ย้อนยุค
ชุดอักษรที่มีต้นแบบจากใบปิดหนังยุคก่อนถอดจุดเด่นสะดุดตาจากต้นฉบับ แล้วดีไซน์เพิ่มเติมประกอบกลับเข้าไปเพื่อให้เป็นชุดอักษรที่ทรงพลัง มีอำนาจ น่าเกรงขามทั้งยังมีความหรูหรา สวยงาม เป็นสำคัญ
ฟอนต์ป้ายสถานีรถไฟจากภาพเก่าๆ รุ่นตัวอักษรสีขาวบนพื้นสีเข้ม ไล่เก็บตัวอักษรจากรูปเก่าๆ จนเกือบครบ ตัวที่เหลือก็เดา ไม่ได้อ้างอิงเอกสารใดๆ
ชุดฟอนต์พาดหัว เก่า และเก๋าโดดเด้งแรงบันดาลสุดหัวใจ จาก ปก LP แม่นางนกขมิ้นของ คุณสมยศ ทัศนพันธ์ ศิลปินเพลงไทยลูกทุ่งรางวัลแผ่นเสียงทองคำพระราชทาน จากบทเพลง “ช่อทิพย์รวงทอง”
ฟอนต์ตามคำขอ.. ถามว่าสนใจทำฟอนต์นี้ไหม ส่งรูปปี ๒๔๕๐ มาให้ ๑ รูป จากนั้นก็เริ่มหารูปจากใน internet พบว่าเป็นปีที่ ร.5 เสด็จกลับจากยุโรปครั้งที่ 2 มีการทำซุ้มรับเสด็จไว้ใหญ่โตน่าตื่นตา จึงตั้งชื่อฟอนต์ว่า “ซุ้ม”
ชุดฟอนต์ย้อนวัย เข้มแข็ง บึกบึนใช้พาดหัว เป็น Display Font ได้กระแทกสายตาอย่าใช้เป็นเนื้อความ Text Font ..อันนี้ไม่เหมาะ
เป็นฟอนต์ที่ทำขึ้นมาย้อนยุคลูกทุ่ง ก็เหมือนเดิม เป็นฟอนต์ทดลองใช้ ห้ามนำไปใช้ในเชิงพาณิชย์ และเป็นส่วนหนึ่งส่วนใดของสัญลักษณ์ทางการค้าโดยไม่ได้รับอนุญาตจากผู้จัดทำ
ฟอนต์อ้วนตัน ย้อนยุคนิดๆ ร่วมสมัยหน่อยๆตามสไตล์ของ ธรรมดาสตูดิโอดิสเพลย์ พาดหัว เก๋ามาก!!!
ต้นแบบฟอนต์อัสดง มาจากเอกสารโฉนดที่ดินอายุร้อยปีที่เป็นข่าว
เห็นแล้ว สวย ชอบ อยากทำ แต่เนื่องจากเป็นตัวอักษรประดิษฐ์ที่มีเฉพาะบางตัว การทำเป็นฟอนต์จึงต้องประยุกต์ตัวอักษรที่เหลือเองจากตัวที่มีอยู่ และเนื่องจากเป็นอักษรโบราณ ตอนแรกผมจึงทำแบบฟอนต์จารึกซึ่งเป็นอักษรลายมือ แต่ท่านผู้รู้แนะนำว่าฟอนต์นี้มาจากโฉนดที่ดิน
เป็นฟอนต์ที่ผมสร้างขึ้นจากแบบอักษรขูด / อักษรลอกครับ ยังไม่เคยมีการสร้างเป็นไฟล์ฟอนต์มาก่อน ก็เลยขออนุญาตนำมาสร้าง และขออนุญาตตั้งชื่อเสียใหม่ว่า “TP Kubua” (จำชื่อดั้งเดิมไม่ได้จริงๆ) คิดว่าเป็นการอนุรักษ์ฟอนต์ไทยตัวนี้ก็แล้วกันนะครับ แต่ขอบอกว่าส่วนตัวผม ผมชอบฟอนต์สไตล์นี้มาก บรรดาช่างทำป้ายส่วนใหญ่ก็คงทราบดี (พอดีที่ทำงานเป็นร้านป้ายโฆษณา) เหมาะสำหรับงานออกแบบป้ายชื่อ บริษัท ห้าง ร้าน อ่านง่ายสบายตาครับ ลองใช้กันดูครับ