minimal
ทอศิลป์ แพรตะวัน (Torsilp Preatawan)
เป็นฟอนต์ที่พัฒนาต่อจากฟอนต์ “ทอศิลป์ ภาณุพันธุ์“ ตัวบางปลายเส้นกลมมน และ “ทอศิลป์ ขนิษฐา“ ตัวหนาเส้นปลายตัดเรียบ โดยปรับเพิ่มให้ตัวอักษรมีหัวอีกเล็กน้อย และปรับจากเส้นปลายตัวอักษรที่กลมมนเป็นเส้นตัดตรง แจกฟรีครับผม
All-rounder for all designer ดูดีเรียบง่าย ใช้ได้รอบด้าน เพื่อทุกงานกราฟิก สะท้อนวิสัยทัศน์ที่ชัดเจน สมบูรณ์แบบในรายละเอียด มาพร้อมน้ำหนักให้เลือกใช้ถึง 10 ระดับ 20 สไตล์
แบบอักษร Prathabsorn เป็นแบบอักษรไม่มีเชิงกึ่งทางการที่ผสมผสานเทคนิคสเตนซิล เทคนิคสเตนซิลเป็นวิธีการสร้างภาพโดยใช้แม่แบบที่มีการเจาะช่องเป็นรูปร่างต่าง ๆ แล้วใช้สีทาทับลงไป ส่งผลให้เกิดรอย “ประทับ” บนพื้นผิววัสดุ
ทอศิลป์ขนิษฐา (TorsilpKanittha)
ทำฟอนต์ตัวยากๆ สำเร็จอีกตัวนึงแล้ว ภูมิใจมากครับ ฟอนต์ยากตัวแรกคือฟอนต์ตัวพื้นที่อ่านง่าย “ทอศิลป์เรียงความ“ อันนั้นทำสำเร็จไปแล้ว มีฟอนต์อีกรูปแบบนึงที่ทำยากเหมือนกัน คือฟอนต์ไม่มีหัวเพื่อใช้เป็นดิสเพลย์ พวกหัวข้อเน้นๆ ใหญ่ๆ นี่แหละครับ ชื่อฟอนต์ “ทอศิลป์ขนิษฐา”
“คนเรามีความพยายามทำได้อยู่แล้ว” – เป็นคำคมที่ผมใส่ไว้ในสูจิบัตรเวลาที่อาจารย์ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะของตัวเอง คิดอะไรไม่ออกว่าคำไหนคมไม่คม ก็เลยเอาคำที่อาจารย์ชอบบอกเรามาใช้เลย สมัยก่อน อาจารย์ชอบบอกว่า ภาณุพันธุ์ต้องพยายามฝึกนะ อาจารย์เชื่อว่า “คนเรามีความพยายามทำได้อยู่แล้ว”
แบบอักษร Paisal RC (Rounded-Contrast) เป็นแบบอักษรที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากแบบอักษร Paisal Rounded และ Paisal Contrast เป็นการผสมสองแบบอักษรเข้าด้วยกัน ส่งผลให้โครงสร้างแบบอักษรนี้มีลักษณะกลมมนและเปรียบต่าง
แบบอักษร Paisal Rounded เป็นตระกูลอักษรแบบแซนเซอริฟ ที่ได้รับการพัฒนาต่อยอดจากแบบอักษร Paisal โดยมีการเพิ่มกลมมนให้กับตัวอักษร ส่งผลให้แบบอักษรนี้มีลักษณะที่แสดงถึงความนุ่มนวล กลมมน
แจกฟรี!! สำหรับใช้ส่วนตัวกับงานที่ไม่เกิดรายได้เท่านั้น ถูกใจ! ต้องการใช้เชิงพาณิชย์ ราคาเริ่มต้น 150.-
พีเค แม่ฮ่องสอน ราวด์ | PK Maehongson Round
พีเค แม่ฮ่องสอน ราวด์ ฟอนต์ที่ถูกปรับปรุงมาจาก พีเคแม่ฮ่องสอน โดยปรับให้ปลายมน เพิ่มความยืดหยุ่นในการใช้งาน มีลักษณะเรียบง่ายและทันสมัย ทำให้เหมาะกับการใช้งานหลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นงานพิมพ์ งานออกแบบดิจิทัล หรือสื่อโฆษณาต่าง ๆ
เอฟซี ดีแฟรกเมนต์ (FC Defragment)
จัดเรียงชิ้นส่วน จับเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกัน – หากใครใช้ฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Defragment ซึ่งเป็นกระบวนการจัดเรียงข้อมูลใหม่จากชิ้นส่วนของข้อมูลที่กระจัดกระจาย ฟอนต์เอฟซี ดีแฟรกเมนต์ ก็ใช้แนวคิดเดียวกัน