หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา  (อ่าน 9561 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้


ฟอนต์ไทย สไตล์ล้านนา ตำรับที่ 1 จารธรรม ใบลาน พับสา กลาง บาง หนา







หลักการออกแบบ แนวคิด

ดัดแปลงพันธุกรรม มาจากอักษรจารใบลานล้านนา


ฟอนต์จารธรรม  ดูผ่านๆอาจเบลอๆ เพราะตัวนี้ ทำยากพอสมควร ทั้งการปรับขยับเขยื้อน ลากๆถูกๆ เนื่องจากว่ารูป
โครงสร้างเน้นเอกลักษณ์เฉพาะให้เหมือนลายเส้นที่จารบนใบลาน จึงทำเส้นบาง เม้าท์จับยากที่สุด เพราะคลิกผิด
เลยเส้นออกนอกตลอด ต้องขยายจนเต็มจอโค้งเรด้าร์ กว่าจะเป็นรูปเป็นร่างได้



ทดสอบสระ-พยัญชนะ ฟอนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา








รวมทั้งหมด 3 สไตล์ กลาง บาง หนา


ข้างล่างนี้เป็นเนื้อหาเก่า...


   พอดีว่า จุดปฏิสนธิ พุ่งหลาวไปทางเหนือ เกือบจะออกไปเส้นตะเข็บชายแดนแล้วเชียว ตะก่อน ทำงานส่วนมากก็ ปากกาหัวตัด พู่กัน
พอมายุคใช้ตัวพิมพ์เกือบจะตามไม่ทันเขา  เข้ามาโหลดฟอนต์ ก็ฟอนต์คอมนี่แหละ ถูกใจ ก็โหลดของฟรีไปใช้เรื่อยๆ  งานตามชนบท
บ้านอก ก็ไม่มีอะไรมาก        งานศพ งานบวช งานแต่ง  ป้ายเล็กๆน้อยๆ  ตามเรื่องตามราวยาวไป    ไม่ได้เร่งรีบแข่งขันประชันกับใคร

รวมเหล่าบรรดาอเวนเจอร์ฟอนต์ ระดับเซียนรวมอยู่ในภาพนี้ (ขอนำฟอนต์ท่านมาประกอบพอสังเขป)




    ผมชอบหาฟอนต์ แบบไทยๆ บ้านๆ มาผสมผสานลวดลาย ไปพร้อมกับคำคมคารมสัจธรรม   เห็นคนอื่น เขาทำกันออกมาได้หลากสไตล์
หลายอารมณ์ คนละมากแนว สุดติ่ง เว่อร์วังอลังการกันทั้งนั้น  ไม่รู้เขาเอาพลังความคิด ความระห่ำ ขยันพากเพียร มานะอดทน มาจากไหน
อัจฉริยะกันจริงๆ  ไม่รู้เราจะทำได้อย่างเขาไหม

   เลยคิดอยากจะทำฟ้อนต์ของตัวเองดูบ้าง  ถึงได้มารู้ถึงความยากลำบาก  และขั้นตอนวิธีการมากมาย  กว่าจะได้แต่ละฟอนต์







เพิ่มเติมเนื้อหาอีกนิด เกี่ยวกับเครื่องมือตวัด อักขระล้านนา



     เหล็กจาร  คืออุปกรณ์การเขียนของล้านนาสมัยโบราณ  มีลักษณะเหมือนปากกา  ด้ามเป็นไม้ หรืองา  หัวเป็นเหล็กปลายแหลม
ไม่มีการเติมหมึก เพราะใช้ปลายเหล็กจิ้มสลักลงไปบนผิววัสดุที่ต้องการจารึก เช่น ใบลาน แผ่นเงิน แผ่นทอง ซึ่งต่อมามีการใช้หมึก
เขียนลงบนผ้า หรือกระดาษสา ที่ง่ายกว่า

คำว่า จาร คือคำกิริยา แปลว่าการสลัก บันทึก หรือเขียน



หลังพุทธปรินิพพานได้ 300 ปี พระเจ้าอโศกมหาราช ได้ทรงส่งพระสมณะทูตเผยแพร่ศาสนา   ลงมาทางตอนเหนือ 9 สาย
9 ประเทศ  รวมถึงประเทศสยามเรา ในเขตสุวรรณภูมิ ซึ่งก็คือทางล้านนา ภาคเหนือตอนบน มีพระเถระ 2 รูป
คือพระโสณะ และพระอุตตระ  หรือที่เรารู้จักท่านว่า หลวงปู่เทพโลกอุดร

นักปราชญ์โบราณ นิยมใช้เหล็กจาร บันทึกคัมภีร์ตำราคำสอนทางพุทธศาสนา อันทรงคุณค่า จารลงในใบลานเก็บรักษา โดย
ใช้ภาษาล้านนา (ตัวเมือง) เรียกว่าเขียนธรรมหรือตัวธรรม ต่อมาเมื่อถูกประเทศที่มีผู้นำชอบอยู่ไม่เป็นสุข  กรีธาทัพบุกมาช่วง
ชิงมหาอำนาจ ฆ่าฟัน เผาทำลาย ศาสนะสถานวัดวาอาราม คำภีร์ตำรา พระพุทธรูป เบียดเบียนพระสงฆ์องค์เจ้า ทำลายที่ยึด
เหนี่ยวทางใจ ล้านนาจึงตกเป็นเมืองขึ้น ก่อนที่จะรวมเข้ากับสยามในภายหลัง

     คำภีร์รุ่นหลัง จึงมีแต่พิธีกรรมความเชื่อ  ตำรายา โหราศาสตร์ ไสยศาสตร์เวทย์มนต์กลคาถา  กราบไหว้วิงวอนบูชาบวงสรวง
ผีสางเทวดาอารักษ์  พระพุทธรูป ไม่ใช่เป็นเครื่องรำลึกถึงคำสอน  แต่กลายเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์    อำนวยอวยโชคลาภวาสนาบารมี
แก้เคราะห์ เสดาะกรรม สืบชะตาราศี ชาวพุทธยุคหลังจึงไม่นิยมทำพฤติกรรม แต่นิยมทำพิธีกรรม เช่นงานสงกรานต์ กฐิน ผ้าป่า
ฉลองสมโภชต่างๆ ทำแล้วสนุกสนานรื่นเริงบันเทิงตับ ไม่ต้องมางดเว้นละบาป เพราะถูกกับจริตนิสัยตามใจตนเอง

มาวันนี้ อยากจะให้ทุกท่านได้ยลโฉม ฟอนต์ไทย สไตล์สายพันธุ์ล้านนาดูบ้าง ไม่รู้จะเข้าตากรรมการบ้างไหม?



ฟ้อนต์ที่มีรูปแบบอัตลักษณ์ล้านนา ให้สีสันบรรยากาศ หอมฟุ้งตลบอบอวลไปด้วยมนต์ขลัง กลิ่นอายดินถิ่นลานช้าง



การใช้งาน ก็ได้ประมาณนี้













เพิ่มเติม ตัวอย่าง การใช้งานฟอนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา แบบตามปกติ



เพิ่มเติม ตัวอย่าง การใช้งานฟอนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา แบบผิดปกติ



แนะนำ ติชมกันได้ เฟซ https://www.facebook.com/profile.php?id=1193349580    พิมพ์หา พอ จะ นะ พจน์ ขอบคุณครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.ย. 2020, 08:30 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
 (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว)
ปรบมือรัวๆ ถูกใจมากครับ  ช่วงนี้ผมกำลังศึกษาตั๋วเมืองอยู่พอดี
เห็นแบบนี้แล้ว ชื่นใจ สวยมากครับ

เป็นกำลังใจให้ครับ  ลันล้า
บันทึกการเข้า
โหเพียบเลย กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 19 มิ.ย. 2019, 13:00 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
ขออนุญาต ต่อแถวจองบัตรปล่อยฟ้อนต์นะครับ

นามฟ้อนต์  SP-Chan Tham  จารธรรม/ SP-Bai lan ใบลาน/SP-Phapsa พับสา
สัดส่วน: Regular / Italic / Bold  กลาง บาง หนา

ตามลิงค์ในกระจู๋  https://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,23854.0.html

รายละเอียด
ฟ้อนต์ ทั้ง3 ชุดนี้ เป็นฟ้อนต์ไทยสไตล์ล้านนา ด้วยผู้ทำเป็นคนเกิดในพื้นที่ภาคเหนือ เลยอยากจะทำอักษรไทยที่มีอัตลักษณ์ทางล้านนา
โดยโครงสร้างรูปแบบ ทำให้มีคุณลักษณะคล้ายกับตัวอักษรล้านนา ที่ลงอักขระด้วยเหล็กจาร  แล้วเพิ่มเป็นตัว กลางและหนา เพราะแบบ
บางอาจจะดูไม่ถนัดนัก หางวรรณยุกต์บนจะขีดตวัดขึ้นยาวๆ จึงมีการทับซ้อนกันบ้าง ตามอักขรวิธีในการเขียนอักษรล้านนา

ข้อมูลการติดต่อ
https://www.facebook.com หรือ พอ จะ นะ  พจน์
อีเมล : xuprawsuphcn@gmail.com

ภาพไอคอนไว้แสดงในหน้าแรกสุด




หรือแบบรวม


ภาพตัวอย่างในการแสดงผลฟอนต์
SP-Chan Tham  จารธรรม






SP-Bai lan ใบลาน




SP-Phapsa พับสา






เพิ่มเติม ตัวอย่าง การใช้งานฟ้อนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา แบบตามปกติ



เพิ่มเติม ตัวอย่าง การใช้งานฟ้อนต์ จารธรรม ใบลาน พับสา แบบผิดปกติ





https://drive.google.com/file/d/1K3lX-WeVP29UU2394yA_FeFuvbTNpzAJ/view?usp=sharing
นำไปใช้ได้ฟรี แต่ให้อยู่ในขอบเขตความดีและคุณธรรม พร้อมทั้งอยู่ภายใต้เงื่อนไขสัญญาอนุญาตของทางเว็บฟ้อนต์

ขอขอบคุณ พื้นที่ของเว็บฟ้อนต์ NP NaipolTemplate คุณแอน คุณ SOV และเหล่าบรรดานักรบฟ้อนต์ทุกท่านที่ชี้แนะ
ด้วยความปรารถนาดีจาก...พอ จะ นะ SP Font
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 ส.ค. 2019, 21:24 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
font สวยดีมีเอกลักษณ์ แต่ตั๋วเมืองผิดไปเยอะ แค่ปรับความเข้าใจเรื่องไวยากรณ์การสะกดอีกหน่อย
บันทึกการเข้า
ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ผมเช็คดูแล้ว พลาดไปจริงๆ ทีแรกพิมพ์อักษรล้านนาด้วยฟ้อนต์ LN TILOK ในโปรแกรม Illustrator CS5 พอดีตอนนั้นมีปัญหา
เรื่องเทมเพลตสระลอย   เลยไปลงวินโดวส์ใหม่   พร้อมเปลี่ยนไปใช้  โปรแกรม Illustrator  CS6   ในการทำพรีเซ้นต์ฟ้อนต์นี้
ข้อดีของ  Illustrator CS5 คือพิมพ์อักษรล้านนาแล้วสามารถปัดหางพยัญชนะตัวซ้อนลงล่างได้    และตัวพิเศษอื่นๆพอสมควร
แต่สำหรับ Illustrator  CS6 ทำอย่างว่าไม่ได้ ฟ้อนต์นอกนั้นยิ่งทำไม่ได้ ผมเลยเห็นว่า ฟ้อนต์ LN TILOK สวยงามกว่า และใช้
ได้ดีระดับหนึ่ง



 พอมาใช้กับ CS6 ลืมไปว่าเวอร์ชั่นนี้ปัดหางไม่ได้ ต้องกลับไปลง CS5 เพิ่ม แล้ว Create Outlines อักษรล้านนา ก็อปปี้
มาลง ที่ CS6 อีกที ดังที่ผมหมายวงเอาไว้ รวมทั้งคำว่า  "ข้าวของ"   ก็เป็นคำพิเศษ  ไม่เป็นไปตามลำดับการพิมพ์บนคีย์
บอร์ด      ผมได้ทำการแก้ไขใหม่แล้วดังแสดงข้างบน  ยังไงก็ขอขอบคุณเป็นอย่างมากครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ส.ค. 2019, 00:30 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
 เจ๋ง เจ๋ง เจ๋ง พอดีผมบ่ค่อยชอบ LN TILOK  เท่าใด แต่ยินดีช่วยทดสอบหื้อเน่อ

ขอบคุณสำหรับคำแนะนำครับ
ผมเช็คดูแล้ว พลาดไปจริงๆ ทีแรกพิมพ์อักษรล้านนาด้วยฟ้อนต์ LN TILOK ในโปรแกรม Illustrator CS5 พอดีตอนนั้นมีปัญหา
เรื่องเทมเพลตสระลอย   เลยไปลงวินโดวส์ใหม่   พร้อมเปลี่ยนไปใช้  โปรแกรม Illustrator  CS6   ในการทำพรีเซ้นต์ฟ้อนต์นี้
ข้อดีของ  Illustrator CS5 คือพิมพ์อักษรล้านนาแล้วสามารถปัดหางพยัญชนะตัวซ้อนลงล่างได้    และตัวพิเศษอื่นๆพอสมควร
แต่สำหรับ Illustrator  CS6 ทำอย่างว่าไม่ได้ ฟ้อนต์นอกนั้นยิ่งทำไม่ได้ ผมเลยเห็นว่า ฟ้อนต์ LN TILOK สวยงามกว่า และใช้
ได้ดีระดับหนึ่ง



 พอมาใช้กับ CS6 ลืมไปว่าเวอร์ชั่นนี้ปัดหางไม่ได้ ต้องกลับไปลง CS5 เพิ่ม แล้ว Create Outlines อักษรล้านนา ก็อปปี้
มาลง ที่ CS6 อีกที ดังที่ผมหมายวงเอาไว้ รวมทั้งคำว่า  "ข้าวของ"   ก็เป็นคำพิเศษ  ไม่เป็นไปตามลำดับการพิมพ์บนคีย์
บอร์ด      ผมได้ทำการแก้ไขใหม่แล้วดังแสดงข้างบน  ยังไงก็ขอขอบคุณเป็นอย่างมากครับ

บันทึกการเข้า
ถ้าจะให้ดู เป็นแบบเบ้าโบร่ำโบราณอดีตกาลนานมาจริงๆแล้ว ต้องเขียนเอง ถึงจะได้อรรถรสและอัตลักษณ์นะครับ
เพราะเราเคยเขียนด้วยมือและเคยเห็นมา แต่พอมาทำเป็นตัวพิมพ์ มันจะมีขีดข้อจำกัดมาเป็นตัวกำหนดกฏเกณฑ์



ตัวเมืองลายมือจริงๆ จะสวยกว่านี้ อันนี้แค่ปลายแถวนะครับ ฝึกทักษะไปในตัว นานทีปีหน ได้เขียน เฉพาะตัวไทย
ลายมือผมก็แย่อยู่แล้ว (อิอิ) (อิอิ)
ฟ้อนต์ตัวเมือง ก็มีหลายท่านที่ทำมา ล้วนมีข้อดี-ด้อย แตกต่างกันออกไป แต่ก็สวยงามทุกฟ้อนต์ เป็นเอกลักษณ์ของ
แต่ละท่าน   อาจไม่ตรงกับความคิดเห็นคุ้นเคยของเรา  แต่ในฐานะที่เขาทำมาก่อน     และที่สำคัญ.....ใช้ของเขาฟรี
ก็ถือว่าเป็นการให้เกียรติเขา กว่าจะทำออกมาได้ ไม่ใช่เรื่องง่ายเลย น่าเป็นสิ่งที่ดี ช่วยกันอนุรักษ์ฟื้นฟูอักขระภาษาไว้
(ทั้งหมดนี้ เป็นเพียงความคิดเห็นส่วนตัวนะครับ)

หากผมมีปัญหาขัดข้องอันใด ก็จะขอรบกวนปรึกษาบ้างนะครับ กราบขอบพระคุณอีกครั้ง
บันทึกการเข้า
เพิ่มอีกนิด
ผมกลับไปทบทวนดูว่า ทำไมผมชอบใช้แต่ฟ้อนต์ LN_TILOK ทำไมไม่ใช้ฟ้อนต์อื่นบ้าง ซึ่งฟ้อนต์ล้านนา ท่านผู้สร้างก็มากมาย
เช่น  lannawor,Cr  สำหรับฟ้อนต์ Cr มีผู้สร้างสรรค์ หลายท่าน ที่ผมชอบอยู่ คือ Cr-Father รูปแบบสวยดี  (พอดีไม่มีโปรแกรม
พิมพ์ทดสอบ ขออภัย)  เพราะนานแล้ว ผมจึงลืมสาเหตุ
กลับมาทดลองดูอีกที ปรากฎว่า ฟ้อนต์ LN รองรับโปรแกรมใหม่ๆได้ดีระดับกลาง แต่ใหม่ขึ้นไปกว่านั้น ใช้ไม่ได้ ตอนนี้รู้สึกว่า
จะเป็น LN_TILOK_V.6_05 ใช้กับ AI CS 5 และ Word 2010  ปัดหางได้ ส่วน AI CS 6 ขึ้นไปใช้ไม่ได้ อย่างที่ว่าข้างบน
ส่วนฟ้อนต์นอกนี้ โปรแกรมมองไม่เห็นเอาเสียเลย เลยไม่มีตัวอย่างให้ดู เจ้าของเขาคงไม่อัพเดทให้รองรับโปรแกรมใหม่ๆ

ตัวอย่างฟ้อนต์ LN_TILOK ที่ใช้ใน  Word 2010



ตัวอย่างฟ้อนต์ LN_TILOK ที่ใช้ใน AI CS5



หมายเหตุ
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยของฆราวาส

มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยของสงฆ์

หากคุณ SOV นำฟ้อนต์ล้านนาที่เหลือ ไปลงยูนิโค้ตฟีเจอร์ใหม่ เหมือนกับฟ้อนต์ธรรมอีสาน คงจะดีน่าใช้ขึ้นมากเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 05 ส.ค. 2019, 21:27 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า

หากคุณ SOV นำฟ้อนต์ล้านนาที่เหลือ ไปลงยูนิโค้ตฟีเจอร์ใหม่ เหมือนกับฟ้อนต์ธรรมอีสาน คงจะดีน่าใช้ขึ้นมากเลย


ปัญหาคือผมต้องขออนุญาต เจ้าของฟอนต์ก่อนครับ  แต่ผมเพิ่งเจอแค่เจ้าของฟอนต์ LN ครับ  และได้ขอไปแล้ว ท่านอนุญาตแล้ว
ส่วนฟอนต์อื่นๆ ผมชอบ Cr หลายๆตัว  จะพยายามตามหาเจ้าของฟอนต์เพื่อไปขออนุญาตครับ

ตอนนี้ รองรับแค่ภาษาบาลีครับ  ได้พระอาจารย์ keenman ช่วยตรวจสอบให้ พบจุดผิดแล้ว กำลังปรับปรุงครับ
ส่วนตัวเมือง กำลังเริ่มศึกษาเดี๋ยวคงต้องปรึกษาหลายท่านเลย ขอบคุณล่วงหน้า..ถือว่ารับปากช่วยแล้ว  คริคริ คริคริ
บันทึกการเข้า
ขอขอบคุณล่วงหน้าแทนคนล้านนาทุกคนไว้ก่อนครับ  ไหว้ ไหว้ กับคุณ SOV  รู้อยู่ครับว่างานหิน เห็นท่านก็งานเยอะอยู่มาก
คงต้องใจเย็นๆทะยอยค้นหาข้อมูลมากพอดู  ต้องใช้เวลานานเลย ผมจะคอยเป็นกำลังใจด้วยคน แต่ไม่เร่งเร้านะครับ ดูไปเรื่อยๆ
บันทึกการเข้า
ปัญหาคือผมต้องขออนุญาต เจ้าของฟอนต์ก่อนครับ  แต่ผมเพิ่งเจอแค่เจ้าของฟอนต์ LN ครับ  และได้ขอไปแล้ว ท่านอนุญาตแล้ว
ส่วนฟอนต์อื่นๆ ผมชอบ Cr หลายๆตัว  จะพยายามตามหาเจ้าของฟอนต์เพื่อไปขออนุญาตครับ

ตอนนี้ รองรับแค่ภาษาบาลีครับ  ได้พระอาจารย์ keenman ช่วยตรวจสอบให้ พบจุดผิดแล้ว กำลังปรับปรุงครับ
ส่วนตัวเมือง กำลังเริ่มศึกษาเดี๋ยวคงต้องปรึกษาหลายท่านเลย ขอบคุณล่วงหน้า..ถือว่ารับปากช่วยแล้ว  คริคริ คริคริ



ได้แต่เอาใจช่วยเพราะทำไม่เป็น อะไรพอช่วยได้ก็ยินดีเป็นอย่างยิ่งนะครับ
บันทึกการเข้า
ผู้ที่ชำนาญเรื่องฟ้อนต์ล้านนา  เจ้าของภาษาจะได้เปรียบกว่า เพราะสำเนียงเสียงคำพูดสูงต่ำ จะช่วยให้เราเขียนได้ตรงกับภาษา
มากที่สุด  การอ่านถือว่ายังง่ายกว่า เพราะหากวรรณยุกต์ตกหล่นลืมไป ก็ยังพอที่จะคาดเดาเนื้อเรื่องได้ แต่พอมาถึงเรื่องการเขียน
ด้วยมือ ก็ยิ่งต้องมีทักษะเพิ่มมากขึ้น  ส่วนผู้ที่พิมพ์ออกมาได้ ก็ต้องมีทักษะความชำนาญผ่านทั้งการอ่านการเขียนกว่าข้างต้นนั้น
แต่สำหรับผู้ที่สร้างฟ้อนต์ ให้พิมพ์ออกมาได้ถูกต้องแม่นยำ ยิ่งต้องมีความสามารถรอบรู้หลายด้านสูงกว่าหลายเท่า

อันนี้ เป็นการวิเคราะห์ส่วนตัว อาจจะไม่จริงเสมอไป  เพราะผมเองจากที่เป็นคนทักษะน้อยอยู่แล้ว ก็ถอยล่นลงไปเรื่อยๆ  ฮี่... ฮี่...
เป็นเหมือนภาษิตล้านนาว่า " ของบ่กิ๋นฮู้เน่า  ของบ่เล่าฮู้ลืม "

ฟ้อนต์ของท่าน " keenman " ก็ดูสวยเป็นเอกลักษณ์ล้านนามาก มีหัวเหมือนฟ้อนต์ จารธรรม ใบลาน พับสาเลย
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 07 ส.ค. 2019, 22:37 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!