experiment
ฟอนต์รวมร่าง แนวคิดจาก ALS lamon font ตัวเขียนซ้อนและซ่อนในตัวพิมพ์ ตอนแรกมันเนียนเกินไป เลยปรับเส้นตัวเขียนให้บางมาก
ฟอนต์ซ้อน เป็นการทดลองทำ reverse direction คือทำอักษรให้ทิศทางของเส้นที่วาดสวนทางกับตัวปรกติ เพื่อให้เวลาอักษรซ้อนกันแล้วเกิดรูทะลุ
ฟอนต์ทรงสมัย ออกแบบสำหรับรูปยานยนต์ หุ่นยนต์… ตัดเส้นเชื่อม ลดเส้นโค้ง เหลือแค่ทรงเหลี่ยม ทรงกลม ประกอบกัน อ่านค่อนข้างยาก ใช้พาดหัวพอไหว… ประโยคยาวๆ อย่าได้ใช้ (เช่นเคย)
ฟอนต์น้อยแต่ยาก ที่มาจากการพูดผิด จาก “น้อยแต่มาก” กลายเป็น “น้อยแต่ยาก” คำนี้ทำให้นึกถึง calligraphy font “minimum” ที่มักถูกล้อว่าเป็น “รั้ว”
ฟอนต์สังหาร เป็นฟอนต์ทดลอง ทำ lettering จากฟอนต์ริบบิ้น โดยออกแบบฟอนต์ริบบิ้นใหม่ ฐานอักษรไม่สม่ำเสมอ เพิ่มความเป็น lettering โดยการเพิ่มตัวอักษร ก-ฮ เข้าไปอีกหลายชุด หลากรูปแบบ คำหนึ่งคำ จึงมีรูปแบบออกมาได้หลากหลาย
ฟอนต์ค้างคาว แนวทางจาก logo ดอนผีบิน วงดนตรีที่เราตัดสินใจซื้อเทป จากรูป logo บนปก ที่เห็นในหนังสือพิมพ์ แล้วนั่งรถเมล์ไปซื้อที่ร้านน้อง ท่าพระจันทร์ ..เมื่อน้านนนนนมาแล้ว :)
ฟอนต์ระเบียง เรียงเป็นแถว เอาไว้ตกแต่ง จะอ่านต้องหยีตา… จึงพอเห็น ใช้เป็นพาดหัวยังยาก ข้อความอย่าได้ทำ :)
ฟอนต์นี้สร้างเพื่อจัดทำโครงงานคณิตศาสตร์ รองรับเฉพาะภาษาอังกฤษ ตัวเลข และอักขระพิเศษบางตัว ขอบคุณสำหรับพื้นที่นะคะ
ฟอนต์ที่จัดการด้วยความระมัดระวัง – Create with care
“ชิ้นส่วน” คือโจทย์ของการออกแบบ ที่ต้องการให้แต่ละตัวอักษรประกอบกันด้วยชิ้นส่วนมากกว่าหนึ่งชิ้นโดยที่แต่ละชิ้นไม่ติดกันแต่บรรจบกันอย่างแผ่วเบาและลงตัว
ฟอนต์ลายมือน่ารัก ฟอนต์มีไม่หัว ฟอนต์ 2D ทำมาจากการปั้น 3D มีด้วยกัน 3 น้ำหนัก คือ บาง ปกติ หนา นูร่าราดาเปิดให้ใช้ฟรีงานส่วนตัวและงานทั่วไป น้ำหนักบางนะคะ