หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 ... 79
 
ผู้เขียน หัวข้อ: สีน้ำ  (อ่าน 602849 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
แงะเลยค่ะ เอาใส่จานสีเก็บไว้ใช้ได้

เวลาใช้ค่อยเอาพู่กันลูบน้ำแตะมาใช้เอา ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

อยากย้ายจู๋นี้ไปที่ไหนสักแห่งครับ
เอาที่ไหนดีระหว่างสอนคอม (จะเปลี่ยนชื่อดีไหม ฮือๆ~) กับหิ้ง

พวกกระจู๋บางอัน ที่สอนเกี่ยวกับศิลปะ-วาดรูป-ออกแบบ
ถึงจะเกี่ยวกับการใช้โปรแกรม แต่ก็รู้สึกแปลกๆที่ไปอยู่ในสอนคอมยังไงไม่รู้
(เปลี่ยนเป็นสอนศิลป์ก็คงจะคนละเรื่อง กร๊าก)

เหมือนสอนวาดรูปของพี่กัมส์ก็ยังอยู่ในแตกโชว์เลย
เอ๊ะ หรือ หิ้งนะ  ง่ะ ยังไงก็แล้วแต่ คิดว่าอันนี้ก็น่าจะอยู่ที่เดียวกับจู๋นั้นล่ะครับ

บันทึกการเข้า

I ROCK , THEREFORE I AM
พี่เก้อมาเชียงใหม่งวดหน้าสอนสีน้ำหน่อยสิ  กรี๊ดดดดด
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
อืม.. ป้าว่าเค้าร่างกันก่อนนะ ป้าก็ร่างภาพก่อน
อาจารย์ที่สอนสมัย ปวช เค้าเคยบอกว่า "ถ้าคุณร่างภาพไม่แม่น ไม่ได้สัดส่วน ต่อให้คุณลงสีสวยแค่ไหน ใสแค่ไหน น้ำหนักดีแค่ไหน ลงสีไปภาพก็เบี้ยว มันไม่สมบูรณ์ คุณต้องแยกให้ออก ระหว่างภาพหุ่นนิ่ง กับภาพแอบแตรก คุณตั้งใจวาดให้เหมือน สัดส่วนมันต้องได้"

สรุปคือ ป้าให้ความสำคัญกับการร่างภาพมาก ต้องได้สัดส่วน แล้วตอนร่างภาพนี่ ต้องดูแล้ว รู้แล้วว่า ตรงไหนคือส่วนของแสง ตรงไหนคือส่วนของเงา เวลาลงสี มันจะได้ไม่หลงแสงเงา (บางคนเค้าร่างขอบเขตของแสงเงาเอาไว้จางๆด้วย)

ส่วนเส้นร่างที่ไม่ค่อยเห็นเนี่ย เป็นเพราะเค้าร่างเส้นเอาไว้เบาๆจ้า ถ้าเส้นมันเยอะไปก็จะลบเส้นส่วนเกินออกให้เหลือเส้นที่แน่นอนแล้วก็สะอาดที่สุด สำคัญมาก เวลาร่างภาพอย่าหนักมือเดี๋ยวงานจะสกปรกเพราะคุณสมบัติสีน้ำ มันเป็นสีโปร่งแสง จะเห็นพื้นร่องรอยเนื้อกระดาษ

... ดูเหมือนป้าจะใช้ ดินสอ HB ธรรมดานะ แต่ร่างเบาๆ
แต่พอเข้ามหาลัยก็ขี้โกงขึ้นมานิดนึง คือใช้สีไม้ละลายน้ำมาร่างภาพ  ฮิ้ววว แต่ก็ร่างเบาๆอีกเช่นเคย
โดยที่จะดูก่อนว่า โทนสีที่จะใช้สำหรับภาพนั้นเป็นโทนสีไหน ป้าก็จะใช้สีไม้(ละลายน้ำ)โทนสีนั้นร่างภาพ
แต่ส่วนใหญ่จะเน้นไปทางสีสว่างๆ โทนสีของแสงเช่น เหลือง / เขียวอ่อน

การใช้สีไม้(ละลายน้ำ)ต้องระวังนิดนึงคือ ถ้าร่างภาพผิดแล้วใช้ยางลบลบ มันจะลบไม่ค่อยออก ก็เลยต้องแม่นในการร่างภาพนิดนึง

ปล. ตอนหัดดรออิ้งอาจารย์โหดมาก เค้าจะให้ใช้ปากกาวาด คือถ้าร่างผิด ก็เปลี่ยนกระดาษ แล้ววาดใหม่  ฮือๆ~ เป็นการหัดที่โหดได้ใจจริงๆ (ถ้าใช้ดินสอก็จะยึดยางลบ วาดผิดก็ทิ้งกระดาษ วาดใหม่เลย)

ป้าเขียนยาวไปรึเปล่าเนี่ย ...ยังกะเขียนไดอะรี่  เอือม
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ธ.ค. 2006, 21:21 น. โดย แป้งหวาน » บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
ไม่ยาวๆ ตัดตอนอย่างนี้อ่านง่ายสบายตาจ้ะป้า
เอาอีกนะ กรี๊ดดดดด

//ติดบวกไว้ก่อนเพิ่งบวกให้ตะกี้
บันทึกการเข้า

 กรี๊ดดดดด ยาวแบบนี้ยังไงก็อ่านค่ะ (+1)
บันทึกการเข้า

ยิ้มน่ารัก น้องดำ
ไม่ยาวๆ ตัดตอนอย่างนี้อ่านง่ายสบายตาจ้ะป้า
เอาอีกนะ กรี๊ดดดดด

//ติดบวกไว้ก่อนเพิ่งบวกให้ตะกี้

เอาอะไรอีกดีล่ะจ้ะ  กรี๊ดดดดด
อืม..ป้าก็ไม่รู้ว่าจะสอนอะไรอีกเหมือนกัน ให้กระทู้สอนเลย ป้าก็ทำไม่ได้อ่ะ ความจริงสอนอะไรไม่ค่อยเป็น เอาเป็นว่าอยากรู้อะไรก็ถามแล้วกันนะ อะไรที่ตอบได้จะช่วยตอบอะไรที่รู้เพิ่มเติมก็จะมาช่วยสอนเหมือนในกระทู้นี้แล้วกันนะ  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
ป้าแป้งครับ (อยู่เว็บนี้เป็นป้าไปแล้วจริงๆ ยิ้มน่ารัก)




เรื่องของเรื่องคือเวลาผมใช้สีน้ำเนี่ย พอเสร็จแล้วงานมันจะออกมามันดูแห้งๆ กรังๆ
ผิดกะเพื่อน (ชือ่ไอ้ตั๋ม โดนไทร์ตอนปีหนึ่งและซิ่วมาเข้าคณะเดิมอีกรอบ)
เวลามันปาดพู่กันทีนึง โอ้วเยส ดูโทนสีมันสด เปียกและชุ่มฉ่ำกำซาบ


ทำไงครับ ไอ้มืดหมี
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ถามว่าอยากรู้อะไร จริงๆ ก็ตอบไม่ถูกค่ะ

เพียงแต่ไอ้ที่เคยวาดๆ มันไม่สวย ไม่รู้จะทำยังไงดี อยากวาดให้สวยๆ เหมือนชาวบ้านเค้ามั่ง
ของตัวเอง ตรงไหนที่อยากจะให้เส้นคม แข็งหน่อยมันกลับไม่แข็ง ตรงไหนที่อยากให้สีนุ่ม ดูสบายตามันกลับออกมาแข็งกระโด๊ก และบางครั้ง...เน่า เพราะสีมันผสมกัน (อยากให้มันฟุ้งหากันเฉยๆ ฮือๆ~)

แล้วก็อยากรู้วิธีระบายท้องฟ้า กับวิวไกลๆ ด้วยค่ะ


// หมีโหดดดด/ อยากรู้ของพี่แอนด้วย
บันทึกการเข้า

พี่แอน
เหมือนผมเลย
พยายามปรับปรุงตัวให้ทำสีฉ่ำๆ แต่ทำไม่ได้

มันเ็ป็นโรค จำพวก กลัวเปลืองสี
แล้วก็กลัวภาพเละ เปลืองกระดาษครับ
เลยไม่ค่อยกล้าเล่นสี เพราะกลัวคุมไม่อยู่
เป็นกำแพงที่ต้องทำลายออกไปครับ  ง่ะ
บันทึกการเข้า
เรื่องร่างภาพ ป้าแป้งตอบโดนใจมากๆ
นั่นแหละ ถูกต้องทุกประการเหมือนที่เบลล์เรียนมา
ต้องร่างบางๆ เบลล์เป็นคนมือหนัก เลยใช้ดินสอไส้ H-2H แทนHB
แล้วก็ร่างเงาก่อนทุกครั้ง ไม่งั้นภาพมันจะเงามั่วมากๆ
หรือถ้าไม่มั่นจริงๆลองวาดโดยวิธีใช้ปากกาวาดแบบแรเงาไปก่อนแล้วค่อยลงสีน้ำบางๆ
ก็จะเป็นวานอีกสไตล์นึงที่สถาปัดใช้กัน แต่ย้ำว่าเป็นการแรงเงา ไม่ใช่เอาท์ไลน์
ถ้าลงเอาท์ไลน์มันจะดูเป็นขอบเป็นสันเกินไป มันจะออกกึ่งๆการ์ตูน

เรื่องย้ายกระจู๋ เบลล์ก็ไม่รู้เหมือนกันค่ะว่าจะเอาไปอยู่ส่วนไหนของบอร์ด ง่ะ
เอาเถอะ อยู่ตรงไหนก็เหมือนกัน ถ้ามันจะเป็นประโยชน์ต่อหลายๆคน

เรื่องสีฟุ้ง ไม่ฟุ้ง ขอบคม ไม่คม เบลล์อธิบายไปแล้วนะ เรื่องไอ่พวก dry on wet /wet on wet/ dry on dry ...
บันทึกการเข้า

ป้าแป้งครับ (อยู่เว็บนี้เป็นป้าไปแล้วจริงๆ ยิ้มน่ารัก)----------------- ง่ะ

เรื่องของเรื่องคือเวลาผมใช้สีน้ำเนี่ย พอเสร็จแล้วงานมันจะออกมามันดูแห้งๆ กรังๆ
ผิดกะเพื่อน (ชือ่ไอ้ตั๋ม โดนไทร์ตอนปีหนึ่งและซิ่วมาเข้าคณะเดิมอีกรอบ)
เวลามันปาดพู่กันทีนึง โอ้วเยส ดูโทนสีมันสด เปียกและชุ่มฉ่ำกำซาบ

ทำไงครับ ไอ้มืดหมี

อืมมมมม อันนี้มีภาพประกอบมั้ยคะ คือต้องขอหมอดูอาการก่อน ถึงจะวิฉัยโรคได้
แต่ที่งานมันดูแห้งๆกรังๆ สันนิฐานไว้ก่อนได้ 2 แบบค่ะ คือ
1 ทำสีเน่า โดยการที่ลงซ้ำๆมากไป
2 เน่าโดยการปาดสีไปตอนที่มันเปียกชุ่มๆเกินแล้วมันก็ไปผสมกันเองจนเน่า มันก็เลยดูเกอะกรัง

สีน้ำเนี่ยเป็นวิชาที่ใช้การฝึกฝนค่อนข้างสูง
- พื้นฐานดรออิ้งต้องแน่น รู้สัดส่วนของวัตถุ แล้วก็ต้องรู้ ทิศทางของแสงเงา ต้องเข้าใจระยะ-น้ำหนัก รู้จักขาวในขาว ดำในดำ(อันนี้ต้องไปแตกในเรื่องดรออิ้งอีกทีมั้ง งง)
- เข้าใจทฤษฎีสีเป็นอย่างดี เข้าใจบรรยากาศของสี เช่น สีของวัตถุอีกชิ้นจะเข้าไปเจืออยู่บนสีของพื้นวัตถุใกล้เคียง
- เข้าใจธรรมชาติของสี อันนี้สำคัญมาก สีน้ำแต่ละสี แต่ละเบอร์ ธรรมชาติของเค้าจะไม่เหมือนกัน บางสีจะค่อนข้างทึบแสง บางสีจะค่อนข้างโปร่งแสง สีที่ทึบแสง บางทีใช้มากไป มันก็ทำให้ภาพดูไม่ใส ...ซึ่งในหนังสือมันมีบอกนะ แต่ป้าจำไม่ได้ 55555 ความจริงใช้วิธีสังเกตุเองก็ได้จ้า

การเข้าใจธรรมชาติของสี ต้องรวมไปถึงระยะเวลาจังหวะในการปาดสีด้วย บางทีถ้าน้ำ(บนกระดาษ)ชุ่มไปก็ต้องรอให้หมาดนิดนึง ก่อนที่จะแตะสีลงไปเพิ่มเติมในภาพ บางที ก็ปาดพู่กันที่ชุ่มๆสีไว้ทีนึง แล้วปาด อีกสีนึง ตามาอีกครั้ง แล้วให้กระสีมันซอปเข้าหากันเอง ..อันนี้จะทำให้สีไม่เน่า

ไม่รู้ดูภาพแล้วจะยิ่ง งง เข้าไปใหญ๋รึเปล่า  ฮิ้ววว

ส่วนใหญ่เวลาลงสี ป้าจะไม่ค่อบปาดแห้ง การปาดแห้งๆเป็นแค่การสะกิด เก็บรายละเอียดนิดๆหน่อย


แล้วก็อยากรู้วิธีระบายท้องฟ้า กับวิวไกลๆ ด้วยค่ะ

อันนี้ปาดชุ่มๆ เอาน้ำละเลงก่อนแล้วก็เอาสี ตามลงไป (วาดท้องฟ้า) แล้วก็สังเกตุดีๆ ก้อนเมฆก็มีน้ำหนักของมัน เก็บให้ได้สัก 3นน. ก็พอ  แล้วเวลาลงสีวิวไกลๆก็ให้สีตรงฟ้าหมาดซะนิดนึงก่อน เวลาที่ขอบเขตของสีไปแตะกัน มันจะได้ซึมเข้าหากันแค่เบาๆ พอแค่นุ่มๆ มันก็จะดูระยะไกลๆจางๆได้ (ระยะไกลมันจะไม่คมชัดใช่มั้ยล่ะ เบลอแล้วมันก็จะไกลๆ แต่ถ้าเบลอมากก็ไม่รู้เรื่องว่าเป็นภาพอะไร) ที่สำคัญอย่าลืม ระยะ น้ำหนักก็สำคัญอย่างยิ่ง เก็บ 3น้ำหนักไปเรื่อยๆ เดี๋ยวดีเอง  ยิ้มน่ารัก วิธีขี้โกงง่ายๆ

เพิ่มเติม : ป้าใช้พู่กันแบนลงสีท้องฟ้านะ มันกว้างดี ฮิฮิ




« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 25 ธ.ค. 2006, 22:06 น. โดย แป้งหวาน » บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
ขอบคุณมากครับ  ไหว้
บันทึกการเข้า
ขอตัวอย่างการเก็บสามนน.ค่ะ ฮิ้ววว/
บันทึกการเข้า

ก็เข้ม-กลาง-อ่อน น่ะจ้ะ อันนี้ไม่เฉพาะสีน้ำหรอก วาดรูปทั่วไปก็เป็นแบบนี้แหละ วาดการ์ตูนก็ด้วย
เดี๋ยวป้ากลับหอก่อนนะ ออฟฟิตไม่มีใครอยู่แล้ว  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

เราแก้ไขอดีตไม่ได้ แต่เราทำปัจจุบันให้ดีได้
หน้า: 1 2 3 4 [5] 6 7 8 9 10 11 12 ... 79
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!