เป็นตัวอักษรในโลโก้ของเพจแมวชื่อว่า This is a cat เป็นเพจที่ดูแลช่วยเหลือ หาบ้านให้แมวจร หมาจร และเอื้ออาทรต่อสัตว์น้อยใหญ่ที่บาดเจ็บหรือลำบาก
ทอศิลป์ แพรตะวัน (Torsilp Preatawan)
เป็นฟอนต์ที่พัฒนาต่อจากฟอนต์ “ทอศิลป์ ภาณุพันธุ์“ ตัวบางปลายเส้นกลมมน และ “ทอศิลป์ ขนิษฐา“ ตัวหนาเส้นปลายตัดเรียบ โดยปรับเพิ่มให้ตัวอักษรมีหัวอีกเล็กน้อย และปรับจากเส้นปลายตัวอักษรที่กลมมนเป็นเส้นตัดตรง แจกฟรีครับผม
ทอศิลป์ กล้วยกล้วย (Torsilp Bananax2)
ทอศิลป์กล้วยกล้วย เป็นตัวอักษรกึ่งลายมือ ที่ตั้งใจทำให้ดูไม่ค่อยเป็นระเบียบแต่ก็จัดระเบียบไว้อย่างดี ดูง่ายๆ สบายๆ เหมือนอารมณ์ประมาณว่า “ทุกอย่างมันไม่มีอะไรหรอก ทั้งหมดกล้วยกล้วย“ ใช้ฟรีได้ทุกโอกาสเลยครับ ด้วยความยินดีมากๆ
เป็นลายมือของลูกศิษย์ชั้นประถม 5 ของโรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์ ผมได้นำลายมือของลูกศิษย์มาทำเป็นฟอนต์เพื่อบันทึกเวลาและความทรงจำไว้ในรูปแบบตัวอักษร
ทอศิลป์ ต้นตุลา (Torsilp Tontula)
นานมาแล้วเคยช่วยเขียนป้ายหาเสียงเลือกตั้งภายในของนักศึกษา ก็ได้ตัวหนังสือแบบป้ายหาเสียง ตัวเหลี่ยมๆ นัยแสดงว่าเรามีอุดมการณ์มาชุดนึง ตัวอักษรที่ได้มาก็อยู่ในใจ วันนี้จังหวะดีก็เลยเอามาทำเป็นฟอนต์ สามารถโหลดไปใช้ได้ฟรี! ในทุกกรณีครับผม
ทอศิลป์ขนิษฐา (TorsilpKanittha)
ทำฟอนต์ตัวยากๆ สำเร็จอีกตัวนึงแล้ว ภูมิใจมากครับ ฟอนต์ยากตัวแรกคือฟอนต์ตัวพื้นที่อ่านง่าย “ทอศิลป์เรียงความ“ อันนั้นทำสำเร็จไปแล้ว มีฟอนต์อีกรูปแบบนึงที่ทำยากเหมือนกัน คือฟอนต์ไม่มีหัวเพื่อใช้เป็นดิสเพลย์ พวกหัวข้อเน้นๆ ใหญ่ๆ นี่แหละครับ ชื่อฟอนต์ “ทอศิลป์ขนิษฐา”
เป็นฟอนต์ลายมือตัวแรกของ เด็กหญิงนิปปอน นักเรียนศิลปะจากโรงเรียนสอนศิลปะทอศิลป์ เป็นฟอนต์ลายมือเด็กผู้หญิง เป็นระเบียบ น่ารัก สวยงาม สามารถดาวน์โหลดไปใช้ได้ฟรี
ทอศิลป์ เรียงความ (Torsilp ReiyngKhwam)
การทำอะไรยากๆ สำเร็จสักอย่างพอได้ทำเสร็จก็จะปลื้มๆ หน่อยๆ ตั้งแต่ทำฟอนต์ความฝันอย่างหนึ่งของตัวเองคือ มีฟอนต์พื้นเป็นของตัวเอง แต่ฟอนต์ที่พื้นฐานที่สุด อ่านง่ายที่สุด กลับลงมือทำยากอย่างที่สุด
ฟอนต์นี้เกิดจากการนำลายมือของครูผู้สอนวิชาสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า มาทำเป็นฟอนต์ไว้ และโอกาสนี้ขอแจกจ่ายเพื่อเป็นอีกหนึ่งแบบอย่างให้กับคนที่หัดฝึกคัดลายมือแบบสถาปัตย์ครับ หรือนำไปใช้ในงานสถาปัตย์ต่างๆ และงานอื่นๆ ทั่วไปตามแต่สะดวกครับ
“คนเรามีความพยายามทำได้อยู่แล้ว” – เป็นคำคมที่ผมใส่ไว้ในสูจิบัตรเวลาที่อาจารย์ให้นักศึกษาแสดงผลงานศิลปะของตัวเอง คิดอะไรไม่ออกว่าคำไหนคมไม่คม ก็เลยเอาคำที่อาจารย์ชอบบอกเรามาใช้เลย สมัยก่อน อาจารย์ชอบบอกว่า ภาณุพันธุ์ต้องพยายามฝึกนะ อาจารย์เชื่อว่า “คนเรามีความพยายามทำได้อยู่แล้ว”