หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ฟอนต์ไทยที่ดี (แตกหน่อ)  (อ่าน 72473 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
แกะรอยอักขระไทย

คุณปริญญา โรจน์อารยานนท์
Design Director DB designs Co.,Ltd.

จากการบรรยายเรื่อง "ความรู้พื้นฐานของการออกแบบตัวพิมพ์ไทย"
18 มีนาคม 2549 ณ กรมทรัพย์สินทางปัญญา

ร่วมสะกดรอยตามโดยปลาวาฬ
ผิดพลาดหรือคลาดเคลื่อนก็ขออภัย เพราะจับใจความด้วยปลาตัวเดียว

TYPE IS TO READ.

ลักษณะตัวเนื้อความที่ดี
  • เมื่ออ่านไปเรื่อยๆ จะลืมว่าหน้าตาของแบบตัวพิมพ์เป็นอย่างไร
  • ทำให้อ่านแล้วจับใจความได้ง่าย
  • ไม่ปรากฏรูปลักษณ์ที่ชัดเจน

ความล้มเหลวของตัวเนื้อความ
  • อ่านยาก
          - เพี้ยนไปจากมาตรฐานมาก
          - มีคู่สับสน
          - ช่องไฟชิดเกินไป
  • รำคาญตา
          - ลูกเล่นในการออกแบบมากไป
          - ช่องไฟไม่สม่ำเสมอ
          - ขนาดตัวอักษรไม่สมดุล
          - ความไม่ปราณีตกลมกลืนของรูปอักษร (Glyph)

คุณปริญญาได้ศึกษารูปลักษณ์ของอักษรไทย เพื่อประโยชน์ในการออกแบบ
ทำให้รู้ว่าข้อควรระวังในการออกแบบตัวพิมพ์ไทยคือ
  • ระวังคู่สับสน
  • กำหนด Style จากลักษณะเด่นของอักษรไทย
    (คิดว่าหมายถึง จับลักษณะเด่นของรูปลักษณ์อักษรไทยก่อน เมื่อรู้แล้วจึงออกแบบ ใส่ Style เข้าไป)
  • ตรวจสอบว่าออกแบบแล้วเกิดคู่สับสนใหม่หรือไม่

ลักษณะเด่น 6 ประการของอักษรไทย
1. มีหัว
     - หัวกลม : พ ผ ด ค ภ ถ ...
     - หัวม้วน : ข ช ...
     - หัวหยัก : ฃ ฆ ฑ ...
2. มีหาง
     - หางตรง : ป ฝ ฟ ฤ ฦ ...
     - หางเฉียง : ช ซ ศ ส ...
     - หางขมวดตวัด : ฬ ฮ ...
3. มีขมวดม้วน : ม น ห ...
4. มีปาก : ก ฎ ถ ...
5. มีหยัก : ฅ ต ฏ ...
6. มีเส้นสะบัด : ฐ ธ ร โ
คำที่มีครบทั้ง 6 ลักษณะข้างต้น คือ ปรากฏ

การผสมตัวอักษร
ต + ม = ฒ
ถ + ม = ฌ
ถ + น = ณ
ถ + บ + ไม้หันอากาศ = ญ
จ + ร = ฐ (แบบไม่มีเชิง)
จ + ร + ฏ = ฐ


ตารางอักษรสัมพันธ์ของปริญญา
ช่วยให้การออกแบบตัวพิมพ์ง่ายขึ้น เป็นกลุ่มๆไป



จริงๆอันนี้เป็น version เก่าที่ลงในหนังสือแบบตัวพิมพ์ไทยของ NECTEC
ตารางที่ให้ดูวันนั้นจะใหม่กว่าอันนี้ แต่จดไม่ทัน  ฮือๆ~

ตัวอย่างคู่สับสน
ชซ   ดต   ลส   คศ       ไม้หันอากาศ-ไม้โท




     ตัวเนื้อที่ดี -----> อ่านง่าย
ตัวเนื้อที่วิเศษ -----> อ่านง่าย + แสดงรูปแบบที่ลงตัวด้วยศิลปลักษณะเฉพาะของมันเอง


พัฒนาการของฟอนต์
 Futura -----> Avant Garde
     |
     v
Tom Light -----> DB FongNam -----> Db Soda
     |
     v
 Cordia


คร่าวๆก็ประมาณนี้ ที่เหลือเป็นเกร็ดการออกแบบฟอนต์ของ DB, การลวงตา, การแก้ช่องไฟ ฯลฯ
แต่ไม่มีรูปประกอบ เดี๋ยวอ่านแล้วไม่เข้าใจ

ต่อจากคุณปริญญาก็เป็น คุณไพโรจน์ ธีระประภา หรือ โรจ สยามรวย หรือ อาจารย์ Rojee ผู้นี้นี่เอง
มาเล่าประสบการณ์ตอนทำ 10 ฟอนต์แห่งชาติ
ที่ทำจนอ้วกแตกจริงๆอย่างที่ 5โอ เล่าไป
Slide ชื่อว่า ฅนเคยทำ

พัฒนาการของอาจารย์ Rojee
คนชอบฟอนต์ -----> คนบ้าฟอนต์ -----> คนทำฟอนต์

สิ่งที่ได้รับนอกจากความรู้ในการทำฟอนต์ + ความมั่นใจ + ถั่วงอก (งานที่มีคนติดต่อให้ทำ ทั้งได้เงินและไม่ได้เงิน)
ก็คือ มิตรภาพ ระหว่างคนทำฟอนต์ด้วยกัน


เงินรางวัล  =  ค่าเหนื่อย
ไม่ใช่ "คุณค่า" ผลงาน
[/size][/color]

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 21 มี.ค. 2006, 19:26 น. โดย verywhale » บันทึกการเข้า
ขอแตกหน่อเรื่องนี้มาเลยนะครับ
แล้วก็ย้ายไปสอนรามด้วยเลย
มีประโยชน์มากๆ
(+5)
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ยังมีข้อมูลเกี่ยวกับฟอนต์อีกเยอะเลยใน Book Thesis
พี่แอนสนใจป่าว เดี๋ยวไว้ตัดตอนมาลงไว้ให้
บันทึกการเข้า
กรี๊ดดดดด สนใจ สนใจ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
กลุ่มอักขระไทยแบ่งตามลักษณะโครงสร้าง

1)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ก ไก่ ได้แก่ พยัญชนะ ก ถ ฤ ภ ฦ ฎ ฏ
2)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ข ไข่ ได้แก่ พยัญชนะ ข ฃ ช ซ
3)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ค ควาย ได้แก่ พยัญชนะ ค ฅ ด ต ศ
4)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว บ ใบไม้ ได้แก่ บ ป ษ
5)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ผ ผึ้ง ได้แก่ ผ ฝ   
6)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว พ พาน ได้แก่ พ ฟ ฬ
7)  กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ม ม้า ได้แก่ ม ฆ
8)  โครงสร้างแบบตัว หนู
9)  โครงสร้างแบบตัว ฉิ่ง
10) โครงสร้างแบบตัว จาน
11) โครงสร้างแบบตัว ฐาน
12) โครงสร้างแบบตัว งู
13) กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ท ทหาร ได้แก่ ท ฑ
14) โครงสร้างแบบตัว หีบ
15) โครงสร้างแบบตัว ธง
16) โครงสร้างแบบตัว เรือ
17) โครงสร้างแบบตัว ยักษ์
18) กลุ่มโครงสร้างแบบตัว ล ลิง ได้แก่ ล ส
19) กลุ่มโครงสร้างแบบตัว อ อ่าง ได้แก่ อ ฮ
20) โครงสร้างแบบตัว แหวน
21) กลุ่มโครงสร้างแบบผสม
  • ตัว ครึ่งหน้าเป็นโครงสร้างของตัว ถ ถุง ครึ่งหลังเป็นโครงสร้างของตัว ม ม้า
  • ตัว ครึ่งหน้าเป็นโครงสร้างของตัว ถ ถุง ครึ่งหลังเป็นโครงสร้างของตัว บ ใบไม้
  • ตัว ครึ่งหน้าเป็นโครงสร้างของตัว ถ ถุง ครึ่งหลังเป็นโครงสร้างของตัว น
  • ตัว ครึ่งหน้าเป็นโครงสร้างของตัว ต เต่า ครึ่งหลังเป็นโครงสร้างของตัว ม ม้า
      
22) กลุ่มโครงสร้างของสระที่อยู่ในระดับเดียวกับพยัญชนะ ได้แก่ ะ  า  เ  แ  โ  ใ  ไ
23) กลุ่มโครงสร้างของสระบนหรือสระที่อยู่เหนือระดับพยัญชนะ ได้แก่ อิ อี อึ อื
24) กลุ่มโครงสร้างของสระล่างหรือสระที่อยู่ใต้ระดับพยัญชนะ ได้แก่ อุ อู
25) โครงสร้างของไม้หันอากาศหรือไม้ผัด
26) โครงสร้างของนิคหิต
27) โครงสร้างของไม้ไต่คู้
28) โครงสร้างของทัณฑฆาต
29) โครงสร้างของยามักการ
30) โครงสร้างผสมระหว่างสระกับนิคหิต และพยัญชนะกับสระ ได้แก่ อำ ฤๅ ฦๅ
31) โครงสร้างของวรรณยุกต์ ได้แก่                เลขไทย ได้แก่ ๐ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙
33) เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายต่างๆ ได้แก่

  • เครื่องหมายวรรคตอนทั่วไป
       
       มหัพภาค (Full stop, Period)  .
       จุด (Dot, Point)  .
       จุลภาค / จุดลูกน้ำ (Comma)  ,
       อัฒภาค (Semicolon)  ;
       ทวิภาค (Colon)  :
       ต่อ  :
       วิภัชภาค  :-
       ยัติภังค์ (Hyphen)  -
       ยัติภาค (Dash)  —
       วงเล็บ / นขลิขิต (Parenthesis)  ( )
       วงเล็บเหลี่ยม (Square brackets)  [ ]
       วงเล็บปีกกา (Braces)  { }
       ปรัศนี (Question mark)  !
       อัศเจรีย์ (Exclamation mark)  ?
       อัญประกาศเดี่ยว (Single quotation marks)  ‘  ’   
       อัญประกาศคู่ (Double quotation marks)  “  ”
       ไม้ยมก / ยมก  ๆ   
       ไปยาลน้อย / เปยยาลน้อย  ฯ
       ไปยาลใหญ่ / เปยยาลใหญ่  ฯลฯ   
       จุดไข่ปลา / ไข่ปลา (Ellipsis, Dotted line)  …
       เส้นประ (Dashed line)  ---   
       สัญประกาศ  ___
       บุพสัญญา (Ditto mark)  ”   
       เครื่องหมายทับ (Virgule, Slant, Slash)  /
       มหัตถสัญญา / ย่อหน้า

  • เครื่องหมายวรรคตอนโบราณ
       
       ฟองมัน / ตาไก่
       ฟองมันฟันหนู / ฟันหนูฟองมัน   
       อังคั่นเดี่ยว / คั่นเดี่ยว / คั่น  ฯ
       อังคั่นคู่ / คั่นคู่  ๚
       อังคั่นวิสรรชนีย์  ๚ะ
       โคมูตร  ๛
       ยามักการ   ๎   
       ตีนครุ / ตีนกา



** มาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม มอก. 620-2533 รหัสสำหรับอักขระไทยที่ใช้กับคอมพิวเตอร์
จำแนกอักขระไทยเป็นกลุ่ม ได้แก่ พยัญชนะ สระ วรรณยุกต์และทัณฑฆาต ตัวเลขไทย
เครื่องหมายพิเศษทั่วไป (ๅ   ๆ   ฯ) และเครื่องหมายพิเศษเฉพาะ (฿    ๎   ๏   ๚   ๛)
อย่างไรก็ดี มาตรฐานดังกล่าวนี้ไม่ได้กล่าวถึงอักขระไทย 2 ตัว คือ ฟองมันฟันหนู และ อังคั่นเดี่ยว

  • เครื่องหมายทางคณิตศาสตร์
       
       เครื่องหมาย บวก
       เครื่องหมาย ลบ
       เครื่องหมาย คูณ
       เครื่องหมาย หาร
       เครื่องหมาย เท่ากับ หรือ เสมอภาค
       เครื่องหมาย เพราะฉะนั้น
       เครื่องหมาย เพราะว่า



อ้างอิงจาก

ราชบัณฑิตยสถาน. มาตรฐานโครงสร้างตัวอักษรไทย. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2540.

ราชบัณฑิตยสถาน. หลักเกณฑ์การใช้เครื่องหมายวรรคตอนและเครื่องหมายอื่นๆ หลักเกณฑ์การเว้นวรรค หลักเกณฑ์การเขียนคำย่อ ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน, 2548.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มี.ค. 2006, 19:45 น. โดย verywhale » บันทึกการเข้า
ตอนที่เราออกแบบก็ออกแบบเรียงตามกลุ่มโครงสร้างนี้ล่ะ
ไม่ได้ทำตามตารางอักษรสัมพันธ์ของคุณปริญญา
เพราะอะไรก็..............................ไม่รู้เหมือนกันแฮะ

และมี File PDF หนังสือ แบบตัวพิมพ์ไทย ของ NECTEC ทั้งเล่มด้วย ขนาด 14.0 M
เพิ่งได้มาเมื่อวาน ต้องซ่อนไว้เพราะเพื่อนที่ให้มาก็ไม่รู้ว่าแจกได้รึเปล่า
น่าจะได้มั้ง สนใจก็ติดต่อ ยังไงดีล่ะ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 22 มี.ค. 2006, 19:02 น. โดย verywhale » บันทึกการเข้า
ผมว่าได้นะครับ
เพราะเนคเทคเขาทำนี่เนาะ
บันทึกการเข้า
ใช่อันเดียวกะที่ลุงทัชชี่แจกไว้ปีก่อนหรือเปล่า
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
อันไหนอะ
บันทึกการเข้า
นี่ใช้มั้ยครับ
http://f0nt.com/forum/index.php/topic,1382.msg41538.html

ของคุณทัชชี่ มันเป็นเพียงส่วนหนึ่งของเจ้า e-book ต้นฉบับจริงๆ
ของจริงมันหนัก 10 กว่าเม็ก คือมันมาจากซีดีฟอนต์แห่งชาติโดยเนคเทคน่ะครับ
พอดีเขาเอามาแจกในงานตอนไปอบรม

เอางี้ เดี๋ยวผมอัพใส่ ฟด.ให้นะ
บันทึกการเข้า
อ่า อยู่ใน CD ที่แจกวันนั้นหรอ
ยังไม่ได้เปิดดูเลย
แหม อุตส่าห์ดีใจที่ได้มาจากเพื่อน  ง่ะ
บันทึกการเข้า
โถ่ถัง.. ง่ะ
บันทึกการเข้า
ปรมาจารย์  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

หมู หมา กา ไก่
ขี้หมู ขี้หมา ขี้กา ขึ้ไก่
คลิกแล้วมันส์สสส
อ๋าห์
เพิ่งมาอ่าน +1

เพิ่งรู้จักชื่อสัญลักษณ์พวกนั้นเองค่ะ
ฟองมันฟันหนู *-*
บันทึกการเข้า

วันนี้นั่งดูคลิปที่ อ.ปริญญาฯ แกบรรยายให้กับผู้เข้าประกวดฟอนต์เงินแสน
สนุกดีแฮะ (แต่เนื้อหาก็อย่างที่รู้กัน เพราะแกก็บอกเองว่าฉายซ้ำ)

ใครไม่มีลิงก์ ขอที่ห้าโอครับ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!