ชวนมาเล่นเกม “ดัดอักษร” เพลินๆ ครับ
น้ำท่วมยามนี้ หลายคนอยู่บ้านไม่รู้จะทำอะไร หลายคนก็ชิ่งออกจากบ้านเรียบร้อย จะทำงานทำการก็ไม่สะดวก .. งั้นเรามาเบล่นเกมเพลินๆ กันครับ เกมนี้ชื่อ “Shape Type”
โดยวิธีเล่นเกมนี้ก็ไม่ยากเลยครับ เขาจะมีแบบตัวอักษรเป็นเส้นเวกเตอร์ ที่ดัดเกือบเสร็จละ เหลืออีกนิดเดียวเท่านั้น ซึ่งอีตรงที่เหลือนิดเดียวที่ว่านั่นก็จะให้คุณมาดัดให้เสร็จออกมาเป็นฟอนต์ เสร็จแล้วมันก็จะเปรียบเทียบให้ว่าเนียนไหม ถ้ายอ่งเนียนมากเท่าไหร่ ก็จะได้คะแนนเป็นเลขเปอร์เซ็นต์มากเท่านั้นครับ
“เอกเขนก” ฟอนต์สบายๆ สไตล์เอกเขนกทำ
ฟอนต์นี้ทำสนุกมากค่ะ ใช้ลายมือตัวเองเป็นพิมพ์เขียว
ตั้งใจให้มีความเป็นฟอนต์ลายมือมากที่สุด อักขระทุกตัวเลยใช้วิธีเขียนใหม่หมด
ลองสังเกตดูนะเอ้อ สระบนล่างไม้เอกไม้โทบางทีไม่เหมือนกันนะ ^^
ปล่อยฟอนต์รับน้ำท่วม เชื่อมั่นในหัวใจคนไทยฮะ
“2554 ed_crub Artnarong” เป็นฟอนต์ตัวที่สองครับ
เอกลักษณ์ คือ เส้นบนตัดตรง หัวกลมแต่ตัดขาดไม่เชื่อมกัน ขลิบปลาย…. (อุ๊ย หวาดเสียว)
ฟอนต์ 2554 ed_crub Artnarong เหมาะกับการเป็นข้อความ(รีเปล่า)
อาจเป็นตัวดิสเพลย์ได้บ้าง (เหรอ) ลองๆ กันดูแล้วกันครับ :P
เอาเป็นว่า **โปรดใช้วิจารณญาณในการเลือกฟอนต์** ตามนั้นครับ
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ที่ปรับปรุงมาจาก Layiji มหานิยม เบา รุ่น 1.0 และ 1.1 ครับ
สำหรับผู้ที่ต้องการใช้รุ่นเก่าก็ตามไปโหลดได้เลย แต่ตัวนี้ปรับรุ่นพัฒนาอะไรข้างในพร้อมปรับดีไซน์ใหม่อีกหน่อย มีอะไรบ้างลองดูกันนะ
RD CHULAJARUEK 1.02
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ตัวแรกในชีวิตของเจ้าของฟอนต์ครับ รูปแบบฟอนต์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโปรแกรม CU-WRITER
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “CW” นั่นเอง เป็นโปรแกรม Word Processor ที่รันบนระบบปฏิบัติการ DOS เมื่อสมัยที่เรายังใช้ CPU ความเร็วแค่ 44 MHz และใช้แรมแค่ 4 MB นั่นแหละครับ แรกเริ่มเดิมทีมันเลยชื่อว่า REROYD MONOTYPE CW CLONE ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อ RD CHULAJARUEK ตามชื่อภาษาไทยของตัวโปรแกรม CU-WRITER นั่นเอง
เป็น อยู่ คือ : อนุทิน วงศ์สรรคกร
เทปบันทึกภาพรายการ “เป็น อยู่ คือ” ออกอากาศทางสถานี ไทยพีบีเอส เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2544 เนื้อหาที่ถูกนำมาออกอากาศเป็นบางส่วนจากการสนทนากับ อนุทิน วงศ์สรรคกร นักออกแบบตัวอักษร และนักจัดวางตัวอักษรของไทย ลองมาดูและฟังทัศนคติของคุณอนุทิน แห่งคัดสรรดีมากกันครับ รายการถ่ายทำ ตัดต่อและคัดเลือกคำถามได้ดีมากๆ ครับ โดยเฉพาะ อ.อนุทิน ที่นอกจากจะให้ความรู้เรื่องการออกแบบตัวอักษรแบบไม่กั๊กแล้ว ยังช่วยขยายทัศนคติของนักออกแบบ ไม่ใช่แค่ออกแบบตัวอักษรนะ-แต่เป็นนักออกแบบทุกแขนงเลยล่ะ-ที่สำคัญฟังแล้วฮึกเหิมสุดๆ เลยครับ
[swfobj src=”http://www.f0nt.com/wp-content/uploads/2011/09/leftovers-plus.swf” width=”450″ height=”350″]
เป็นฟอนต์ตัวที่สองในชีวิตของเครทคุง (รอบแก้ไขใหญ่) ต่อยอดจากของเดิมด้วยการเติมตัวอักษรพิมพ์เล็กลงไป กว่าจะทำเสร็จก็แทบแย่ ไหนเวลาก็ไม่ค่อยจะมี แถมดองเค็มเก่งอีกแน่ะที่มาของชื่อ ก็เหมือนกับตัว Leftovers แหละครับ เพียงแค่ต่อท้ายด้วย Plus ซึ่งก็ตรงๆ ตัวว่า “เพิ่ม” ตัวพิมพ์เล็กเข้ามาด้วย
ที่มาที่ไปของแต่ละฟอนต์ DB สำหรับแฟนๆ ครับ
ผมเองก็ชอบใช้ฟอนต์ DB นะครับ ตั้งแต่สมัยที่เขาแจกเถื่อนเมื่อสิบกว่าปีก่อน (อุ๊บ) จนได้ซื้อมาครอบครองเป็นสมบัติของตัวเองก็พบว่าหลายๆ ฟอนต์เหมาะกับเรามากๆ แถมราคาไม่แพงเกินไปด้วย (อ๊ะ รีบเปลี่ยนโหมด ไม่งั้นดูเหมือนจะมาโฆษณาให้เขา 555)
ฟอนต์.คอม เป็นเว็บไซต์สำหรับผู้สนใจในการออกแบบ ใช้งานฟอนต์ และแลกเปลี่ยนความรู้ด้านการออกแบบอื่นๆ ลิขสิทธิ์ของผลงานฟอนต์ทุกชิ้นที่ปรากฏ เป็นของผู้สร้างสรรค์ ซึ่งอนุญาตให้เราเผยแพร่ และอนุญาตให้คุณดาวน์โหลดฟอนต์ต่างๆ ไปใช้งานได้ฟรี เว้นแต่จะมีการกำหนดสัญญาอนุญาตเป็นพิเศษ (ซึ่งระบุไว้ในเอกสารแนบหรือข้อความแสดงสัญญาอนุญาตของแต่ละฟอนต์) … เราขอเป็นอีกหนึ่งแรงขับเคลื่อนเล็กๆ ให้กับวงการออกแบบกราฟิกร่วมสมัยของไทยให้โตวันโตคืน .. ทั้งนี้ เรายินดีรับเผยแพร่ฟอนต์จากผู้สร้างสรรค์ทุกท่าน (อ่านกติกาได้จากในฟอรัมจ้ะ)
Powered by ร้านสกรีนเสื้อยืดโมนามาเฟีย | นโยบายความเป็นส่วนตัว •