หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ ขอูปแก้ว  (อ่าน 2049 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
สวัสดีอีกคำรบหนึ่ง.........................



ฟอนต์ไทยสไตล์ล้านนา ตำรับที่ 5 มีนามว่า SP-Khaup kaeo ขอูปแก้ว



ฟอนต์ SP-Khaup kaeo ขอูปแก้ว อักษรที่มีความแหลมคม ฝังรากบาดลึกถึงอารมณ์ ดื่มด่ำจมดิ่งลงไปที่ใจ
อะไรทำไมจะปานนั้น







เบื้องหลังการออกแบบ



ครั้งล่าสุดนี้ ก็แก้ไขกันอยู่หลายจุด หลายตัว ปรับหัวปรับหาง พร้อมทั้งใส่ Template ใหม่ จัดช่องไฟ ทำให้ละเอียดกว่าเดิม



ความหมายของคำว่า " ขอูปแก้ว"



คำว่า "ขอูป" เป็นภาษาล้านนา ใกล้เคียงกับคำว่า สถูป/เจดีย์/ผอบ(ผะ-อบ) หมายถึง สิ่งที่บรรจุไว้ซึ่งของควรค่าแก่การบูชา
เพี้ยนมาจากคำว่าพระ อ่านเป็นขะ โอษฐ์ กลายเป็นอูป   โอษฐ์=โอฏฺฐ แปลว่า ปาก ขอูปแก้ว ความรวม หมายถึง จากปากที่
พูดสิ่งดีๆอันประเสริฐ กาลต่อมา ก็กลายเป็นสถูปเจดีย์ ที่ใช้บรรจุพระธาตุแก้ว สิ่งที่กอร์ปด้วยคุณค่าในทางพระพุทธศาสนา

    บุคคลที่บรรลุธรรม เข้าสู่กระแสทางมรรคผล ในทางพระพุทธศาสนา ก็เนื่องจากว่าได้สดับรับฟังสัจธรรมคำสอน ไม่ว่าจะได้
ฟังจากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าโดยตรง หรือได้ฟังมาจากศิษย์สาวกของพระองค์ หากคำสอนนั้น (ไม่ได้แต่งเติมมาภายหลัง
หรือมาจากความเชื่อเรื่องพิธีรีตอง) ได้ซึมซาบผ่านทางโสตปราสาท ล่วงลงเข้าไปสู่ใจ กลั่นกรองด้วยวิจารณญาณของตนอัน
แยบคาย   (ล่วงพ้นสามัญสำนึกปัญญาทางโลก และสัญญาความจำ) เข้าไปขจัดทำลาย อวิชชา ตัณหา อุปาทาน  ภายในใจ
ได้อย่างราบคาบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดแล้ว เป็นผู้อยู่เหนือโลกไม่มีมารพรหมเทพองค์ใดที่ไหนจะมาลิขิตเขา  พ้นจากการเวียนว่าย
ตายเกิดในสังสารวัฏฏ์เสียได้ นั่นจึงจะได้ชื่อว่า ได้สดับรับฟังธรรมจากพระโอษฐ์โดยตรง  หรือมาจาก   "ขอูปแก้ว"    นั่นเอง
    ปัญญาในทางพระพุทธศาสนา หมายเอา ความฉลาดสามารถเอาตัวรอด  ให้หลุดพ้น จากเงื้อมมือของพระยามาร  คือบาป
กรรมสิ่งชั่วร้ายต่างๆ เป็นพิษภัยเกิดขึ้นกับใจ ที่จะนำไปสู่อบายภูมิได้  ต่างจากปัญญาความรู้ทางโลก ที่ต่างคนต่างเดินดิ้นวิ่ง
รนแสวงหาใคว่คว้ายื้อแย่งแข่งขันประกวดประชัน  ต้องลงทุน  ทุ่มทุนสร้างเพื่อโชคลาภอำนาจวาสนาหน้าตาในสังคมให้คน
ยอมรับ เพื่อเงินทอง ทรัพย์สมบัติความสุขโลกีย์  คำสรรเสริญเยินยอ  ซึ่งต้องเป็นทุกข์ในการแสวงหา  รักษาเยียวยาเอาไว้
(ขึ้นหลังเสือแล้ว  ลงไม่ได้ กลัวถูกเสือกัด)



    ถึงแม้ใครก็ตาม จะมีปัญญาสามารถ ทรงจำท่องบ่นสวดมนต์ตามคัมภีร์ตำรา ทั้งหมดในพระไตรปิฏกก็ตาม หรือแม้กระทั่งได้
เกาะชายจีวรเดินตามพระองค์ไป แต่กิเลสในใจ ไม่ได้เบาบางลดลง ก็ไม่ได้ชื่อว่าเห็นพระพุทธเจ้า (ยิ่งผู้ที่นำคำสอนไปเป่าปลุก
เสก สเดาะห์เคราะห์รดน้ำมนต์ ก็ไม่มีประโยชน์อันใดต่อใจ กลับจะเพิ่มอุปทานในใจให้หนาแน่นขึ้น)

   สมัยพุทธกาล ใช้วิธีมุขปาฐะ คือท่องจำกันปากต่อปากคำต่อคำ อาจารย์ ได้สดับมาจากพระพุทธเจ้า  แล้วนำมาสอนสั่งศิษย์
และศิษย์ก็สอนต่อกันไปเรื่อยๆ คือบอกต่อๆกันไป เหมือนกับเราท่องอาขยานสูตรคูณกัน   ซึ่งต่อมาจึงมีการนำเอาพระธรรมคำ
สอนที่มีบุคคลได้ฟังแล้วบรรลุธรรม เข้ามารวบรวมกันไว้ ได้มากถึง 3 ตระกล้า (ไตร หรือ ติ แปลว่า 3 / ปิฏก แปลว่า ตระกล้า)




ทดสอบ สระ-พยัญชนะ ฟอนต์ ขอูปแก้ว





ทดสอบ ภาษาอังกฤษ



ตัวอย่าง การใช้งานฟอนต์ ขอูปแก้ว







ปรับแต่งแก้ไข ครั้งล่าสุด 9-7-62 ดังตัวอย่าง





แนะนำติชมกันได้เช่นเคย  พอ จะ นะ ขอบคุณครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 ส.ค. 2020, 19:12 น. โดย พอ จะ นะ » บันทึกการเข้า
เอาจริงก็อยากเห็นเวอร์ชั่น clean ด้วยนะครับ 5555
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!