display
วันแมนโชว์™ (OneManShow™) V.2 (Free)
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนนะครับว่าฟอนต์ชุดนี้ (free version) จะมีแต่ภาษาไทยนะครับ
ส่วนฟอนต์ตัวเต็ม (full version) ติดตามได้ที่เพจ “ไทป์ 28” ครับ
ผมได้ทำการปรับปรุงฟอนต์ วันแมนโชว์™ เป็นเวอร์ชั่น 2.0 แล้วนะครับ หลักๆ ก็จะมีการแก้ไขข้อบกพร่อง และการปรับปรุงส่วนที่มีปัญหาอยู่เล็กน้อย รอบนี้เลยใช้เป็น .ttf แทนครับ
หมายเหตุ: ฟอนต์ วันแมนโชว์™ (OneManShow™) ได้พัฒนาปรับปรุงเป็นเวอร์ชัน 2 แล้ว สามารถดูรายละเอียดเวอร์ชันใหม่ได้ที่นี่
โอซาก้า-ไทย™ (Osaka-Thai™) ซึ่งเป็นฟอนต์ตัวแรกของผมที่ได้จัดทำให้เป็นไฟล์ฟอนต์ (.ttf, .otf, ฯลฯ) เนื่องจากเมื่อก่อนได้ทำอักษรในแบบต่างๆไว้ใช้ในงานกราฟิก, สิ่งพิมพ์, สติ๊กเกอร์ ทำแบบเป็นตัวๆแต่ไม่ได้ทำทุกตัวอักษร เวลาใช้งานก็นำมาเรียงในโปรแกรมของ Adobe ซึ่งค่อนข้างไม่สะดวกเท่าไร
แรงบันดาลใจ ที่ทำฟอนต์นี้ขึ้นมา เพราะเพื่อนร้านป้ายด้วยกันคนหนึ่งอยากได้ฟอนต์นี้ ซึ่งข้าพเจ้าเองก็เคยคิดจะทำมาแล้วหลายครั้ง แต่ไม่ได้เอาจริงๆ จังๆ สักที จนโดนลูกขอร้องแกมบังคับของเขานี่แหละครับ
ครั้งแรกทำเป็นฟอนต์ที่ลากเส้นต่อเนื่องจากต้นจนจบ ยกเว้นสระ วรรณยุกต์ บนล่าง คล้ายๆ เวลาไปเข้าค่ายลูกเสือแล้วเขาเอาเชือกมะนิลามาขดเป็นตัวอักษร แต่พอทำแล้วมันดูไม่น่าสนใจ ไม่รู้จะเอาไปใช้ประโยชน์อะไรได้ พอดีช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เห็นโฆษณาที่เอาริบบิ้นมาขดเป็นตัวอักษรภาษาอังกฤษ น่าสนใจดี จึงลองทำดูครับ
มีช่วงหนึ่ง มีชีวิตวนเวียนอยู่กับเมนูร้านขนม ร้านกาแฟฮะ แล้วก็ผุดฟอนต์ชุดนี้ขึ้นมา
จบแล้ว ..สั้นไปไหม
WP DOMINO NOVEL พัฒนาขึ้นจากอักษรต้นแบบที่ออกแบบสำหรับหนังสือรหัสคดี เรื่อง โดมิโน อาจจัดหมวดรูปแบบอักษรชุดนี้เข้ากลุ่ม semi slab serif หรืออักษรกึ่งมีฐานหนา ซึ่งเป็นการประยุกต์อักษรแบบมีเท้าหนาให้มีเอกลักษณ์เฉพาะ
ฟอนต์จาก อ.ธงชัย ศรีเมือง มาแนวพาดหัวหนังสือพิมพ์ ตัวใหญ่ๆ อ่านง่ายสะใจ และเก็บรายละเอียดออกมาเนี้ยบตามสไตล์ TS Font ครับ
ต้นแบบของฟอนต์ตัวนี้ คือ ป้ายทางเข้าสวนสาธารณะของเมืองสุราษฎร์ฯ (สวนศรีตาปี ตอนนี้ป้ายยังอยู่นะ แวะไปยลได้) ด้วยความชอบส่วนตัว และอยากเก็บฟอนต์เอาไว้ เผื่อป้ายมันพัง (มันเก่ามากแล้วจริงๆ) จึงนำรูปแบบหน้าตามาพัฒนาต่อเพื่อให้ใช้งานได้ง่ายขึ้น
อาร์ทีอี คอนทราสต์ (rtE Contrast)
ฟอนต์นี้ได้ไอเดียตั้งต้นจากฟอนต์ Angsana ของไทยเราที่ใช้อย่างแพร่หลาย และนำมาดัดแปลงให้เข้ากับตัวอักษรลาว ทำให้อ่านง่ายแม้คนไทยก็ยังพอเดาออกว่าอ่านว่าอะไร ใช้ได้ตั้งแต่พิมพ์รายงานจนพาดหัวป้ายก็ยังสามารถทำได้ – ขอให้สนุกกับมัน!