หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ลิขสิทธิ์ฟอนต์  (อ่าน 114099 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
ผมว่าผิดไม่ผิดนี่ยังไง้ยังไงก็อยู่ที่เจตนา และทนาย (ถ้ามีการเอาเรื่อง คริคริ)
คำตอบของ อ.โรจที่ว่ากันว่าไปจบที่ศาลแหละดีที่สุด จึงเป็นคำตอบที่น่าจะแจ่มแล้วนะครับ

ยังคลุมเครือประเด็นไหนกันอีกไหมครับ
เดี๋ยวถ้ามีโอกาสจะไปเลียบๆ เคียงๆ ถามให้อีก
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
วันนี้เรียนเลียบๆเคียงๆ เกี่ยวกับเรื่องลิขสิทธิ์ เลยถามอาจารย์ผู้สอนไปว่า

0/ : "ในกรณีซอฟท์แวร์ที่มีการละเมิดลิขสิทธิ์กันมาก อาจารย์คิดว่าน่าจะมีการแก้ไขปัญหาอย่างไร"

ได้ความเห็นมาว่า ....

กรณีนี้ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณ จริยธรรมล้วนๆ ทั้งของผู้ผลิตและผู้ใช้ ในฐานะที่เราเป็นนักการตลาด เราน่าจะมองว่าทำไมจึงมีการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากมายก่ายกองขนาดนี้ มันน่าคิดนะ เพราะของๆ คุณมันดี มันน่าใช้ ใครๆ ก็อยากใช้ เมื่อมีdemand แต่คนไม่มีกำลังซื้อ มันก็ทำให้เกิดของก๊อป เกิดการลอกเลียนแบบ

สำหรับผม ในความคิดผม ผมแฮปปี้นะที่เห็นของก๊อป เพราะอะไร...เพราะโดยพื้นฐานแล้วใครๆ ก็อยากได้ของจริงกันทั้งนั้น ถ้ามีกำลังซื้อเขาไม่ซื้อของก๊อปกันหรอก แล้วที่ซื้อขายของก๊อปมันก็ดี แฮปปี้กันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คนซื้อได้ใช้ของถูก คนขายก็ได้ตังค์ ทำให้มีเงินหมุนเวียน

ทีนี้ย้อนกลับไปที่ผู้ผลิต คุณเป็นเจ้าของความคิดเจ้าของชิ้นงานวรรณกรรมทั้งหลายแหล่ คุณมีจรรยาบรรณมากน้อยแค่ไหน คุณไม่ต้องการให้คนละเมิดลิขสิทธิ์ แต่คุณตั้งราคาสูงลิ่วอย่าง xxx ถามหน่อยว่าคนจะมีปัญญาซื้อมั้ย
(แล้วเรื่องนี้ก็ได้พาดพิงออกไปประเทศต่างๆ ทั่วโลก เพื่อให้เข้ากับเนื้อหาวิชาเรียนการตลาดระหว่างประเทศ)

0/ : อาจารย์คะ อย่างในกรณีหนู ประดิษฐ์ฟอนต์ไทย แล้วทางรัฐบอกว่าให้เป็นซอฟแวร์อย่างหนึ่งซึ่งให้ใช้กันได้ฟรี กรณีอย่างนี้ควรทำอย่างไรดีคะ (ในฐานคนทำมันก็เหนื่อยนะ)

สำหรับผมนะ ถ้าไม่มีฟอนต์ไทยผมก็ไม่เดือดร้อน.... เพราะทุกวันนี้ภาษาอังกฤษก็เป็นภาษาสากลที่ใช้กันอยู่แล้ว แล้วผมก็แฮปปี้ดีกับการใช้ภาษาอังกฤษ ที่ไม่ต้องมีอัลฟาเบตวุ่นวายอะไร (อะโด่...จารย์อ่ะ -*- )

เหนื่อยน่ะมันใช่ แต่ก็ต้องย้อนกลับมาถามว่า ที่คุณทำน่ะลอกฝรั่งเขามารึป่าว ส่วนมากก็เห็นดัดแปลงกันมาทั้งนั้น รวมถึงโปรแกรมที่คุณใช้ด้วย (จ่ายเงินเขารึป่าว......ไม่กล้าตอบเลย -  -' )  ฮิ้ววว

คุณได้จดลิขสิทธิ์ สิทธิบัตรคุ้มครองงานคุณรึป่าว คุณคุ้มครองงานของคุณแค่ไหน

คนไทยส่วนใหญ่มักไม่สนใจเรื่องกฎหมาย หรือที่พากันโวยวายว่าต่างชาิติขโมยงานของเราไป ก็แล้วทำไมเราไม่จดให้เรียบร้อยตั้งแต่ทีแรก รอให้มีเหตุแล้วค่อยมาโวยวายกัน ก็อยากจะสมน้ำหน้าว่าดีแล้ว พอถึงขั้นนั้นก็มาขึ้นโรงขึ้นศาลว่าความกัน ก็ต่อสู้กันไปเถอะ


^
^
เนื้อความข้างต้นไม่เป๊ะ100% เป็นเนื้อความเท่าที่เข้าใจและจำได้



สรุปว่า : ปาล์มมีความเห็นว่า 0/ สำหรับใครที่ไม่ต้องการให้งานเราถูกนำไปใช้เพื่อการค้า เราไปจดอะไรคุ้มครองงานเราหน่อยดีมั้ย?



แป๊ะยิ้ม/ ถามค่ะ เราสามารถระบุลงไปเองได้มั้ยว่า หากพบมีการละเมิด เช่น ห้ามใช้เพื่อการพาณิชย์ จะมีโทษ.... ปรับ... หรือ.... ก็ว่าไป ?


อือ ฟังดูรู้สึกแปลกๆ ค่อนข้างขัดใจ เลยมาแปะให้อ่านกันค่ะ คิดว่าคงได้ความเห็นดี คริคริ
V
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 ส.ค. 2006, 02:07 น. โดย i-Palm » บันทึกการเข้า
เอาตรงๆ นะ

ไม่เห็นด้วยกับความเห็นของอาจารย์ท่านนี้นะ ท่านอาจจะมองเรื่องการตลาดได้ทะลุปรุโปร่ง
แต่ในแง่ของลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา มันต้องมีพื้นฐานทางความคิดหรือความรู้อีกหน่อย
มากกว่าจะฟังคำตอบแล้วใส่ความเห็นส่วนตัวลงไปเลย ดังนั้นคิดว่านี่ไม่ใช่ความเห็นที่เหมาะกับการอ้างอิงเท่าไหร่

ที่สำคัญคือแกไม่เข้าใจเด็ดขาดเรื่องทรัพย์สินทางปัญญาในโหมดนวัตกรรมสร้างสรรค์น่ะ
อันนี้ฟันธง เพราะลองอ่านดูก็รู้สึกแปลกๆ ทุกประโยคเลย กร๊าก




ส่วนเรื่องการจดอะไรคุ้มครองนั้น ก็อย่างที่บอกว่าผลงานสร้างสรรค์มันคุ้มครองตัวเองอยู่แล้วครับ
แต่ถ้าจะขึ้นทะเบียนเป็นเรื่องเป็นราวก็ยิ่งดี (แต่ขอบอกว่ามันมีขั้นตอนยุ่งยากและไม่สนุกเลย)

แถมท้าย
ในกรณีที่ว่าต่างชาติลอกภูมิปัญญาท้องถิ่นเราไป
จริงๆ แล้วถ้ามองจากแว่นของคนต่างชาติคือเขาเห็นมี source อยู่แล้วโดยธรรมชาติ ไม่มีใครเป็นเจ้าของ
เขาก็เลยหยิบเอาไปพัฒนา แต่เจ้าของที่ไม่ได้เป็นเจ้าของก็ออกมาโวย นั่นเขาพระวิหารตู!!

เรื่องจดไว้ก่อนหรือไม่จดนั่น เรื่องมันก็ไปจบในศาลทั้งนั้นแหละ
แต่เราคงกวาดจดภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ไม่หมดหรอก
(นี่เห็นว่าทางข้างบนเขากำลังไล่เก็บข้อมูลสมุนไพรล้านแปดของไทยอยู่)


ส่วนคำตอบของคำถามจากตัวหนา
เราระบุไปเลยครับ กว้างๆ ว่าสงวนลิขสิทธิ์ตาม พรบ ลิขสิทธิ์ พ.ศ.2537
ส่วนการกำหนดโทษนั้นเป็นเรื่องของทางแพ่งที่จะเรียกร้องเอาค่าเสียหายอีกทีนึง
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
แอบอ้าง
กรณีนี้ขึ้นอยู่กับจรรยาบรรณ จริยธรรมล้วนๆ ทั้งของผู้ผลิตและผู้ใช้ ในฐานะที่เราเป็นนักการตลาด เราน่าจะมองว่าทำไมจึงมีการละเมิดลิขสิทธิ์กันมากมายก่ายกองขนาดนี้ มันน่าคิดนะ เพราะของๆ คุณมันดี มันน่าใช้ ใครๆ ก็อยากใช้ เมื่อมีdemand แต่คนไม่มีกำลังซื้อ มันก็ทำให้เกิดของก๊อป เกิดการลอกเลียนแบบ

สำหรับผม ในความคิดผม ผมแฮปปี้นะที่เห็นของก๊อป เพราะอะไร...เพราะโดยพื้นฐานแล้วใครๆ ก็อยากได้ของจริงกันทั้งนั้น ถ้ามีกำลังซื้อเขาไม่ซื้อของก๊อปกันหรอก แล้วที่ซื้อขายของก๊อปมันก็ดี แฮปปี้กันทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ซื้อและผู้ขาย คนซื้อได้ใช้ของถูก คนขายก็ได้ตังค์ ทำให้มีเงินหมุนเวียน

ทีนี้ย้อนกลับไปที่ผู้ผลิต คุณเป็นเจ้าของความคิดเจ้าของชิ้นงานวรรณกรรมทั้งหลายแหล่ คุณมีจรรยาบรรณมากน้อยแค่ไหน คุณไม่ต้องการให้คนละเมิดลิขสิทธิ์ แต่คุณตั้งราคาสูงลิ่วอย่าง xxx ถามหน่อยว่าคนจะมีปัญญาซื้อมั้ย

  กรี๊ดดดดด 

สินค้าบางตัวมันโกงราคาโอเวอร์ แต่คนก็ซื้อ เพราะคนซื้อยอมรับเอง (ไปว่าเขาไม่ได้นะครับ55)
สินค้าบางอย่างเทียบกับราคาต้นทุนแล้วถือว่าแพง แพงเพราะมันทำยาก  บางทีมันอาจจะทำง่าย แต่มันคิดยาก
ติ๊ต่างว่า  นั่งพิมพ์ดีดในเวิร์ดมันทำง่ายครับ ใครก็พิมพ์เป็น  แต่ใครจะพิมพ์ออกมาเป็นภาษา ใครจะพิมพ์ออกมาเป็นวรรณกรรม นี่มันยากนะครับ นี่ยังไม่นับถึงประโยชน์ของมันที่ประเมิณค่าไม่ได้555 ว่าไปนั่น

สินค้าจะแพงเวอร์ได้ก็ต่อเมื่อมีการผูกขาด ไม่มีใครทำแข่ง ขายอยู่เจ้าเดียว (ไม่นับพวกสินค้าฟุ่มเฟือยแบรนด์ดังที่แพงเวอร์นะครับ อันนั้นคนซื้อยอมที่จะจ่ายแพงเอง)

ก็ต้องมาดูว่ามันจำเป็นแค่ไหน  มันรวมหัวกันผูกขาดไหม(ไม่รวมหัวกันผูกขาดไม่ได้ครับ) หาของฟรีแทนได้ไหม หมดหนทางจริงๆอาจจะอนุโลมให้ใช้ของก็อปปี้ดัดหลังผู้ผลิตได้บ้างครับ แต่ก็ผิดอยู่นิดๆนะ กร๊าก
บันทึกการเข้า

ในหมู่คนตาบอด คนตาบอดข้างเดียวได้เป็นราชา
อ่านเรื่องลิขสิทธิ์ที่โพสกันมาโดยตลอดแล้ว  "ขอกล่าวในความเป็นกลาง..จริงๆ"

ความกระจ่างน่าจะอยู่ที่ "คุณ...ผู้ที่เป็นผู้ผลิตฟอนต์ได้ทำอะไร ที่เป็นการลงแรง ลงสมองไปบ้าง" ดูจากเนื้อหาขั้นตอนการสร้างฟอนต์แล้ว น่าเป็นเรื่องของโปรแกรมในการผลิตขึ้นมา

เพราะฉะนั้นความลำบากอยู่ที่การปั้นฟอนต์ขึ้นมา ในรูปของโปรแกรม ที่จะเอาลงไปในตัวคอมฯ

ดังนั้น ลิทธิบัตรที่ได้รับมาก็แสดงชัดเจนอยู่แล้วว่าคุณได้รับความคุ้มครองในกรณีของชุดโปรแกรม

หน้าที่ของเจ้าของลิขสิทธิ์ ก็อยู่ที่ว่ามีคนเอาโปรแกรมของคุณไปใช้จากแผ่นแท้รึเปล่า   

แต่ไม่เกี่ยวว่าเค้าจะเอาไปทำอะไร....อันนี้ถือว่าคนไทยเข้าใจสิทธิของตัวเองผิดเพี้ยนไปมากๆ

เพราะถ้ามีจบแค่ตรงนั้น...คงเถียงกันไม่จบไม่สิ้น  เหมือนกันเราซื้อของแบรนเนมมาแล้ว...จะเอาไปทำอะไรต่อก็เรื่องของเรา จะเอาไปใช้เอง หรือจะเอาไปให้ญาติผู้ใหญ่เพื่อให้เค้ารักเรา จนมอบมรดกพัดล้านให้เรา ผู้ผลิตแบรนเนมก็ไม่มีสิทธิ์มาขอแบ่งกองมรดก จากเหตุผลที่ว่า"ก็เพราะสินค้าชั้นไง คุณก็เลยได้มรดก เพราะฉะนั้นชั้นจะขึ้นราคาของที่คุณซื้อไปชิ้นนั้น"

ลองคิดดูว่าเจ้าของฟอนต์บอกว่า เพราะฟอนตร์เค้าที่เราเอาไปทำประโยชน์โน่นนี่นี่นั่น เลยทำให้เราได้เงินเยอะ เพราะฉะนั้นขอเก็บเงินค่าลิขสิทธิ์จากเราเยอะ.....แล้วถ้าเราซื้อฟอนต์เค้ามา แล้วเราขายไม่ได้ เพราะเราเอาฟอนต์เค้ามาทำ LOGO หรือทำโปสเตอร์ขายสินค้า แล้วดันขายของไม่ออก เจ๊ง ....อันนี้เราสามารถฟ้องเค้ากลับได้มั๊ยล่ะ ว่า"เพราะฟอนต์เค้า ทำให้เราขายของไม่ได้ ของเรียกค่าเสียหาย"


ส่วนเรื่องการสร้างสรรค์ฟอนต์ใหม่....ก็เหมือนการขายแชมพู  ยังไงแชมพูก็ต้องมีฟอง มีส่วนปรพกอบหลักเหมือนๆกัน แต่จะต่างกันที่รายละเอียด เหมือนการถ่ายรูป ถ่ายวัดนี้ มุมนี้ยังไงก็หน้าตาแบบนี้ แต่เราถ่ายเองกับมืออ่ะ....ส่วนฟอนต์ ก็เราชอบหน้าตาฟอนต์แบบนี้ แล้วเราก็สร้างเองกับมืออ่ะ ไม่ได้เอาของเค้ามาลอก มันคล้ายๆกัน ทำไมจะคล้ายไม่ได้  หรือเหมือนกันร้านก๋วยเตี๋ยวอ่ะ ก๋วยเตี๋ยวเนื้อก็เป็นก๋วยเตี๋ยวเนื้อ แต่คนละสูตร...ทำกันคนละร้าน คนละหม้อ  ใครมีทำเลดีกว่า ราคาเหมาะสมกว่าก็ขายได้ ไม่อย่างนั้นก็มีก๋วยเตี๋ยวเนื้อเจ้าเดียวในโลกหน่ะสิ

ทำเอง สร้างเองกับมือ แล้วอยากจะขาย ก็ไปจดลิขสิทธิ์ในตัวชุดโปรแกรมของตัวเองซะ แล้วก็ประกาศพร้อมราคาที่เหมาะสมให้ทราบโดยทั่วกัน  ลูกค้าชอบแบบไหนก็ซื้อแบบนั้น จะต่างกันนิดหน่อยก็ไม่เห็นตาย...อยู่ที่ราคาว่าเหมาะสมมั๊ย  ของดี-ไม่โก่งราคา ใครๆก็ซื้อ

พูดในฐานะที่เคารพเรื่องลิขสิทธิ์ แต่ไม่อยากให้คนดีๆต้องโดนคนที่หัวหมอมาเอาเปรียบ  หรือคนดีๆอยากสร้างสรรค์งาน แต่ต้องมาติดกับความงี่เง่าของคนที่ไม่ดี

สังคมคนดีต้องเข้มแข็ง ฉลาดและรู้เท่าทัน.....
บันทึกการเข้า
ขอบคุณครับ ดีมากเลย
บันทึกการเข้า
ผมย้ายกระจู๋เรื่องที่คุณแฮปปี้มาชี้แจงเรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์ไปไว้ที่ ว.เทคนิคแล้วนะครับ
ท่านใดยังมีข้อสงสัยก็ลองตามไปอ่านดูได้


ส่วนนี่เป็นข้อมูลเพิ่มเติมจากคุณพัลลพ (ผมสะกดชื่อพี่แกผิดมาตลอด ขออภัยจริงๆ ครับ)
คุณพัลลพเป็นผู้ที่ต่อสู้เรื่องลิขสิทธิ์ฟอนต์มาตลอด
และก็ได้คำตอบไว้เป็นแม่แบบให้กับผลงานลิขสิทธิ์ของตัวเองไว้แล้ว
ดังนั้นเลยขอคัดลอกมาให้อ่านกันเลยละกันครับ

แอบอ้าง
เรียนคุณแอน
 
ผมเข้าใจว่าปัญหานี้น่าจะเคลียร์ตั้งแต่ปี 2545-2547 แล้วนะครับ
ประเด็นสำคัญคือ ฟอนต์เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ชนิดหนึ่ง เพราะฟอนต์เป็นเว็กเตอร์ กล่าวโดยสังเขปก็คือ
รูปแบบตัวอักษรในไฟล์ฟอนต์มีชุดคำสั่งที่กำหนดโดยผู้ออกแบบว่าตัวอักษรจะไปในทิศทางใด มีลวดลายอย่างไร หนาแค่ไหน
เส้นบางแค่ไหน เอนแค่ไหน แต่ละตัวจะอยู่ห่างกันเท่าไร วรรณยุกต์ควรสูงเท่าไรจึงจะสวย ทุกอย่างถูกเก็บเป็นคำสั่งหมดโดยผู้สร้างฟอนต์
เป็นผู้กำหนด จึงถือเป็นงานอันมีลิขสิทธิ์ตามกฎหมาย ไม่ว่าจะเป็นฟอนต์ชนิด
PostScript หรือ TrueType หรือ OpenType ก็ตาม
โปรดดูเอกสารยืนยันจาก Nectec และ คดีความที่ศาลตัดสินโดยเฉพาะคดีที่ 3 ในเว็บไซต์ตามที่ผมให้มานี้
 
http://www.fontpsl.com/products/condition.html
 
หากไม่มองในแง่กฎหมาย ก็มองในแง่จริยธรรมได้ คือ ฟอนต์ทุกฟอนต์ในโลกคอมพิวเตอร์ไม่ได้เกิดเอง มีผู้ทำขึ้นมา ซึ่งผู้ทำก็คือเจ้าของ
โดยจริยธรรมแล้ว หากสิ่งใดมีเจ้าของ ถ้าใครจะใช้สิ่งนั้นต้องขออนุญาตก่อน ถ้าเจ้าของให้ใช้ฟรี ก็ฟรี แต่ถ้าเจ้าของทำเพื่อขาย ก็ต้องจ่ายเงินซื้อ
หากไม่ซื้อ ก็ไม่ต้องใช้ เป็นหลักง่ายๆ ถ้าอยากมีฟอนต์ใช้ก็ต้องทำขึ้นเอง ไม่มีใครห้าม เพราะภาษาไทยเป็นสมบัติของชาติอยู่แล้ว
ภาพถ่ายกดแชะเดียวก็มีลิขสิทธิ์แล้ว ฟอนต์ใช้เวลาสร้างเป็นเดือน จะยิ่งกว่านั้นสักเท่าไร
ฟอนต์เปรียบเหมือนตัวตะกั่วที่ใช้เรียงพิมพ์ในสมัยก่อน เพียงแต่ว่าฟอนต์เป็นตัวตะกั่วอิเล็กทรอนิกส์ แถมยังจัดช่องไฟไว้ให้เรียบร้อย
ในสมัยก่อนถ้าใครจะเปิดโรงพิมพ์ก็ต้องไปหาซื้อตัวตะกั่วมาจากโรงหล่อ จะไปบอกว่าผมขอใช้ตัวตะกั่วของคุณฟรีนะเพราะเป็นตัวอักษรภาษาไทย เป็นสมบัติชาติ มันคนละเรื่องกัน จริงไหม?
 
ฟอนต์ที่ชนะการประกวดซึ่งจัดโดยกรมทรัพย์สินทางปัญญาและ Sipa เมื่อปี 2548-49 ก็ตกเป็นลิขสิทธิ์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญาและ Sipa
ลองโหลดมาและเปิดดูก็จะเห็นข้อมูลลิขสิทธิ์ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาใส่ไว้ในฟอนต์เหล่านั้น
 
จริงๆแล้ว เรื่องฟอนต์เขียนได้เป็นเล่มๆ แต่ผมไม่มีเวลาเท่าไร จึงขอถ่ายทอดให้ฟังเพียงเท่านี้ครับ
 
ด้วยความปรารถนาดี
พัลลพ ทองสุข
081 9193650


นั่นแปลว่า (แปลว่าเหมือนกับกระจู๋นี้ในหน้าแรก  ง่ะ แต่ต้องสรุปอีกทีเพื่อความเข้าใจตรงกัน)
รูปแบบเวกเตอร์ของฟอนต์แต่ละฟอนต์ พวกการดัดโค้ง การจัดย่อหน้า ช่องไฟ หนา เอียง
ทุกอย่างเกิดจากการสร้างสรรค์ของเจ้าของผลงาน ซึ่งมีลิขสิทธิ์คุ้มครองโดยอัตโนมัติ

อย่างนี้เคลียร์แล้วนะครับ (จริงๆ ก็เคลียร์มาตั้งนานแล้ว)
ถ้ายังไม่เคลียร์ก็ย้อนกลับไปอ่านตั้งแต่หน้าแรกใหม่

 ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 2007, 14:45 น. โดย ถั่วงอก » บันทึกการเข้า

อย่างนี้ถ้าต่อไปเกิดมีคนสร้างฟอนต์จากโปรแกรมFontLab (เถื่อน)มากๆออกมาฟรี จนกระทบต่อตลาดฟอนต์ลิขสิทธิ์
บริษัทที่มีรายได้จากการขายฟอนต์จะไปแจ้งเจ้าของfontlabให้มาเฉ่งคนสร้างฟอนต์ฟรีได้ไหมครับ  หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
ผมรู้มาว่า ถ้าเอาโปรแกรมลิขสิทธิ์มาใช้งานแบบเถื่อนๆ เพื่อการศึกษา ไม่ได้ใช้หาตังค์
กฎหมายบ้านเราว่าไม่ผิดนะครับ

อันนี้แบบตาสีตาสารู้นิดๆหน่อยๆ ไม่รู้จริงครับ
ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
เป็นข้ออ้างสุดฮิตครับ คริคริ
เพื่อการศึกษานี่คือเอาไปใช้ในโรงเรียน สถาบันสอนโปรแกรม สอนออกแบบ นั่นพอไหวครับ



ส่วนคำตอบของหมอแมว คดีเหล่านี้จะมีผลเมื่อผู้เสียหายฟ้องครับ
แสดงว่าในทางปฏิบัติก็เป็นไปได้
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ครับ ก็รู้สึกว่ารู้แบบเข้าข้างตัวเองไปเยอะเหมือนกัน
แหม่งๆ พิกล
 ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
งั้นถ้าผมพิมพ์หนังสือสักเล่มนึง แล้วใช้ฟอนต์ iannnnnUPCทั้งเล่มล่ะครับ
จะมีใครมาไล่บี้ผมไหมครับ
(นอกจากคนอ่านที่ลายตา)
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
นอกจากคนอ่าน ก็เป็นเจ้าของร้านหนังสือนี่แหละครับ
โทษฐานขายไม่ออก
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
งั้นถ้าผมพิมพ์หนังสือสักเล่มนึง แล้วใช้ฟอนต์ iannnnnUPCทั้งเล่มล่ะครับ
จะมีใครมาไล่บี้ผมไหมครับ
(นอกจากคนอ่านที่ลายตา)

หมอแมว หัวหมอนะ โวย
บันทึกการเข้า
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!