หน้า: 1 2 [3] 4
 
ผู้เขียน หัวข้อ: กฎทุกกฎย่อมมีข้อยกเว้น  (อ่าน 12751 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
คุยไรกัน ฮือๆ~
บันทึกการเข้า

ที่สุดถ้ามันจะไม่คุ้ม
แต่มันก็ดีที่อย่างน้อยได้จดจำ
ว่าครั้งนึงเคยก้าวไป...
ยกเว้นไว้ให้เขาคุยกันสองคนเถอะ
บันทึกการเข้า

Today you , Tomorrow me.
ขึ้นอยู่กับเวลาและสังคม
บันทึกการเข้า
คุยเรื่องหุ่นยนต์กันใช่ไหมครับ บังเอิญเป็นแฟนคลับนิยายวิทยาศาสตร์
ขออนุญาตแสดงความคิดเห็นด้วย


เราว่า ถ้าจะตีเจตนา น่าจะดูเจตนาของผู้เขียน
กฎ 3 ข้อของไอแซ็ค อาซิมอฟใช้ในนิยายทุกเรื่องที่ท่านเขียน ไม่ใช่เฉพาะนิยายเรื่อง I,Robot
เพราะมันส่งอิทธิพลต่อการมีอยู่ของหุ่นยนต์ในแทบทุกรูปแบบบนโลก
พูดได้ว่าเป็นบรรทัดฐานที่ถูกอ้างถึงมากที่สุดอย่างหนึ่ง
ในการคิดหรือทำอะไรก็ตามที่เกี่ยวกับหุ่นยนต์
(ไม่ว่าจะในการ์ตูนหรือนิยายวิทยาศาสตร์เรื่องอื่นๆแม้กระทั่งแมทริกส์)


เราตีความข้อยกเว้นของกฎว่ามันอาจหมายถึง "จุดอ่อน" ของกฎ ก็ได้มั้ง
ว่ากฎมันไม่อาจครอบคลุมในทุกกรณี หรือไม่ครอบคลุมทุกช่วงเวลา
เช่น ในอดีตมันเคยได้ผล เมื่อเวลาผ่านไป ปัจจัยใหม่ๆเพิ่มขึ้น กฎบางข้อก็อาจพบ
จุดอ่อนหรือช่องโหว่ที่ผู้สร้างกฎไม่ได้คาดไว้ จนนำมาสู่การเป็นข้อยกเว้นก็เป็นได้


ซึ่งเราคิดว่า จุดอ่อนที่ว่านั้น มันอาจแฝงอยู่ในตัวกฎเองก็ได้


ที่คิดแบบนี้ เนื่องจากการที่อ่านนิยายชุดหุ่นยนต์ทั้ง 3 ภาคของอาซิมอฟเมื่อนานมาแล้ว
เมื่อแรกเริ่ม เราก็คิดว่าปมของเรื่องที่เกิดขึ้น (คล้ายๆ I,Robot นั่นแหละครับ คือหุ่นยนต์ละเมิดกฎ)
มาจากความบกพร่องของหุ่นยนต์บางประการ แล้วต่อมา ได้อ่านนิยายอีกเล่ม
จำชื่อคนเขียนไม่ได้ แต่จำได้ว่ามันชื่อแปลไทยว่า ในอุ้งมือมาร
เป็นเรื่องเกี่ยวกับการสร้างหุ่นยนต์โดยใช้กฎสามข้อของอาซิมอฟนี่แหละ
แล้วก็เผยให้เห็นจุดอ่อนของมัน (ขออภัยจริงๆ จำเนื้อเรื่องแทบไม่ได้แล้ว
ยืมอ่านห้องสมุดเล่มเก่าๆเหลืองๆ อ่านตั้งแต่มัธยม )
จำใจความได้ว่า เป็นหนังสือที่ทำให้กฏสามข้อของอาซิมอฟ
หมดมนต์ขลังไปเลย คล้ายกับจะบอกว่า เมื่อถึงที่สุดแล้ว กฎ 3 ข้อนั้น ก็ต้องเจอข้อจำกัด
แบบเดียวกับทฤษฎีวิวัฒนาการ ในอดีตข้อเท็จจริงคือ ยีราฟคอสั้น
แต่เมื่อเวลาผ่านไปเมื่อยีราฟคอสั้นไม่สามารถตอบสนองต่อพัฒนาการใหม่ๆของธรรมชาติ
ข้อเท็จจริงที่ว่า ยีราฟคอสั้นจึงกลายเป็นจุดอ่อน
จึงมียีราฟตัวต่อมา ตัวใดตัวหนึ่ง ที่ตอบสนองต่อข้อเรียกร้องของธรรมชาติได้ดีกว่า
โดยการมีคอที่ยาวขึ้น ก็กลายเป็นข้อยกเว้น ของข้อเท็จจริง(หรือกฎ)ที่ว่า ยีราฟคอสั้น นั่นเอง


ทั้งนี้ทั้งนั้น จุดอ่อนของข้อเท็จจริงที่ว่ายีราฟคอสั้น ก็ยังดำเนินไปตามกฎหรือทฤษฎีวิวัฒนาการอยู่ดี
เช่นเดียวกับกฎทุกกฎบนโลก ไม่ว่าจะพบจุดอ่อน หรือข้อยกเว้นในเวลาต่อมาอย่างไร
เราเชื่อว่ามันก็ยังอยู่ในกฎของการกระทำ(หรือกฎแห่งกรรม)อยู่ดี

ในเรื่องนั้น ก็เหมือนจะบอกว่า เมื่อสังคมและความเจริญของเทคโนโลยีก้าวหน้า
ไกลเกินกว่าจุดเริ่มต้นของผู้ตั้งกฎ 3 ข้อนั้นมากแล้ว หุ่นยนต์บางตัวที่ถูกพัฒนามาถึงขีดสุด
ในที่สุดมันก็อาจค้นพบว่ากฎไม่อาจตอบสนองความสลับซับซ้อนของตัวมัน
และต่อความสัมพันธ์ของมันกับมนุษย์แล้ว มันจึงกลายเป็นข้อยกเว้นไปในที่สุดนั่นเอง

อาจจะเป็นความหมายเดียวกับที่พี่แอนว่า จะเขียนไว้แอบๆหรือจะจะนั่นก็ได้มั้ง

และที่บอกว่านิยายเรื่องนั้น ลดทอนคุณค่าของกฎ 3 ข้อของอาซิมอฟก็เพราะ
มันคล้ายจะบอกว่า ไม่ว่ากฎที่รัดกุมเพียงใด ก็ไม่พ้นกฎแห่งวิวัฒนาการอยู่ดี

ตีความกันไปนอกเหนือจากหัวกระจู๋ยังไงไม่รู้ คิดว่าที่เราว่ามาทั้งหมดนี่
น่าจะใช้ได้กับเฉพาะเรื่องกฎ 3 ข้อเท่านั้นน่ะ และเป็นความคิดเห็นเราแต่เพียงผู้เดียว
อาซิมอฟจะคิดยังงี้รึเปล่าก็คงต้องจุดธูปถามกันดู  ง่ะ


เอาเข้าจริงแล้ว ค่อนข้างมีอคติกับหนังเรื่อง I,Robot กร๊าก
เพราะรู้สึกว่าเป็นอีกครั้งที่ฮอลลีวู้ดเอาเอฟเฟกต์อลังการมากลบสาระสำคัญจนเกือบมิด
(ถึงจะเข้าใจว่ามันจำเป็นต้องทำก็เถอะนะ) เอาไปเทียบกับ 2001 space Odyssey ไม่ได้เลย

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ยกเว้นไว้ให้เขาคุยกันสองคนเถอะ



เพิ่มเป็นสามละ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
จริงๆแล้วหนังเรื่องI,Robot เอามาจากหนังสือI,Robot แค่ตอนเดียว
ที่เคยอ่าน มันมีเนื้อหากว้างกว่านั้น และมีเนื้อหาลึกกว่านั้น...
อย่างที่เก้อว่าไว้ว่ามันเป็นเหมือนเรื่องของวิวัฒนาการ เมื่อกฎที่ตั้งไว้รองรับมันไม่เพียงพอกับสถานการณ์จริง

 กรี๊ดดดดด +1 เฮียเก้อ
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
+1 เก้อ

ยกเว้นไว้ให้เขาคุยกันสองคนเถอะ

4 แล้วครับ

 ง่ะ
บันทึกการเข้า


 Welcome to earth.

เคยอ่านเหมือนกัน แต่รายละเอียดมันเยอะจนไม่ได้จำ

กฏของหุ่นยนต์
ข้อหนึ่ง หุ่นยนต์ห้ามทำร้ายมนุษย์ หรือนิ่งเฉย เมื่อมนุษย์ตกอยู่ในอันตราย
สอง ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์ โดยไม่ขัดกับข้อแรก
สาม ปกป้องตัวเองได้ โดยไม่ขัดกับข้อแรกและข้อสอง

และมีกฏข้อศูนย์ สำหรับควบคุมกฏสามข้อนั้นอีกที
อ้างอิง

สปอยด์:
แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้มนุษย์สั่งให้หุ่นยนต์ทำร้ายมนุษย์ได้อีก (หรือว่าที่ถูกทำร้ายไม่ใช่มนุษย์หว่า จำไม่ได้ อาจเป็นเพราะ กฏข้อแรกใช้คำว่า may not แต่ข้อสองใช้คำว่า must ความหนักแน่นของคำสั่งเลยเป็นช่องว่าง)
ชอบอยู่ตอนนึงที่หุ่นยนต์มันไม่เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา เพราะสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอกว่าไม่น่าจะสร้างสิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งกว่าได้ มนุษย์อ่อนแอ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยก็ไม่สบายแล้ว ยังอ้างวาทะเด็ดของเรอเน เดส์การตส "I think, therefor I am" เล่นเอาคนคุมหน้าหงาย เถียงไม่ออก
ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า
กลับไปอ่านที่ตัวเองเขียนแล้วขยายความต่ออีกหน่อย
เผื่อมีตัวจริงมาอ่าน จะหาว่าลบหลู่อาซิมอฟ

เพราะอันที่จริงแล้ว ตลอดเวลาที่อาซิมอฟเขียนนิยายชุดหุ่นยนต์
ท่านก็ตั้งข้อสงสัย ข้อขัดแย้งหรือตรวจสอบต่อกฎ 3 ข้อของตัวเอง
อยู่แทบจะตลอดเวลาอยู่แล้ว กฎแค่ 3 ข้อพื้นๆ ที่เขียนด้วยคำง่ายๆไม่กี่คำนั้นจึงทรงพลังมาก

I,Robot เมื่อแรกพิมพ์ เหมือนในหนังไหม  กร๊าก



ปล.จริงๆแล้วของอาซิมอฟ ชอบชุดสถาบันสถาปนามากกว่า อันนี้ถึงจะจำเรื่องได้แม่น
และข้อถกเถียงยุ่งยากซับซ้อนไม่แพ้ชุดหุ่นยนต์เลย
บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
ชอบสถาบันสถาปนา เหมือนกัน
บันทึกการเข้า






ยังไม่เคยอ่านและไม่เคยดูทั้งคู่จึงยังไม่ชอบ


บันทึกการเข้า

งบน้อย
ชอบที่เก้ออธิบายครับ
มันมีทั้งในเรื่อง i-robot matrix หรือ ใน pluto
และทุกเรื่องก็แสดงให้เห็นถึงข้อยกเว้นทั้งนั้น
บันทึกการเข้า

ความสวยไม่รับประกัน แต่ความมันเดี๊ยนรับรอง
สิ่งมีชีวิตทุกชนิดต้องตาย

เป็นกฎหรือเปล่าครับ
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
กฏของธรรมชาิติค่ะ

แต่ชื่อยังอยู่นะ  ถ้ามีความดีให้จดจำ ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า
เคยอ่านเหมือนกัน แต่รายละเอียดมันเยอะจนไม่ได้จำ

กฏของหุ่นยนต์
ข้อหนึ่ง หุ่นยนต์ห้ามทำร้ายมนุษย์ หรือนิ่งเฉย เมื่อมนุษย์ตกอยู่ในอันตราย
สอง ต้องเชื่อฟังคำสั่งมนุษย์ โดยไม่ขัดกับข้อแรก
สาม ปกป้องตัวเองได้ โดยไม่ขัดกับข้อแรกและข้อสอง

และมีกฏข้อศูนย์ สำหรับควบคุมกฏสามข้อนั้นอีกที
อ้างอิง

สปอยด์:
แต่ก็ยังมีช่องโหว่ให้มนุษย์สั่งให้หุ่นยนต์ทำร้ายมนุษย์ได้อีก (หรือว่าที่ถูกทำร้ายไม่ใช่มนุษย์หว่า จำไม่ได้ อาจเป็นเพราะ กฏข้อแรกใช้คำว่า may not แต่ข้อสองใช้คำว่า must ความหนักแน่นของคำสั่งเลยเป็นช่องว่าง)
ชอบอยู่ตอนนึงที่หุ่นยนต์มันไม่เชื่อว่ามนุษย์เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา เพราะสิ่งมีชีวิตที่อ่อนแอกว่าไม่น่าจะสร้างสิ่งมีชีวิตที่เข้มแข็งกว่าได้ มนุษย์อ่อนแอ สิ่งแวดล้อมเปลี่ยนแปลงนิดหน่อยก็ไม่สบายแล้ว ยังอ้างวาทะเด็ดของเรอเน เดส์การตส "I think, therefor I am" เล่นเอาคนคุมหน้าหงาย เถียงไม่ออก
ฮิ้ววว

เหมือนกุหลาบสีแดงฯ ของลุงวินทร์เลย ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

หน้า: 1 2 [3] 4
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!