หน้าแรก » เปิดกรุ

display

โลหะมน | Lohamon

โดย • 14/05/2567

Lohamon เป็นแบบอักษรที่โครงสร้างโดยรวมเป็นรูปทรงสี่เหลี่ยมจัตุรัสขอบมน คล้ายเส้นเหล็กโลหะที่ถูกดัดให้งอเป็นรูปร่างตัวอักษร ให้ความรู้สึกถึงความแข็งแรง ซึ่งมีให้เลือกใช้ถึง 18 สไตล์ รองรับตัวอักษรละติน 1 และอักษรไทย เหมาะสำหรับสิ่งพิมพ์ต่าง ๆ ทั้งออนไลน์และออฟไลน์ ที่เน้นในเรื่องงานอุตสาหกรรม การก่อสร้าง งานเหล็กดัด และอื่น ๆ ที่ใกล้เคียงกัน

DM Pannika (ดีเอ็ม พรรณิการ์)

โดย • 11/05/2567

ฟอนต์ภาษาไทยที่ได้ออกแบบให้มีความอ่อนช้อยร่วมสมัย เหมาะกับการนำไปทำเป็นพาดหัวหรือข้อความสั้นๆในโปสเตอร์ต่างๆ

เอฟซี ดีแฟรกเมนต์ (FC Defragment)

โดย • 08/05/2567

จัดเรียงชิ้นส่วน จับเชื่อมต่อเป็นชิ้นเดียวกัน – หากใครใช้ฮาร์ดดิสก์คอมพิวเตอร์คงจะคุ้นเคยกับคำว่า Defragment ซึ่งเป็นกระบวนการจัดเรียงข้อมูลใหม่จากชิ้นส่วนของข้อมูลที่กระจัดกระจาย ฟอนต์เอฟซี ดีแฟรกเมนต์ ก็ใช้แนวคิดเดียวกัน

ทีเอ ปะปลาย (TA PaPlai)

โดย • 07/05/2567

เป็นฟอนต์ที่เริ่มจากความอยากทำฟอนต์เส้นประ เน้นสไตล์มากๆ หน่อย ก็ลองขีดๆ เขียนๆ แล้วเอามาดราฟต์ใน Adobe Illustrator แล้วมาทำเป็นฟอนต์ออกมาได้ 3 สไตล์ เอามาแจกให้ทดลองใช้ 1 สไตล์ สำหรับผู้สนับสนุนจะได้ฟอนต์ทั้ง 3 สไตล์ สามารถนำไปใช้เชิงพาณิชย์ได้ครับ

ปริศนา | Pritsana

โดย • 02/05/2567

Pritsana เป็นอักษรแบบแคบ มีเซอริฟ โดยที่เส้นแนวนอนและแนวตั้งมีความหนาใกล้เคียงกัน ในส่วนของเซอริฟนั้นมีความเปรียบต่างจากความหนาของเส้นโครงโดยรวมอย่างชัดเจน ส่วนปลายของเซอริฟทำให้มีความแหลมคมเป็นพิเศษ ส่งผลให้โดยภาพรวมรู้สึกถึงความลึกลับ น่าอึดอัด อันตราย และ “ปริศนา” อันดำมืด

สวัสดิโสภา (SOV_SawadiSopha)

โดย • 26/04/2567

ฟอนต์สวัสดิโสภา ต้นทางจากประตูพระบรมมหาราชวัง เหมาะตัวพาดหัว เพราะมีการเปลี่ยนตัวอักษรอัตโนมัติ

DM Oceanic (ดีเอ็ม โอเชียนิค)

โดย • 24/04/2567

ฟอนต์ DM Oceanic (ดีเอ็ม โอเชียนิค) คือฟอนต์สไตล์ Serif ที่ได้รับแรงบันดาลใจจากภาพยนตร์เรื่อง The Little Mermaid 2023 เหมาะกับการนำไปทำเป็นพาดหัวหรือข้อความสั้นๆในโปสเตอร์ต่างๆ

บารมี | Baramee

โดย • 21/04/2567

Baramee เป็นอักษรแบบแซนเซอริฟ โดยที่เส้นแนวนอนมีความหนาครึ่งหนึ่งของเส้นแนวตั้ง ทำให้เกิดความเปรียบต่างขึ้นแต่ไม่มากจนเกินไป ปลายหัวของตัวอักษร (Terminal) เป็นตัดตรงในแนวตั้ง ตัวอักษรไทยมีการยิบยืมรูปแบบเดือย (Spur) ของตัวละตินมาทำเป็นหัวของตัวอักษร ส่งผลให้โดยภาพรวมรู้สึกได้ถึงความภูมิฐาน ดูมี “บารมี” ในขณะเดียวกันก็ให้ความรู้สึกร่วมสมัย

มัลติเวิร์ด Variable Font Project 2024

โดย • 19/04/2567

มัลติเวิร์ด Variable Font (จักรวาลฟอนต์ อักษรย้อนกลับ) รูปแบบอักษรแปรผัน มากชั้นน้ำหนัก ไร้ขอบขีดจำกัด สามารถพลิกแพลงแปลงร่าง ได้หลากหลายรูปแบบ บางไปหนา เหลี่ยมเปลี่ยนไปหากลม และยังวัฎฎวนหมุนยลย้อนกลับไปหาจุดเดิม

มังกร (SOV_Mangorn)

โดย • 17/04/2567

ฟอนต์มังกร ต้นทางจากปกนิยายมังกรหยก ใช้เป็นตัวพาดหัว