หน้า: 1 [2]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ธรรม ..ไม่ทำฟอนต์  (อ่าน 17113 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ฟอนต์ CR_Insom_Lanna





คู่มือ

https://www.facebook.com/groups/119961214829434/permalink/1363122973846579/

บันทึกการเข้า
ชื่อฟอนต์ : CR_Insom_Lanna

ลิงก์ : https://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,23855.15.html

ข้อมูลการติดต่อ : https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich

 ภาพตัวอย่าง :




 ภาพไอคอน :


 ภาพโปสเตอร์ :



 รายละเอียด :
ฟอนต์ชุดนี้เป็นฟอนต์อักษรธรรมล้านนา(ตั๋วเมือง)ที่พัฒนาต่อยอดจากฟอนต์ CR_Insom 3 version โดยปรับ 3 เรื่องใหญ่
1. ย้ายชุดอักษรไปไว้ที่ TaiTham unicode เพื่อให้สามารถรับการพิมพ์จากแป้น TaiTham และแสดงผลร่วมกับฟอนต์ตระกูลไตอื่นๆได้
2. ทำให้รองรับการพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ไทย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งศึกษาอักษรธรรมล้านนา (เช่นผม) ที่ยังไม่คุ้นการเขียนตั๋วเมือง  ..แต่หากชำนาญแล้ว แนะนำให้ไปใช้แป้น TaiTham จะเป็นมาตรฐานกว่าครับ
3. การพิมพ์ภาษาบาลี ให้พิมพ์แบบใช้พินทุ โดยเปลี่ยนเป็นฟอนต์ตัวหนา (bold) หรือเปลี่ยนไปใช้ฟอนต์ CR_Insom_Pali

คูมือ : https://www.facebook.com/media/set/?set=a.10218405443720497&type=3

download font : https://mega.nz/#!6ZYjCA4Z!Y_Ed5xlBszllwi06UPP7Y1bCyz73AwqElsOF-l4v-ws
 
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย หากมีข้อผิดพลาดรบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
uvSOV
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 29 ธ.ค. 2020, 15:06 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ฟอนต์ VS_Tham_Lanxang




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 ม.ค. 2020, 12:00 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ชื่อฟอนต์ : VS_Tham_Lanxang

ลิงก์ : https://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,23855.16.html

ข้อมูลการติดต่อ : https://www.facebook.com/worawut.thanawatanawanich

ภาพตัวอย่าง :

 ภาพไอคอน :


 ภาพโปสเตอร์ :




 รายละเอียด :
ฟอนต์ชุดนี้เป็นฟอนต์อักษรธรรมล้านช้าง ที่พัฒนาต่อยอดจากฟอนต์ VS ThamBali1(thamb1.ttf) โดยปรับ 4 เรื่องใหญ่
1. ย้ายชุดอักษรไปไว้ที่ TaiTham unicode เพื่อให้สามารถรับการพิมพ์จากแป้น TaiTham และแสดงผลร่วมกับฟอนต์ตระกูลไตอื่นๆได้
2. ทำให้รองรับการพิมพ์ด้วยแป้นพิมพ์ไทย สำหรับมือใหม่ที่เพิ่งศึกษาอักษรธรรมล้านช้าง อักษรธรรมอีสาน (เช่นผม) ที่ยังไม่คุ้นการเขียนอักษรธรรม  ..แต่หากชำนาญแล้ว แนะนำให้ไปใช้แป้น TaiTham จะเป็นมาตรฐานกว่าครับ
3. ปรกติอักษรธรรมอีสาน ไม่ใช้วรรณยุกต์ แต่ฟอนต์นี้ทำไว้รองรับการพิมพ์วรรณยุกต์ เอก โท ได้
4. การพิมพ์ภาษาบาลี ให้พิมพ์แบบใช้พินทุ โดยเปลี่ยนเป็นฟอนต์ตัวหนา (bold) หรือเปลี่ยนไปใช้ฟอนต์ VS_Tham_Pali

คูมือ : https://www.facebook.com/media/set/?set=ms.c.eJxVkUmORTEIA2~%3BUoswQcv~_LfWXRkt~_2ZIwxhNiKrjlVxI0~%3B~%3BsmRAsV1koNIJ3eQ1kg~_TX5IFSpznpMi9rjm~_bQ7VxTq9qkKYj1PvV2TrrkD4WSjINxnc4CPph9ZJ1Mgz3yf8ydhVMCUk1k4OGnB~_KXEwroGFWz7XWfQ8V0diz5T~%3BfpZ~%3Bxcvz6ef3kDXCVco5Jo7pDd2JkWiHzuaa10~-.bps.a.10218405467281086&type=3

download font : https://mega.nz/#!CVITBYRT!O405M6LFprvdHpnlA2jFCK7Dk7nEVuBqHt7YOb-Lxu0
อนุญาตให้นำไปใช้ได้ไม่มีค่าใช้จ่าย หากมีข้อผิดพลาดรบกวนแจ้งให้ทราบด้วยนะครับ

ขอบคุณครับ
uvSOV
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 มี.ค. 2020, 14:33 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
รบกวนคุณแอนครับ

มีคนหาคำที่แสดงผลผิดของฟอนต์เจอ..  (เคหวตฺถุมฺหิ)

ทำการแก้ไขให้แล้ว

CR_Insom  https://drive.google.com/file/d/1DwvXepQXZBS_7fQRd2DNa-y53B5_rA56/view?usp=sharing

VS_Tham  https://drive.google.com/file/d/1BfvhkOBRDJjlHzHinNz__12wNCf7D8Sx/view?usp=sharing
บันทึกการเข้า
เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
28 สิงหา 2565 บันทึกเพิ่มเติม

ได้พบข้อมูลเกี่ยวกับการทำฟอนต์ล้านนา เมื่อ 32 ปีที่แล้ว
และได้ข้อมูลผู้สร้างฟอนต์ตระกูล cr แล้ว ( ลันล้า :33:ดีใจ หานานมากไม่เจอเลย)

click เข้าไปอ่านที่นี่
https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid02Vg4BnYccBcTjnpmLdm1gMiDxHVsmKVAneCy6VLA351pmFM3Q61T41jeFTYLuBKQUl&id=109878511712356

32 ปี การประดิษฐ์ฟอนต์อักษรธรรมล้านนาลงบนระบบคอมพิวเตอร์
 นับตั้งแต่เริ่มมีการตีพิมพ์เอกสารที่ใช้อักษรธรรมล้านนาในการบันทึก ช่วงปี พ.ศ. ๒๓๗๙ โดยคณะมิชชันนารีชาวอเมริกัน เพื่อเผยแพร่คัมภีร์และบทสวดของศาสนาคริสต์ นี่คือจุดเริ่มต้นของเส้นทางพัฒนาการอักษรธรรมล้านนาอีกสายหนึ่ง คือพัฒนาผ่านระบบการพิมพ์ ซึ่งในขณะนั้นโดยส่วนใหญ่ อักษรธรรมล้านนาจะนิยมใช้วิธีการเขียนลงบนกระดาษหรือจารลงบนใบลานบ้าง เพื่อบันทึกองค์ความรู้เป็นส่วนใหญ่ อาจจะมีการจารึกลงวัตถุอื่น ๆ บ้าง แต่ก็ตามโอกาสพิเศษต่าง ๆ การที่ตีพิมพ์อักษรธรรมล้านนาในช่วงเวลานั้น ก็นับได้ว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่เข้ามา ถึงจะไม่ได้รับความนิยมมากเท่ากับการบันทึกลงกระดาษหรือใบลานที่ปรากฏหลักฐานการบันทึกมากกว่าเอกสารสิ่งพิมพ์ อาจจะเนื่องด้วยช่วงเวลานั้น เป็นช่วงที่อักษรธรรมล้านนาเริ่มเสื่อมความนิยมลง จากการเข้ามาของอักษรไทย เอกสารสิ่งพิมพ์ที่เข้ามาก็มีการพิมพ์เป็นอักษรไทย ประกอบกับความคุ้นชิน อิสระในการเขียน หรือความสะดวกในการเข้าถึงเอกสาร ส่งผลให้เอกสารสิ่งพิมพ์ที่บันทึกด้วยอักษรธรรมล้านนา จึงไม่ค่อยได้รับความนิยม จนค่อย ๆ หายไปจากความรับรู้ของคนในสังคมพร้อม ๆ กับอักษรธรรมล้านนา
 ในปี พ.ศ. ๒๕๒๙ ศ. ดร.อุดม รุ่งเรืองศรี จากภาควิชาภาษาไทย คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ได้เริ่มจัดทำพจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวงขึ้น เพื่อรวบรวมคำศัพท์ต่าง ๆ ของล้านนาไว้ให้มากที่สุด โดยช่วงแรกของการรวบรวม ยังคงใช้เครื่องพิมพ์ดีดในการจัดการข้อมูลอยู่ จนได้รับเครื่องคอมพิวเตอร์มาช่วยในการจัดการข้อมูลจากทางธนาคารไทยพาณิชย์ จึงได้มีความคิดริเริ่มที่จะจัดทำฟอนต์อักษรธรรมล้านนา เพื่อนำมาใช้อธิบายประกอบคำศัพท์ในพจนานุกรม ซึ่งแต่เดิมงานวิชาการที่เขียนด้วยอักษรธรรมล้านนาในช่วงแรก จะเป็นการเขียนลงกระดาษแล้วนำไปโรเนียวเป็นหลัก ซึ่งมีความยุ่งยากและวุ่นวาย การทำฟอนต์อักษรธรรมล้านนาขึ้นนั้น จะช่วยสร้างความสะดวกสบายในการจัดทำพจนานุกรมเล่มนี้ได้เป็นอย่างมาก
 จึงได้เชิญ อ.ทวี สว่างปัญญางกูร ผู้เชี่ยวชาญด้านอักษรธรรมล้านนา ซึ่งเป็นเจ้าของลายมือในจารึกที่อนุสาวรีย์สามกษัตริย์ อ.พิจักขณ์ ลิ้มประสูตร ผู้เชี่ยวชาญด้านคอมพิวเตอร์ เป็นผู้ผลิตฟอนต์ มาเป็นแกนนำหลัก และได้เลือกเอาลายมือของ อ.แสวง ใจรังสี หนึ่งในคณะจัดทำพจนานุกรมชุดแรก มาเป็นลายมือต้นแบบในการผลิตฟอนต์ โดยจัดทำฟอนต์เสร็จ ในวันนี้เมื่อ 32 ปีก่อน คือวันที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2533 โดยใช้ชื่อฟอนต์ว่า "อุดม-ทวี-พิจักขณ์"
 นับว่าเป็นหมุดหมายสำคัญของการศึกษาอักษรธรรมล้านนาในยุคสมัยใหม่เป็นอย่างยิ่ง และฟอนต์ชุดนี้ก็ได้เป็นต้นแบบให้ฟอนต์อีกหลายชุดในสมัยต่อมา ไม่ว่าจะเป็น "LN_Tilok" ของคุณพิชัย แสงบุญ "lannaworld" ของคุณประเสริฐ เกิดไชยวงศ์  "cr-udom" ของ อ.ชรินทร์ แจ่มจิตต์ "pali_tilok" ของคุณวรวุฒิ ธนวัฒนาวนิช เป็นต้น
อ้างอิง
 แสวง ใจรังสี. แผนการสอน รายวิชา ภาษาล้านนา ท4001 ระดับชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 4. เอกสารแผนการสอน รายวิชา ภาษาล้านนา ท4001 โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. (เอกสารอัดสำเนา).
 แสวง ใจรังสี. หลักสูตรภาษาล้านนาหรือตั๋วเมือง. เอกสารหลักสูตร โรงเรียนน้ำดิบวิทยาคม จังหวัดลำพูน. (เอกสารอัดสำเนา).
 สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. LN TILOK version 6.00. เข้าถึงเมื่อ 1 พฤศจิกายน 2551. เข้าถึงได้จาก http://art-culture.chiangmai.ac.th/.
 อุดม รุ่งเรืองศรี. พจนานุกรมล้านนา-ไทย ฉบับแม่ฟ้าหลวง. กรุงเทพฯ : มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง, 2534.
 uvSOV. ชุดฟอนต์อักษรธรรม. เข้าถึงเมื่อ 17 สิงหาคม 2565. เข้าถึงได้จาก https:///release/sov-tham/.
บันทึกการเข้า
โห โห ขอบคุณครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
หน้า: 1 [2]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!