หน้า: [1] 2 3 4 5
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ชวนทำ ฟอนต์เบรลล์  (อ่าน 44846 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
อยากชวนเพื่อนๆมาช่วยทำ ฟอนต์เบรลล์ กันครับ

--เกริ่นที่มาที่ไปก่อน--
ได้มีโอกาสไปทำจิตอาสากับน้องๆผู้พิการทางการมองเห็นมา
โชคดีมากที่ได้คุยกับน้องๆ เด็กๆน่ารักมาก สดใส ร่าเริง
น้องๆเล่นซนตามวัย จะเดินจะวิ่งก็ไม่เห็นจะกลัวล้มอะไรเลย

สิ่งที่ทำคือให้น้องอ่านบัตรคำ แล้วเราก็ดูว่าน้องอ่านถูกต้องไหม


ปัญหาที่พบ คือ มีบางบัตรสะกดอักษรเบรลล์ผิด น้องก็อ่านผิด
พอเราบอกว่าผิด น้องบอกว่า ก็อ่านตามที่สะกดมา พวกเราก็อ่านเบรลล์
ไม่เป็นซะด้วย อ่านได้แต่อักษรไทยปรกติ ต้องหาบัตรคำอื่นที่มีพญัชนะ
เดียวกันมาเปรียบเทียบ ถึงรู้ว่าน้องพูดถูก มีการสะกดเบรลล์ผิดจริงๆ


ทีนี้จะแก้ไขยังไงล่ะ มันไม่ได้พิมพ์ใหม่ง่ายๆอย่างที่เราเขียน หรือพิมพ์กัน
เวลาจะเขียน น้องต้องใช้เครื่องมือเฉพาะเจาะกระดาษให้นูนขึ้นมาเป็น
อักษรเบรลล์ เวลาจะอ่านก็ใช้นิ้วลูบดูว่ามีจุดนูนกี่จุด แทนตัวอักษรอะไร


เป็นความอุสาหะมาก ทั้งการอ่านและการเขียน เพราะการเขียน น้องต้องเขียน
หรือเจาะกระดาษ กลับหลังไปหน้า กลับด้านขวาไปซ้าย เพื่อให้กระดาษนูนขึ้นมา
เวลาอ่าน ค่อยอ่านปรกติแบบเราคือ ซ้ายไปขวา บนลงล่าง สระ วรรณยุกต์ อยู่บรรทัดเดียวกัน


และที่ประหลาดใจเรามาก ก็คือน้องมี computer เล่น และน้องก็ใช้ keyboard
ปรกติแบบของเราได้ เพียงแต่ว่าในเครื่องน้องจะมีโปรแกรมที่พูดว่าน้องกดแป้น key ตัวไหน
จะได้รู้ว่าพิมพ์ถูกหรือไม่


--เข้าเรื่อง--
นั่นทำให้ผมมาคิดว่า ถ้าเรามีฟอนต์อักษรเบรลล์ที่ ทั้งคนตาดีและคนตาบอด
สามารถอ่านด้วยกันได้ มันก็จะง่ายสำหรับคนที่มีจิตอาสา ที่จะช่วยน้องได้ง่ายขึ้น
ไม่ต้องมีความรู้อักษรเบรลล์ก็สื่อสารกันได้ จะมาช่วยสอน หรือสอนการบ้าน ก็ทำได้
อีกทั้งสามารถเอาเอกสารที่เป็น soft file เช่น MS word หรืออื่นๆ มาให้น้องอ่านได้เลย
แค่เปลี่ยนจากฟอนต์ปรกติเป็น ฟอนต์เบรลล์ เท่านั้น
ส่วนน้องๆเอง ก็จะสามารถจะเข้าสังคมได้ง่ายขึ้นพิมพ์อะไรมา คนตาดีก็อ่านออก

จึงได้ออกแบบฟอนต์มา เป็นลักษณะแบบนี้
จากปรกติ


เป็น


ซึ่งมีปัญหาที่ต้องแก้ไขต่อไปคือเรื่องสระของอักษรเบรลล์มีอักษรแทนเสียงด้วย

แต่ปัญหาที่ยิ่งใหญ่กว่า และอยากจะปรึกษาเพื่อนๆ คือ ฟอนต์เบรลล์ จะได้ผล
ก็ต่อเมื่อมีเทคโลยีการพิมพ์ แบบใดๆที่ ทำให้ตรงที่เป็นจุดกลม นูนขึ้นมา
ส่วนที่เป็นเส้น ก็พิมพ์แบนๆเหมือนปรกติ  
ถ้าเป็นไปได้พิมพ์บนกระดาษ A4 ปรกติ ก็ยิ่งดี


ไม่ทราบว่าเพื่อนๆคนใด มีความรู้ มีคนรู้จัก อยากจะให้ดูให้หน่อยครับว่า
มีทางเป็นไปได้ไหม ที่เราจะทำฟอนต์เบรลล์ เพื่อผู้พิการทางสายตาในบ้านเรา
ได้มีโอกาสทางสังคมมาขึ้น ได้มีโอกาสได้เรียนรู้มากขึ้น และที่สำคัญ ได้ขยาย
ขอบเขตของการใช้งานฟอนต์ให้มากขึ้นด้วย

ฝากด้วยนะครับ  ไหว้
uvSOV

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 ก.ย. 2016, 19:36 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า

เรื่องฟอนต์เบรลล์ตอนนี้เทคโนโลยีทางการพิมพ์ ยังไม่สามารถทำได้ครับ

มีแต่เป็นเครื่องพิมพ์เบรลล์ไปเลย ซึ่งสามารถเข้าไปดูเครื่องได้ที่ วิทยาลัยราชสุดา ของทางมหิดลศาลายาครับ

ส่วนเรื่องการแปลภาษาไทยเป็นอักษรเบรลล์นั้น เหมือนว่า มช จะทำได้ใกล้เคียงกับการใช้งานจริงมากขึ้นแล้วครับ
http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9510000025644



บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
เจ๋ง แจ๋วมากเลยครับ





เสนอไอเดียครับ เราทำแบบซับไตเติลแบบนี้ได้ไหม เทคโนโลยีการพิมพ์ปัจจุบันก็ทำได้ครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
เป็นไปได้ไหมครับ ที่จะมีคนพิมพ์หนังสือออกมาในรูปแบบที่มีอักษรเบลล์ด้วย เพื่อให้คนที่ไม่มีปัญหาทางสายตาได้ซื้อด้วยจะได้ลดต้นทุนการพิมพ์
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
โดยส่วนตัวคิดว่าทำได้ครับ อย่างเช่นการสั่งพิมพ์ด้วยเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ก่อน แล้วนำกระดาษที่ว่าไปพิมพ์ซ้ำด้วยเครื่องพิมพ์ปกติก็ไม่น่าจะเกินวิสัยครับ

ส่วนที่ยากผมว่าเป็นการจัดหาเครื่องพิมพ์เบรลล์ซึ่งราคาสูงมาก อย่างเช่นของ index braille ก็เกือบแสนแล้วhttp://www.indexbraille.com/en-us/braille-embossers/basic-d-v5?c=USD กับการสร้างซอฟแวร์ช่วยพิมพ์เพื่อ Export ข้อความจากโปรแกรมเอกสารปกติเป็น script สำหรับเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ (ตรงนี้อาจใช้การสร้าง add-ins บน word หรือทำนองนี้ได้) ครับ

บันทึกการเข้า

My life is me.
เดี๋ยวจะช่วยคิด ทดลองนะครับ
ทางออกอาจจะมีหลากหลายทาง
ช่วยๆกันคิด และลองทำกันครับ
บันทึกการเข้า
ในทางทฤษฎีเป็นไปได้ที่จะใช้แป้นพิมพ์เดียวกันทั้งอักษรไทยและอักษรเบรลล์ไทยครับ แต่ต้องทำฟีเจอร์กันมหาโหดเลย และถึงทำได้โปรแกรมส่วนใหญ่ก็อาจไม่รองรับอยู่ดี เพราะวิธีป้อนตัวอักษรไม่เหมือนกันโดยเฉพาะสระผสม ยกตัวอย่าง เช่น สระเอือ เบรลล์ไทยแค่ใช้โค้ดพอยต์เดียวแล้วพิมพ์ตามหลังพยัญชนะ แต่อักษรไทยปกติต้องป้อนถึง 3 โค้ดพอยต์และมีพยัญชนะคั่นกลาง ถ้าทำฟีเจอร์ OpenType จะลำบากมากๆ เท่าที่ผมเข้าใจเครื่องพิมพ์เบรลล์ต้องมีโปรแกรมและฟอนต์พิเศษถึงจะสะกดได้ถูกต้องครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 20 ก.ย. 2016, 19:20 น. โดย Sungsit » บันทึกการเข้า

เทมเพลตฟอนต์ไทย FontUni https://github.com/fontuni/fontuni/releases
ผมว่าเปลี่ยนจากนูนๆเป็นการเคลือบ spot uv หนาๆหน่อยน่าจะได้นะครับ

ต้นทุนน่าจะถูกกว่าทำนูน
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
ผมว่าเปลี่ยนจากนูนๆเป็นการเคลือบ spot uv หนาๆหน่อยน่าจะได้นะครับ

ต้นทุนน่าจะถูกกว่าทำนูน
เอ้อ​ใช่​ผมลืมไปได้ไงเนี่ย ขอบคุณ​ครับ

แบบี้ก็จะเหลือแค่ทำ add in เพื่อแปลง text เป็น​ vector แล้วออกเป็น pdf​ เลย

แต่แบบนี้ผมไม่แน่ใจว่าในระดับผู้ใช้งานทั่วไปจะทำ​แบบนี้ได้มั้ยครับ?
บันทึกการเข้า

My life is me.
โห้ย เจ๋งมากๆ
นานาคุ้นๆว่า มีนักศึกษา ม.กรุงเทพออกแบบเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์สำหรับครัวเรือนอยู่นะ ราคาต้นทุน4000เองมั้ง ทำเป็น prototype ที่ใช้ได้น่ะแต่ยังไม่ได้ข่าวเรื่องพัฒนาค่อหรือวางขาย

จำได้แต่ชื่อเล่นเค้า ชื่อพลัส ถ้าเสิร์ชข่าวน่าจะเจอค่ะ
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ


เห็นด้วยกับแอนนะ ว่าทำแยกดีกว่า คนธรรมดาก็อ่านง่ายครับ แต่ขั้นตอนจะง่ายหน่อยคือแค่เปลี่ยนฟอนต์เดิมก็ได้เป็นฟอนต์เบลล์

แต่ถ้าจะเอาแบบติดกันเลย  ผมเคยทำตอนฟอนต์ ท่าไม้ตาย2 เทคนิคคล้ายๆทำนองนี้น่าจะเอาไปใช้ได้ครับ
หลักการคือใช้ฟอนต์สองชุดมาประกบกันให้สนิท

บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
ขอบคุณ  ไหว้ ทุกคน ที่ช่วยกันคิด ช่วยกันทำครับ

ผมลองทำตัวอย่าง ภาพสุดท้าย ที่ฝันไว้แบบนี้ครับ



แต่ไม่จำเป็นต้องเป็นแบบนี้นะครับ แบบไหนก็ได้  ขอให้สามารถ สื่อสารได้กับทั้ง น้องๆตาบอด และพี่ๆตาดี ก็พอครับ


หมายเหตุ
ให้ข้อมูลเพิ่มเติม

จากรูปจะเห็นว่า
1. ระยะ ระหว่างบรรทัดของเบรลล์ไทย ค่อนข้างแคบ เพราะว่า อักษรไทยมีสระวรรณยุกต์ พอเรียงเป็นบรรทัดเดียวทำให้เปลืองหน้ากระดาษมาก เช่น เนื้อหาปรกติ 1 หน้า พอพิมพ์เบรลล์อาจจะเป็น 3 หน้า  จึงพยายามยัดให้ได้ใน 1 หน้ากระดาษมากที่สุด

2. กระดาษสำหรับอักษรเบรลล์ จะหนากว่าปรกติ เพื่อให้คงรูป ปุ่มนูน ได้

3. ปัจจุบันมีหลายคนช่วยกันคิดอุปกรณ์ต่างๆมาช่วยน้องๆคนตาบอด เยอะพอสมควร  แต่กระดาษน่าจะมีราคาถูกกว่าอย่างอื่นครับ


เทคโนโลยีที่พอนึกได้  แต่ไม่แน่ใจว่าใช้ได้ไหม
   1. พวก 3d printer มันช่วยได้ไหม เพราะไม่เคยเห็นใครมาใช้กับกระดาษ
   2. สมัยก่อนนู้น ป้ายชื่อโรงเรียน ไม่รู้ใช้อะไรทำ แต่จำได้ว่า เอาความร้อนมาเป่าๆ แล้วมันจะนูนขึ้น  สมัยนี้ยังมีอยู่ไหม


บันทึกการเข้า


เห็นด้วยกับแอนนะ ว่าทำแยกดีกว่า คนธรรมดาก็อ่านง่ายครับ แต่ขั้นตอนจะง่ายหน่อยคือแค่เปลี่ยนฟอนต์เดิมก็ได้เป็นฟอนต์เบลล์

แต่ถ้าจะเอาแบบติดกันเลย  ผมเคยทำตอนฟอนต์ ท่าไม้ตาย2 เทคนิคคล้ายๆทำนองนี้น่าจะเอาไปใช้ได้ครับ
หลักการคือใช้ฟอนต์สองชุดมาประกบกันให้สนิท



ชอบ idea  spot UV ครับ  (แจ๋ว แจ๋ว)
1. เป็นไปได้ไหม ที่จะลองทำ spot UV  อักษรเบรลล์ มาทดลองให้ น้องๆตาบอด ทดสอบดูครับ ว่าน้องเขาเอามือลูบแล้ว แยกแยะได้ไหม  ส่วนที่เป็นนูนที่ขอบรูป อันนี้ชอบมาก น้องๆน่าจะสนุกเลยล่ะ
2. ให้ข้อมูลเพิ่มเติม น้องๆบางคนเขาเห็นสีนะครับ จะมีน้องบางคนที่ไม่เห็นอะไรเลย แต่บางคนเห็นเลือนลาง เห็นสี หรือต้องมองใกล้ๆ หรือตัวอักษรใหญ่ๆ ถึงจะเห็น


บันทึกการเข้า
3D Printer น่าจะแพงมาก(ๆๆๆ)ครับ เป็นเทคโนโลยีที่ก่อรูปงานเป็น 3 มิติ
เป็นคนละแนวคิดกับงานพิมพ์อะไรๆ ลงกระดาษ อย่างที่ว่าว่าการพิมพ์เคลือบยังทำได้ง่ายและถูกกว่ามากๆ

ผมลองค้นดูก็พบว่ามีคนทำนวัตกรรมการพิมพ์แบบหมึกนูนขึ้นมาแล้วครับ

แอบอ้าง



“นวัตกรรม ‘หมึกพิมพ์ลายนูน’ หรือ ‘ทัชเบิ้ลอิงค์’ (Touchable Ink) คือการพัฒนาหมึกพิมพ์ธรรมดาให้มีคุณสมบัติพองตัวได้เมื่อถูกความร้อนในอุณหภูมิที่เหมาะสม และมีความนูนเพียงพอต่อการสัมผัสและรู้สึกได้ถึงรายละเอียดแม้มองไม่เห็น ดังนั้นนวัตกรรม ‘หมึกพิมพ์ลายนูน’ จึงสามารถนำมาใช้พิมพ์อักษรเบรลล์บนกระดาษธรรมดาและทดแทนการพิมพ์ผ่านเครื่องพิมพ์อักษรเบรลล์ที่มีราคาสูงได้ และที่พิเศษยิ่งไปกว่านั้น หมึกดังกล่าว  ยังสามารถพิมพ์เป็นอักษรพิมพ์ปกติ หรือลวดลายอื่นๆ ให้คนตาบอดได้สัมผัสจริงๆ ได้ ซึ่งถือเป็นการเปิดประตูสู่โลกใหม่และเป็นการพลิกโฉมการเข้าถึงความรู้ของคนตาบอด โดยเฉพาะผู้ที่ตาบอดแต่กำเนิดและไม่เคยสัมผัสหลายต่อหลายสิ่งที่คนสายตาปกติเห็นเป็นเรื่องธรรมดา อาทิ สัญลักษณ์ทางคณิตศาสตร์ ลักษณะตัวโน้ต หรือแม้แต่ภาพวาดศิลปะ ดังนั้น  ‘หมึกพิมพ์ลายนูน’ จะเป็นเหมือนกุญแจที่จะเปิดพาพวกเขาไปยังโลกใบใหม่ที่ช่วยให้พวกเขารับรู้สิ่งต่างๆ ได้มากขึ้น ไม่ว่าจะเพื่ออำนวยประโยชน์แก่การใช้ชีวิตประจำวัน หรือเพื่อการเข้าถึงการเรียนรู้ต่างๆ อาทิ ดนตรี คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ หรือศิลปะ ฯลฯ”

“โดยในขณะนี้บริษัท เจ. วอลเตอร์ ธอมสัน ประเทศไทยและภาควิชาเคมี คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้นำนวัตกรรม ‘หมึกพิมพ์ลายนูน’ ดังกล่าวมานำร่องทดสอบให้บริการการพิมพ์แก่สมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทยเป็นที่แรก โดยได้รับการสนับสนุนด้านเครื่องมือและการปรึกษาด้านการวิจัยและพัฒนาเทคโนโลยีจากบริษัท ไทยซัมซุง อิเลคโทรนิคส์ จำกัด  โดยในขั้นต้นจะดำเนินการพิมพ์ที่สมาคมฯ ภายใต้การควบคุมโดยผู้เชี่ยวชาญ
http://www.prachachat.net/news_detail.php?newsid=1461248615

อันนี้น่าจะตอบโจทย์ที่เราคุยกันมาทั้งหมดเลย
ผมว่างานนี้ถ้าคุยกับสมาคมคนตาบอดแห่งประเทศไทย น่าจะได้ข้อมูลที่สาวไปถึงตัวผลิตภัณฑ์นี้ได้ครับ
ส่วนเรื่องฟอนต์ก็น่าจะเป็นงานถนัดอยู่แล้วเนอะ ใจนึงก็ยังเชียร์แบบซับไตเติลนะครับ
เพราะถ้าเราทำตัวปกติให้ใหญ่ตามตัวเบรลล์ กลัวว่าคนตาดีก็จะอ่านแล้วงงไปด้วย ฮ่าๆ ฮือๆ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ใช่ๆ สนับสุนด้านความสวยงามในการอ่านของทั้งคนตาดีและตาบอดครับ

เพิ่มระยะบรรทัดของอักษรเบลล์ แล้วใส่ซับตรงนั้น

ถ้าเอาแบบแยกสระให้ห่าง ก็เป็นการบอกให้ตาดีศึกษาอักษรเบลล์ด้วย
แต่ถ้าไม่แยกก็จะอ่านแบบธรรมดา

เอาเป็นว่าแล้วแต่ความแนวของหนังสือดีกว่าครับ 555 กร๊าก
บันทึกการเข้า

นักเขียนการ์ตูนรายปี
หน้า: [1] 2 3 4 5
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!