แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่ #1

โดย

ฟอนต์.คอมได้รับข่าวสารการประกวดที่น่าสนใจจาก “ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย” เป็นโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่ ครั้งที่ 1” ซึ่งเป็นชนวนระเบิดอีกลูกของวงการการออกแบบฟอนต์บ้านเราให้ยิ่งคึกคักตูมตาม ดูแล้วน่าสนุกดีครับ ปิดเทอมนี้นักเรียนนิสิตนักศึกษาและผู้สนใจลองส่งผลงานมาเข้าประกวดดู ได้อะไรดีๆ เยอะเลยครับ

ฟอนต์ภาษาไทยในระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ได้ถูกพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง ควบคู่ไปกับการพัฒนาระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ให้รองรับภาษาไทย จนทำให้เกิดการใช้งานในทุกๆ ส่วนของสังคมอย่างทั่วถึง ในปัจจุบันซอฟต์แวร์ทั้งในระบบเปิด (Open Source Software) และระบบปิด (Commercial Software) ล้วนต้องใช้ฟอนต์ด้วยกันทั้งสิ้น ฟอนต์ภาษาไทยที่ใช้กันอย่างแพร่หลายส่วนใหญ่ มักจะเป็นฟอนต์ที่มาพร้อมกับระบบปฏิบัติการวินโดวส์ และระบบปฏิบัติการ Mac OSX ซึ่งเป็นฟอนต์ที่มีลิขสิทธิ์ มีบางฟอนต์ที่ผู้พัฒนาอนุญาตให้นำไปใช้ได้โดยไม่คิดมูลค่า เช่น ฟอนต์ที่พัฒนาโดยองค์กรในภาคอุตสาหกรรมการพิมพ์ คือ ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย สหพันธ์อุตสาหกรรมการพิมพ์ และฟอนต์ที่พัฒนาจากโครงการของกรมทรัพย์สินทางปัญญาร่วมกับสำนักงานส่งเสริม อุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (SIPA)
ในส่วนของนักพัฒนาฟอนต์เองก็มีจำนวนจำกัด เนื่องจากไม่มีการเรียนการสอนโดยตรงในสถาบันการศึกษา นักพัฒนาฟอนต์เหล่านี้จึงต้องขวนขวายศึกษาหาความรู้เอาเองอย่างไร้การ สนับสนุนจากสังคมทำให้เกิดปัญหาการขาดแคลนผู้มีความรู้และ ประสบการณ์ อันจะนำไปสู่ปัญหาคุณภาพของฟอนต์ที่จะถูกพัฒนาขึ้นในอนาคต
ชมรมการจัดพิมพ์อิเล็กทรอนิกไทย จึงคิดโครงการ “แข่งขัน-ประชัน-นักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่” ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบฟอนต์รุ่นใหม่ๆ และเพื่อเชื่อมโยงเครือข่ายผู้เกี่ยวข้องกับการพัฒนาฟอนต์ ให้มีความเข้มแข็ง เกิดการพัฒนาฟอนต์ภาษาไทยอย่างยั่งยืนและมีคุณภาพ

วัตถุประสงค์

  • ส่งเสริมการอนุรักษ์และพัฒนาศิลปวัฒนธรรม ด้านอักขระภาษาไทย เพื่อมีแบบตัวพิมพ์ไทยให้เลือกใช้ได้อย่างเหมาะสม หลากหลาย อ่านได้ง่าย สวยงาม และเหมาะกับเนื้อหาของงาน
  • ส่งเสริมให้เกิดนักออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่ โดยการสร้างเวทีสำหรับการแข่งขันประชันผลงานขึ้นอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี
  • ส่งเสริมให้เกิดการต่อยอดในเชิงพาณิชย์ สำหรับนักออกแบบตัวพิมพ์รุ่นใหม่
  • เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย อันประกอบด้วย อาจารย์ในสถาบันการศึกษา นักศึกษา นักออกแบบ บริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ ผู้ใช้ เครือข่ายสื่อต่างๆ และทรัพยากรบุคคลอื่นๆ เพื่อพัฒนาให้เครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทยมีความเข้มแข็งและยั่งยืน

คุณสมบัติผู้เข้าแข่งขัน

  • มีสัญชาติไทย
  • นิสิต นักศึกษาในสถาบันการศึกษาที่เปิดสอนวิชา lettering design และ typography
  • นักออกแบบกราฟิก และบุคคลทั่วไปที่สนใจการออกแบบตัวพิมพ์

การส่งผลงาน

  • ส่งผลงานในรูปแบบไฟล์ชนิด pdf โดยผ่านทางเว็บไซต์ www.tepclup.com/upload/ ซึ่งได้พัฒนาให้มีระบบการคุ้มครองทรัพย์สินทางปัญญาของผู้ออกแบบ ไว้เป็นอย่างดี
  • ลักษณะของผลงานที่ส่งเข้าแข่งขัน
    • ผลงานออกแบบตัวพิมพ์ ไม่จำกัดประเภท ได้แก่ ตัวเนื้อความ, ตัวพาดหัว, ตัวแฟนซี ฯลฯ
    • ผลงานออกแบบตัวพิมพ์ ให้เรียงเป็นข้อความสั้นตามแบบฟอร์ม “ใบส่งผลงาน” บนพื้นที่ขนาด A3 ที่คณะกรรมการกำหนด
  • วันสิ้นสุดการรับผลงาน 31 มี.ค. 2554

การพิจารณาผลงาน

  • คณะกรรมการคัดเลือก จำนวน 5 ท่าน ซึ่งแต่งตั้งจากผู้ทรงคุณวุฒิด้านการออกแบบตัวพิมพ์และผู้แทนสมาคมนักออกแบบ เรขศิลป์ไทย (ThaiGa) ทำหน้าที่คัดเลือกผลงานทั้งหมดที่ส่งเข้าแข่งขัน
  • คัดเลือกให้รางวัลกับผู้ได้รับคะแนนสูงสุด จำนวน 20 คน
  • 4 เม.ย. 2554 แจ้งผลการตัดสินถึงผู้ได้รับการคัดเลือก
  • 11 เม.ย. 2554 ประกาศผลการคัดเลือก และเผยแพร่ผลงานที่ผ่านการคัดเลือก ผ่านทางสื่อต่างๆ

รางวัล

  • โล่ประกาศเกียรติคุณ
  • เข้าค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์ เป็นเวลา 3 วัน ระหว่างวันที่ 30 เม.ย. – 2 พ.ค. 2554
  • เผยแพร่ผลงานและข้อมูลของผู้ออกแบบ ผ่านทางสื่อต่างๆ ในเครือข่ายพันธมิตร

ค่ายพัฒนานักออกแบบตัวพิมพ์

  • วันเสาร์ที่ 30 เม.ย. – จันทร์ 2 พ.ค. 2554
    • กิจกรรมทัศนศึกษา
    • เยี่ยมชมโบราณสถาน หรือพิพิธภัณฑ์ ที่มีจารึกภาษาโบราณ เรียนรู้ประวัติศาสตร์ วัฒนธรรม วิถีชีวิตของกลุ่มชาติพันธุ์ ที่มีภาษาพูด ภาษาเขียนของตนเอง
  • กิจกรรมสัมมนาวิชาการ
    • ฟอนต์และเทคโนโลยีของฟอนต์
    • ประสบการณ์ในการออกแบบตัวเนื้อความ ตัวพาดหัว และตัวแฟนซี
    • ประสบการณ์ในการใช้โปรแกรมสร้างฟอนต์
    • การทำตลาดฟอนต์ในประเทศและต่างประเทศ
  • กิจกรรมสร้างเครือข่าย
    • จับคู่นักออกแบบและบริษัทผู้พัฒนาฟอนต์ เพื่อให้เกิดการพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์
    • แนะนำเครือข่ายฟอนต์ในประเทศไทย เครือข่ายสังคมออนไลน์ และนิตยสารด้านการออกแบบกราฟิก
    • สร้างการมีส่วนร่วมของบุคลากรในเครือข่ายฟอนต์ โดยการเป็นวิทยากร การเป็นพี่เลี้ยงให้นัก ออกแบบตัวพิมพ์หน้าใหม่

ตัวชี้วัด

  • มีผลงานที่สามารถพัฒนาต่อยอดเชิงพาณิชย์ ได้ไม่น้อยกว่า 20 ผลงาน

.


ดาวน์โหลดใบส่งผลงาน (PDF)
| ดาวน์โหลดรายละเอียดโครงการ
หากสนใจสามารถอ่านรายละเอียด ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม และส่งผลงานได้ที่ TEPClub.org ครับ

01 Mar 2011