หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16
 
ผู้เขียน หัวข้อ: ชี้แจงลิขสิทธิ์การใช้ฟอนต์  (อ่าน 74882 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
.
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ก.พ. 2007, 14:53 น. โดย ถั่วงอก » บันทึกการเข้า

ลองอ่านนี่นะครับ

http://f0nt.com/forum/index.php?topic=7046.msg482309#msg482309
คราวนี้เคลียร์ได้อย่างสนิทใจเลยแหละ
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ตามอ่านมา งง กับเจ้าของจู๋นี้ตกลงจะสื่ออะไร
บันทึกการเข้า
เค้าพยายามบอกว่า
การที่เจ้าของลิขสิทธิ์ กำหนดข้อตกลง
เพื่อจำกัดรูปแบบในการนำไปใช้
เป็นเรื่องไม่ถูกต้อง


แต่ไม่รู้ทำไม ผมเห็นด้วยกับคุณแฮปปี้นะ
เพราะกรณีที่เอาฟอนต์ไปใช้กับทีวีแล้วคิดแพงกว่า
ผมไม่เห็นด้วย เพราะก็เป็นฟอนต์เดิมๆ
ฟีเจอร์ต่างๆก็เหมือนเดิม

อย่างซอฟท์แวร์อื่นๆ เค้าก็จะมีส่วนที่แตกต่างกัน
คือฟีเจอร์ไม่เหมือนกัน ความสามารถไม่เหมือนกัน
ก็คิดราคาต่างกัน ก็ดูจะสมเหตุสมผลดี
บันทึกการเข้า
่มันน่าจะไปคล้ายๆกรณีของเพลงหรือเปล่าครับ
เพลงเปิดที่ร้านอาหารต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์อีกแบบนึง

หรือไปคล้ายๆกรณีที่ขายให้เพื่อการศึกษา
ก็จะถูกกว่าเอาไปทำมาหากินอะไรอย่างนี้



หรือ อาจจะตั้งราคาเต็มไว้ก่อนเลย เอาไปใช้ทำอะไรก็ได้
แล้วค่อยลดลง
ว่า ถ้าไม่ได้ออกทีวี เป็นราคาถูก
ถ้าเอาไว้ศึกษา เป็นราคาถูกกว่าอีกนะ เป็นต้น

« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2007, 10:13 น. โดย ภูกระดึง » บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
่มันน่าจะไปคล้ายๆกรณีของเพลงหรือเปล่าครับ
เพลงเปิดที่ร้านอาหารต้องจ่ายค่าลิขสิทธิ์อีกแบบนึง

นี่ไงพี่อ๋าห์ ที่ผมว่ามันแหม่งๆ
มันเคยมีกรณีตัวอย่างเรื่อง DVD Zone ในต่างประเทศ
ที่เค้าสามารถแคร็กเรื่อง Zone ออกมาได้
ปรากฎว่าโดนฟ้อง
แต่ศาลตัดสินว่า ไม่ผิด
เพราะเค้าซื้อดีวีดีต่างๆ มาถูกต้องตามลิขสิทธิ์
และก็ไม่ได้ทำซ้ำเพื่อจำหน่ายด้วย
ศาลบอกว่า เมื่อเค้าซื้อสินค้ามาแล้ว
ตราบใตที่ไม่ได้นำสินค้าไปจำหน่ายซ้ำ
เค้าจะเอาไปทุบ ไปตี ยังไง ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อ

อย่างลิขสิทธิ์เพลงผมไม่แน่ใจว่ามันเหมือนกับซอฟท์แวร์หรือเปล่า
แต่ที่แน่ๆ ก็เห็นถืงความละโมภอย่างน่าเกลียดของค่ายเพลง
ที่จัดเก็บลิขสิทธิ์แบบนั้น

และในกรณีของฟอนต์ต่างๆ
ผมว่ามันเข้ากรณีเดียวกับซอฟท์แวร์
ถ้าเราไม่ได้เพิ่มฟีเจอร์อะไรเข้าไป
จะไปเก็บราคาเพิ่มตาม การใช้งานมันก็แปลกๆ

อีกอย่างนึงในเว็บฟอนต์นี่
ผมว่าอย่างน้อยควรจะมี
ประกาศลิขสิทธิ์ อย่างฟอนต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ผมว่าเป็นตัวอย่างคำประกาศที่ดีนะครับ


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2007, 10:31 น. โดย iamnot » บันทึกการเข้า
นี่ไงพี่อ๋าห์ ที่ผมว่ามันแหม่งๆ
มันเคยมีกรณีตัวอย่างเรื่อง DVD Zone ในต่างประเทศ
ที่เค้าสามารถแคร็กเรื่อง Zone ออกมาได้
ปรากฎว่าโดนฟ้อง
แต่ศาลตัดสินว่า ไม่ผิด
เพราะเค้าซื้อดีวีดีต่างๆ มาถูกต้องตามลิขสิทธิ์
และก็ไม่ได้ทำซ้ำเพื่อจำหน่ายด้วย
ศาลบอกว่า เมื่อเค้าซื้อสินค้ามาแล้ว
ตราบใตที่ไม่ได้นำสินค้าไปจำหน่ายซ้ำ
เค้าจะเอาไปทุบ ไปตี ยังไง ก็เป็นสิทธิ์ของผู้ซื้อ

อย่างลิขสิทธิ์เพลงผมไม่แน่ใจว่ามันเหมือนกับซอฟท์แวร์หรือเปล่า
แต่ที่แน่ๆ ก็เห็นถืงความละโมภอย่างน่าเกลียดของค่ายเพลง
ที่จัดเก็บลิขสิทธิ์แบบนั้น

และในกรณีของฟอนต์ต่างๆ
ผมว่ามันเข้ากรณีเดียวกับซอฟท์แวร์
ถ้าเราไม่ได้เพิ่มฟีเจอร์อะไรเข้าไป
จะไปเก็บราคาเพิ่มตาม การใช้งานมันก็แปลกๆ
เหมือนกับว่าผมซื้อหนังสือมาเล่มนึง
ถ้าอ่านเอง ก็ราคานึง
ถ้าเอาไปอ่านให้เพื่อนๆฟังก็อีกราคานึง
มันดูแปลกๆนะครับ

อีกอย่างนึงในเว็บฟอนต์นี่
ผมว่าอย่างน้อยควรจะมี
ประกาศลิขสิทธิ์ อย่างฟอนต์ของกรมทรัพย์สินทางปัญญา
ผมว่าเป็นตัวอย่างคำประกาศที่ดีนะครับ



บันทึกการเข้า
 ไหว้
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2007, 23:44 น. โดย Happychan » บันทึกการเข้า

ทั้ง แก้ไข ทั้งอ้างอิง

กดทุกปุ่มเลยนะพี่นต  เกย์แอบ
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
สวัสดีครับ
คุณแอน ผมเข้ามาอ่านกระทู้นี้ได้หลายวันแล้ว
แต่ผมไม่ได้ออกความเห็น เนื่องจากว่า มันมีหลากหลายประเด็นมาก

ผมจะแยกเป็นประเด็นคร่าวๆนะครับ และอธิบายแบบหลักๆก่อน
ส่วนในเนื้อหารายละเอียด ถ้ามีใครสงสัยก็สอบถามเพิ่มเติมได้นะครับ เกย์ออก

คือในส่วนของลิขสิทธิ์ หรือการได้มาซึ่งลิขสิทธิ์นะครับ
ลิขสิทธิ์คือผลงานสร้างสรรค์ ซึ่งต่างจากสิทธิบัตร
จากประเด็นที่ว่า เจ้าของลิขสิทธิ์เรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์แพง เกินไป หรือเรียกเก็บไม่เท่ากัน
ตามการใช้งานนั้น สามารถทำได้ครับ
จากตัวอย่างที่เห็นจาก กรณีค่าลิขสิทธิ์เพลงใช่มั๊ยครับ
ที่เรียกเก็บจากผู้ฟังทั่วไป (ใช้ในที่พักอาศัยเท่านั้น) กับใช้เพื่อการค้า
ราคาไม่เท่ากัน!!!!
อันนี้เรียกเก็บจากการใช้งาน เหมือนที่มียุคนึง ทาง บ.พีเอสแอล เคยทำ คือขายสำหรับ
นักศึกษา ประชาชนทั่วไปที่ไม่ได้ใช้ในการทำการค้า เพียงแผ่นละ สามร้อยกว่าบาท
(ที่ศูนย์หนังสือจุฬาก็เคยมี จัดจำหน่ายโดยไทยซอฟท์) ขออภัยที่ต้องเอ่ยนาม

ลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของผลงานครับ ไม่มีใครไปบังคับเค้าได้ เจ้าของสิทธิ์คือผู้ทรงสิทธิ์ครับ
เช่นถ้าใครมีฟอนต์อยู่หนึ่งชุด
เค้าพึงใจกับใครคนนึงมาก เค้าให้ใช้ฟรีก็ได้ หรือเก็บจะฟอนต์ละบาทก็ได้
หรือเก็บฟอนต์ละสองหมื่นก็ได้ หรือเก็บฟอนต์ละล้านก็ได้ หรือไม่ขายและไม่ให้ใช้เลยก็ได้
ทั้งหมดขึ้นอยู่กับเจ้าของสิทธิ์ครับ
คือเราจะไปบอกเค้าไม่ได้ครับ ว่าคุณต้องขายเท่านี้นะ เท่านั้นนะ เราในฐานะผู้ซื้อไม่มีสิทธิ์ไปกำหนดเค้าครับ
แต่ถามว่าอะไรจะเป็นตัวกำหนด กลไกทางตลาดครับ คือถ้าเค้าทำแล้วอยากขาย
ถ้าขายแพงมาก คนก็ไม่ซื้อ ถ้าขายถูกไป ไม่คุ้มค่าพัฒนา ก็ไปไม่รอดทั้ง สองแบบครับ
ฉะนั้นราคาที่เค้าตั้งก็ต้องให้เหมาะสมครับ

ต่อข้อถามที่ว่าในกรณีลิขสิทธิ์ดีวีดี ที่ว่านั่นเป็นเรื่องของสำนึกครับ
ถามว่าผิดกฎหมายมั๊ย คำตอบคืออย่างที่ศาลท่านว่า ไม่ผิดครับ
แต่ความจริงควรติดต่อเจ้าของสิทธิ์ครับเพื่อจะได้มาซึ่งสิทธิ์นั้นครับ

การทำซ้ำโดยกฎหมายสามารถทำได้ครับ เช่นคุณอาจทำสำเนาแผ่นเพลง
ที่คุณใช้ฟังบ่อยๆ เนื่องจากคุณกลัวแผ่นแท้จะได้รับความเสียหายเป็นต้น

อธิบายแล้วมันแตกออกเป็นหลายประเด็น เนื่องจากมีหลายๆท่านทิ้งทุ่นไว้
เอาเป็นว่าถ้าสงสัยในกรณีใดๆแล้ว ถามตอบกันเป็นรายกรณีจะดีกว่าครับ
ไปหละ จุ๊บๆ เกย์ออก
บันทึกการเข้า

psk design un.,ltd.
 ไหว้ อ่านแล้วเข้าใจง่ายดีครับ
บันทึกการเข้า

สู่ความโดดเดี่ยว อันไกลโพ้น
ขอบคุณมากครับ

แล้วประเด็นที่ว่า
เจ้าของลิขสิทธิ์ไปตั้งข้อกำหนดในการใช้งานล่ะครับ
(เช่น ซื้อขายกันในราคาเท่านี้ ห้ามเอาไปใช้ในงานโฆษณาทีวี เป็นต้น)

กฎหมายท่านให้ทำได้ไหมครับ
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
 หน้ามึน
ประเด็นของผมไม่ได้หมายถึงเก็บแพงเกินไป
หรือยังไง ประเด็นของผมคือ คุณจะมาจำกัดการใช้งานฟอนต์
ที่ผมซื้อไปไม่ได้ ถ้าฟอนต์ของคุณคือตัวเดิม ฟีเจอร์เดิมๆ

อย่างผมซื้อรถเก๋งมาคันนึง
ผมจะเอาไปใช้แบบรถเก๋ง
หรือจะเอาไปบรรทุกของแบบรถกระบะก็ได้
ตราบใดที่ผมซื้อมาอย่างถูกต้อง
ไม่ได้ขโมยมา

ผมเชื่อว่ากรณีนี้ ส่วนใหญ่เจ้าของสิทธิ์แพ้ทุกรายครับ
แต่กรณีส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นก็คือ
ไม่ได้เคยซื้อมาก่อนต่างหาก

ท่านแฮปปี้ มีความเห็นว่าไงครับ
ผมรอฟังอยู่
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2007, 11:55 น. โดย iamnot » บันทึกการเข้า
อยากให้อ่านด้วยความรู้สึกที่เป็นกลางนะครับ
ถึงผมจะยืนอยู่ฝั่งผู้ผลิตก็จริง แต่ผมก็รักในความเป็นธรรมเหมือนกัน

คือก่อนอื่นเราต้องเข้าใจคำว่า ลิขสิทธิ์ก่อนนะครับ
คือลิขสิทธิ์เป็นของเจ้าของสิทธิ์ครับ
เค้าจะกำหนดยังไงก็ได้ เป็นสิทธิ์ของเค้า แต่ถ้าเราไม่พอใจในเงื่อนไขที่เค้าตั้งไว้
เราก็ไม่ต้องใช้ ไม่ต้องซื้อของเค้า เท่านั้นจบครับ
แต่ไม่ใช่ว่า เราจะใช้ของเค้า แล้วให้เค้าตั้งเงื่อนไขในแบบที่เราพอใจ

พอจะนึกออกมั๊ยครับ คือ สิทธิ์มันเป็นของเค้า เค้าจะให้เราใช้สิทธิ์แค่ไหนก็ได้
เป็นสิทธิ์ของเค้าครับ เช่นเพลงในซีดีของแท้ เค้าระบุว่าใช้เพื่อความบันเทิงในที่พัก
อาศัยเท่านั้น แต่เรานำมาเปิดในสถานบันเทิงเพื่อใช้ในเชิงพาณิชย์ อันนี้ผิดครับ
คือไม่ใช่ว่าเราซื้อมาถูกต้อง แล้วจะทำยังไงก็ได้นะครับ

สังเกตุประเด็นดีๆนะครับ เค้าไม่ได้ขายสิทธิ์ขาดให้กับเรา เค้าเพียงขายสิทธิ์ในการใช้ให้เราเฉยๆ
ฉะนั้นเค้าขายสิทธิ์ในการใช้ ว่าเราใช้ได้แค่ไหน เราก็มีสิทธิ์ในการใช้ได้เท่านั้นครับ
ถ้าเราต้องการใช้มากขึ้น ก็ต้องติดต่อเจ้าของสิทธิ์เพื่อจะได้รับสิทธิ์ที่เพิ่มขึ้นครับ

กลับกันในกรณีที่ผมรับจ้างทำฟอนต์ให้กับ บริษัทโฆษณา บริษัทนึง
เค้าจ้างผมทำและผมขายขาดให้กับเค้า
เค้าจะเอาฟอนต์ที่ซื้อมาไปทำอะไรก็ได้ เช่นดัดแปลง แก้ไข ขายต่อ ทำซ้ำ
แจกจ่าย ได้สารพัดครับ เพราะเป็นสิทธิ์ของเค้า เค้าซื้อขาดไปแล้ว

ฉะนั้นการซื้อขาด กับการซื้อสิทธิ์การใช้งาน จึงเป็นคนละกรณีกันครับ

และในกรณีที่เราซื้อฟอนต์มาใช้นั้น เป็นกรณีของการซื้อสิทธิ์การใช้งานครับ
ไม่ได้ซื้อขาดหรือจ้างผลิต เพราะฉะนั้นสิทธิ์ยังอยู่ที่เจ้าของครับ

อีกตัวอย่างนึง ที่เพื่อนสมาชิกยกมา

เรื่องการซื้อรถเก๋งมาใช้ ถูกครับ คือเราซื้อมาแล้วจะทำไงก็ได้ครับเพราะซื้อมาอย่างถูกต้อง
เช่น ซื้อรถเก๋ง แล้วเอามาบรรทุกแบบปิคอัพ สามารถทำได้ เพราะอะไรครับ
ก็เพราะคุณซื้อขาดมาแล้ว แต่ถ้าเกิดปัญหากับรถเช่น ช่วงล่างรับน้ำหนักมากเกินไป
แล้วคุณเข้าศูนย์ให้เค้าเครมช่วงล่างให้ คุณอาจได้รับการปฏิเสธการรับประกันได้
เนื่องจากคุณใช้สินค้าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต (ใช้ผิดประเภท)
นึกออกมั๊ยครับ รถใหม่รับประกัน สามปีหรือ หนึ่งแสนโล ก็ไม่ใช่ว่าซื้อแล้วจะทำอะไรก็ได้
เพราะคุณอาจได้รับการปฏิเสธการรับประกันจากผู้ผลิตได้เช่นกันครับ

ด้วยความเคารพนะครับ
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 01 ก.พ. 2007, 12:50 น. โดย psk_type » บันทึกการเข้า

psk design un.,ltd.
แต่ถ้าเกิดปัญหากับรถเช่น ช่วงล่างรับน้ำหนักมากเกินไป
แล้วคุณเข้าศูนย์ให้เค้าเครมช่วงล่างให้ คุณอาจได้รับการปฏิเสธการรับประกันได้
เนื่องจากคุณใช้สินค้าไม่ตรงตามวัตถุประสงค์ของผู้ผลิต (ใช้ผิดประเภท)


ตรงเผงครับ
รถที่เราใช้ (รถผมนี่ก็ได้เอ้า) เราทำอะไรก็ได้ครับ กับรถเรา
แต่ถ้าเอาไปใช้ เอาไปยกสูง โหลดแป้ก ตัดสปริง เพื่อบรรทุก หรืออะไรก็แล้วแค่
จะมาให้เคลม เขาจะถามก่อนเลย (หรือดูก็เห็นแล้วล่ะ) ว่าพังเพราะอะไร

สาเหตุถ้าไม่ได้เกิดจากเทคนิคของรถ หรือจากเครื่องยนต์
ยากครับที่เขาจะรับประกันให้

ยกตัวอย่างได้เห็นภาพดีครับ  ยิ้มน่ารัก
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
หน้า: 1 2 3 4 5 6 7 [8] 9 10 11 12 13 14 15 16
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!