หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: มณีษร (Manison)  (อ่าน 1709 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ชื่อ : มณีษร (Manison)
ลิงค์ : https://www.f0nt.com/forum/index.php/topic,24103.0.html

icon:



poster & specimen :









---------------

Manison เป็นฟอนต์แบบเซอริปที่ความเปรียบต่างสูง จึงเหมาะกับการผาดหัว หรือคำโปรยสั้นๆ
ฟอนต์นี้อยากเติมลูกกลมๆ (Ball Terminal) ที่ส่วนปลาย และใส่ความพริ้วไว้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าตัวก่อนหน้า ว
าดตัวอักษรสำหรับตัวเอียงของทั้งละตินและไทย พร้อมเพิ่มความกว้างเป็น 5 ความกว้าง มีทั้งหมด 90 สไตล์

ชื่อ Manison มากจากสองคำ คือ มณี และ อักษร
มณีเป็นหินมีค่าสวยงามและเป็นเครื่องประดับบวกกับคำว่าอักษร ให้ความหมายว่า "อักษรอันสวยงามล่ำค้า"

---------------------------------

ออกแบบโดย : อานุภาพ ใจชำนาญ
website : www.jipatype.com

---------------------------------

สัญญาอนุญาตซึ่งแบ่งออกเป็น
  • Desktop License
  • Web License
  • App License
อ่านเพิ่มเติมได้ที่ https://www.jipatype.com/commercial-license

---------------------------------

ซื้อสิทธิ์การใช้งาน / ดาวน์โหลดเวอร์ชั่นทดลอง :
  • น้ำหนัก Regular
  • อนุญาตให้ใช้ได้ในงานส่วนบุคคลที่ไม่ก่อเกิดรายได้
  • มีเฉพาะอักษรไทยเท่านั้น
  • https://www.jipatype.com/manison
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 18 มิ.ย. 2020, 08:51 น. โดย Jipatype » บันทึกการเข้า








---------------

ขออนุญาตใช้พื้นที่ครับ

Manison เป็นฟอนต์แบบเซอริปที่ความเปรียบต่างสูง..มาก จึงเหมาะกับการผาดหัวมากกว่า
ที่จะใช้เป็นเนื้อความ ก่อนหน้าก็ได้ทำฟอนต์แบบเซอริฟมาแล้ว ฟอนต์นี้อยากเติมลูกกลมๆ (ไม่รู้เรียกว่าอะไร)
ที่ส่วนปลาย และใส่ความพริ้วไว้ให้มากยิ่งขึ้นกว่าตัวก่อนหน้า วาดตัวอักษรสำหรับตัวเอียงของทั้งละตินและไทย
พร้อมเพิ่มความกว้างเป็น 5 ความกว้าง มีทั้งหมด 90 สไตล์

ชื่อ Manison มากจากสองคำ คือ มณี และ อักษร
มณีเป็นหินมีค่าสวยงามและเป็นเครื่องประดับบวกกับคำว่าอักษร ให้ความหมายว่า "อักษรอันสวยงามล่ำค้า"

technical Term:
ฟอนต์มีการจัด Kerning สำหรับตัวอักษรไทยหลายคู่ โดยปกติแล้วไม่ค่อยมีการจัดกัน (คิดว่างั้น)
จะมีการจัด Kerning แบบปกติเหมือนตัวละติน และจัดแบบ Contextual Kerning สำหรับ
อักษรที่มีการพิมพ์สระหรือวรรณยุกต์บนล่างคู่กับพยัญชนะ ให้มีการ Kern เข้าหากัน
Kerning แบบปกติแล้วหากพิมพ์สระหรือวรรณยุกต์จะเสียการ Kern ไป

ตัวอย่างการเขียน Kerning แบบปกติ

โค้ด:
feature kern {
pos nonuthai nonuthai -20;
} kern;

ตัวอย่างการเขียน Contextual Kerning

โค้ด:
feature kern {
pos nonuthai saraiithai' -20 nonuthai;
} kern;

โดยจัด Kerning แบบปกติก่อน จากนั้นใช้ Python เขียนสคริปแปลง Kerning แบบปกติให้เป็น Contextual Kerning
โดยเรากำหนดว่าอักษรคู่ไหนที่ต้องการทำการแปลงโดยกำหนดเป็น Array List

["พยัญชนะN,,", "สระหรืออวรรณยุกต์N..", "ตัวสะกดN.."]
หรือ
["พยัญชนะN,,", "สระN..", "อวรรณยุกต์N..", "ตัวสะกดN.."]

เขียนสคริปให้ตรวจเช็คว่า อักษรตัวแรกกับอักษรตัวสุดท้ายมีค่า Kerning อยู่หรือไม่
ถ้ามีให้เขียน ot featuare file โดยดึงตัวอักษรระว่างตัวแรกกับตัวสุดท้ายมาทำ Contextual
และกำหนดค่า kerning ลงไป

ผลลัพจะได้ไฟล์ .fea
โค้ด:
languagesystem DFLT dflt;
languagesystem latn dflt;
languagesystem thai dflt;

feature kern{
pos [nonuthai..] [saraiithai..]' -20 [nonuthai..];
.
.
}kern;

---หรือ--

feature kern{
pos [nonuthai..] [saraiithai..] [maithothai..]' -20 [nonuthai..];
.
.
}kern;


แล้วเราก็ import เข้า fontforge


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 12 เม.ย. 2020, 19:33 น. โดย Jipatype » บันทึกการเข้า
ชุดนี้ดูแพง  ลันล้า   (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว) (แจ๋ว แจ๋ว)
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 13 เม.ย. 2020, 18:49 น. โดย uvSOV » บันทึกการเข้า
ราคาไม่เหมือนหน้าตาครับ  หื่น หื่น หื่น
บันทึกการเข้า
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!