงมีวิถีทางและเป้าหมาย รวมไปถึงรายละเอียดสู่การปฏิบัติที่แตกต่างกัน
ผู้เห็นประโยชน์จึงควรพิจารณาประจักษ์ด้วยตนเอง มากกว่าคำบอกเล่าของผู้อื่น"

ต่อประเด็นครับ

แต่ตรงนี้สังคมเปลี่ยน ยุคสมัยเปลี่ยน แนวความคิดอาจเปลี่ยนตาม
แต่โดยส่วนตัวมองว่าไม่มากหรือแตกต่างจากสมัยพุทธกาลเท่าไหรนัก
ทั้งที่มิติเวลามันต่างกัน รูปแบบการปกครองมันต่างกัน
รวมถึงวิทยาการหรือองค์ความรู้ทางโลกได้รับการพัฒนาขึ้นมาก็มากแล้ว
แต่ประเด็นทางสังคมก็ยังมีให้ตอบได้ไม่จบสิ้นสงสัยได้อยู่อย่างนี้ไป

วิทยาการทางโลกเริ่มพัฒนามาในยุคสตวรรษ 18 เป็นต้นมา อันนี้ถูกไหม?
แต่ก็ยังมุ่งตามมาศึกษาวิเคราะห์แนวคิดทางศาสนา
ทั้งที่เขาควรพัฒนาไปในวิถีทางของตน
อันนี้หากลองมองแย้งดูนะ หากว่าเราจะมุ่งแยกวิถีศาสนาออกจากสังคม
พูดตามแนวคิดของนักสังคมวิทยา แต่ไง๋มาแขะกับวิถีทางศาสนา อันนี้ก็มีบ้าง
ทั้งนี้มันแน่อยู่ว่าเขารู้ว่าคนละวิถี คนละเป้าหมาย
ท้ายที่สุดก็มาแนบศาสนาไว้เหมือนภาคผนวกทางสังคม
ว่าเป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในโครงสร้างทางสังคม

อันนี้หลวงพี่ชวนให้เราพากันมองดูอีกทีแบบไม่มีอคติดูซิว่า
เป็นการแย่งบทบาททางสังคมของศาสตร์หรือวิทยาการทางนี้หรือปล่าว
เพราะรู้อยู่ว่าไม่ใช่วิถีทางเดียวกัน แต่ก็ยังมาไล่ตามศึกษาแนวคิดทางศาสนา
ตรงนี้พอมองออกว่าเขามองว่ามันอยู่ในโครงสร้างหน้าที่ทางสังคม
ศาสนาจึงควรมีเอื้อเพื่อประโยชน์หรือรับใช้ให้บริการต่อสังคมอะไรก็ว่าไป
ดังนั้นศาสตร์ที่เป็นองค์ความรู้ทางศาสนาที่เขามองจึงคิดว่า
เป็นส่วนหนึ่งที่จะเอื้อเฟื้อต่อสังคม อันนี้ไม่ได้มองว่าผิดครับ

แต่ทว่าเขาต้องการลดบทบาททางศาสนาเพื่อให้วิทยาการทางสังคมวิทยาได้มีจุดยืนได้
เหมือนที่วิทยาศาสตร์เคยทำมาหรือปล่าว ในขณะที่ทางด้านจิตวิทยาก็ไม่น้อยหน้าเช่นกัน
อันนี้ลองชวน ๆ คิดกันดู ไม่ได้เจตนากล่าวตำหนินักสังคมวิทยาหรือนักจิตวิทยา
หรือแม้กระทั่งนักวิทยาศาสตร์นะ แค่อยากให้เราลองพิจารณากันดูแบบคนกลางดู
แม้หลวงพี่จะพูดตรงนี้ หลวงพี่ก็พูดในเชิงของการถอยจากจุดที่ตนยืนมาดูแต่ละด้าน

ทังนี้เราอย่าลืมว่าแนวความคิดเหล่านี้มันมาจากองค์ความรู้ทางตะวันตก
เขามองศาสนาในมุมมองของตะวันตก ครั้นจับมาเปรียบเทียบกับบาทในศาสนาพุทธ
มันก็ไม่ได้เหมือนกันมากนักอยู่ในเรื่องวิถีทางปฏิบัติ
ดังนั้นเราควรมองศาสนาในมุมที่แตกต่างกันตรงนี้อีกไหม  งง

แต่หลวงพี่ได้ศึกษาทางด้านสังคมวิทยามาบ้าง จิตวิทยารวมถึงพุทธจิตวิทยามาบ้าง
ศาสนาปรัชญามาบ้าง แนวความคิดทางวิทยาศาสตร์มาบ้าง หรืออะไรอื่นแยกย่อยไป
ก็จึงอาศัยองค์ความรู้เหล่านั้นส่วนหนึ่งมาตอบปัญหาทางสังคมให้นี้
แต่ไม่ทั้งหมด นี้เป็นแต่เพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น

ทั้งนี้อย่างที่เคยกล่าวว่าศาสตร์ทุกศาสตร์มีเป้าหมายและวิธีปฏิบัติรวมถึง
มีข้อเด่นข้อด้อยในเรื่องการจะนำไปใช้แบบ Apply All อยู่แล้ว
ดังนั้นหากเขาทำความเข้าใจตรงนี้เขาจะรู้ว่าเขาควรเลือกศาสตร์ใดให้เหมาะสมกับวิถีชีวิต
และเป้าหมายของตนของตนได้อย่างสอดคล้องและเหมาะสม

พอโยมณตมาถามประเด็นกระบวนการขัดเกลาทางจิตสังคมแล้ว
ยิ่งในทางศาสนาหลักทางสังคมก็ยิ่งต้องรอบคอบเข้ามาอีก เดี๋ยวผิดขัดกับพระเถระรุ่นก่อน
หรือพระที่ท่านเคารพทางสังคม หลวงพี่ต้องตระหนักรู้(ความปลอดภัย)ตนเองก่อน
ตรงนี้ค่อย ๆ พูดกันไปเบา ๆ ก่อนละกัน แต่เบาใน Social Network นี่
มันก็ดัง ๆ ได้น่ะ พอดัง ๆ แล้วมันก็ เดี้ยง ๆ เพราะกระแสมันฟาดฟันกันเปี้ยง ๆ
แบบนี้ก็มี

หากจะให้กล่าวถึงประเด็นนี้จริง ขอให้หลวงพี่รวบรวมเรียบเรียงแนวความคิดก่อน
ดูความพร้อมขององค์ประกอบและวาระที่จะกล่าวถึงและปฏิบัติก่อน
เพราะไม่ได้อยากเด่นดังหวังประโยชน์อะไรจากสังคม ไม่ใช่เป้าหมายหลักของหลวงพี่
เบา ๆ กันแค่ตรงนี้อาจปลอดภัยที่สุดก็ได้ ทั้งที่ในโลก Net work Online อาจตอบว่าไม่ก็ตาม
แม้ในความเป็นจริงหลวงพี่อยากตอบประเด็นนี้มาก
อยากเรียบเรียงไปให้เห็นตามลำดับขั้นตอนมาก เพราะมันเกี่ยวกับพุทธศาสนาโดยตรง
อันนี้เป็นแนวคิดหรือคำถามที่อยากตอบมากกว่าประเด็นที่แล้วมาก

แสดงความคิดเห็นกันไปก่อนนะครับ
ขอพักสักหน่อยแล้วเราค่อยว่ากันต่อ

 อืมมมมห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 ธ.ค. 2011, 12:56 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
ยิ่งสนทนายิ่งเข้มข้นและแหลมคมขึ้นเรื่อยๆ
ขอบคุณสำหรับคำตอบอย่างยิ่งครับ
ช่วยเติมเต็มความเข้าใจหลายอย่างได้ดีมาก เจ๋ง ไหว้

จะว่าไปแล้ว ใน 2 ศาสนาที่ผมค่อนข้างจะมีความเข้าใจ
รวมถึงการถอดถอนศาสนาทั้งหลายออกจากตัวเอง แล้วมองมันกลับเข้ามาใหม่
ไม่ว่าผมจะพลิกมุมไหน สงสัย"ผี่"มันออกมาดูมันกี่มุมยังไง(หลวงพี่คงเก็ตคำนี้ กร๊าก)
ศาสนาพุทธ ก็ยังอยู่เป็นอันดับหนึ่งสำหรับผมเสมอในเรื่องคำอธิบายต่อชีวิตที่เป็นเหตุเป็นผล
อย่างที่เค้าบอกว่ามีความเป็นวิทยาศาสตร์มากที่สุด ซึ่งจริงๆผมก็เห็นเช่นกันว่าเทียบกันไม่ได้
มันอยู่กันคนละมิติ มุ่งตอบคำถามคนละอย่างกันอย่างที่หลวงพี่ว่า
แต่ก็พออณุโลมได้ว่าเป็นประโยคที่อธิบายคนในวงกว้างได้ง่ายที่สุด เลยนิยมเอาไปอธิบายกัน

ส่วนพระไตรปิฎกเท่าที่ผมศึกษาแค่พอหางอึ่ง
บทที่ผมชอบที่สุดน่าจะเป็น ปัญหาพระยามิลินท์
หลวงพี่พูดถึงว่ามีคนมาถามคำถามสารพัดสารเพกับพระพุทธเจ้าหรือต่อบรรดาสาวก
ผมให้นึกถึงบทนี้เลย ไม่แน่ใจว่าจะเทียบเคียงได้หรือเปล่านะครับ ผมอาจจะเข้าใจผิด
แต่จำได้ว่ามันเป็นบทที่ถ้าใช้ภาษาวัยรุ่นก็ต้องบอกว่า"โดนใจ"ผมมากสุด

เคยอ่านประวัติว่า พระยามิลินท์ เป็นกษัตริย์ในพื้นที่แถบเอเชียกลาง
สืบเชื้อสายมาจากชาวกรีก คำถามของพระยามิลินท์มีคนวิเคราะห์ว่ามีลักษณะคล้ายการสนทนาทางปรัชญาของกรีก
เทียบไปคงเป็นบรรดา Conversation(การตั้งประเด็นปัญหาแล้วสนทนา) ของโสกราตีสทำนองนั้น
คือขี้สงสัยเรื่องนั้นเรื่องนี้ในลักษณะของปรัชญา ที่ส่วนมากไม่นำไปสู่การแก้ไขปัญหาของชีวิต
คือพูดไปหาคำตอบสนทนากันไปแล้วก็วนกันอยู่แบบนั้น เป็นต้น (แต่ในทางโลกย์ก็ต้องพูดกันอยู่ดี)

ถึงตอนนี้นึกไม่ออกแล้วว่าโดนใจกับเรื่องอะไรประเด็นไหนแน่ ค่อนข้างเลือนลางแล้ว
จำได้เท่าที่อธิบายมาข้างต้น แต่จำได้แน่นอนว่าคือบทปัญหาพระยามิลินท์นี่แหละครับที่โดนใจตัวเองในตอนที่อ่าน
อาจจะนึกสะท้อนตัวเองว่าเอาแต่เสาะหาคำตอบอะไรที่ไม่เป็นประโยชน์ในการพ้นทุกข์อะไรทำนองนี้ หมีโหด~
 
เริ่มดูเข้าหัวข้อทางธรรมขึ้นมาบ้างนะครับ ข้อนี้ต้องอาศัยคำชี้แนะจากหลวงพี่ล้วนๆ
ผมไม่อาจเอื้อมจริงๆอธิบายอะไรได้จริงๆ เพราะผิดแน่นอน กร๊าก ไหว้

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
แล้วพระยามิลินท์ที่ว่านี่ ตั้งปัญหาอะไรยังไงเล่าครับ โวย
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
อันที่จริงชวนคุยเลยน่ะเนี่ยะ  กร๊าก

เรื่องผีก็ยังมีความเข้าใจที่มิติทางสังคมเข้าใจไม่ตรงกันอยู่มาก
เขามักเอาคำสอนของศาสนาหนึ่งมาเป็นคำตอบของศาสนาหนึ่ง อันนี้มันสะเปะสะปะ แก้ไขยาก

คำสอนในพุทธศาสนานั้นเชื่อมโยงกันได้ทุกจุด อันนี้ไม่ได้โม้นะ
เคยนั่งจับหลักธรรมพิสูจน์ความจริงอยู่เหมือนกัน
เพราะมีพุทธพจน์กล่าวไว้ประมาณว่า พระธรรมที่พระพุทธองค์ทางแสดงนั้นทะลุเชื่อมโยงกันได้ทุกจุดทุกมิติ
เลยลองคิดไตร่ตรองตามดู
แต่ถ้าเราไม่ได้เข้าหลักธรรมในภาพกว้างหรือมองแค่ไหนรู้แค่นั้น
เราก็จักอธิบายได้แค่ในระดับหนึ่งไม่สามารถทะลุถึงกันได้
ความจริงข้อนี้พิสูจน์เองครับ แค่บอกเล่าให้ฟังในสิ่งที่โยมอาจไม่เคยได้ยินได้ฟังมา

ตอนนี้ถึงมั่นใจในวิถีทางและเป้าหมายของตนตามหลักศาสนา
แต่ยังไงเราก็ควรไม่ประมาท บางทีเดินสะดุดขาตนเองอาจมองคนธรรมดากลายเป็นนางฟ้าก็ได้ จะไปแน่หรอ  กร๊าก
ก็เพราะเรายังอยู่แค่ศึกษายังไม่ได้ปฏิบัติ ทั้งนี้เพราะต้องการทำความเข้าใจประเด็นนี้ก่อน
พระส่วนใหญ่ก็ติดอยู่แค่ระดับการศึกษานี่ละ จึงไม่ไปถึงไหน
หลวงพี่จึงอยากไปให้ได้มากกว่านี้

อย่างโยมเก้อเข้าใจไม่ต่างกันว่า หลวงพี่ไม่อยากให้เอาวิทยาศาสตร์ไปเทียบกันกับพุทธศาสนา
หรือเอาพุทธศาสนามาเทียบกับวิทยาศาสตร์เพื่อมองหาแง่ว่าตรงกันมากแค่ ผิดแผกแตกต่างกันตรงไหน
ไม่ใช่อะไร เอนไปทางไหนก็เป็นการให้ฝั่งทางนั้นสำคัญ อยู่ตรงกลางดีแล้ว
ให้บุคคลตัดสินใจเลือกเป้าหมายเอาเอง เขาชอบวิถีโลกจะเลือกวิทยาศาสตร์ก็ว่าไป
ครั้นจะเลือกวิถีธรรมโดยเลือกพระพุทธศาสนาก็ว่าไป

แต่ทั้งนี้หากจะเลือกทั้งสองตัวเลือกก็ต้องแล้วแต่เป้าหมายเราละครับ
เหมือนเดินด้วยสองขาแต่จะไปให้ได้สองทาง ขาฉีกพอดี ถ้าหากเขาไม่รู้วิธีปฏิบัติ
เอนไปทางไหนจะเลือก Apply อีกทางมาใช้ก็ไม่ว่ากัน ตามแต่เจตนา
แต่เขาไม่ควรไปตำหนิวิถีทางใดเพราะไม่ใช่ความผิดของวิถีทาง

เขาควรเลือกให้เหมาะสมกับเป้าหมายของตนเอง
ไม่ใช่ให้วิถีทางเอนมาหาเขา แต่เขาผู้ปฏิบัติต้องเอนไปหาวิถีทางด้วยตนเอง
อันนี้หากเรามองวิธีวิทยาของแต่ละศาสตร์ว่าเป็นตัวเลือก
หรือเอื้อเฟื้อต่อประโยชน์หรือวิถีชีวิตของบุคคลในสังคมน่ะ

วิถีทางจึงไม่ใช่ศัตรูคือไม่ชนกันอยู่แล้ว เพราะคนละวิถีทาง
แต่บุคคลนั่นละอาจทำปัญหาขึ้นมาเอง

วิถีทางไม่ได้เลือกบุคคล แต่บุคคลต่างหากที่เลือกวิถีทางของตนเอง
วิถีทางไม่แบ่งแยกวรรณะบุคคล แต่บุคคลเท่านั้นที่แบ่งแยกกันเอง

หากบุคคลทำความเข้าใจได้ตรงนี้รับรองไม่ขัดแย้งกับวิถีปฏิบัติครับโยมเก้อ
ใช้ชีวิตให้เป็นสุขและมีสติเถอะครับ.. อืมมมมห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พ.ย. 2011, 12:27 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
แล้วพระยามิลินท์ที่ว่านี่ ตั้งปัญหาอะไรยังไงเล่าครับ โวย

คงออกในลักษณะคำถามของนานาาานี่ละมั๊ง  กร๊าก
อ้าว...จะแก้ไขเนื้อความที่ผิด ดันมาส่วนแอบอ้างซะงั้น
อึม...แปะเลยละกัน ไหนก็ลองดูนะครับ หลวงพี่ปรับแก้บางส่วนเพิ่มเติมด้วย

อึม...ที่จริงตั้งใจการตอบคำถามของนานานั้นตั้งใจให้ออกแนวนั้น
เพราะไม่อยากให้คนยึดคำตอบเราว่าเราฟันธงแปะว่าจริงไม่จริงทีเดียวเลย
พอบางครั้งการใช้วิธีการตีความคนอื่นมันแปลได้หลายนัย

เพราะมันต้องอาศัยมุมมองความคิดของเจ้าของแนวคิดด้วย
นานาเขาแค่เอามาถามต่อ จึงไม่ฟันธง


คำถามชัดเจนมากแค่ไหนหลวงพี่ก็ตอบตามนั้นละครับ
อย่างการสนทนากับโยมเก้อร์ก่อนนั้นก็เหมือนกัน
ถ้าหลวงพี่มองว่ายังไม่รู้แนวคิดภาพกว้างที่ชัดเจนในประเด็นนั้น
หลวงพี่ก็ตอบตามประเด็นเป็นไปตาม Step ก่อน
เพื่อถ่วงเวลาให้โยมได้แสดงความคิดเห็นออกมากกว่านี้
การแสดงทีท่าทางคำพูดก็เพื่อให้เขาได้เจาะลึกลงไปอีก
หลวงพี่จะได้รู้จักความคิดเขาในประเด็นนั้นให้มากขึ้น


ครั้นรู้ว่าเขาคิดเห็นอย่างไรมากขึ้นก็ตอบให้กว้างได้มากขึ้นไปอีก
เราจะให้คนรู้ความจริงในเรื่องใดก็ต้องให้บรรลุความจริงในประเด็นนั้นพร้อมกัน
หากฝ่ายผู้ถามสงวนท่าที ฝ่ายผู้ตอบก็ต้องสงวนท่าทีบ้าง
อยากนักมวยน่ะครับ บางครั้งยกแรกมันก็ต้องดูเชิงมวยกันก่อน ยกสองมันก็แย๊บ ๆ กันบ้างหากคู่ต่อสู้ไม่ยอมแย๊บมาก่อน
แต่หากพร้อมจะพูดกันให้เคลียร์ได้ เราก็พร้อมที่จะพูดให้เคลียร์ได้ในประเด็นนั้นเช่นกัน


ฉะนั้นหากให้ได้คำตอบอย่างเรื่องของนานา เขาควรต้องมาถามกลับอีกครั้ง
และพูดให้เคลียร์ครับ ว่าโลกที่เขาหมายถึงหมายถึงโลกที่กินความกว้างเพียงใด
แสดงแนวความคิดไว้ให้เรารู้กว้างกว่านี้ว่าเขามองแบบไหนก่อน
ลองกลับไปอ่านคำถามดูสิครับ ลักษณะเขาสงวนท่าทีในการถาม
เราก็จึงสงวนท่าทีในการตอบ


หากโยมมองในภาพกว้างโยมก็จะรู้ว่าหลวงพี่ตอบว่ายังไงได้ เพียงแต่ต้องแบ่งรับแบ่งสู้
ตอบแบบฟันธง โดยไม่ฟังให้ได้ความ เดี๋ยวเจ็บตัวฟรีครับ
แล้วคำตอบเรามันไม่สากลแน่นอน จะมองมุมไหนแบบไหนก็ได้หากมันไม่ชัด
แต่ถ้า Focus คำถามให้ชัดเจนมากกว่านี้ มันก็ได้คำตอบชัดตามนั้น

คำตอบในคำถามของนานานั้นหลวงพี่กล่าวเตือนสติ ให้จำแนกความคิดก่อนไม่ใช่หรอ
คือเขาเอาความเจริญทางองค์ความรู้หรือวัตถุ เทคโนโลยี มาเปรียบเทียบกับความเจริญทางจริยธรรม
คำตอบมันชัดอยู่แล้วว่ามันดูเหมือนจริง เพียงแต่การมองของเขามันผิดที่เขาไปยึดวัตถุมาเป็นเกณฑ์ตัดสิน


เพราะอะไร ก็เพราะว่า เราพัฒนาองค์ความรู้ทางโลกมากกว่าอยู่แล้ว เราให้ความสนใจทางโลกมากกว่าอยู่แล้ว
ครั้นเราไปเปรียบเทียบเจริญระหว่างสิ่งที่พัฒนากับสิ่งที่ไม่พัฒนา มันก็ย่อมแน่อยู่แล้วว่ามันต่างกัน
แต่ถามว่ามันเสื่อมจริงไหม มันก็ไม่ได้เสื่อมเพียงแต่มันไม่ขยับ มันไม่ได้รับการพัฒนา
มันก็เลยดูเหมือนเสื่อมถอยเพราะความห่างไกลของศาสตร์ที่พัฒนามันทำให้ทิ้งช่วงห่างออกไป แต่ที่จริงแล้วมันอยู่ที่เดิม
ดังนั้นศาสตร์ที่พัฒนาแล้วก็เดินห่างไกลจากศาสตร์ที่ไม่ได้รับการพัฒนา
ยิ่งทิ้งห่างก็ยิ่งดูว่าอีกฝ่ายถอยหลังเสื่อมไป ทั้งที่มันอยู่ที่เดิม จุดเดิมไม่ขยับไปไหน ไม่พัฒนาขึ้นมา
หากเปรียบแบบนี้แสดงว่าเรามองจากจุดของศาสตร์ที่พัฒนามาแล้ว
แต่ถ้าเราไปมองจากจุดของที่อยู่ที่เดิมจะเห็นได้ว่า ศาสตร์ที่พัฒนานั้นละที่ทิ้งห่างศาสตร์ที่ไม่ได้พัฒนาไปเอง
คำตอบมันคือมันอยู่ที่เดิม แต่เรามองแบบนี้มันเป็นรูปธรรม
แล้วลักษณะคำถามมันดันออกเป็นนามธรรม คำตอบมันจึงออกแนวกวน ๆ นิดหนึ่ง
(หรือว่ากวนมากก็ไม่รู้นะ ไม่ได้ย้อนไปอ่าน  กร๊าก)


แต่โยมชอบให้หลวงพี่เป็นคนตัดสินแบบฟันธงแปะ ๆ
ท้ายที่สุดคนพังคือหลวงพี่ โยมต้องรักษาหลวงพี่ด้วย
ครั้นหลวงพี่มองเห็นจุดอ่อนในเรื่องการตอบประเด็นนี้
หลวงพี่ก็ไม่อยากตอบ หรือก็ตอบแบบเลี่ยง ๆ หรือแบ่งรับแบ่งสู้
ตัวอย่างมันมีเยอะครับ หลวงพี่ก็จึงควรระวังตนไว้ก่อน


อย่างประเด็นโยมเก้อถามก็เหมือนกัน
คำถามมันดีมีประโยชน์เกิดคุณค่า มีความหมายอยู่มากในทางวิชาการ
แต่มันมีความเป็นไปได้ที่จะทำลายหลวงพี่คนที่ตอบได้
เพราะบ้านเมืองเรายังไม่พร้อมในประเด็นนี้ หรือ
จะด้วยเหตุผล มุมมองหลักการหรือกรอบแนวคิดอะไรก็ตาม
ความน่าเชื่อถือของผู้ตอบก็มีส่วนด้วย


การตอบคำถามโยมจึงไม่ควรดูที่ผลของคำตอบเพียงประการเดียว
โยมควรดูที่กระบวนการตอบด้วย
ต้องดูว่า กระบวนการคำตอบมันจบสมบูรณ์แล้วหรือยัง
โยมอาจอยากรู้หตุผลก็ได้ว่าทำไมหลวงพี่ถึงเลือกตอบแบบนั้นก็ได้
ถ้าเรามองทั้งกระบวนการตอบและผลของคำตอบ เราก็จะมองไม่พลาด
เพราะสองส่วนนี้สำคัญและสัมพันธ์กันมาก
เหมือนโจทย์คณิตศาสตร์ที่เราให้เด็กตอบนั่นละ
ถ้าผลของคำตอบมันถูก แต่กระบวนการทำผิด จะได้คะแนนไหม  งง
หรือถ้ากระบวนการตอบถูกวิธี แต่ผลคำตอบมันออกมาผิด จะได้คะแนนไหมครับ  งง

ดังนั้นเราเป็นผู้ใหญ่ก็จะดูจะตรวจสอบทั้งสองส่วนไม่มองอะไรแค่ส่วนเดียว
บางสิ่งมองส่วนเดียวได้หากมุ่งเอาประโยชน์ แต่มันปฏิเสธอีกส่วนน่ะ
โอกาสผิดพลาดมันก็มีเยอะครับ


บางคำตอบหากเรามองในกรอบเบ็ดเสร็จเราอาจเข้าใจเจตนาผิดพลาดได้
เรื่องนี้มีตัวอย่างอยู่ หากอยากรู้วันหลังหลวงพี่เล่าให้ฟังอีกครั้งก็ได้ อยากฟังก็บอกละกัน  ไม่ล่ะ อ้าวต้องพะยักหน้าตอบรับสิ เอ่อ... กร๊าก

โยมเก้อจะถามในประเด็นที่เป็นมิติทางสังคมก็ได้ แต่ควรจัดลำดับยากง่าย
เราต้องช่วยอำนวยประโยชน์เผื่อคนที่เดินตามเราด้วย
แต่ที่หลวงพี่ห้ามไว้ก่อนนั้นเพราะเห็นว่าผู้ตามเราไม่พร้อม
เขาตามเราไม่ทันในประเด็นที่เราถนัดและฝ่ายการเรียนรู้มาด้านที่เราสนใจ

คำตอบในพุทธศาสนาที่ช่วยสังคมก็มีอยู่ แต่เป็นการจัดให้ในระดับลดลงไป
ตามลักษณะวิถีชีวิตโยม เพราะอย่างที่เคยคุยกัน
วิถีสูงสุดของพระคือมุ่งบรรลุอรหันต์ แต่วิถีโยมแค่อยากให้ใช้ชีวิตมีโดยง่าย
และมีความสุขได้ในสังคม โดยเรานับถือศาสนาไหนก็ตาม
เราก็อยากให้ชีวิตเราไม่ผิดขัดกับหลักศาสนาของเรา และ
เราก็อาจใช้คำสอนในศาสนามาเอื้อเฟื้อต่อวิถีชีวิตทางสังคมได้

การจัดหลักธรรมสำหรับฆราวาสจึงไม่ได้ใช้ในระดับเดียวกับพระ
มีการจำแนกแยกแยะอยู่ อย่าตีความผิดละกันครับ
เพราะหัวข้อเดียวกันแต่บางคนก็เอาของพระไปอธิบายให้ใช้กับโยม
ในขณะบางครั้งก็เอาของโยมมาอธิบายใช้กับพระ มันจึงผิดเจตนาหลักของหลักธรรมครับ

สำหรับประเด็นที่หลวงพี่วิจารณาโยมก็รับรู้ได้อยู่แล้วว่าหลวงพี่วิจารณาแต่เพียงประเด็นเดียวนั้น
ไม่ได้เหมารวมว่าทั้งหมดจะเป็นไปตามนั้นเห็นแค่ไหนก็แสดงความความคิดเห็นตามนั้น
ตรงนี้จึงไม่ใช้คำว่าวิจารณ์ ให้รู้ว่าเป็นแต่เพียงแสดงความความคิดเห็น
หากโยมที่รับรู้มาแน่แท้ก็สามารถแสดงความคิดเห็นชี้แจงต่อกันได้ หลวงพี่ไม่ได้ว่าอะไร
ไม่ได้ยึดแนวคิดตนเป็นหลัก หากแต่แสดงให้รับรู้ตามที่รับรู้
โยมเข้าใจมามากโยมก็ชี้แจงแสดงได้ เราจะได้เข้าใจศาสนาอื่นด้วยว่าเขามีดีอะไรคนจึงนับถืออย่างนั้น

หรือหากคนในศาสนาเขาจะมาชี้แจงให้ฟังมันก็ดีเกิดประโยชน์ เพราะนี่คือความสงสัยของเราต่อศาสนาอื่น
ในขณะเดียวกันหากเขาสงสัยในคำสอนของศาสนาเรา เขาก็มาถามเราได้ เราไม่จำกัดอยู่แล้ว
ยินดีชี้แจงเพื่อให้เข้าใจกันได้ จะได้ไม่ก้าวก่ายกัน เพราะทุกวันนี้ก็โดนก้าวก่ายอยู่แล้ว แต่ไม่ได้ถือสาอะไร
เพราะที่นี่ไม่ใช่บ้านหลวงพี่ หลวงพี่จะแสดงออกมากมันก็ยังไม่ควร
แต่หากเป็นบ้านเกิดหลวงพี่เอง หลวงพี่ย่อมกระทำได้มากกว่านี้
แล้วคำตอบบางประเด็นก็อาจให้รายละเอียดอย่างสบายใจได้มากกว่านี้

ตรงนี้ก็ยังต้องปฏิบัติอยู่ในอำนาจของสงฆ์และกฎหมายบ้านเมืองของโยมอยู่
จะให้ทำเหมือนบ้านตนเองทั้งหมดก็ไม่ได้ ทำได้แต่เพียงบทบาทเบื้องต้นเล็กน้อยเท่านั้น


อย่างการเข้ามาเว็บนี้ที่จริงหากแค่ต้องการทำฟอนต์แค่แวะมาศึกษาก็ได้
ไม่ต้องถึงมาสมัครเป็นสมาชิกเพื่อเอาตนมาเสี่ยงต่อความเข้าใจผิดก็ทำได้
แต่คิดว่ายังไงเจตนาเราดีอยู่แล้ว คงไม่มีอะไรมาก เพียงแต่ชี้แจงไปให้เข้าใจกันก็คงพอ


แต่คำว่าพอของเรามันไม่เท่ากัน เพราะสติปัญญา การรับรู้และประสบการณ์ หรืออะไรก็ช่าง
ของเราแต่ละคนนั้นบางครั้งไม่เหมือนกัน ที่ว่าเหมือนก็ไม่ทั้งหมดทีเดียว มันก็จึงต้องอธิบายกันยาวแบบนี้


มันก็ดีที่มีคนแนะนำ ให้คนอื่นอ่าน แต่หากมหาสุรพศเขาได้รับการขัดเกลาทางจิตสังคมมาไม่ต่างกัน
เขาก็คงเห็นด้วย หากมันขัดกับเขาก็คงเกิดความเข้าใจผิด ที่จริงแล้วตรงนั้นหลวงพี่มองว่าไม่น่าห่วงอะไร
แต่ที่น่าห่วงคือเข้าใจไม่ตรงกันแล้วเราไม่ได้อธิบายให้เข้าใจตรงกันได้ อันนี้แอบคิดลึก ๆ
ใครจะมาเข้าใจความคิดเราได้ทั้งหมดก็หามีไม่

ฉะนั้นจึงอยากให้ถนอมหลวงพี่บ้างหากต้องการพึ่งระดับสติปัญญาให้หลวงพี่ตอบคำถามให้
เพราะเรามีเจตนาดีต่อกัน ในพุทธศาสนานั้นเรากล่าวว่า
"กัลยาณมิตรคือเพื่อนที่ดีและสร้างคุณค่าให้เกิดประโยชน์แก่กัน แต่ที่สำคัญนั้นคือ
เราสามารถรักษาและป้องกันภัยให้กันได้"

เจริญพร.  อืมมมมห์
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 พ.ย. 2011, 12:19 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
เดียวนะครับ อู้ย..

หลวงพี่อาจสิเข้าใจผิด ผมบ่ได้เว้าเถึงผีเลยเด๊ะครับ
ผมเว้าเถึง "ผี่"(คลี่)ออกมาเบิ่งนั่นหนาครับ
หรือว่าภาษาอีสานกับภาษาลาวอาจสิบ่คือกันกะได้ ไหว้

คือว่าผมคึดคำภาษาไทยบ่ออกว่าสิแปลว่าจังได๋
จังสิมีควมหมายซ่ำกันกับภาษาลาวเฮาว่า"ผี่ออกเบิ่ง"
กะเลยใซ้คำว่าผี่เบิ่งจังซั้นครับ
 
โอเคครับ ซาวด์แทร็คกันไปแล้ว Switch กลับมาที่ภาษาไทย หมีโหด~
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2011, 12:14 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
สัพเพ สัตตา
สัตว์ทั้งหลายที่เป็นเพื่อนทุกข์ เกิดแก่เจ็บตายด้วยกันทั้งหมดทั้งสิ้น

อะเวรา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรแก่กันและกันเลย

อัพยาปัชฌา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้เบียดเบียนซึ่งกันและกันเลย

อะนีฆา
จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีความทุกข์กายทุกข์ใจเลย

สุขี อัตตานัง ปะริหะรันตุ
จงมีแต่ความสุขกายสุขใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งสิ้น เถิดฯ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พ.ย. 2011, 12:14 น. โดย Alsmile » บันทึกการเข้า

sometimes you need to let things go.
อ่านจู๋นี้เหนื่อยมากค่ะ แต่สนุกดี
คราวหน้าจะไม่ดองไว้อีกแล้ว เก็บดาวทีนานมาก
บันทึกการเข้า

กร๊าก โยมเก้อ พูดภาษาสวีเดนก็ไม่บอก

เราก็นึกว่าพูดภาษาไทย ไม้เอกมันตัวเล็ก ทีแรกก็ยังงงอยู่
แต่คิดว่าถ้าเข้าใจหรือพูดผิดโยมคงมากล่าวกันได้

สงสัยต้องตั้งจู๋นอล์ ภาษาสวีเดนวันละคำแล้วละมั๊งครับ
โยมทำให้หลวงพี่จินตนาการถึงคนที่พูดในยี่สิบแทร็คแบบนี้

A: เฮ้ย..ไม่ใช่ 20 แทร็ค มันมาจากภาษาอังกฤษว่า Sound Track
B: อ้าวหรอ นึกว่า ซาว ที่แปลว่า ยี่สิบ
A: เวง วังเวง มันคนละอักขระ  กร๊าก ฮือๆ~
B: ต้องพูดว่า ความหมายละภาษาสิ  กร๊าก
A: เออ...นั่นละ ภาษา C
B: ไอ้บ้า...ภาษาสิ ไม่ใช่ภาษาซี(C)
A:  ฮี่ๆ ฮี่ๆ ฮี่ๆ ฮี่ๆ ฮี่ๆ ฮี่ๆ


คำว่า "ผี่ออกเบิ่ง" จะบอกว่าในภาษาลาวปัจจุบันแล้ว
มันต้องเป็นรุ่นขลังแบบเก็บกรุแล้วน่ะนั่น
ส่วนมากคนลาวจะมีคำอื่นที่ใช้แทนเพื่อให้เข้าใจง่าย
ในกรณีนี้ใช้คำว่า "เปิดออกเบิ่ง" หมายถึง คลี่ออกมาดู แต่ไม่ได้หมายถึงดูแบบคลี่รายละเอียดมากนัก
นอกจากนั้นยังมีคำอื่นอีกน่ะ ทีแรกพิมพ์แล้วแต่ความหมายมันแปลได้อีกแบบ
ที่สำคัญถ้าจิตคิดลามกมันจะแปลความหมายในเชิงทะลึ่งได้ด้วยก็เลยลบดีกว่า  กร๊าก

จะเล่นภาษาสวีเดนอีกเตือนกันก่อนน่ะ  ฮือๆ~

คำนี้นี่ แถวบ้านผมยังพูดเป็นปกติอยู่เลยนะครับ ที่นิวยอร์คนะ หมีโหด~
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
หน้า: 1 2 3 4 5 6 [7] 8 9 10 11 12 13 14 ... 26
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!