หน้า: [1] 2 3
 
ผู้เขียน หัวข้อ: อันนี้ "ปวดหัว" ของจริง  (อ่าน 8344 ครั้ง)
0 สมาชิก และ 1 ขาจร กำลังดูหัวข้อนี้
วันนี้ผมมาในรูปของ GAGABOY The Singulality of the singular
ผมอยากที่จะเริ่มต้นคำถามแบบนี้   
"ภาษาพูดกับภาษาเขียนเป็นภาษาเดียวกันหรือเปล่า"


ภาษาพูด ที่เราใช้พูดกันในชีวิตประจำวัน กับ ภาษาเขียน ที่เราใช้เขียนลงไปในกระดาษ เราสามารถเรียก
มันว่าเป็นภาษาเดียวกันได้หรือไม่ ? แน่นอน ในแง่หนึ่งมันมีความแตกต่างทางด้านการใช้อยู่อย่างแแน่นอน
ระหว่างภาษาที่ใช้พูดกับภาษาที่ใช้เขียน ในการที่มันต่างก็เป็นการใช้ทักษะทางภาษาหรือเป็นการใช้ทักษะ
ในการถ่ายทอดภาษาที่แตกต่างกัน ระหว่าง การพูด กับ การเขียน  แต่ อย่างที่เรารู้กันอยู่แล้ว เรา พูด ในส่ิงที่
จะพูดออกไป ซึ่งมันขึ้นอยู่กับไหวพริบปฏิพานของการ ที่เรา จะ "พูด"ออกไปตรงนั้น แต่ เมื่อกลับมามองใน
สิ่งที่เกิดขึ้นกับการเขียนเอง เรากำลังเขียนสิ่งที่เราพูด หรือ กำลังเขียนสิ่งที่กำลังจะเขียน ผมคิดว่า
ปรากฏการณ์ ตรงนี้ชัดเจนโดยเฉพาะสิ่งที่เกิดขึ้นกับภาษาที่เราเรียกว่าภาษา ทางการ หรือ ราชการ
(หรือ จะให้เรียกว่าภาษา โดยไม่ปกติ ของ พนักงานของรัฐก็ว่าได้) ตามที่แล้วแต่จะเรียกตรงนี้ บนพื้น
ฐานของการเขียนเองมันมีพื้นฐานของสิ่งเหล่านี้เองกำกับอยู่ และแตกต่างจากสิ่งที่เกิดขึ้นในการพูด
และตรงนี้ยิ่งชัดในสิ่งที่เรารวมเรียกมันว่า "ภาษาไทย" (โดยเฉพาะในตัวอย่างที่ผมยกไปข้างบน) สิ่งผม
สงสัยก็คือ เราไม่ได้กำลังเขียนในสิ่งที่เราจะพูด และสิ่งที่เขียนเอง ก็ไม่ได้เป็นสิ่งเดียวกับสิ่งที่พูด เรา
เขียนก็เพราะเรากำลังเขียน (หรือ พิมพ์ ก็ตามแต่) และมันกลับมาในสิ่งที่ผมถามเราใช้ภาษาเดียวกันอยู่
หรือมันเป็นคนละภาษากัน  เพราะการพูดและการเขียนในหลาย ๆ ครั้ง มันไม่เคยเลยที่่จะมีหรือใช้ใน
ความหมายเดียวกัน หรีอว่าในที่สุดแล้วสองอย่างนี้ต่างก็มีอิสระจากกันและกัน และ ต่างก็มีภาษาและ
การใช้ภาษาของตัวมันเอง แต่มันก็อาจที่จะกล่าวแก้ได้ว่าคุณค่าของการเขียนเองแตกต่างจากคุณค่า
ของการพูดเป็นสองด้านของเหรียญที่ไม่มีวันแยกออกจากกัน  แต่ สิ่งที่เรามักจะทำกับการเขียนคือเรา
ทำราวกับว่าการเขียน ไม่มีีค่าอะไรมากกว่ามันเป็นเพียงเงาสะท้อนของคำพูด หรือว่าในที่สุดแล้วการ
เขียนก็คงจะหายไปในการพูด เพราะสิ่งที่ถูกอย่างไม่มีค่ามากอะไรไปกว่าสิ่งที่จะถูกพูดในที่สุด ซึ่งในที่
สุดสิ่งที่ถูกอ่านก็ยังจะคงหายไปในสิ่งที่ถูกพูด คุณค่าของการเขียนไม่เคยถูกทำให้แสดงตัวของมันเอง
ออกมา สิ่งที่ถูกเขียน (หรือ (ตัว) พิมพ์) จะมีคุณค่าเพียงแค่วัตถุของการมองผ่าน เพราะมันไม่มีคุณค่า
อะไรนอกจากวัตถุสำหรับการถูกอ่าน ....... แล้ว เรา กำลังทำอะไรกันอยู่กับสิ่งที่ เรา ทำ (และผม
ที่กำลังเรียนรู้ที่จะทำ)

GAGABOY
บันทึกการเข้า

I am the real BANGKOKIAN.
Thus, this is my home town,but it is not mine (NEVER TO BE MINE).
เว้นบรรทัดหน่อย จะลดอาการปวดหัว ตาลายได้ครับ   ง่ะ
บันทึกการเข้า

รับงานถ่ายภาพ
www.rpash.com
นี่ตูงง รึ ตูโง่ รึตูเบลอมากไปเนี่ย หน้ามึน

เท่าที่รู้ ตูไม่ค่อยเขียน

และที่สำคัญ ... ช่วยสื่อเป็นภาษาง่ายๆให้ตูได้มั้ย? หน้ามึน
บันทึกการเข้า

ห๊ะ! อะไรนะ!!!
ที่คุยๆกันในบอร์ดนี้ ถ้าออกแนวเล่นๆ
จะเป็นภาษาพูดเยอะเลยแหละ

ถ้าเป็นทางการขึ้นมาหน่อยก็จะใช้ภาษาเขียน

 ไอ้มืดหมี ไอ้มืดหมี
บันทึกการเข้า

กำลังโหลดข้อมูล .....
ไม่เหมือนกันค่ะ

ตอบแค่คำถามข้างบนนะ ข้างล่างเขียนเป็นพรืด ตาลาย
ซึ่งสาวกเคยแนะนำวิธีเขียนไปแล้วในจู๋ปวดหัว1

บันทึกการเข้า
เห็นด้วยว่า
ภาษาพูด ไม่เท่ากับภาษาเขียน
และนี่ก็เป็นตัวอย่างนึงว่า สิ่งที่เจ้าของกระทู้เขียนคือการนำเอาภาษาพูดมาเป็นภาษาเขียน พอทำอย่างนี้มันก็เลยมีสำนวนเพิ่มขึ้นมา มีรูปประโยคที่เราใช้เฉพาะการพูดมาโผล่ในประโยคเขียน
ดังนั้นอ่านแล้วอารมณ์เสียเลยครับ  กร๊าก

เดี๋ยวจะขอเปลี่ยนให้เป็นภาษาเขียน
บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
เขียนได้ไม่น่าอ่านมากๆ
บันทึกการเข้า


ถ้าพูดออกมาจะไม่ตาลาย แต่หนวกหู

ถ้าเขียนจะไม่หนวกหู แต่ตาลาย  หมีโหดดดด

จริงๆ แล้ว ภาษาพูดกับเขียน ไม่ต่างกัน เพียงแต่การเขียน ไม่มีการ react กลับมาอย่างฉับไวขนาดนั้น แล้วเรายังสามารถเรียบเรียงคำพูดที่เราเขียนไปแล้วอีกทีหนึ่งทำให้มีความสละสลวยถูกต้อง

มากกว่าพูดจิ๊ดนึง

ซึ่งจะดีกว่านี้มากถ้าพยายามแนว โดยการแบ่งให้มันอ่านง่ายนิดนึง

ซึ่งมันจะทำให้รู้ว่าได้ตรวจทานหรือผ่านการอ่านมาบ้างแล้วในระดับหนึ่ง  ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
วาว คุณ "หมอแมว" มองเห็นวาระซ่อนเร้นในกระทู้ของผมด้วย ขอคาราวะ ไหว้ ด้วยใจจริง
บันทึกการเข้า

I am the real BANGKOKIAN.
Thus, this is my home town,but it is not mine (NEVER TO BE MINE).
เฮ้อ..

ถ้าใครไม่เข้าใจโปรดกลับไปอ่านใหม่นะครับ  หมีโหดดดด




-----------
ล้อเล่นน่ะ  ลันล้า
บันทึกการเข้า

กำลังโหลดข้อมูล .....
เฮ้อ..

ถ้าใครไม่เข้าใจโปรดกลับไปอ่านใหม่นะครับ  หมีโหดดดด




-----------
ล้อเล่นน่ะ  ลันล้า

 กร๊าก
บันทึกการเข้า

เราจะต้องการอะไรมากมายไปกว่า อะไรมากมาย
ผมเข้าใจว่าไม่ใช่แค่หมอแมวนะครับที่ดูออก ฮิ้ววว
แต่.. ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

ทำมาหากินด้วยการเปิดร้านสกรีนเสื้อยืด จ้ะ
ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

        AH_LuGDeK, AH_LuGDeK_R
 ฮิ้ววว
บันทึกการเข้า

nuugo.blogspot.com
instagram.com/nuugo
อันนี้ผมแปลนะครับ สีม่วงคือข้อความที่ถูกแปล


วันนี้ผมมาในรูปของ GAGABOY The Singulality of the singular
ผมอยากที่จะเริ่มต้นคำถามแบบนี้
"ภาษาพูดกับภาษาเขียนเป็นภาษาเดียวกันหรือเปล่า"

ขอเปลี่ยน
"ภาษาพูดกับภาษาเขียนเป็นภาษาเดียวกันหรือเปล่า"

ภาษาพูดที่เราพูดกันทุกวัน กับภาษาเขียนที่เขียนลงกระดาษ เป็นภาษาเดียวกันหรือไม่
ที่จริงแล้วสองอย่างนี้มันมีความแตกต่างกันอยู่ทั้งในลักษณะการใช้งานและต่างกันในแง่วิธีการสื่อ
เพราะอย่างเรื่องการพูด สิ่งที่เรากำลังพูดมักเป็นสิ่งที่เรียบเรียงจากสมองออกไปในเวลานั้น จึงมักเป็นการใช้ไหวพริบประกอบด้วย(ไม่ใช่ใจความที่ต้องการสื่อแต่อย่างเดียว)
...
พอมองย้อนกลับมา ผมเลยมองว่า ตกลงเรากำลังเขียนสิ่งที่กำลังจะพูด หรือว่า เขียนสิ่งที่กำลังจะเขียน
อย่าเพิ่งงงครับ ผมกำลังจะอธิบายต่อ
เรื่องนี้ยกตัวอย่างได้ชัดเจนในการใช้ภาษาราชการซึ่งมันก็เป็นภาษาไทย ซึ่งพอไปดูกันจริงๆ เวลาข้าราชการเขียนหรือพิมพ์เอกสารราชการออกมาฉบับนึงส่งผู้ใหญ่... ก็ไม่ได้เหมือนกันกับเวลาข้าราชการไปพูดเรื่องเดียวกันนี้กับผู้ใหญ่
ซึ่งไม่เหมือนนี้ ไม่เหมือนทั้งคำที่ใช้และเนื้อหาบางส่วนทั้งที่กำลังพูดเรื่องเดียวกันอยู่!!!   

ที่ผมสงสัยก็คือ ตกลงแล้วภาษาเขียนและภาษาพูด เป็นภาษาเดียวกันหรือคนละภาษาไปเลย
มีบ้างไหมที่ภาษาเขียนและพูดมีรูปแบบเดียวกัน หรือว่ามันมีอิสระจากกัน
อย่าลืมนะครับ รูปแบบที่ว่านี่ผมไม่ได้พูดถึงแค่รูปลักษณ์ภายนอก แต่หมายถึงวิธีคิดวิธีสื่อสารด้วย!!!
ในสิ่งที่ผมสงสัยนี้ก็ยังมีข้อแย้งจากบางคนว่า ที่จริงแม้มันจะไม่เหมือนกัน แต่ทั้งภาษาเขียนและภาษาพูดก็เป็นอีกด้านหนึ่งของกันและกัน
.....
แต่ผมขอแย้งกลับว่าแล้วถ้ามันเป็นอีกด้านหนึ่งของกันและกัน แต่ทำไมสิ่งที่เราทำกับการเขียนจึงเป็ฯเช่นปัจจุบัน นั่นคือทำให้การเขียนเป็นเหมือนกับแค่เงาสะท้อนของคำพูด.... หรือใช้ภาษาเขียนด้วยคำเดียวกับภาษาพูด
เมื่อเป็ฯเช่นนั้นการอ่านก็เปลี่ยนไป แทนที่จะเป็นการ"อ่าน"งานเขียนแล้วคิดต่อเติม ก็กลายเป็นการ"ฟังด้วยสายตา"


ดังนั้น ผมขอคัดค้านการใช้ภาษาวิบัติ และอยากให้ทุกคนตั้งใจในการเขียนให้มากขึ้น ให้การเขียนเป็น"การเขียน"จริงๆ


GAGABOY








ผมแปลได้แบบนี้ครับ ไม่รู้ตรงหรือเปล่า
ปัญหาคือ ผมเข้าใจสิ่งที่คุณสื่อครับ
แต่การเขียนตัวเล็กไม่เว้นวรรค มันทำให้อ่านยากมากครับ
....
แถมถ้านั่นเป็นสิ่งที่คุณจงใจก็คือ "เขียนเลียนแบบการพูด"
คุณเป็นคนที่พูดไม่รู้เรื่องทีเดียวครับ.... เหมาะแก่การกล่าวสุนทรพจน์เป็นอย่างยิ่ง  กร๊าก
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 23 ม.ค. 2007, 15:38 น. โดย หมอแมว » บันทึกการเข้า

ฝันซ่อนสับสนวุ่นวาย หย่อนคล้อย
หน้า: [1] 2 3
 
 
Powered by MySQL Powered by PHP Powered by SMF 1.1.21 | SMF © 2006-2007, Simple Machines | Thai language by ThaiSMF Valid XHTML 1.0! Valid CSS!