Digital
ฟอนต์ ทีเอ เกมบอย / TA Game Boy Font เป็นฟอนต์แนวพิกเซล ที่ได้แรงบันดาลใจจากในตอนวัยเด็กชอบเล่นเกมบอย แล้วจะเห็นฟอนต์นี้ตอนเปิดเครื่องเกมทุกครั้ง จึงไปหารูปแบบเก่าๆ ของฟอนต์ตัวนี้จากเว็บ แล้วนำมาต่อยอดเป็นฟอนต์ไทยสไตล์พิกเซลเต็มตัว
ฟอนต์พิกเซลเล็ต มาในรูปแบบตัวเม็ดพิกเซลสุดคลาสสิก ตอนแรกกะจะทำแบบแถวเดียวทึบ ให้ความกว้างไม่เกิน 5-6 เม็ดพิกเซล แต่ทำไปทำมาบางตัวกว้างไปถึง 12 พิกเซลเลย แหะๆ
ฟอนต์ 7บิต แนวคิดมาจาก ASCII art text banner ที่นิยมใช้บนระบบ unix, linux ตั้งแต่ยุคที่ ASCII รองรับแค่ 7 บิต โดยเลือก font Slant เป็นต้นแบบ แล้วดัดแปลงเป็นภาษาไทย ทำ kerning โดยจำเป็น
เป็นฟอนต์แนวเกมพิกเซล เรโทร ย้อนยุค นะครับ ฟอนต์นี้น่าจะถูกใจสายเกมยุคเก่าๆ หน่อย โดยผมเริ่มต้นทำตัวฟอนต์จากเว็บ fontstruct.com นะครับ เสร็จแล้วจึงเซฟมาทำงานต่อในโปรแกรมทำฟอนต์อีกที
เป็นฟอนต์ประเภทโมโนสเปซ ตัวสูงนิดนึง ทำให้ที่วางสระบนไม่พอจึงต้องปรับแก้เยอะหน่อยครับ
ประกาศจาก คณะซู๊ดสตูดิโอ ซ.ส.ด.อ.
ขณะนี่ฟอนต์สุดหฤท8บิท ZoodHarit8Bit ได้ทำการสร้างสรรค์ครบทั่วทุกด้านแล้ว เพื่อความสงบเรียบร้อยของหน้าหนังสือและงานสร้างสรรค์ต่างๆ ของท่าน… ขอความร่วมมือให้ท่านได้โหลดไปใช้ซะเดี๋ยวนี้ ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษรู้สึกผิดถ้าผู้อื่นเอาไปใช้ก่อน
RD CHULAJARUEK 1.02
ฟอนต์ตัวนี้เป็นฟอนต์ตัวแรกในชีวิตของเจ้าของฟอนต์ครับ รูปแบบฟอนต์ได้รับแรงบันดาลใจมาจากโปรแกรม CU-WRITER
หรือที่เราเรียกกันติดปากว่า “CW” นั่นเอง เป็นโปรแกรม Word Processor ที่รันบนระบบปฏิบัติการ DOS เมื่อสมัยที่เรายังใช้ CPU ความเร็วแค่ 44 MHz และใช้แรมแค่ 4 MB นั่นแหละครับ แรกเริ่มเดิมทีมันเลยชื่อว่า REROYD MONOTYPE CW CLONE ก่อนจะเปลี่ยนมาเป็นชื่อ RD CHULAJARUEK ตามชื่อภาษาไทยของตัวโปรแกรม CU-WRITER นั่นเอง