หน้า: [1]
 
ผู้เขียน หัวข้อ: มาต่อกับแนว Swing กับ Big Band  (อ่าน 3537 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
คราวก่อนมาลงเรื่อง jazz(ไม่ใช่รถ) ไปแล้ว คราวนี้มาต่อกับแนว Swing และ Big Band (ไม่ใช่swingingนามันคนละเรื่องกัน)

สวิง และ บิ๊กแบนด์
ช่วงเวลาที่สหรัฐเขาร่วมสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง ทางการสั่งปิดสถานเริงรมณ์ในนิวออร์ลีนส์ ทำให้นักดนตรีส่วนใหญ่เดินทางมาหากินในชิคาโก นิวยอร์ก และ ลอสแองเจลลิส ทั้งสามเมืองจึงกลายเป็นแหล่งบ่มเพาะนักดนตรีแจ๊สในช่วงนั้น .. ชิคาโกดูจะเป็นเมืองที่มีความก้าวหน้าทางดนตรีแจ็สเหนือกว่าอีกสองเมือง เพราะมีนักดนตรีมาทำงานมาก ชิคาโกเป็นเมืองที่ทำให้ หลุยส์ อาร์มสตรอง (Louis Armstrong) เป็นที่รู้จัก และกลายเป็นนักดนตรี/นักร้องแจ๊สชื่อก้องโลกในเวลาต่อมา ในด้านการพัฒนา ชิคาโกมีดนตรีแจ๊สที่สืบสายมาจากนิวออร์ลีนส์แต่มีลักษณะเฉพาะตัว เสียงจัดจ้าน มีการทดลองจัดวงในแบบของตัวเอง เริ่มเอาเครื่องดนตรีใหม่ๆ เช่น แซ็กโซโฟนมาใช้รวมกับ คอร์เน็ต ทรัมเป็ต มีการทดลองแนวดนตรีใหม่ๆ เช่น การเล่นเปียโนแบบสไตรด์ (Stride piano) ของเจมส์ จอห์นสัน (James P. Johnson) ซึ่งมีพื้นฐานจากแร็กไทม์ การทดลองลากโน้ตให้ยาวจนผู้ฟังคาดเดาได้ยากของอาร์มสตรอง และการปรับแพทเทิร์นของจังหวะกันใหม่เป็น Chicago Shuffle

ส่วนนิวยอร์กรับหน้าที่เป็นศูนย์กลางของแจ๊สในยุคปลายทศวรรษ 1920 แทนชิคาโก สุ้มเสียงของดนตรีแจ๊สในนิวยอร์กพัฒนาเพื่อเป็นดนตรีเต้นรำให้ความสนุกสนานบันเทิง และเป็นบ่อเกิดของ สวิง (Swing) และ บิ๊กแบนด์ (Big Band) ในเวลาต่อมา

"สวิง" ในบริบทของแจ๊ส หมายถึงอิสระในการแสดงความคิดทางดนตรี ชื่อสวิงนี้มีที่มาจากจังหวะที่ฟังแล้วเหมือนไม่ลงตัว หรือเหมือนกับจังหวะมัน 'แกว่ง' นั่นเอง สวิงเป็นดนตรีที่ก่อให้เกิดการจัดวงแบบใหม่ที่เรียกว่า "บิ๊กแบนด์" ซึ่งมีการแบ่งโครงสร้างเครื่องดนตรีเป็นสามส่วนคือ เครื่องทองเหลือง เครื่องลมไม้ และเครื่องให้จังหวะ ... ที่แจ้งเกิตตามมาในยุคนี้ก็คือนักร้องแจ๊ส เช่น เอลลา ฟิทช์เจอรัลด์ (Ella Fitzgerald) บิลลี ฮอลิเดย์ (Billy Holiday) และหลุยส์ อาร์มสตรอง .. จุดเด่นมากๆ ของนักร้องแจ๊สคือการ "สแกต" (Scat) หรือเปล่งเสียง ฮัมเพลง แทนเครื่องดนตรี ซึ่งนับเป็นการแสดงคีตปฏิภาณของนักร้อง

หากพูดถึงสวิงแล้วคงยากที่จะเลี่ยงการกล่าวถึงผู้ที่ได้รับฉายาว่า ราชาแห่งสวิง "เบนนี กู๊ดแมน" (Benny Goodman) ผู้ซึ่งครั้งหนึ่งเคยได้รับพระราชทานพระราชวโรกาสให้ร่วมเล่นดนตรีกับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว .. เบนนี กู๊ดแมน เป็นนักคลาริเน็ต ก่อตั้งวงของตัวเองออกเดินสายเปิดคอนเสิร์ต พร้อมกับพัฒนาแนวทางดนตรีใหม่ๆ ไปด้วย วงบิ๊กแบนด์ของกู๊ดแมน มีลักษณะต่างจากวงอื่นๆ ในยุคนั้นตรงที่ เปิดโอกาสให้นักดนตรีคนอื่นในวงได้เล่นโซโล แสดงความสามารถเต็มที่ กลายเป็นที่ชื่นชอบของผู้ฟัง นอกจากนี้วงของกู๊ดแมนยังมีนักดนตรีทั้งผิวขาวและผิวดำปะปนกัน จึงได้รับการชื่นชมจากผู้ฟังจำนวนมาก .. ในช่วงเวลาเดียวกันนั้น นอกจากวงของกู๊ดแมนแล้ว ที่โด่งดังไม่แพ้กันก็ยังมีวงของ ดุ๊ก เอลลิงตัน (Duke Ellington) และวงของ เคาน์ เบซี (William Count Basie)

ขอบคุณ เวป kitty.in.th สำหรับข้อมูลนะคร้าบ
คราวหน้ามาต่อกันกับ Bop
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 14 ก.ย. 2006, 13:29 น. โดย Tavarow™ » บันทึกการเข้า
กระจู๋เดียวกันก็ได้นะ
บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
ได้ครับ
บันทึกการเข้า
 หมีโหดดดด
บันทึกการเข้า

ตามหารักแท้ค่ะ โฮกกก
ขอแนวหมอลำ ต่อด้วยนะครับ555 แซวเล่นน่ะ
บันทึกการเข้า

ในหมู่คนตาบอด คนตาบอดข้างเดียวได้เป็นราชา
ถ้าหาได้จะเอามาโพสให้จ้า ฮี่ๆ
บันทึกการเข้า
ถ้างั้นผมย้ายไปโพสต่อในกระทู้ JAZZ นะครับจะได้ต่อเนื่องกันเลย
บันทึกการเข้า
รู้จักแต่ swinging กับ gang bang   กึ๋ยๆ
บันทึกการเข้า
รู้จักแต่ swinging กับ gang bang   กึ๋ยๆ
หื่น
บันทึกการเข้า
ถ้ามีการรวมจริง
ช่วยยกตัวอย่างอัลบั้มที่แนะนำให้ฟังหน่อยนะ
อยากเปลี่ยนมาฟังเพลบรรเลงบ้างแล้ว เจ๋ง
บันทึกการเข้า

ฮิ้วววววววววววววววววววววววววววววว
หน้า: [1]
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!