ฟอนต์ทำจากภาพถ่ายของ อ.เอนก นาวิกมูล ที่ post ไว้ ใครนำไปใช้.. มีเวลาไปอุดหนุน ตลาดสามชุก จ.สุพรรณบุรี กันหน่อยนะครับ
ฟอนต์ฝักขาม ๑๙๕๔ ถอดแบบมาจาก จารึก ลพ.๙ โดยอ้างอิงข้อมูลจาก หนังสือ “อักษรฝักขามที่พบในศิลาจารึกภาคเหนือ” ใช้สำหรับเอกสารที่อยู่ในช่วง พ.ศ. ๑๙๕๔ – ๑๙๙๙ นะจ๊ะ
พิมพ์ไปได้ลายเซ็น แต่ไม่อยากให้เหมือนลายเซ็นมากเกินไปจึงทำขนาดเส้นให้เท่ากันและไม่สะบัดปลายเหมือนรุ่นแรก แถมมีลายน้ำไว้ให้สังเกตว่าเป็นฟอนต์ (ถ้าไม่อยากได้ลายน้ำรบกวนลบเอาเองนะจ๊ะ) ..ทำเป็นงานทดลองศักยภาพของการออกแบบฟอนต์ ไม่ได้เพื่อใช้งานจริง.. อย่าว่ากันนะ
SOV_Rataphan2498 (รัตพันธุ์ พ.ศ.๒๔๙๘)
ฟอนต์ตามคำขอ พระอาจารย์วัดวิเวกวนาราม ได้ส่งแบบอักษรมาให้ดู ผมเห็นว่า พ.ศ. ๒๔๙๘ คือเมื่อ 64 ปี ก่อน.. น่าสนใจ อักษรที่มีค่อนข้างเยอะ ถ้า scan รูปมาทำฟอนต์ ก็เหลือด้นอักษรอยู่ไม่กี่ตัว มีแต่ภาษาไทยนะครับ ขอขอบพระคุณเจ้าของลายมือ และพระอาจารย์มา ณ ที่นี่ด้วย
ติดตาม Facebook อักษรตัวเขียน ติดใจในลายมือ อ.จินดา เนื่องจำนงค์ โดยเฉพาะตัว Calligraphy ภาษาไทย ที่อาจารย์นำมาประยุกต์ใช้กับปากกาหัวตัด พู่กันแบน หรือแม้แต่กิ่งไม้เหลา จึงเก็บสะสมตัวอักษรที่อาจารย์เขียนมาเรื่อยๆ เพื่อศึกษาแนวทางในการทำฟอนต์ พบว่า ฟอนต์เดียวไม่เพียงพอ
เป็นฟอนต์ตามคำขอ จากเพื่อนผู้เชี่ยวชาญภาพเก่า เรื่องเก่าๆ ในเมืองไทย… ถามว่าเคยทำฟอนต์ราชดำเนิน ตัวกลมๆ หรือยัง แล้วส่งรูปให้ดู ผมเห็นว่าเก๋ไก๋ดี ก็เลยลองทำตามแบบในรูปเก่าๆ ที่เพื่อนส่งมาให้ดูครับ นำไปใช้ได้ตามสะดวก