หน้า: [1] 2
 
ผู้เขียน หัวข้อ: Anatomy of Thai Letterform  (อ่าน 40167 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ในกระทู้นี้ผมอยากจะรวบรวมเรื่องราวของ แนวทางการออกแบบ และความรู้ทั่วไปของ โครงสร้างตัวอักษรไทย ไว้เผื่อเกิดประโยชน์ต่อการใช้อ้างอิงในการออกแบบนะครับ ถ้าหากใครที่มีอะไรอยากจะเสริม หรือแย้งก็เชิญได้เลยครับ

เพราะเห็น https://playtype.com/about/typefaces/glossary ตัวละตินเขามี Term เรียกองค์ประกอบต่างๆ ของตัวอักษรแล้ว
แต่ของบ้านเรายังไม่เห็นใครทำออกมาลักษณะแบบนี้เลย จึงอยากจะลองศึกษาแล้วเทียบดูครับ

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 03:36 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
เรื่องของปากตัวอักษร
อักษรไทยตัวแรก ก็บอกเอกลักษณ์ของพยัญชนะไทยได้แล้ว
อักษรไทยมีองค์ประกอบที่จำแนกได้ชัดเจน แค่ไม่กี่อย่าง
ซึ่งองค์ประกอบแรกที่จะกล่าวถึงคือ ปาก หรือ หยัก

เป็นคำถามสำหรับนักออกแบบตัวอักษรรุ่นใหม่ๆ ว่าควรจะใส่หยัก หรือไม่ใส่หยักดี บางคนก็อยากจะลดรูปให้มากที่สุด
เพื่อให้ตัวอักษรดูเรียบและสะอาดตา แต่ทั้งนี้ก็ต้องดูด้วยว่าการตัดปากของตัว ก ส่งผลกระทบต่อตัวอักษรอื่นๆ ที่สัมพันธ์กันด้วยหรือไม่
และจะเกิดคู่สับสนขึ้นด้วยหรือเปล่า เช่น ถ(ไร้ปาก/ไร้หัว) กับ ด(ไร้หัว) เป็นต้น มันอาจจะดูสวยเมื่อพิมพ์แค่คำสั้นๆ แต่เมื่อฟอนต์นั้นได้ถูกนำไปใช้
กับกลุ่มของข้อความที่มีขนาด Point ไม่มาก หรือ ใช้อ่านบนสกรีน (embedded font/web-font) จะทำให้อ่านได้ลำบาก เป็นต้น

หรือถ้าคุณอยากจะฉีกกฎเกณฑ์ สร้างเอกลักษณ์ของคุณเอง ทำตัวอักษรตระกูล ก ไม่มีปาก
แต่คนที่ใช้ฟอนต์ยังสามารถแยกแยะตัวอักษรต่างๆ ได้อย่างถูกต้อง และจัดวางแล้ว ยังสวยงามลงตัว อ่านได้ใจความ ก็สามารถทำได้ครับ
การออกแบบไม่มีกฎที่ตายตัว อาจจะมีเสียงของพวกหัวเก่าค้านบ้าง ก็ไม่เป็นไรครับ ผมถือว่ามันเป็นความท้าทายอย่างนึง





ภาพ ปากของตัวอักษรทั้งชุด



ภาพ ตัวอักษรไม่มีปาก อาจทำให้เกิดคู่สับสน
ที่มา Slide อ.อนุทิน @งาน Granshan 2013
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 05:25 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
เจ๋ง
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์อีกแล้ว
เดี๋ยวเสร็จแล้วจะขอแชร์ + แปะไว้ในห้องสอนฟอนต์นะครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เจ๋ง
ขอบคุณมากครับ มีประโยชน์อีกแล้ว
เดี๋ยวเสร็จแล้วจะขอแชร์ + แปะไว้ในห้องสอนฟอนต์นะครับ

ได้ครับ แต่ผมจะค่อยๆ ทะยอยเขียนนะครับ ขอไประลึกจากสิ่งที่ไปอ่าน กับที่ไปฟังสัมมนา ต่างๆ ก่อน เหมือนมันจะแน่นๆ
อยากให้คนอื่นได้อ่านบ้างครับ เผื่อจะได้เห็นฟอนต์คุณภาพเพิ่มขึ้น
บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
มีหัว ไม่มีหัว
เรื่องหัวของพยัญชนะไทย (ยกเว้น ก และ ธ) เป็นสิ่งที่ฝ่ายอนุรักษ์ กับฝ่ายก้าวหน้า พยายามถกเถียงหาข้อสรุป
โดยฝ่ายอนุรักษ์ก็บอกว่า อักษรไม่มีหัว (loopless form) อ่านยาก ไม่เหมาะสำหรับเอามาจัดวางข้อความ
แต่ฝ่ายก้าวหน้าก็โต้ว่า อักษรไทยเปิดโอกาสให้เราเล่นสนุกกับมันได้มากมายกว่านั้น สามารถ Simplify เพื่อจัดการกับความสูง
เมื่อตัดหัวออกแล้ว ก็ต้องอ่านได้ง่ายด้วย แม้บนสกรีน กรณีล่าสุดคือการที่ Apple ทำการเปลี่ยนซิสเต็มฟอนต์ใน iOS 7
ให้เป็นตัวไม่มีหัว ก็สร้างความชื่นชอบให้กับคนส่วนมาก ในขณะที่บางส่วนก็ยังยึดมั่นว่า แบบเดิมมีหัว (ธนบุรี) อ่านง่ายกว่า
(http://www.macthai.com/2013/07/30/apple-update-thai-font-display-on-ios-7-beta4/)
(http://www.apple.com/th/iphone/)

ทีนี้มาดูว่า หัวในอักษรไทย (The head of the letter/loop leadoff) มีแบบไหนบ้าง นะครับ

หัวในอักษรไทย มี 3 แบบ ครับ คือ หัวเข้า (inner loop) และ หัวออก (outer loop) และหัวขมวด (loop with neck)
องค์ประกอบที่รองรับหัวขมวด สำหรับ ข ซ ช ฃ ก็มีส่วนของคอ (neck) และ หยัก (notch) นั่นเองครับ (ข ช สามารถทำเป็นแบบ outer loop ก็ได้)
ส่วนตัว ห ม น ฬ ฮ ก็จะมีส่วนขมวด (Knot) ครับ
*** หยักตรงกลาง ใน ฬพผฝฟ ขอเรียก ง่าม (crotch) ก็แล้วกันครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 05:39 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ว้าว จู๋ดีมีคุณภาพอีกแล้วครับท่านนน กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

เชิง (Base) กับ ไส้ (Entrails)

เชิงกับไส้ เป็นจุดที่ท้าทายให้ดีไซเนอร์คิดหาวิธีใหม่ๆ ในการออกแบบ เพื่อให้ ฐ ญ ษ (2-stroke letter) มีบุคลิกที่โดดเด่น
โดยอาจจะสัมพันธ์ไปจนถึง เชิง ฎ ฏ ด้วย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 11:18 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
หาง (Tail)
หางของอักษรไทยมีอยู่สามกลุ่มใหญ่ๆ (ปริญญา, 2549)
1 ตัวอักษรกลุ่มหางตรง : ป ฝ ฟ (Ascender) ฤ ฦ ๅ (Descender)

2 ตัวอักษรกลุ่มหางเฉียง : ช ซ (Short-tail) ศ ส (Long-tail)  ------> นักออกแบบที่ทำตัวอักษรไม่มีหัว มักจะเอา ฐ มาใช้กฎข้อนี้ด้วยโดยใช้ จ เป็นฐาน
3 ตัวอักษรกลุ่มหางขมวดตวัด (Loop Tail; Loop Terminal): ฬ ฮ  ------> นักออกแบบที่ทำตัวอักษรไม่มีหัว มักจะเอาสองตัวนี้ไปใช้กฎตามข้อ 2
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 15:36 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
ภาพประกอบสวยมากๆ ครับ กรี๊ดดดดด
คุณลีโอนี่เป็นสุดยอดนักสะสมจริงๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
แหล่มเป็ดมาก ไว้จะมาแจมครับ  เจ๋ง
บันทึกการเข้า

perfectionist
กรี๊ดดดดด วิชาการเต็มๆ
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
3 ขั้นของการเปลี่ยนแปร .. 3 degrees of variation
การแปรรูปอักษร ทำให้เกิดแนวทางใหม่ของการออกแบบโครงสร้างอักษร
โดยอาจจะเรียบง่าย ซับซ้อน หรือ เปลี่ยนมุมมองไปเลย ทั้งนี้ นักออกแบบก็ต้องคำนึงถึง legibility ด้วย
การแปรรูปอักษร พอสรุปได้สามประการ คือ  

ขั้นปฐมภูมิ ตัด

การแปรรูปอักษรขั้นนี้ คือการ ตัดทอนรายละเอียดบางอย่าง แต่รักษาโครงสร้างเดิมมากที่สุด
เพื่อให้ตัวอักษรใช้กฎในการเดินเส้นลดลง อย่างเช่น บ ป ที่ใช้โครงสร้างของ U (ตัดหัว ตัดเหลี่ยม)
การเปลียนหัวกลมของตัวอักษรให้กลายเป็นเพียงแค่ stroke สั้นๆ (พวก inner loop หรือ knot เช่น อ น)

ขั้นทุติยภูมิ ปรับ

การแปรรูประดับนี้ เพื่อลดความซับซ้อนขององค์ประกอบย่อยให้น้อยลง เปลี่ยนแปลงจากรูปแบบดั้งเดิม
ในระดับปานกลาง แต่ยังง่ายต่อการมองและอ่าน ลดปัญหาคู่สับสน

ขั้นตติยภูมิ แผลง

ขั้นนี้คือการเปลี่ยนการเดินเส้นให้แตกต่างจากโครงสร้างเดิมไปเลย โดยอาศัยฟอร์มของอักษรภาษาต่างๆ
รูปแบบอักษรโบราณ หรือออกแบบฉีกกฎเพื่อสร้างความท้าทายใหม่ๆ ให้กับผู้มองตัวอักษร
เช่น ร เป็น S , ห เป็น K , ห ท ที่เอารูปแบบตัวเขียนโบราณมาประยุกต์ เป็นต้น
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.ย. 2013, 13:08 น. โดย Leo Charisma » บันทึกการเข้า

เปลี่ยนแนวคิดเพื่อการใช้ Typography ให้ถูกต้องตามหลักสากล
 ไหว้  กรี๊ดดดดด  ไหว้
บันทึกการเข้า

ติดตาม และช่วยส่งเสียค่าเลี้ยงดูได้ที่ ธรรมดาสตูดิโอ
เรียนแบบมีหลักการคือแบบนี้น่เอง  กรี๊ดดดดด ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ทำฟอนต์ไม่เป็นยังอ่านสนุกเลย กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

<a href="http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf" target="_blank">http://img3.f0nt.com/flash/66d37d0393ee1ab1e2e55182dfabf34e.swf</a>

A Long Patience: Wish Us Luck (and Happy Anniversary)
หน้า: [1] 2
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!